๑. โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเศรษฐกิจแบบพอเพียงเฉลิมพระเกียรติ ภาษาอังกฤษว่าอย่างไร
- The Royal
Initiative of the 'Self-sufficiency Economic Philosophy' Project for Honorable Celebration
๒. เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสขึ้นแนะแนวทางมาแล้วกี่ ……. ปี
- ๕ ปี (๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๑)
๓. เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริหมายถึง
- ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีระบบคุ้มกันในตัว
๔. การที่จะเปลี่ยนให้คนมีเศรษฐกิจพอเพียง จำเป็นต้องทำทั้งหมดหรือไม่ ตามแนวพระราชดำริ
- ไม่จำเป็น เพียงเศษหนึ่งส่วนสี่ ก็อยู่ได้
๕. การดำเนินโครงการตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง เรื่องใดเป็นเรื่องสำคัญที่สุด
- ทุนทางสังคม (Social Capital)
๖. เป้าหมายของการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง ก็เพื่อมุ่งพัฒนาสินค้าชุมชน ออกเป็นสินค้าส่งออก ใช่หรือไม่
- ไม่ใช่ แต่เป้าหมายเพื่อให้ชุมชนพึ่งตนเองได้
๗. บทบาทข้าราชการในการส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงมีอะไรบ้าง
- สนับสนุนเงินทุน เป็นผู้ให้ความสะดวก (facilitator) และสนับสนุน (supporter)
๘. หน่วยงานใดรับผิดชอบ การวางนโยบายและแนวทางการดำเนินการตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงเฉลิมพระเกียรติ
- คณะกรรมการบริหารโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงเฉลิมพระเกียรติ
๙. หน่วยงานใดรับผิดชอบ การวางนโยบายและแนวทางการดำเนินการตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงเฉลิมพระเกียรติ ระดับอำเภอ
- คณะกรรมการพัฒนาอำเภอ
๑๐. การใช้เงินทุนดังกล่าว หากกลุ่มไม่สามารถคืนเงินยืมได้ จะทำอย่างไร
- องค์การบริหารส่วนตำบล ต้องตั้งงบประมาณชดใช้คืนเงินทุน
๑๑. เศรษฐกิจพอเพียง สนองตอบต่อเป้าหมายใดทางเศรษฐกิจ
- การกระจายรายได้และสร้างความเป็นธรรมในสังคม
๑๒. หลักการสำคัญในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๙ (พ.ศ.๒๕๔๕ - ๒๕๔๙) ประกอบด้วยอะไรบ้าง
- เศรษฐกิจพอเพียง และการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
๑๓. กรมการปกครองรับผิดชอบและสนับสนุนการจัดประชาคม ระดับใด
- ระดับจังหวัด และอำเภอ
๑๔. เทคนิคการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
- การสร้างวิทยากรเครือข่ายระดับอำเภอ จังหวัด
๑๕. การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เริ่มปรากฏอยู่ในแผนพัฒนาฉบับใด
- แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๘
๑๖. การพัฒนาประชารัฐ เป็นการพัฒนาแบบใด
- แบบองค์รวม (Holistic Approach) คือ องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องสามารถประสานกันครบองค์มีดุลยภาพเกิดขึ้น
๑๗. การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ปรากฏอยู่ในโครงการใดของกระทรวงมหาดไทย
- โครงการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
๑๘. การพัฒนาประชารัฐ มีแนวทางการพัฒนาอย่างไร
-เน้นความสัมพันธ์อันดีระหว่างภาครัฐกับประชาชน ให้ทุกส่วนมีส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณะของภาครัฐ ปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบราชการ ให้มีความต่อเนื่องในการบริหารงานพัฒนาและการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น
๑๙. ในระยะเริ่มต้นของการใช้แผนฯ ๘ ได้เกิดกระบวนการอะไรเกี่ยวกับการพัฒนาประชารัฐ
-ประชาคมจังหวัด
๒๐. ประชาสังคม (Civil Society) คืออะไร
- การที่คนในสังคม มีจิตสำนึก (Civil Consciousness) ร่วมกัน มารวมตัวกันในลักษณะที่เป็นหุ้นส่วนกัน เพื่อกระทำการบางอย่าง ด้วยความรักและเอื้ออาทรต่อกัน ภายใต้ระบบการจัดการให้เกิดความรู้สึกร่วมกัน เพื่อประโยชน์สาธารณะ
๒๑. องค์ประกอบของประชาสังคม (Civil Society) ประกอบด้วยอะไรบ้าง
- จิตสำนึกประชาสังคม โครงสร้างองค์กรประชาสังคม และเครือข่ายประชาสังคม
๒๒. ตามแนวคิดประชาสังคม (Civil Society) แบ่งภาคีการพัฒนาออกเป็นกี่ภาคส่วน อะไรบ้าง
- แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน คือ ภาครัฐหรือราชการ (Public Sector) ภาคธุรกิจเอกชน (Private Sector) และภาคประชาชน (People Sector)
๒๓. หน่วยงานใดบ้างที่ร่วมกันจัดทำโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อเผชิญปัญหาวิกฤติ
- กรมการปกครอง กรมการพัฒนาชุมชน สำนักนโยบายและแผน สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย สถาบันราชภัฏ สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
๒๔. โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อเผชิญปัญหาวิกฤติ มาจากภาษาอังกฤษว่าอย่างไร
- The Project of Community Empowerment Response to Crisis Action
Plan (CERCAP)
๒๕. โครงการ เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อเผชิญปัญหาวิกฤติ อยู่ในความดูแลขององค์กรใด
- คณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติ โดยมีคณะอนุกรรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อเผชิญปัญหาวิกฤติ
๒๖. องค์กรระหว่างประเทศใด ที่ให้การสนับสนุนโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อเผชิญปัญหาวิกฤติ
- UNDP: United
Nations Development Programme
๒๗. มาตรการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ที่กรมการปกครองใช้ มีกี่ประการ อะไรบ้าง
- มี ๓ ประการ คือ การปรับเปลี่ยนวิธีคิด วิธีทำงานภาครัฐ การเพิ่มศักยภาพชุมชน และการปรับปรุงระบบงบประมาณและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
๒๘. การปรับปรุงระบบงบประมาณและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง มีการปรับปรุงอะไรบ้าง
- การปรับปรุงระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วย การวางแผนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และระเบียบเกี่ยวกับงบประมาณและพัสดุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
๒๙. วิทยากรเครือข่ายระดับอำเภอ ประกอบด้วยใครบ้าง
- ปลัดอำเภอและเจ้าหน้าที่ ๔ กระทรวงหลัก ในระดับอำเภอ ที่มีทักษะในการถ่ายทอด ซึ่งมีจำนวน ๕ คน ใน ๓๕ จังหวัด
๓๐. กรมการปกครองใช้วิธีการใด ในการสร้างวิทยากรเครือข่ายระดับอำเภอ
- การอบรมแบบมีส่วนร่วม (Participatory Training)
๓๑. เทคนิคการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ในการสร้างวิทยากรเครือข่ายระดับอำเภอ ประกอบด้วยอะไรบ้าง
- A – I – C (Appreciation
– Influence – Control)
- F.S.C. (Future Search Conference)
๓๒. A – I – C คืออะไร
- Appreciation
– Influence – Control เป็นการประชุมแบบมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ ทำความเข้าใจสภาพปัญหาและขีดจำกัด และสร้างวิสัยทัศน์รวมทั้งแผนงานร่วมกัน
๓๓. F.S.C. คืออะไร
- Future
Search Conference หรือ การสร้างอนาคตร่วมกัน เป็นเทคนิคการทำความเข้าใจอดีต ปัจจุบันและเชื่อมโยงสู่อนาคตร่วมกัน ร่วมกันสร้างวิสัยทัศน์ (Vision)ของอนาคตและจัดทำแผนปฏิบัติการรองรับ
๓๔. ทุนทางสังคม (Social Capital) คืออะไร
- ศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ ชุมชน และสถาบันองค์กรทางสังคม
๓๕. ผู้นำที่อยู่ในพื้นที่ หรืออยู่ในชุมชนที่ทำหน้าที่ในการกระตุ้นและส่งเสริมให้ประชาชน เกิดการรวมตัวตามแนวความคิดประชาสังคม เรียกว่าอะไร
-ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent)
๓๖. ผู้นำที่อยู่ในพื้นที่ เป็นบุคคลเดียวกับวิทยากรเครือข่ายอำเภอหรือไม่
-อาจเป็นบุคคลคนเดียวกัน ถ้าวิทยากรเครือข่ายอำเภอซึ่งเป็นผู้ประสาน เข้าไปกระตุ้นชุมชนโดยตรง บุคคลผู้นั้นก็เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงอีกฐานะหนึ่งด้วย
๓๗. เวทีประชาคมคืออะไร
- คือ พื้นที่สาธารณะ หรือสถานที่ที่ผู้คนสามารถมาพบปะรวมตัวกันเพื่อพูดคุย แลกเปลี่ยน ความคิด ความเห็นได้
๓๘. การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน คืออะไร
- การเพิ่มกำลังอำนาจให้แก่ประชาชน ในการคิด การทำ การเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนา การแก้ปัญหาต่าง ๆ และการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข
๓๙. องค์ประกอบของชุมชนที่เข้มแข็ง ประกอบด้วย อะไรบ้าง
- องค์ประกอบ ๙ ประการ คือ
๑) มีบุคคลหลากหลายรวมตัวกันอย่างเป็นทางการ หรือไม่ทางการ
๒) มีเป้าหมายร่วมกันและยึดโยงเกาะเกี่ยวกันด้วยผลประโยชน์สาธารณะและของสมาชิก
๓) มีจิตสำนึกของการพึ่งตนเองรักและเอื้ออาทรต่อกันและมีความรักชุมชน
๔) มีอิสระในการร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ
๕) มีการระดมใช้ทรัพยากรในชุมชนอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ
๖) เรียนรู้ เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย
๗) มีการจัดทำกิจกรรมที่เป็นสาธารณะของชุมชนอย่างต่อเนื่อง
๘) มีการจัดการบริหารงานกลุ่มที่หลากหลายและเครือข่ายที่ดี
๙) มีการเสริมสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่หลากหลาย
ที่มา:
No comments:
Post a Comment