องค์ความรู้รายบุคคลพัฒนากร ปี 2561
1. ชื่อความรู้ การขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนในส่วนการขยายผล
2. ชื่อเจ้าของความรู้ นางสาวพอขวัญ แก้วลายทอง
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
3. หมวดองค์ความรู้ที่บ่งชี้ องค์ความรู้หมวดเทคนิคการพัฒนาอาชีพครัวเรือนตามแนวทางสัมมาชีพ
4. ที่มาและเป้าหมายของการจัดการความรู้
ความเป็นมาของการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชน โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สืบเนื่องจากปัจจุบันนี้ สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพของประชาชนภาคการเกษตรในชุมชนมีภาวะความเสี่ยงของอาชีพภาคเกษตรกรรมที่เกิดจากการประกอบอาชีพแบบดั้งเดิม เช่น ปลูกพืชเชิงเดี่ยว โรคพืช ราคาผลผลิตตกต่ำ การไม่มีอาชีพหรือรายได้เสริม หลังฤดูการผลิตและยังมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มอาชีพค่อนข้างน้อย ส่วนกลุ่มอาชีพที่มีอยู่ยังไม่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอย่างพอเพียง ส่งผลให้ประชาชนต้องเคลื่อนย้ายไปประกอบอาชีพในเมือง และมีส่วนราชการที่มีสถานที่หรือศูนย์ฝึกอบรมซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนเป็นศูนย์ฝึกอาชีพ/แหล่งเรียนรู้การประกอบอาชีพได้ แต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เท่าที่ควร ประกอบกับมีปราชญ์ชุมชนด้านอาชีพที่เชี่ยวชาญและประสบผลสำเร็จในการประกอบอาชีพด้านต่าง ๆ อยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชนแต่มีส่วนน้อยที่สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นนำไปทำตามให้สำเร็จได้
ด้วยเหตุปัจจัยดังกล่าวข้างต้น การดำเนินการในปี ๒๕๖๐ นี้ จึงมุ่งเน้นที่การยกระดับเศรษฐกิจฐานราก นั่นคือ รายได้ ที่ต้องทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยการสร้างอาชีพจึงเป็นที่มาของ “สัมมาชีพชุมชน” ซึ่งกำหนดแผนการสร้างสัมมาชีพชุมชนบนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีเป้าหมาย คือ ประชาชนได้รับการพัฒนาอาชีพและมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยใช้หลักการให้ชาวบ้านสอนชาวบ้านในสิ่งที่เขาอยากทำ ฝึกปฏิบัติจริง ให้สามารถนำไปเป็นอาชีพได้ และในปี 2561 ได้มีการสนับสนุนงบประมาณเพื่อขยายผลการดำเนินกิจกรรม “สัมมาชีพชุมชน” เพิ่มเติมในหมู่บ้านเดิมเพื่อให้เกิดการขยายผลครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน
5. วิธีการ/ขั้นตอนการจัดการความรู้
5.1 ศึกษาและทำความเข้าใจแนวทาง/รายละเอียดการดำเนินงานโครงการฯตามเอกสารคู่มือ
5.2 จัดทำแผนการดำเนินงานตามกรอบแนวทางการดำเนินงานโครงการฯ
5.3 ค้นหาและคัดเลือกปราชญ์ชุมชนเพื่อสร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน โดยคัดเลือกผู้ที่มีความรู้และพร้อมที่จะถ่ายทอด ประกอบด้วยวิทยากรผู้นำสัมมาชีพ 1 คนและปราชญ์ชุมชนที่เข้าร่วมเป็นทีมเพิ่มเติมอีกหมู่บ้านละ 4 คน รวมเป็นจำนวน 5 คน
5.4 ทีมวิทยากรสัมมาชีพเตรียมความพร้อมครัวเรือนเป้าหมายสัมมาชีพ จำนวน 26 ครัวเรือน โดยแบ่งตามสัดส่วนของทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านเฉลี่ย 1 คน ต่อ 6 ครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ เพื่อให้ความรู้เรื่องสัมมาชีพชุมชนและทบทวนความต้องการของครัวเรือนเป้าหมายฯ ร่วมทั้งการประสานการจัดหาวัสดุสนับสนุนการฝึกอาชีพ
5.5 ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน จำนวน 5 คน ดำเนินการฝึกอบรมสัมมาชีพชุมชนรายหมู่บ้านตามแผนปฏิบัติการที่กำหนด
- วันที่ 1– 3 สร้างความรู้ ความเข้าใจในเรื่องอาชีพที่ต้องการเรียนรู้
- วันที่ 4 ศึกษาดูงาน ศูนย์เรียนรู้ชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่ใกล้เคียง
- วันที่ 5 ฝึกปฏิบัติภายในครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ
6. ผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดการความรู้
6.1 เทคนิคและแนวทางในการทำงาน
6.1 เทคนิคและแนวทางในการทำงาน
6.1.1 การคัดเลือกปราชญ์ควรคัดเลือกผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดองค์ความรู้ได้อย่างแท้จริง กล้าที่จะพูดและแสดงออก และมีจิตอาสาในการช่วยเหลือเพื่อนบ้าน
6.1.2 การคัดเลือกครัวเรือนเป้าหมายควรพิจารณาคัดเลือกที่มีความต้องการที่จะฝึกอาชีพเสริมอย่างแท้จริง
6.1.3 การศึกษาดูงานควรคัดเลือกพื้นที่ที่กลุ่มเป้าหมายให้ความสนใจและเมื่อไปดูแล้วสามารถนำความรู้ที่ได้กลับมาใช้ได้
6.1.4 การฝึกปฏิบัติ ควรแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และปฏิบัติครบถ้วนทุกคน และทีมปราชญ์จะต้องกระตุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
6.2 ข้อพึงระวัง
6.2.1 การคัดเลือกอาชีพที่ฝึกควรพิจารณาอาชีพที่ครัวเรือนทั้ง 26 คน มีความเห็นพ้องต้องกันที่จะฝึก
6.2.2 การคัดเลือกปราชญ์ ควรพิจารณาปราชญ์ที่มีความสามารถอย่างแท้จริงในการถ่ายทอด
(1) การรวมตัวเป็นกลุ่ม/องค์กร (5ก)
6.2.3 ข้อควรคำนึงในการพิจารณาการเสนอโครงการด้านอาชีพของประชาชน1
+ ก1 = กลุ่ม
+ ก2 = กรรมการ
+ ก3 = กติกา
+ ก4 = กิจกรรม
+ ก5 = กองทุน
(2) ความสามารถด้านบริหารจัดการ
+ ทุน (4M: Man, Money, Material, Machine)
+ เงิน
+ แรงงาน/ความคิด (ไม่ใช่เงิน)
+ ความรู้
+ การจัดการเงินทุน/บัญชี/ทะเบียน/วัตถุดิบ/การผลิต/การตลาด/การวิเคราะห์ลูกค้า (Bandwagon effect คือพฤติกรรมการซื้อสินค้าตามกระแสนิยม-Snob effect คือ พฤติกรรมการซื้อสินค้าสวนกระแสนิยม-Veblen effectคือ พฤติกรรมการซื้อสินค้าที่มีราคาแพง)
+ ตลาด (Marketing Mix; 4P: Product, Price, Place, Promotion)
- แข็งขันสมบูรณ์
- แข็งขันไม่สมบูรณ์
-- ผู้ขายน้อยราย
-- กึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด
--ผูกขาด
+ รายได้
- ใช้สอย (อุปโภคบริโภค)
- ออม เพื่อการลงทุนต่อไป
6.3 ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
6.3.1 การคัดเลือกปราชญ์ที่มีความสามารถในการถ่ายทอด และทีมปราชญ์ที่มีความพร้อมในการกระตุ้นให้ครัวเรือนเกิดการเรียนรู้
6.3.2 การติดตามให้ความช่วยเหลือแนะนำครัวเรือนเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง
6.4 ปัญหาและวิธีการแก้ไข
6.4.1 ครัวเรือนเป้าหมายขาดความกระตือรือร้นที่จะฝึกอาชีพ วิธีการแก้ไขต้องให้ทีมปราชญ์สัมมาชีพคอยช่วยกระตุ้นแนะนำ
6.4.2 การขับเคลื่อนกิจกรรมในรูปแบบกลุ่มจำเป็นต้องให้เจ้าหน้าที่เข้าไปติดตามและให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การดำเนินงานของกลุ่มเกิดความต่อเนื่อง
6.5 ผลลัพธ์จากการแก้ปัญหาและการพัฒนาเรื่องนั้น
6.5.1 การที่ทีมปราชญ์คอยกระตุ้นแนะนำทำให้ครัวเรือนเป้าหมายมีความกระตือรือร้นในการที่จะฝึกปฏิบัติและนำกลับไปใช้จริง
6.5.2 การติดตามของเจ้าหน้าที่อย่างต่อเนื่องทำให้การดำเนินงานของกลุ่มสัมมาชีพมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและสมาชีพมีแรงใจที่จะดำเนินกิจกรรมของกลุ่มต่อไป
---------------------------------------
No comments:
Post a Comment