Sunday 20 January 2019

A-Z กลวิธีสู่ความสำเร็จ

A-Z กลวิธีสู่ความสำเร็จ มีดังนี้
Ability (ความสามารถ)
Beautiful (ความสวยงาม)
Capacity (มีสติปัญญา)
Diligence (ความขยันหมั่นเพียร)
Effort (ความพยายาม)
Facile (ความคล่องแคล่วว่องไว)
Genius (ความเป็นอัจฉริยะ)
Health (สุขภาพแข็งแรง)
Intent (ความตั้งใจ)
Just (สมเหตุสมผล)
Knowledge (ความรู้)
Learn (ศึกษาเรียนรู้)
Manage (การจัดการ)
Need (ความต้องการ)
Occasion (โอกาส)
Patient (ความอดทน)
Quality (คุณภาพ)
Realize (ทำให้เป็นจริง)
Sensible (มีไหวพริบปฏิภาณ มีเหตุผล)
Tactic (มีกลวิธี)
Update (ทำให้ทันสมัย)
Value (มีคุณค่า)
Wish (มีความปรารถนา)
X-Ray (เอ็กซ์เรย์ ตรวจสอบ)
Yourself (เป็นตัวตนของตนเอง)
Zippy (มีชีวิตชีวา)

A-Z กลวิธีสู่ความสำเร็จ ในส่วน A: Ability (ความสามารถ) ประกอบด้วย
Able (หลักแหลม)
Accost (เผชิญหน้าอย่างกล้าหาญ)
Accurate (ความถูกต้องแม่นยำ)
Adapt (รู้จักปรับตัว)
Adept (มีประสิทธิภาพ)
Adequate (เหมาะสม)
Administration (รู้จักบริหารจัดการ)
Admirable (น่าชมเชยสรรเสริญ)
Advancement (สร้างสรรค์ความก้าวหน้า)
Agility (ความคล่องแคล่วว่อง)
Ambition (ความทะเยอทะยาน)
Amicable (ความเป็นมิตร)
Analysis (รู้จักวิเคราะห์)
Assured (มีความมั่นใจ)

A-Z กลวิธีสู่ความสำเร็จ ในส่วน B: Beutiful (ความสวยงาม) ประกอบด้วย
Bait (สิ่งล่อใจ)
Bearing (ความอดทน)
Benefaction (การทำความดี)
Beneficial (มีประโยชน์)
Best (ดีที่สุด)
Bestir (ทำให้มุมานะ)
Blitthe (สนุกสนาน ร่าเริง)
Bright (สดใส หลักแหลม)

A-Z กลวิธีสู่ความสำเร็จ ในส่วน C: Capacity (สติปัญญา สมรรถภาพ) ประกอบด้วย
Capable (มีฝีมือ)
Care (เอาใจใส่)
Certitude (ความเชื่อมั่น)
Change (เปลี่ยนแปลง)
Cheerful (ปลื้มปิติยินดี)
Circumspect (รอบคอบ)
Civility (เอื้อเฟื้อ)
Clever (เฉลียวฉลาด)
Concept (แนวคิด)
Concise (รัดกุม)
Condescend (ถ่อมตัว)
Conduct (ความดี)
Confidence (ความเชื่อถือ ไว้วางใจ)

A-Z กลวิธีสู่ความสำเร็จ ในส่วน D: Diligence (ความขยัน หมั่นเพียร) ประกอบด้วย
Dead line (กำหนดเวลา)
Decided (เด็ดขาดแน่นอน)
Decision (กล้าตัดสินใจ)
Deliberate (สุขุมรอบคอบ)
Demand (ความต้องการ)
Desire (ปรารถนา)
Design (ออกแบบ)
Delight (ทำให้สุขใจ)

A-Z กลวิธีสู่ความสำเร็จ ในส่วน E: Effort (มีความพยายาม) ประกอบด้วย
Eager (มีความพยายาม อยากได้)
Earnest (จริงจัง)
Easily (ราบรื่น ง่ายดาย)
Ebullient (กระตือรื้อร้นมา)
Economy (ประหยัด)
Eficient (ประสิทธิภาพ)
Endurance (อดทน)
Erudition (คงแก่เรียน)
Estimable (น่าเคารพนับถือ)
Ethic (มีจริยธรรม)
Evolution (มีวิวัฒนาการ)
Exactitude (มีความถูกต้อง แน่นอน)
Excellent (ยอดเยี่ยม ดีเลิศ)
Excite (กระตุ้น ตื่นเต้น)
Exhaustive (ละเอียดถ้วนทั่ว)
Expert (เชี่ยวชาญ)
Explicit (ชัดเจน แน่นอน)
Exuberant (กระปรี้กระเปร่า)

A-Z กลวิธีสู่ความสำเร็จ ในส่วน F: Facile (ความคล่องแคล่ว ว่องไว) ประกอบด้วย
Facility (อำนวยความสะดวก)
Factor (ปัจจัย)
Fantasy (จินตภาพ)
Foresight (มองการณ์ไกล)
Future (อนาคต)
Foretell (คาดการณ์)
Fidelity (ซื่อสัตย์ป
Finese (กลเม็ด)
Finish (สิ้นสุด)
Fulfil (ทำให้บรรลุผล)
Full (สมบุรณ์)
Fire brand (กระฉับกระเฉงอย่างมาก)
First class (ชั้นเยี่ยมป
Fitting (เหมาะสม)
Foment (ส่งเสริม)
Formula (กฎเกณฑ์)
Forte (ความถนัด)
Fortune (โชคชะตา)
Fun (สนุกสนาน ร่างเริง)

อ้างถึง 
Dictionary ยุทธวิธีสู่ความสำเร็จ โดย คุณวิชิต เด่นสุนทร
จัดพิมพ์และจัดจำหน่ายโดย บริษัท ปิยมิตร มัลติมีเดีย จำกัด
เลขที่ 3/9 หมู่ที่ 4 ต.ปลายบาง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี 11130
โทร. 0 2996 5751 - 2
แฟกซ์ 0 2996 5752
E-mail: piyamitre@hotmail.com

Thursday 10 January 2019

รวมคำขวัญวันเด็ก

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2563 -  พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา - เด็กไทยยุคใหม่ รู้รักสามัคคี รู้หน้าที่พลเมืองไทย

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2562 -  พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา - เด็ก เยาวชน จิตอาสา ร่วมพัฒนาชาติ

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2561 -  พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา - คิด รู้เท่าทัน สร้างสรรค์เทคโนโลยี

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2560 -  พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา - เด็กไทย ใส่ใจศึกษา พาชาติมั่นคง

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2559 - พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา - เด็กดี หมั่นเพียร เรียนรู้ สู่อนาคต

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2558 - พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา - ความรู้ คู่คุณธรรม นำสู่อนาคต

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2557 - น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร - กตัญญู รู้หน้าที่ เป็นเด็กดี มีวินัย สร้างไทยให้มั่นคง

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2556 - น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร - รักษาวินัย ใฝ่เรียนรู้ เพิ่มพูนปัญญา นำพาไทยสู่อาเซียน

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2555 - น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร - สามัคคี มีความรู้คู่ปัญญา คงรักษาความเป็นไทย ใส่ใจเทคโนโลยี

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2554 - นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ - รอบคอบ รู้คิด มีจิตสาธารณะ

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2553 - นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ - คิดสร้างสรรค์ ขยันใฝ่รู้ เชิดชูคุณธรรม

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2552 - นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ - ฉลาดคิด จิตบริสุทธิ์ จุดประกายฝัน ผูกพันรักสามัคคี

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2551 - พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ - สามัคคี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2550 - พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ - มีคุณธรรมนำใจ ใช้ชีวิตพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุข

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2549 - พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร - อยากฉลาด ต้องขยันอ่าน ขยันคิด

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2548 - พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร - เด็กรุ่นใหม่ ต้องขยันอ่าน ขยันเรียน กล้าคิด กล้าพูด

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2547 - พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร - รักชาติ รักพ่อแม่ รักเรียน รักสิ่งดีๆ อนาคตดีแน่นอน

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2546 - พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร - เรียนรู้ตลอดชีวิต คิดอย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันเทคโนโลยี

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2545 - พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร - เรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้ สู่อนาคตที่สดใส

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2544 - นายชวน หลีกภัย - มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2543 - นายชวน หลีกภัย - มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2542 - นายชวน หลีกภัย ขยัน - ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2541 - นายชวน หลีกภัย ขยัน - ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2540 - พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ - รู้คุณค่าวัฒนธรรมไทย ตั้งใจใฝ่ศึกษา ไม่พึ่งพายาเสพติด

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2539 - นายบรรหาร ศิลปอาชา - มุ่งหาความรู้ เชิดชูความเป็นไทย หลีกไกลยาเสพติด

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2538 - นายชวน หลีกภัย - สืบสานวัฒนธรรมไทย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2537 - นายชวน หลีกภัย - ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2536 - นายชวน หลีกภัย - ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2535 - นายอานันท์ ปันยารชุน - สามัคคี มีวินัย ใฝ่ศึกษา จรรยางาม

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2534 - พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ - รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่คุณธรรม นำชาติพัฒนา

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2533 - พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ - รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2532 - พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ - รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2531 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2530 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2529 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2528 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - สามัคคี นิยมไทย มีวินัย ใฝ่คุณธรรม

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2527 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - รักวัฒนธรรมไทย ใฝ่ดีมีความคิด สุจริตใจมั่น หมั่นศึกษา

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2526 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - รู้หน้าที่ ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด มีวินัยและคุณธรรม

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2525 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - ขยันศึกษา ใฝ่หาความรู้ เชิดชูชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2524 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - เด็กไทยมีวินัย ใจสัตย์ซื่อ รู้ประหยัด เคร่งครัดคุณธรรม

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2523 พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ - อดทน ขยัน ประหยัด เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2522 พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ - เด็กไทยคือหัวใจของชาติ

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2521 พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ - เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2520 นายธานินทร์ กรัยวิเชียร - รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเยาวชนไทย

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2519 หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช - เด็กที่ต้องการเห็นอนาคตของชาติรุ่งเรือง จะต้องทำตัวให้ดี มีวินัย เสียแต่บัดนี้

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2518 นายสัญญา ธรรมศักดิ์ - เด็กดีคือทายาทของชาติไทย ต้องร่วมใจร่วมพลังสร้างความสามัคคี

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2517 นายสัญญา ธรรมศักดิ์ - สามัคคีคือพลัง

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2516 จอมพล ถนอม กิตติขจร - เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2515 จอมพล ถนอม กิตติขจร - เยาวชนฝึกตนดี มีความสามารถ

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2514 จอมพล ถนอม กิตติขจร - ยามเด็กจงหมั่นเรียน เพียรกระทำดี เติบใหญ่จะได้มีความสุขความเจริญ

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2513 จอมพล ถนอม กิตติขจร - เด็กประพฤติดีและศึกษาดี ทำให้มีอนาคตแจ่มใส

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2512 จอมพล ถนอม กิตติขจร - รู้เรียน รู้เล่น รู้สามัคคี เป็นความดีที่เด็กพึงจำ

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2511 จอมพล ถนอม กิตติขจร - ความเจริญและความมั่นคงของชาติไทยในอนาคต ขึ้นอยู่กับเด็กที่มีวินัย เฉลียวฉลาดและรักชาติยิ่ง

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2510 จอมพล ถนอม กิตติขจร - อนาคตของชาติจะสุกใส หากเด็กไทยแข็งแรงดีมีความประพฤติเรียบร้อย

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2509 จอมพล ถนอม กิตติขจร - เด็กที่ดีต้องมีสัมมาคารวะ มานะ บากบั่น และสมานสามัคคี

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2508 จอมพล ถนอม กิตติขจร - เด็กจะเจริญต้องรักเรียนเพียรทำดี

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2507 งดการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2506 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ - ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่มีความขยันหมั่นเพียรมากที่สุด

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2505 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ - ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่ประหยัด

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2504 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ - ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่อยู่ในระเบียบวินัย

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2503 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ - ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความสะอาด

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2502 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ - ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความก้าวหน้า

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2499 จอมพล ป.พิบูลสงคราม - จงบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและส่วนรวม

เนื้อเพลงหน้าที่เด็ก (เด็กเอ๋ยเด็กดี)
เด็กเอ๋ยเด็กดี
ต้องมีหน้าที่สิบอย่างด้วยกัน
เด็กเอ๋ยเด็กดี
ต้องมีหน้าที่สิบอย่างด้วยกัน
หนึ่ง นับถือศาสนา
สอง รักษาธรรมเนียมมั่น
สาม เชื่อพ่อแม่ครูอาจารย์ เพลงหน้าที่เด็ก (เด็กเอ๋ยเด็กดี) – เพลงวันเด็กแห่งชาติ
สี่ วาจานั้นต้องสุภาพอ่อนหวาน
ห้า ยึดมั่นกตัญญู
หก เป็นผู้รู้รักการงาน
เจ็ด ต้องศึกษาให้เชี่ยวชาญ
ต้องมานะบากบั่น ไม่เกียจไม่คร้าน
แปด รู้จักออมประหยัด
เก้า ต้องซื่อสัตย์ตลอดกาล
น้ำใจนักกีฬากล้าหาญ
ให้เหมาะกับกาลสมัยชาติพัฒนา
สิบ ทำตนให้เป็นประโยชน์
รู้บาปบุญคุณโทษ สมบัติชาติต้องรักษา
เด็กสมัยชาติพัฒนา
จะเป็นเด็กที่พาชาติไทยเจริญ

อ้างถึง:

Saturday 5 January 2019

เราลอกใช้คำภาษาอังกฤษ (terminology) จนเสียหายและสับสน

เราลอกใช้คำภาษาอังกฤษ (terminology) แล้วมาแปลเป็นไทย โดยไม่ได้คำนึงที่มาของคำศัพท์ (etymology) แนวคิดการได้มาซึ่งความรู้และมาบัญญัติเป็นคำศัพท์ (Epistemology) อาทิเช่น

คำว่า Organization แปลเป็นองค์กรมั้ง องค์การมั้ง เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด/ตำบล

รูปแบบมีทั้งแนวตั้ง (Vertical organization) ใช้สำหรับหน่วยงานราชการ (Bureaucracy) หรือภาครัฐ (Public Sector) กับภาคเอกชน (Private Sector) มีสมาชิก มีกรรมการ มีกติกา มีกองทุน มีกิจกรรม
ส่วนแบบแนวราบ (Horizontal organization) เหมาะสำหรับภาคประชาชน หรือแบบเครือข่ายทางสังคม (Social Network) หรือแบบหลวม
สำหรับแบบผสม (Matrix organization) เหมาะสำหรับหน่วยงานเฉพาะกิจ (ad hoc หรือ adhocracy)

เนื่องจาก ลอกเขามา ให้ดูทันสมัย แต่ไม่พัฒนา ก็ใช้คำผิดที่ผิดทาง เช่น เครือข่ายทางสังคม ซึ่งเป็นแบบหลวม ก็นำแบบแนวตั้งมาบังคับใช้ ให้มีกรรมการ มีกฎเกณฑ์ตายตัว เป็นต้น ก็ต่างกันที่ชื่อ เนื้อในและวิธีไปฏิบัติไม่ต่างกัน ก็ผิดธรรมชาติ (Nature) ทำให้การขับเคลื่อนไม่ได้

คำว่า ภาครัฐ ตรงกับคำว่า Public Sector หมายถึงภาคสาธารณะ พอแปลเป็นภาครัฐ เกิดการบริหารจัดการเชิงปัจเจกและพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติก็รู้สึกว่าจะต้องมาใช้อำนาจ และเน้นความคุ้มค่า/คุ้มทุน ซึ่งเป็นวิธีการของภาคเอกชน (Private Sector) แทนที่จะมาบริการประชาชน คิดว่า “ขาดทุนคือกำไร” และให้ประชาชนมีความพึงพอใจ และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติส่วนรวม ส่วนภาคเอกชน คิดจะนำรูปแบบภาครัฐมาใช้อย่างไม่ถูกต้อง แทนที่จะคิดความคุ้มทุน/คุ้มค่า และแสวงหากำไร เพื่อต่อยอดบริษัท กลายเป็นเรี่ยไรหุ้นมาบริหารเหมือน Public Sector ... รอวันเจ๊งทั้งสองภาค...ที่ตกระกำ คือ ภาคประชาชน

คำว่า Paradigm shift” ก่อนหน้านี้ แปลว่า กระบวนทัศน์ใหม่ และมีที่แปลว่า การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ถ้าแยกคำได้ว่า paradigm หมายถึง รูปแบบ (form) และ shift หมายถึง เขยิบ (move) นั่นหมายความว่า การเขยิบรูปแบบการทำงานไปจากเดิม ซึ่งเจอทางตันไปไม่ได้แล้ว เหมือนเรา shift ลูกบอล เมื่อไปตรง ๆ ไม่ได้ ก็ shift ขึ้นบน… เพื่อให้ไปได้ต่อ… แต่เมื่อให้ความหมายที่ต้องแปลจากไทยเป็นไทย บางคนก็ตีความว่า ต้องเสาะแสวงหานวัตกรรมใหม่ เพื่อมาแก้ปัญหาเดิม โดยเฉพาะด้านการบริหารจัดการที่ไม่มีความเหมาะสมกับวิธีการปัจจุบัน

ความสับสนของงานอีกหน่วยงานหนึ่ง มาใช้กับงานอีกงานหนึ่ง เช่น คำว่า “คลินิก” แทนที่จะเป็นสถานที่รักษาคน/สัตว์ กลายเป็นการตรวจสุขภาพกลุ่มทางสังคม... นี่ถ้านำคำที่ใช้แปลกลับไปพูดกับเจ้าของภาษา...เขาจะเข้าใจแบบไหน... เดาไม่ถูกเลย

ทำไมเศรษฐกิจบ้านเราอีกฝ่ายหนึ่งบอกว่า เศรษฐกิจดี โดยอ้างจาก GDP (Demand Side) อีกฝ่ายบอกว่า เศรษฐกิจยังไม่ดี โดยไปถามประชาชน (Supply Side) เพียงไม่กี่คน เพราะ GDP แทนจะวัดจากค่า C+I+G+(X-M) ก็วัดจากค่า G (Government Expenditure) คือ ค่าใช้จ่ายภาครัฐ แต่คิดแบบ Supply Side คือ ผลบวกของค่าใช้จ่ายภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ แทนที่จะวัดจากผลบวกของค่า w+r+i+p ภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ... น่าจะหาข้อมูลไม่ได้ แล้วดัดแปลงตามความรู้สึกเรา…

มองผิวเผิน... น่าจะไม่มีอะไร... เพราะทำมานานแล้ว จนเกิดความเคยชิน...
แต่ลึก ๆ แล้ว ประชาชนเสียหายและสับสนครับ... หมายความถึง การวินิจฉัยงานของประเทศชาติผิดพลาด และนำไปสู่การปฏิบัติของผู้ปฏิบัติในพื้นที่ผิดพลาดไปด้วยครับ!