Saturday 1 July 2023

LADANG PAWAH (ลาแด ปาเว๊าะ)

LADANG PAWAH (ลาแด ปาเว๊าะ)

Large Area Development for Access Nation Growth with Property of Agricultural Wealth and Ancestry Heritage

อีกหนึ่งรูปแบบ การผสมผสานองค์ความรู้การทำการเกษตรแปลงใหญ่ เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจฐานรากและสร้างอาชีพ ให้ประชาชนในระดับหมู่บ้าน/ตำบลมีรายได้และมีงานทำ


การแก้ปัญหาเศรษฐกิจฐานรากของประเทศเพื่อให้ชาวบ้านที่ตกงานได้มีงานทำ หากได้สนับสนุนเกษตรแบบแปลงใหญ่ในระดับหมู่บ้านหรือตำบล โดยรวบรวมที่ดินการเกษตรของชาวบ้านหรือที่ดินรัฐที่ว่างเปล่า รวมเป็นแปลงใหญ่ และรัฐสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญและจัดการในรูปแบบบริษัทหรือสหกรณ์ เลือกพืชที่ปลูกเหมาะสมกับพื้นที่ ให้เจ้าของที่ดินหรือคนในพื้นที่หรือคนที่สนใจมาเป็นลูกจ้างรายวัน รายเดือน งานจ้างเหมา และปันผลกำไรให้กับเจ้าของที่ดิน การจัดการที่ดินเพื่อการเกษตร เป็นรูปแบบที่ประสบผลสำเร็จแล้วในประเทศมาเลเซีย สามารถลดปัญหาการนำที่ดินรัฐมาใช้ประโยชน์หรือแจกจ่ายให้กับชาวบ้านที่ไม่สามารถนำดินมาทำการเกษตรได้ การแจกดินรัฐให้กับชาวบ้านที่ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตร ทำให้เกิดการขายสิทธิ์และดินนั้นจะถูกซื้อสิทธิ์โดยนายทุน ดังที่เกิดขึ้นในบางพื้นที่นิคม ดิน สปก. เป็นต้น 


การทำเกษตรรวมแปลงเป็นแปลงใหญ่ สามารถทำให้เกิดการจ้างงานในพื้นที่ และรัฐได้ประโยชน์จากการร่วมลงทุน (joint venture) กับบริษัทหรือสหกรณ์ มีผู้เชี่ยวชาญสนับสนุนความรู้และใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ วางแผน (คน เงิน งาน วัสดุอุปกรณ์ เทคโนโลยี) บริหารจัดการ ทำกาตลาด ทดสอบดิน  จัดทำปุ๋ย จัดการน้ำ น้ำจะไหล จากทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ไปยังทิศตะวันออกเฉียงใต้ ดูทิศทางลม ลมจะพัดมาจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และพัดมาจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ 


พืชที่เหมาะสมในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ อาทิเช่น ลองกอง ทุเรียน สะตอ ส้มแขก ปาล์มน้ำมัน ข้าว สัปปะรด มะพร้าว สละ กล้วย ฝรั่ง พืชตระกูลถั่ว ผักพื้นบ้าน ยาง (หากแก้ปัญหาโรคใบร่วงได้) อาจมีการเลี้ยงสัตว์บกและสัตว์น้ำร่วมด้วย เพื่อการใช้ประโยชน์จากแรงงานสัตว์ มูลสัตว์ เศษพืชผักเป็นอาหารสัตว์

สัดส่วนที่ดินที่คุ้มทุน ประมาณ 1,000 ไร่ขึ้นไป ได้มาจากการรวมที่ดินของเกษตรกรหรือคหบดี ดินสาธารณะที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ดินรกร้างว่างเปล่า


ที่มาขององค์ความรู้

#ศนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง

#ฟารมตัวอย่าง

#เกษตรแปลงใหญของประเทศมาเลเซีย

#ภมิปัญญาชาวบ้าน Pawah หรือ ปูวะ (ภาษาเจ๊ะเห - ปิยะ ลำพรหมสุข) หรือ วะ ภาษาใต้ ให้คนมีแรงใช้ที่ดินของคนมีที่ดินทำการเกษตรแทน เพราะคนมีที่ดิน อาจขาดทักษะหรือไม่มีเวลาและ/หรือไม่มีแรงทำการเกษตร)


หน่วยงานมาเลเซีย

#FELCRA - Federal Land Consolidation and Rehabilitation Authority (Lembaga Penyatuan dan Pemulihan Tanah Persekutuan)

#FELDA - Federal Land Development Authority (Lembaga Kemajuan Tanah Persekutuan)

#RISDA - Rubber Industry Smallholders Development Authority (Pihak Berkuasa Kemajuan Pekebun Kecil Perusahaan Getah)

#(ladang) estet - 1. ladang atau kebun yg luasnya lebih drpd seratus ekar; 2. kawasan yg sudah dimajukan dgn pembinaan bangunan; ~ perindustrian kawasan yg dimajukan utk keperluan perindustrian.

#MARDI - Malaysian Agricultural Research and Development Institute (Institut Penyelidikan dan Kemajuan Pertanian Malaysia)

#FAMA - Federal Agricultural Marketing Authority (Lembaga Pemasaran Pertanian Persekutuan)


#เกษตร #เกษตรแปลงใหญ #เศรษฐกจ #เศรษฐกจฐานราก


https://bit.ly/3Pw2C9n


เกษตรกรรม หรืออาชีพการทำเกษตรไม่เหมาะกับคนจน

เกษตรกรรม หรืออาชีพการทำเกษตรไม่เหมาะกับคนจน ซึ่งมีนิยามหลัก คือ คนที่ขาดแคลนปัจจัยสี่ ไม่มีที่ทำกิน หนี้สินมากมาย รายได้ไม่ดี แถมมีโรคภัย

     วิเคราะห์ให้เห็นตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ดังนี้

     1. คุณลักษณะหรือคุณสมบัติของคนทำเกษตร จะต้องมีร่างกายแข็งแรง มานะบากบั่น ขยันอดทน ใส่ใจและมีใจรัก รุ้จักวางแผน แก้ปัญหาได้ดี ซึ่งคุณลักษณะเหล่านี้แทบไม่เห็นในหมู่คนจน

     2. พื้นที่ดำเนินการ ทั้งเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ย่อมใช้พื้นที่ทั้งสิ้น ทั้งพื้นที่ปลูก เลี้ยง แปลงหญ้า แหล่งอาหาร ถ้าพื้นที่มากทุนในการจัดการอาจน้อยแต่ถ้าพื้นที่น้อยจะต้องใช้ทุนในการจัดการมาก คนจนจะมีที่ทำกินเหล่านี้มากมายแค่ไหน

     3. ปัจจัยการผลิตเกือบทุกอย่างค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะเป็นพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ปุ๋ยพืชอาหารสัตว์ สารเคมี ยารักษาโรค วัสดุอุปกรณ์ เครื่องไม้เครื่องมือ เครื่องจักรเครื่องกล ล้วนแล้วแต่แพงๆ เกือบทั้งสิ้น คนจนจะมีปัญญาซื้อได้ที่ไหน

     4. ระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวผลผลิต ล้วนแล้วแต่ต้องรอเกือบทั้งสิ้น ที่สั้นที่สุดคือเพาะถั่วงอก 6-7 วัน ปลูกผักบุ้ง 2-30 วัน พืชผักอื่นล้วนต้องใช้เวลา เลี้ยงเป็ดไก่ก็ 2-3 เดือน เลี้ยงแพะเลี้ยงแกะ ก็ครึ่งปี เลี้ยงวัว ควาย ต้องเป็นปี คนจนจะรอได้ไหม ไหนตอนเย็นจะกินอะไร พรุ่งนี้จะเอาเงินที่ไหนให้ลูกไปโรงเรียน

     5. ความเสี่ยงที่มีเกือบตลอด ทั้งภัยแล้ง น้ำท่วม โรคภัย ความผันผวนของราคาผลผลิต คนจนจะรับไหวสักกี่น้ำ

     6. การตลาดที้ไม่แน่นอน ทำแล้ว ปลูก เลี้ยง ผลิตแล้ว ไปขายที่ไหน ใครจะมาซื้อ ขายไม่ได้จะทำอย่างไร เอาปัญญาไหนจะไปแปรรูป หรือเดินหน้าต่อ

     7. ความคุ้มทุน ถ้าทำน้อยจะไม่คุ้ม ต้องทำเยอะถึงจะคุ้ม คนจนไม่มีปัญญาพอที่จะลงทุนเยอะๆ 

     ไม่ทำอย่างดีก็แค่จน แต่ถ้าทำบางทีอาจเจ๊งได้ครับ

จาก อรุณ สารบัญ


Friday 17 April 2020

เหตุการณ์ COVID-19 ทำให้พฤติกรรมของคนแปรเปลี่ยนไป


เหตุการณ์ COVID-19 ทำให้พฤติกรรมของคนแปรเปลี่ยนไปด้วย ฉะนั้น พึงสังเกตพฤติกรรมของตนเองและ/หรือพฤติกรรมของคนรอบข้างว่า แปรเปลี่ยนเป็นพฤติกรรมที่จะนำมาซึ่งปัญหาหรือกลายเป็นบุคคลอันตราย มีอยู่ จำนวน ๓ พฤติกรรม หรือเรียกว่า พฤติกรรม CTD ได้แก่
๑. พฤติกรรมที่น่าเป็นห่วง (Concerning Behavior) เป็นขั้วที่มีความร้ายแรงน้อยที่สุด
๒. พฤติกรรมที่น่ากลัว (Threatening Behavior) เป็นพฤติกรรมที่อยู่ระหว่างขั้ว C กับ D พฤติกรรมของคนจะมีการเปลี่ยนแปลงไปมาอยู่ตลอดเวลา มันจะไหลลื่นและแปรเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว
๓. พฤติกรรมที่เป็นอันตราย (Dangerous Behavior) เป็นขั้วที่มีความร้ายแรงมากที่สุด

พฤติกรรม CTD สามารถอธิบายอย่างคร่าว ๆ  ที่ควรต้องเข้าใจจดจำให้ได้และตีความเชิงลึกให้ออก มี ดังนี้
๑. วู่วาม หมายถึง กระทำการอันใดโดยแทบไม่เคยคิด (หรืออาจไม่เคยคิด) ถึงผลระยะยาวหรือระยะสั้นที่จะเกิดขึ้นกับตัวเองหรือคนอื่นเลย
๒. ขี้โมโหอย่างเกินเหตุ หมายถึง ชอบระเบิดอารมณ์อย่างไม่เหมาะสมและเกินจำเป็นในสถานการณ์ต่าง ๆ คนขี้โมโหพวกนี้ จะไม่สามารถหรือไม่อยากควบคุมความโกรธของตัวเอง คนแบบนี้ จะมีความโกรธที่อัดแน่นและครุกรุ่นอยู่ในทุกอณูของร่างกาย
๓. หลงตัวเอง หมายถึง ชอบทำอะไรโดยยึดตัวเองเป็นหลักจองหองพองขน แทบจะไม่เคยเข้าใจหรือห่วงใยคนอื่นเลยพวกหลงตัวเองจะรู้สึกว่า ตัวเองนั้นเป็นผู้สูงศักดิ์และมีอำนาจเหนือคนอื่น และคิดว่าคนอื่น จะต้องมองว่าตนนั้น เป็นคนพิเศษที่ควรให้การดูแลในระดับที่แตกต่างไปจากคนปกติทั่วไป คนเหล่านี้ จะเชื่อว่าตนเองนั้น คือ คนพิเศษที่ไม่มีใครเหมือนและไม่เหมือนใครและอยู่ในสถานะที่สูงกว่าคนอื่น
๔. ไม่เคยเข้าใจในความรู้สึกของผู้อื่น หมายถึง ไม่เคยและไม่อยากจะเข้าใจในความรู้สึกความห่วงใยและความคิดเห็นของคนอื่นเลย คนแบบนี้ จะไม่เคยเข้าใจในความรู้สึกและไม่เคยเห็นใจใคร
๕. ชอบสะสมบัญชีความแค้นเอาไว้ในใจ (Injustice Collector) หมายถึง คนเหล่านี้ จะสะสมบัญชีความแค้นหรือเรื่องที่ไม่ยุติธรรม ทั้งที่เป็นเรื่องจริงหรือมโนไปเอง เอาไว้ในใจจนกว่าชีวิตจะหาไม่ คนเหล่านี้ จะตอบสนองต่อความไม่ยุติธรรมทั้งหมดนี้ในระดับที่เกินกว่าที่รับรู้อยู่ในใจไปเยอะเลย
๖. มองคนอื่นเป็นวัตถุไปหมด หมายถึง ชอบลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนอื่น และไม่เคยมองคนอื่นเป็นเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน คนที่มีพฤติกรรมแบบนี้ อาจไม่เคยมองคนอื่นในฐานะที่เป็นบุคคลเลย แต่จะมองว่าเป็นข้าวของเครื่องใช้ ทำให้ชอบถือปฏิบัติต่อคนอื่นเหมือนไม่ใช่มนุษย์
๗. โทษคนอื่นว่าเป็นสาเหตุของความผิดพลาดและปัญหา หมายถึง ชอบมองตัวเองว่าเป็นเหยื่อที่ถูกกระทำ และไม่เคยคิดที่จะยื่นมือเข้าไปช่วยแก้ปัญหาชีวิตให้กับใครทั้งหมด ล้วนเป็นความผิดของใครบางคนทั้งนั้น
๘. หวาดระแวง หมายถึง รู้สึกเคลือบแคลงในแรงจูงใจและเจตนาของคนอื่นอยู่เสมอ
๙. ชอบแหกกฎ หมายถึง คนที่ไม่เคยยึดถือปรัชญาชีวิตที่ว่า ทุกสังคมย่อมต้องมีกฎเกณฑ์ไว้ให้เดินตาม
๑๐. นิยมความรุนแรง หมายถึง คนที่เคยมีประวัติชอบใช้ความรุนแรงหรือทำเรื่องอันตราย มาแล้วมากมาย เช่น ข่มขืนทำร้ายร่างกาย ข่มขู่มีเรื่องบนท้องถนนไปทั่ว ฯลฯ 
๑๑. เฝ้าฝันที่จะได้ก่อเหตุรุนแรง หมายถึง มีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย ก่อเหตุฆาตกรรมหรือไม่เคยเชื่อในหลักธรรมคำสอนใด ๆ คนที่มีพฤติกรรมอย่างนี้ จำเป็นจะต้องส่งตัวให้ไปอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตหรือฝ่ายบ้านเมืองโดยมิรอช้า
๑๒. ติดยาเสพติดและ/หรือเหล้า หมายถึง ชอบเสพยาและ/หรือเหล้า ซึ่งจะยิ่งทำให้มีพฤติกรรม CTD อย่างอื่นมากขึ้นไปอีก
๑๓. ควบคุมตัวเองไม่ได้ หมายถึง ไม่สามารถจัดการกับความเครียด ความผิดหวังปัญหาและ/หรือเรื่องยุ่งยากในชีวิตประจำวันได้
๑๔. จงเกลียดจงชังผู้คนไปทั่ว หมายถึง ไม่ชอบและ/หรือจงเกลียดจงชังคนอื่นหรือคนกลุ่มอื่น เนื่องจาก ความผิดทั้งที่เป็นเรื่องจริงและที่มโนไปเอง หรือเนื่องจากความเชื่อและความคิดเห็นในเรื่องอื่น ๆ 
๑๕. แสวงหาความตื่นเต้นเร้าใจ หมายถึง ชอบหรือเสพติดความตื่นเต้นเร้าใจและ/หรืออยากเป็นที่สนใจของคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นอันตรายหรือจะต้องวิตกกังวลมากมายเพียงใดก็ตาม

Cr: ดร.แมรี่ เอลเลน โอทูล ใน Dangerous Instincts

Sunday 8 March 2020

COVID-19

องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศโคโรนาภาวะฉุกเฉินโลก

The World Health Organization has declared a “public health emergency of international concern” over the outbreak of the 2019nCoV, or the Wuhan coronavirus. The international body didn't recommend travel and trade restrictions.

WHO Director-General Tedros Adhanom Ghebreyesus called the coronavirus “a previously unknown pathogen, which has escalated into an unprecedented outbreak” at a press conference on Thursday, but said the WHO was not recommending restrictions of trade or travel with China, where the virus originated.

สามารถติดตามการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า ได้แบบ Realtime จากเว็บไซต์ของ Johns Hopkins Center for Systems Science and Engineering (CSSE)


หรือดูสถานการณ์ COVID 19 แมพของประเทศไทยขึ้นบนเว็บ ได้ที่นี่ 

องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศตั้งชื่อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่อย่างเป็นทางการว่า COVID-19 ย่อมาจาก coronavirus disease starting in 2019

คู่มือป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
โดย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Friday 12 July 2019

ปัญหาประชาชนและแนวทางขับเคลื่อนเพื่อการแก้ไขด้วยศาสตร์พระราชา



ในฐานะนักพัฒนาชุมชน ได้รับการบอกเล่าต่อ ๆ กันมาว่า ปัญหาประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชนไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน คือ ปัญหา ๔ จ. ได้แก่ จน เจ็บ จ๋อง โจร สามารถอธิบายได้ดังนี้
จน หมายความว่า ประชาชนยังประสบปัญหาความยากจน รายได้น้อย มีภาระหนี้สิน เกิดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ
เจ็บ หมายความว่า ประชาชนยังประสบปัญหาด้านสุขภาพอนามัย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสุขภาพกายหรือสุขภาพจิต แม้นว่า เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นของธรรมดา สังขารล้วนไม่เที่ยง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ซึ่งโรงพยาบาลจะเป็นสถานที่พักแหล่งที่สองของประชาชนนับวันจะเพิ่มปริมาณมากขึ้น หรือบ้านพักคนชราก็จะเป็นที่พักพิงของผู้สูงอายุ  
จ๋อง หมายความว่า ประชาชนเกิดอาการทำอะไรไม่ถูก คิดอะไรไม่ออก ไม่ว่าจะเป็นคนจนหรือคนรวย หากมีคนในครัวเรือนไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ลูกหลานเกเร หรือถูกลูกหลานทอดทิ้งเมื่อยามแก่เฒ่า
โจร หมายความว่า ประชาชนยังประสบปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ปัญหาอาชญากรรม หรือบางคนเป็นโจรหรือลักเล็กขโมยน้อย เนื่องมาจากสันดานโจร หรือไปติดยา ติดการพนัน แม้กระทั่งไม่มีอันจะกิน เลยกลายเป็นโจร
รัฐบาลทุกยุคทุกสมัย พยายามแก้ปัญหาหลากหลายรูปแบบ มีทั้งส่งเสริม/สนับสนุนอาชีพ รวมทั้งลดแลกแจกแถม การแก้ปัญหาก็ยังไม่จบสิ้น จัดให้มีกองทุนเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน จัดทำบัตรสวัสดิการ ประกันสุขภาพ ออกกฎหมายและบังคับใช้กฎหมาย ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการเมืองการปกครอง ให้มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถึงระดับตำบลให้มีการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่น ระดับหมู่บ้าน เพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเลือกผู้นำของตนเอง โดยไม่ได้คาดคิดว่า นโยบายและสิ่งที่ได้ดำเนินการมีผลกระทบในระยะยาว และไม่ได้เตรียมความพร้อมสำหรับปัญหาที่เกิดขึ้นจากการแก้ปัญหา ๔ จ. นั่นคือ
๑. ความขัดแย้งทางความคิดจากการเลือกตั้งในหมู่บ้าน
๒. ความล่มสลายของครอบครัวจากบุคคลในครัวเรือนไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด
๓. ขาดความเชื่อถือศรัทธาไว้วางใจกันเองของคนในหมู่บ้าน/ชุมชนจากการไม่ใช้หนี้กองทุนเหมุนเวียน
นั่นคือ ในระดับหมู่บ้าน/ชุมชน เราพบว่า ปัญหาอุปสรรคมูลฐานและผลกระทบเชิงโครงสร้างทางสังคมในหมู่บ้าน/ชุมชนที่ชาวบ้านไม่ค่อยพูด เป็นปัญหาซ่อนเร้น (hidden problems) แต่เป็นปัจจัยสำคัญที่บั่นทอนความเข้มแข็งของหมู่บ้าน/ชุมชนและเป็นความทุกข์ของชาวบ้าน ความทุกข์ของชุมชน  เป็นผลกระทบจากการแก้ปัญหา ๔ จ. โดยมีหน่วยงานของรัฐที่ทำงานในระดับพื้นที่หมู่บ้าน/ชุมชนไม่ว่า จะเป็นหน่วยงานปกครอง/ตำรวจ/ทหาร พัฒนาชุมชน เกษตร ประมง ปศุสัตว์ สาธารณสุข โรงเรียน และอื่น ๆ เพื่อดำเนินการในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ใน ๓ รูปแบบ/วิธีการ ได้แก่
๑. การปกครองดูแลประชาชนและการบังคับใช้กฎหมาย
๒. การพัฒนาชุมชน การดึงประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน หรือใช้วิถีประชาชน
๓. การสงเคราะห์ เยี่ยวยา การใช้หลักจารีตประเพณี ใช้วิธีการทางสังคมจิตยา
แต่หน่วยงานบางหน่วยงานก็ยังประสบปัญหาระบบการทำงานและการขาดความสมดุลระหว่าง คน เงิน งาน บางหน่วยงานมีงานมาก แต่คนกับเงินไม่ค่อยมี บางหน่วยงานมีคน แต่เงินกับงานไม่ค่อยมี ซึ่งรัฐบาลจะต้องปฏิรูปโครงสร้างหน่วยงานภาครัฐเหล่านี้ ให้สอดคล้องกันระหว่าง คน เงิน และงาน จึงจะทำงานได้ และสิ่งสำคัญที่สุดต้องดึงประชาชนทุกระดับชั้นเข้ามามีส่วนร่วม ไม่จะเข้ามาเป็นจิตอาสา โดยเฉพาะจิตอาสา “เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ” การเข้าเป็นอาสาพัฒนาชุมชน/ภาคประชาสังคม ตั้งแต่ระดับรากหญ้า โดยรัฐบาลให้การสนับสนุนงบประมาณ และหน่วยงานของรัฐอำนวยความสะดวกในการดำเนินกิจกรรม โดยเฉพาะกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก เยาวชน การดูและผู้สูงอายุ คนชรา ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ เป็นต้น ด้วยการน้อมนำศาสตร์พระราชาที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาประชาชน ได้แก่ ยุทธศาสตร์พระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” และหลักการทรงงาน ๒๓ ข้อ



รายละเอียด ศาสตร์พระราชาและการแก้ปัญหาประชาขน


Sunday 10 March 2019

นโยบายสาธารณะที่ขับเคลื่อนไม่ได้

นักการเมือง เป็นคนขับรถ
ประเทศไทย เป็นรถ
ประชาชน เป็นผู้โดยสาร
ข้าราชการประจำ คือ เครื่องยนต์ นั่น
Politicians as the driver.
Country like a car.
People are passengers. Government officers are mechanisms according to that car engine.
นักการเมืองพูดนโยบายเอาใจประชาชน... แต่พูดน้อยมากจะปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์ให้มันดีมีประสิทธิภาพอย่างไร..
สุดท้ายเครื่องยนต์ดับ.. รถพัง ... ผู้โดยสารตกรถ... โชเฟอร์อดขับรถ
The politicians talk their policies propitiate to the people, but a little bit talk to overhaul its engine for more running efficiency.
Finally, the engine is off, the car is crashed, then passengers couldn’t ride it, and the driver is unemployed.
#นโยบาย #พรรค #การเมือง #ประชาชน #ข้าราชการ
#policy #party #officer #politic #people

Wednesday 27 February 2019

นโยบายสาธารณะที่ขับเคลื่อนไม่ได้

นักการเมือง เป็นคนขับรถ
ประเทศไทย เป็นรถ
ประชาชน เป็นผู้โดยสาร
ข้าราชการประจำ คือ เครื่องยนต์ นั่น
นักการเมืองพูดนโยบายเอาใจประชาชน... แต่พูดน้อยมากจะปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์ให้มันดีมีประสิทธิภาพอย่างไร..
สุดท้ายเครื่องยนต์ดับ.. รถพัง ... ผู้โดยสารตกรถ... โชเฟอร์อดขับรถ
#นโยบาย #พรรค #การเมือง #ประชาชน #ข้าราชการ