Saturday 1 July 2023

LADANG PAWAH (ลาแด ปาเว๊าะ)

LADANG PAWAH (ลาแด ปาเว๊าะ)

Large Area Development for Access Nation Growth with Property of Agricultural Wealth and Ancestry Heritage

อีกหนึ่งรูปแบบ การผสมผสานองค์ความรู้การทำการเกษตรแปลงใหญ่ เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจฐานรากและสร้างอาชีพ ให้ประชาชนในระดับหมู่บ้าน/ตำบลมีรายได้และมีงานทำ


การแก้ปัญหาเศรษฐกิจฐานรากของประเทศเพื่อให้ชาวบ้านที่ตกงานได้มีงานทำ หากได้สนับสนุนเกษตรแบบแปลงใหญ่ในระดับหมู่บ้านหรือตำบล โดยรวบรวมที่ดินการเกษตรของชาวบ้านหรือที่ดินรัฐที่ว่างเปล่า รวมเป็นแปลงใหญ่ และรัฐสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญและจัดการในรูปแบบบริษัทหรือสหกรณ์ เลือกพืชที่ปลูกเหมาะสมกับพื้นที่ ให้เจ้าของที่ดินหรือคนในพื้นที่หรือคนที่สนใจมาเป็นลูกจ้างรายวัน รายเดือน งานจ้างเหมา และปันผลกำไรให้กับเจ้าของที่ดิน การจัดการที่ดินเพื่อการเกษตร เป็นรูปแบบที่ประสบผลสำเร็จแล้วในประเทศมาเลเซีย สามารถลดปัญหาการนำที่ดินรัฐมาใช้ประโยชน์หรือแจกจ่ายให้กับชาวบ้านที่ไม่สามารถนำดินมาทำการเกษตรได้ การแจกดินรัฐให้กับชาวบ้านที่ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตร ทำให้เกิดการขายสิทธิ์และดินนั้นจะถูกซื้อสิทธิ์โดยนายทุน ดังที่เกิดขึ้นในบางพื้นที่นิคม ดิน สปก. เป็นต้น 


การทำเกษตรรวมแปลงเป็นแปลงใหญ่ สามารถทำให้เกิดการจ้างงานในพื้นที่ และรัฐได้ประโยชน์จากการร่วมลงทุน (joint venture) กับบริษัทหรือสหกรณ์ มีผู้เชี่ยวชาญสนับสนุนความรู้และใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ วางแผน (คน เงิน งาน วัสดุอุปกรณ์ เทคโนโลยี) บริหารจัดการ ทำกาตลาด ทดสอบดิน  จัดทำปุ๋ย จัดการน้ำ น้ำจะไหล จากทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ไปยังทิศตะวันออกเฉียงใต้ ดูทิศทางลม ลมจะพัดมาจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และพัดมาจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ 


พืชที่เหมาะสมในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ อาทิเช่น ลองกอง ทุเรียน สะตอ ส้มแขก ปาล์มน้ำมัน ข้าว สัปปะรด มะพร้าว สละ กล้วย ฝรั่ง พืชตระกูลถั่ว ผักพื้นบ้าน ยาง (หากแก้ปัญหาโรคใบร่วงได้) อาจมีการเลี้ยงสัตว์บกและสัตว์น้ำร่วมด้วย เพื่อการใช้ประโยชน์จากแรงงานสัตว์ มูลสัตว์ เศษพืชผักเป็นอาหารสัตว์

สัดส่วนที่ดินที่คุ้มทุน ประมาณ 1,000 ไร่ขึ้นไป ได้มาจากการรวมที่ดินของเกษตรกรหรือคหบดี ดินสาธารณะที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ดินรกร้างว่างเปล่า


ที่มาขององค์ความรู้

#ศนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง

#ฟารมตัวอย่าง

#เกษตรแปลงใหญของประเทศมาเลเซีย

#ภมิปัญญาชาวบ้าน Pawah หรือ ปูวะ (ภาษาเจ๊ะเห - ปิยะ ลำพรหมสุข) หรือ วะ ภาษาใต้ ให้คนมีแรงใช้ที่ดินของคนมีที่ดินทำการเกษตรแทน เพราะคนมีที่ดิน อาจขาดทักษะหรือไม่มีเวลาและ/หรือไม่มีแรงทำการเกษตร)


หน่วยงานมาเลเซีย

#FELCRA - Federal Land Consolidation and Rehabilitation Authority (Lembaga Penyatuan dan Pemulihan Tanah Persekutuan)

#FELDA - Federal Land Development Authority (Lembaga Kemajuan Tanah Persekutuan)

#RISDA - Rubber Industry Smallholders Development Authority (Pihak Berkuasa Kemajuan Pekebun Kecil Perusahaan Getah)

#(ladang) estet - 1. ladang atau kebun yg luasnya lebih drpd seratus ekar; 2. kawasan yg sudah dimajukan dgn pembinaan bangunan; ~ perindustrian kawasan yg dimajukan utk keperluan perindustrian.

#MARDI - Malaysian Agricultural Research and Development Institute (Institut Penyelidikan dan Kemajuan Pertanian Malaysia)

#FAMA - Federal Agricultural Marketing Authority (Lembaga Pemasaran Pertanian Persekutuan)


#เกษตร #เกษตรแปลงใหญ #เศรษฐกจ #เศรษฐกจฐานราก


https://bit.ly/3Pw2C9n


เกษตรกรรม หรืออาชีพการทำเกษตรไม่เหมาะกับคนจน

เกษตรกรรม หรืออาชีพการทำเกษตรไม่เหมาะกับคนจน ซึ่งมีนิยามหลัก คือ คนที่ขาดแคลนปัจจัยสี่ ไม่มีที่ทำกิน หนี้สินมากมาย รายได้ไม่ดี แถมมีโรคภัย

     วิเคราะห์ให้เห็นตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ดังนี้

     1. คุณลักษณะหรือคุณสมบัติของคนทำเกษตร จะต้องมีร่างกายแข็งแรง มานะบากบั่น ขยันอดทน ใส่ใจและมีใจรัก รุ้จักวางแผน แก้ปัญหาได้ดี ซึ่งคุณลักษณะเหล่านี้แทบไม่เห็นในหมู่คนจน

     2. พื้นที่ดำเนินการ ทั้งเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ย่อมใช้พื้นที่ทั้งสิ้น ทั้งพื้นที่ปลูก เลี้ยง แปลงหญ้า แหล่งอาหาร ถ้าพื้นที่มากทุนในการจัดการอาจน้อยแต่ถ้าพื้นที่น้อยจะต้องใช้ทุนในการจัดการมาก คนจนจะมีที่ทำกินเหล่านี้มากมายแค่ไหน

     3. ปัจจัยการผลิตเกือบทุกอย่างค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะเป็นพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ปุ๋ยพืชอาหารสัตว์ สารเคมี ยารักษาโรค วัสดุอุปกรณ์ เครื่องไม้เครื่องมือ เครื่องจักรเครื่องกล ล้วนแล้วแต่แพงๆ เกือบทั้งสิ้น คนจนจะมีปัญญาซื้อได้ที่ไหน

     4. ระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวผลผลิต ล้วนแล้วแต่ต้องรอเกือบทั้งสิ้น ที่สั้นที่สุดคือเพาะถั่วงอก 6-7 วัน ปลูกผักบุ้ง 2-30 วัน พืชผักอื่นล้วนต้องใช้เวลา เลี้ยงเป็ดไก่ก็ 2-3 เดือน เลี้ยงแพะเลี้ยงแกะ ก็ครึ่งปี เลี้ยงวัว ควาย ต้องเป็นปี คนจนจะรอได้ไหม ไหนตอนเย็นจะกินอะไร พรุ่งนี้จะเอาเงินที่ไหนให้ลูกไปโรงเรียน

     5. ความเสี่ยงที่มีเกือบตลอด ทั้งภัยแล้ง น้ำท่วม โรคภัย ความผันผวนของราคาผลผลิต คนจนจะรับไหวสักกี่น้ำ

     6. การตลาดที้ไม่แน่นอน ทำแล้ว ปลูก เลี้ยง ผลิตแล้ว ไปขายที่ไหน ใครจะมาซื้อ ขายไม่ได้จะทำอย่างไร เอาปัญญาไหนจะไปแปรรูป หรือเดินหน้าต่อ

     7. ความคุ้มทุน ถ้าทำน้อยจะไม่คุ้ม ต้องทำเยอะถึงจะคุ้ม คนจนไม่มีปัญญาพอที่จะลงทุนเยอะๆ 

     ไม่ทำอย่างดีก็แค่จน แต่ถ้าทำบางทีอาจเจ๊งได้ครับ

จาก อรุณ สารบัญ