Thursday 1 March 2018

แผนปฏิบัติการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อเผชิญปัญหาวิกฤติ (CERCAP)

แผนปฏิบัติการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อเผชิญปัญหาวิกฤติ
(COMMUNITY EMPOWERMENT RESPONSE TO CRISIS ACTION PLAN : CERCAP)
ข่าวราชการ มติคณะรัฐมนตรี -- อังคารที่ 7 กันยายน 2542 18:34:00 .
ทำเนียบรัฐบาล--7 .. 42 --บิสนิวส์
คณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติรับทราบแผนปฏิบัติการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อเผชิญปัญหาวิกฤตตามที่คณะอนุกรรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อเผชิญปัญหาวิกฤติเสนอ ว่าที่ประชุมมีมติให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อเผชิญปัญหาวิกฤติ เพื่อใช้เป็นกรอบในการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่าง ที่เกี่ยวข้องสำหรับการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. วัตถุประสงค์
1.1
ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจวางแผนดำเนินงาน และติดตามประเมินผลการแก้ปัญหาวิกฤตของชุมชนในลักษณะประชาคม
1.2
เสริมสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการพัฒนาแบบองค์รวม ซึ่งจำแนกเป็น 3 ด้าน คือ
1)
ปรับวิธีคิด ทัศนคติ และพฤติกรรมของบุคลากรภาคราชการให้สนับสนุนการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน การพัฒนาแบบองค์รวม และการทำงานร่วมกับภาคีการพัฒนา
2)
ปรับกลไก มาตรการ ระบบงาน และระเบียบของภาครัฐให้สนับสนุนการทำงานตามแนวทางการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน และการพัฒนาแบบองค์รวม
3)
ระดมความร่วมมือทางสังคมทุก ด้านเพื่อสนับสนุนให้ชุมชนสามารถเผชิญกับปัญหาวิกฤตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. องค์กรบริหาร
องค์กรบริหารการแก้ไขปัญหาวิกฤติในระดับชาติ คือ คณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติ โดยคณะอนุกรรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อเผชิญปัญหาวิกฤติ (รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (คุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์) เป็นประธาน ส่วนระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ได้แก่ คณะกรรมการพัฒนาจังหวัด คณะกรรมการพัฒนาอำเภอ องค์การบริหารส่วนตำบล/สภาตำบล และคณะกรรมการหมู่บ้าน ตามลำดับ

3. กระบวนการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
3.1
ส่งเสริมศักยภาพกรรมการหมู่บ้านในการเป็นแกนเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน โดย
-
สร้างจิตสำนึกของประชาชน กลุ่ม/องค์กร ให้มีส่วนร่วมในกระบวนการแก้ปัญหาผลกระทบของวิกฤต
-
เพิ่มขีดความสามารถของผู้นำหมู่บ้านในการวิเคราะห์สถานการณ์ การจัดทำแผนปฏิบัติการ และการดำเนินงานตามแผนฯ ดังกล่าว
-
จัดเวทีการมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชน ชาวบ้าน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อร่วมกันวิเคราะห์สถานการณ์ผลกระทบของวิกฤตที่มีต่อชุมชน วางแผนแก้ไขปัญหา ติดตามการปฏิบัติตามแผน และประเมินผลการปฏิบัติงานร่วมกัน
-
ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายระหว่างหมู่บ้านในการจัดทำแผนร่วมกัน
3.2
ส่งเสริมศักยภาพขององค์การบริหารส่วนตำบล/สภาตำบลในการเป็นแกนสนับสนุนการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในตำบล โดย
-
พัฒนาทัศนคติขององค์การบริหารส่วนตำบล/สภาตำบล ให้ยอมรับและสนับสนุนกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ปัญหาวิกฤต
-
เสริมสร้างขีดความสามารถขององค์การบริหารส่วนตำบล/สภาตำบล ในการบริหารจัดการในกระบวนการแก้ปัญหาผลกระทบของวิกฤติ
-
ส่งเสริมบทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบล/สภาตำบล ในการสนับสนุนกรรมการหมู่บ้านจัดเวทีการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาผลกระทบของวิกฤต
3.3
สนับสนุนการส่งเสริมศักยภาพของกรรมการหมู่บ้านและองค์การบริหารส่วนตำบล/สภาตำบล โดย
-
จัดตั้งกลุ่มแกนระดับตำบล ให้สนับสนุนการบริหารจัดการพัฒนาและวิชาการให้แก่หมู่บ้าน
-
สร้างและพัฒนาเครือข่ายระหว่างกรรมการหมู่บ้าน องค์การบริหารส่วนตำบล/สภาตำบล ให้ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
-
สนับสนุนศูนย์ข้อมูลของกรมการพัฒนาชุมชนในการให้ข้อมูลแก่หมู่บ้านในการจัดทำแผนฯ

4. ขั้นตอนดำเนินงานของกระบวนการ
-
กรรมการหมู่บ้านจัดเวทีประชาคมให้แก่กลุ่ม/องค์กร ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ฯลฯ ร่วมกันเรียนรู้ข้อมูลสถานการณ์ของหมู่บ้าน ปัญหา และแนวทางแก้ไขปัญหา เป็นแผนแก้ไขปัญหาวิกฤติของหมู่บ้าน โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในรูปแบบต่าง
-
กรรมการหมู่บ้านนำเสนอแผนในส่วนที่ไม่สามารถดำเนินการเองได้ต่อองค์การบริหารส่วนตำบล/สภาตำบล เพื่อวิเคราะห์และจัดสรรงบประมาณสนับสนุน ทั้งนี้ ในส่วนที่เกินความสามารถขององค์การบริหารส่วนตำบล/สภาตำบลให้นำเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาอำเภอ
-
คณะกรรมการพัฒนาอำเภอ/องค์การบริหารส่วนตำบล/สภาตำบล และกลุ่มแกนระดับตำบล ร่วมกันติดตามการดำเนินการตามแผน/แนวทางการพัฒนาของหมู่บ้านที่ประชาชนสามารถดำเนินการได้เอง
-
กรรมการหมู่บ้าน/องค์การบริหารส่วนตำบล/สภาตำบล และกลุ่มแกนระดับตำบล สรุปบทเรียนเป็นระยะเพื่อเรียนรู้ร่วมกันและวางแผนปฏิบัติงานต่อไปเป็นวงจรอย่างต่อเนื่อง

5. องค์กรดำเนินการ
องค์กรหลักในการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อเผชิญปัญหาวิกฤต คือ กลุ่มแกนระดับตำบล ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกประมาณ 5 - 7 คน ได้แก่ คปต.  กำนัน นักพัฒนาองค์กรเอกชน ปราชญ์ชาวบ้าน/ผู้ทรงคุณวุฒิ ฯลฯ คัดเลือกและแต่งตั้งโดยคณะกรรมการพัฒนาอำเภอ

6. กลไกดำเนินการ
กลไกในการดำเนินการแก้ไขปัญหาวิกฤต คือ
6.1
แผนพัฒนา คือ แผนพัฒนาที่มีอยู่ในระดับจังหวัดถึงระดับตำบล เสริมด้วยการจัดทำแผนแก้ไขวิกฤตของหมู่บ้านซึ่งประกอบด้วย การแก้ไขวิกฤต 3 แนวทาง คือ
1)
แนวทางในการพึ่งตนเอง
2)
แนวทางในการร่วมมือกับหมู่บ้าน ตำบล หรือหน่วยงานต่าง
3)
แนวทางในการขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง
6.2
ศูนย์รวมใจแก้ไขวิกฤต คือ สำนักงานเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อเผชิญปัญหาวิกฤต เป็นศูนย์บริหารการปฏิบัติงานตามแผนการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนฯ แบบเบ็ดเสร็จ เชื่อมโยงการติดต่อการบริการข้อมูลข่าวสาร ปัญหาและความต้องการจากระดับชุมชนถึงระดับจังหวัด และศูนย์รวมใจฯ ระดับจังหวัด เชื่อมโยงถึงสำนักงานอนุกรรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนฯ

7. งบประมาณ
งบประมาณสำหรับสนับสนุนโครงการ/กิจกรรม/แผนงานของหมู่บ้าน ตำบล หรือประชาคม ใช้จากงบประมาณปกติที่มีอยู่แล้วของหน่วยงานต่าง งบประมาณขององค์กรปกครองท้องถิ่น และความช่วยเหลือจากแหล่งทุนต่าง

8. พื้นที่เป้าหมายดำเนินการ
ดำเนินงานทุกจังหวัดทั่วประเทศตามความพร้อมของแต่ละพื้นที่ และเพื่อส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ร่วมกันของชุมชนจึงกำหนดให้มีเครือข่ายการเรียนรู้ระดับเขต 13 เครือข่าย ที่มีจังหวัดเป็นแกนของเครือข่าย 13 จังหวัด ประกอบด้วย นครนายก จันทบุรีอุบลราชธานี เลย เชียงราย พิษณุโลก เพชรบุรี นครศรีธรรมราช ยะลา พระนครศรีอยุธยา มหาสารคาม นครสวรรค์ และภูเก็ต ทั้งนี้ให้กรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่เครือข่ายการเรียนรู้อีก 1 เครือข่าย รวมเครือข่ายการเรียนรู้ 14 เครือข่าย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 6 กันยายน 2542--

อ้างถึง : 


No comments:

Post a Comment