Saturday 5 January 2019

เราลอกใช้คำภาษาอังกฤษ (terminology) จนเสียหายและสับสน

เราลอกใช้คำภาษาอังกฤษ (terminology) แล้วมาแปลเป็นไทย โดยไม่ได้คำนึงที่มาของคำศัพท์ (etymology) แนวคิดการได้มาซึ่งความรู้และมาบัญญัติเป็นคำศัพท์ (Epistemology) อาทิเช่น

คำว่า Organization แปลเป็นองค์กรมั้ง องค์การมั้ง เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด/ตำบล

รูปแบบมีทั้งแนวตั้ง (Vertical organization) ใช้สำหรับหน่วยงานราชการ (Bureaucracy) หรือภาครัฐ (Public Sector) กับภาคเอกชน (Private Sector) มีสมาชิก มีกรรมการ มีกติกา มีกองทุน มีกิจกรรม
ส่วนแบบแนวราบ (Horizontal organization) เหมาะสำหรับภาคประชาชน หรือแบบเครือข่ายทางสังคม (Social Network) หรือแบบหลวม
สำหรับแบบผสม (Matrix organization) เหมาะสำหรับหน่วยงานเฉพาะกิจ (ad hoc หรือ adhocracy)

เนื่องจาก ลอกเขามา ให้ดูทันสมัย แต่ไม่พัฒนา ก็ใช้คำผิดที่ผิดทาง เช่น เครือข่ายทางสังคม ซึ่งเป็นแบบหลวม ก็นำแบบแนวตั้งมาบังคับใช้ ให้มีกรรมการ มีกฎเกณฑ์ตายตัว เป็นต้น ก็ต่างกันที่ชื่อ เนื้อในและวิธีไปฏิบัติไม่ต่างกัน ก็ผิดธรรมชาติ (Nature) ทำให้การขับเคลื่อนไม่ได้

คำว่า ภาครัฐ ตรงกับคำว่า Public Sector หมายถึงภาคสาธารณะ พอแปลเป็นภาครัฐ เกิดการบริหารจัดการเชิงปัจเจกและพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติก็รู้สึกว่าจะต้องมาใช้อำนาจ และเน้นความคุ้มค่า/คุ้มทุน ซึ่งเป็นวิธีการของภาคเอกชน (Private Sector) แทนที่จะมาบริการประชาชน คิดว่า “ขาดทุนคือกำไร” และให้ประชาชนมีความพึงพอใจ และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติส่วนรวม ส่วนภาคเอกชน คิดจะนำรูปแบบภาครัฐมาใช้อย่างไม่ถูกต้อง แทนที่จะคิดความคุ้มทุน/คุ้มค่า และแสวงหากำไร เพื่อต่อยอดบริษัท กลายเป็นเรี่ยไรหุ้นมาบริหารเหมือน Public Sector ... รอวันเจ๊งทั้งสองภาค...ที่ตกระกำ คือ ภาคประชาชน

คำว่า Paradigm shift” ก่อนหน้านี้ แปลว่า กระบวนทัศน์ใหม่ และมีที่แปลว่า การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ถ้าแยกคำได้ว่า paradigm หมายถึง รูปแบบ (form) และ shift หมายถึง เขยิบ (move) นั่นหมายความว่า การเขยิบรูปแบบการทำงานไปจากเดิม ซึ่งเจอทางตันไปไม่ได้แล้ว เหมือนเรา shift ลูกบอล เมื่อไปตรง ๆ ไม่ได้ ก็ shift ขึ้นบน… เพื่อให้ไปได้ต่อ… แต่เมื่อให้ความหมายที่ต้องแปลจากไทยเป็นไทย บางคนก็ตีความว่า ต้องเสาะแสวงหานวัตกรรมใหม่ เพื่อมาแก้ปัญหาเดิม โดยเฉพาะด้านการบริหารจัดการที่ไม่มีความเหมาะสมกับวิธีการปัจจุบัน

ความสับสนของงานอีกหน่วยงานหนึ่ง มาใช้กับงานอีกงานหนึ่ง เช่น คำว่า “คลินิก” แทนที่จะเป็นสถานที่รักษาคน/สัตว์ กลายเป็นการตรวจสุขภาพกลุ่มทางสังคม... นี่ถ้านำคำที่ใช้แปลกลับไปพูดกับเจ้าของภาษา...เขาจะเข้าใจแบบไหน... เดาไม่ถูกเลย

ทำไมเศรษฐกิจบ้านเราอีกฝ่ายหนึ่งบอกว่า เศรษฐกิจดี โดยอ้างจาก GDP (Demand Side) อีกฝ่ายบอกว่า เศรษฐกิจยังไม่ดี โดยไปถามประชาชน (Supply Side) เพียงไม่กี่คน เพราะ GDP แทนจะวัดจากค่า C+I+G+(X-M) ก็วัดจากค่า G (Government Expenditure) คือ ค่าใช้จ่ายภาครัฐ แต่คิดแบบ Supply Side คือ ผลบวกของค่าใช้จ่ายภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ แทนที่จะวัดจากผลบวกของค่า w+r+i+p ภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ... น่าจะหาข้อมูลไม่ได้ แล้วดัดแปลงตามความรู้สึกเรา…

มองผิวเผิน... น่าจะไม่มีอะไร... เพราะทำมานานแล้ว จนเกิดความเคยชิน...
แต่ลึก ๆ แล้ว ประชาชนเสียหายและสับสนครับ... หมายความถึง การวินิจฉัยงานของประเทศชาติผิดพลาด และนำไปสู่การปฏิบัติของผู้ปฏิบัติในพื้นที่ผิดพลาดไปด้วยครับ! 

No comments:

Post a Comment