Saturday, 10 March 2018

ความจำเป็นพื้นฐานกับคุณภาพชีวิตประชาชน

ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ตามความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ทางธรรมชาติของมนุษย์ คือ วัดจากปัจจัย ๔ ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค และตามทฤษฎีความจำเป็นพื้นฐาน (Basic Minimum Needs Theory) วัดแค่ ๓ อย่าง คือ อาหาร (รวมน้ำ) เครื่องนุ่งห่ม และที่อยู่อาศัย

ซึ่งรัฐและชุมชน จะต้องเรียนรู้ข้อมูลและร่วมในการดูแลประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน นำมาซึ่งการออกนโยบาย แผนงาน โครงการ กิจกรรม หรือมาตรการ สู่การดำเนินงานพัฒนาชุมชน แบบมีส่วนร่วม

ส่วนมาตรฐานความจำเป็นพื้นฐานที่เรากำหนด นั่นไม่ใช่ความจำเป็นพื้นฐาน (Basic Minimum Needs) แต่เป็นมาตรฐานการครองชีพ (Standard of Living) มี Cost of Living (ค่าครองชีพ) เป็นเส้นแบ่งความยากจน (poverty line) เป็นตัวชี้วัด 

รวมทั้ง ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจสังคม (Socio-economy) วัดจากอาชีพ รายได้ และการศึกษา และมีข้อมูลให้ถามเรื่องขี้ยา ขี้เมา...

ใคร? กำหนดตัวชี้วัด จปฐ. ให้ยุ่งยาก เกินความจำเป็น...เป็นแบบข้อมูลใช้สำรวจ (survey) ดันเข้าใจเป็นข้อมูลสำมะโน (census)

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา...ตามความเหมาะสมของยุค Big Data...ที่สามารถ Linkage ข้อมูลที่มีอยู่แล้วให้มาอยู่ในที่ ๆ เดียวกันได้

จักได้ไม่เสียเวลาในการจัดเก็บและมาเถียงกันว่าข้อมูลจริงหรือไม่จริง ยกเมฆ นั่งเทียน หรือขี่ช้างจับตั๊กแตน ... เจ้าหน้าที่ในพื้นที่ จักได้มีเวลาใช้ข้อมูลแก้ปัญหา/พัฒนา... มากกว่ามานั่งกังวลกับการจัดเก็บและบันทึกข้อมูล... อีกทั้ง ต้องมาทวงหนี้เงินกองทุนหมุนเวียน

การใช้ประโยชน์จาก Big Data มีความเป็นไปได้สูง ที่งานพัฒนาชุมชน จะต้องถูกรัฐบาลบังคับให้บริการข้อมูล จปฐ./กชช.๒ค ผ่านระบบนี้ ในอนาคต เพราะรัฐบาลได้ตั้งกระทรวงดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เขาก็ต้องการข้อมูลบางส่วนจากกรมฯและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อโปรไฟล์ประชากรแต่ละคน ด้วยเลขบัตรประจำตัวประชาชน ๑๓ หลัก และโปรไฟล์ครัวเรือนทุกหลักคาเรือนด้วยเลขรหัสประจำบ้าน โปรไฟล์หมู่บ้าน/ชุมชน ด้วยเลขรหัสหมู่บ้าน/ชุมชนของกรมการปกครอง 


ฉะนั้น การเก็บข้อมูล จปฐ./ปชช.๒ค ด้วยวิธีการ Big Data ก็จะใช้โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์เป็นตัวดึงข้อมูลจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และคัด (Query) เฉพาะข้อมูลที่เราต้องการใช้ออกมา


ที่ทำอย่างนี้ได้ เพราะบริษัท yahoo ได้ผลิตซอฟต์แวร์และตั้งชื่อว่า Hadoop คล้ายกับ google ทำให้เราไม่ต้องเสียเวลาจัดเก็บข้อมูลมากนัก แต่เราจะมีเวลาในการใช้ข้อมูลมากขึ้น 


และไม่ต้องเก็บข้อมูลทุกเรื่องทุกอย่าง แต่ข้อมูลทุกเรื่องทุกอย่างที่อยู่ในหน่วยงานต่าง ๆ สามารถนำมาใช้ได้ตามข้อตกลงและการยอมเปิดเผยข้อมูลของหน่วยงานนั้น ๆ 


ซึ่งในขณะนี้ ข้อมูลส่วนใหญ่มีอยู่แล้ว เช่น สุขภาพ เกิด แก่ เจ็บ ตาย รายได้ การศึกษา การประกอบอาชีพ การครอบครองที่ดิน ใครได้รับการสนับสนุนเป็ดกี่ตัว ไก่กี่ตัว ใครมีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ใครเป็นหนี้ของรัฐ เช่น กยศ. แต่ก็ยังขาดการเชื่อมโยงข้อมูล 


แต่เสียดายหนี้ กทบ. กข.คจ. กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ยังไม่ใช้บริการนี้ เหมือนผู้เป็นหนี้บัตรเครดิต ทำให้รู้เลยว่าใครเป็นหนี้ไม่ยอมจ่าย จะได้ติดเครดิตบูโร ฯลฯ


จะทำให้เราไม่ต้องไปเก็บข้อมูลซ้ำ ยิ่งเก็บข้อมูลซ้ำ ๆ ก็ยิ่งผิดพลาดมากขึ้น ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานจริง ๆ มีไม่กี่ตัว แต่มีข้อมูลที่ฝากให้เก็บซ้ำเยอะมาก เก็บไปเก็บมา ก็มานั่งเถึยงว่าของใครถูกใครผิด


ไหนเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ จะเมากับตัวชี้วัด (KPI) ที่เปรียบเสมือนแค่เกย์รถที่บ่งบอกความเร็วของรถ แต่ไม่ใช่เป็นตัวควบคุมความเร็วของรถ... หากเปรียบรถเหมือนงานล่ะก้อ ... ตัวควบคุมความเร็วของรถคือ กฎหมายจราจร เครื่องดักจับความเร็ว ตำรวจทางหลวง ค่าปรับ ยึดใบขับขี่ ห้ามขับรถ ฯลฯ เป็นต้น รวมทั้ง การมีวินัยในการใช้รถของผู้ขับรถ...

นั่นคือ มาตรการ กฎกติกา แบบแผนการแก้ปัญหา/พัฒนา ไม่ใช่นำตัวชี้วัดที่ใช้ประเมินมาบังคับเจ้าหน้าที่ให้แก้ปัญหา/พัฒนา (Evaluation is not prove, but improve) ชาวบ้าน... แล้วมาเรียก SAR (Self-Assessment Report) ทำไม...

ปัญหาและผลกระทบจากการกำหนดเนื้องานแบบลองผิดลองถูก (trial and error) อาจเลี่ยงไม่ได้ และหน่วยงานของรัฐไม่สามารถแก้ปัญหา/พัฒนาเฉพาะพื้นที่ (focus) กับลักษณะงานสาธารณะ (public) ที่ต้องรับผิดชอบลักษณะ locus ได้... แต่ถ้ายอมรับความจริงและคำนึงถึงบริบทและนิสัย/พฤติกรรมคนไทย ในการกำหนดทิศทางการแก้ปัญหา/พ้ฒนา ก็ถือว่าสำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง...

มัวแต่แต่งตัวข้อมูลกับตัวชี้วัดอยู่ทุกปี... สุดท้าย ปัญหาปัจจัย ๔ ของชาวบ้านก็ไม่ได้แก้... มีชาวบ้านอีกกี่คนที่หาเช้ากินค่ำ มีคนขาดผ้าห่มต้องหนาวตาย ไม่มีที่อยู่อาศัย และ ขาดยาดี ๆ...


2 comments:

  1. งานพัฒนาชุมชนต้องอยู่ครับ..
    #การพัฒนาชุมชน คือ การพัฒนาประเทศ ส่วน จปฐ. เป็นทฤษฎี ๑ ในหลายทฤษฎีการพัฒนาประเทศ แต่ข้อมูล จปฐ. เป็นทั้ง based-line data ของหมู่บ้าน/ชุมชน และตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลงของหมู่บ้าน/ชุมชนในรอบปี
    #ชุมชนเข้มแข็ง ประเทศชาติมั่นคง ยั่งยืน ครับ
    ___________
    งานพัฒนาชุมชนเป็น ๑ ใน ๓ เครื่องมือของการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชนฐานราก
    ๑.การดูแลความมั่นคง : ปกครอง/ตำรวจ/ทหาร
    ๒.การสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาส
    ๓.การพัฒนาชุมชน : รัฐ ราษฎร์ เอกชน ประชาสังคม ภาคีพัฒนา มี #ส่วนร่วม หนุนเสริมให้ชุมชนพึ่งพากันเอง... ครับ

    ReplyDelete
  2. สาเหตุหมู่บ้าน/ชุมชนไทยไม่เข้มแข็ง เพราะถูกบั่นทอนด้วย ปัญหาซ่อนเร้น (hidden problems) ที่เป็นปัญหาอุปสรรคมูลฐานและผลกระทบเชิงโครงสร้างทางสังคม ที่ชาวบ้านในหมู่บ้าน/ชุมชนไม่ค่อยพูดถึง ต้องนั่งคุยไถ่ถามและอนุมานจากปัญหา/อุปสรรคที่ชาวบ้านนำเสนอและสะท้อนถึงความเดือดร้อนที่เป็นทุกข์ของชาวบ้านและชุมชน ๓ ประการ ดังนี้
    ๑.การแบ่งเป็นพรรคเป็นพวก เพราะขัดแย้งทางความคิดที่มาจากการเลือกตั้งในหมู่บ้าน/ชุมชนเอง
    ๒.ความเจ็บปวดของครอบครัวเพราะคนในครอบครัวติดยาเสพติด
    ๓..การขาดความเชื่อมั่นศรัทธาต่อกัน เพราะเป็นหนี้เงินกองดทุนหมุนเวียนในหมู่บ้าน/ชุมชนแล้วไม่จ่าย

    ส่วนการพัฒนาชุมชนไม่ยั่งยืนนั่น เพราะว่า เราไม่สามารถหนุนเสริมกิจกรรมของชุมชนดำเการเองหรือหน่วยงานภายนอกไม่หนุนเสริมให้กลายเป็นกิจการที่พึ่งพากันเองได้

    ReplyDelete