องค์ความรู้รายบุคคลพัฒนากร ปี 2561
1. ชื่อองค์ความรู้ เทคนิคการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยนวัติวิถีพัฒนากร
2. ชื่อเจ้าของความรู้ นางสาวพิญ์ชยา ทิพย์สุวรรณ
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสุไหงโก-ลก
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสุไหงโก-ลก
3. หมวดองค์ความรู้ที่บ่งชี้แนวทาง องค์ความรู้หมวดเทคนิคการพัฒนาอาชีพครัวเรือนตามแนวทางสัมมาชีพ
4. ความเป็นมา
การส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน กรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานหลักในการนำภารกิจนโยบายของรัฐบาลการบูรณาการไปสู่การปฏิบัติและขับเคลื่อนการดำเนินงานตามโครงการสร้างอาชีพ ยกระดับเศรษฐกิจฐานราก ใช้กระบวนการปราชญ์ชาวบ้านหรือ ชาวบ้านสอนชาวบ้าน ทำในสิ่งที่ออยากทำและฝึกปฏิบัติจริงให้สามารถนำไปเป็นอาชีพ เพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับปากท้องประชาชนระดับล่าง ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม และในส่วนของข้าราชการในสังกัดกรมการพัฒนาชุมชน จำนวน 600 คน ได้รับมอบภารกิจให้เข้าร่วม “โครงการคนกล้า พัฒนากรคืนถิ่น : CD Talent เป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้ทดลองหันมาใช้ชีวิต และพัฒนาอาชีพบนวิถีเกษตรยั่งยืน โดยนำปัจจัยสำคัญทางเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ให้ตรงจุด และเป็นประโยชน์ทางด้านการเพิ่มผลผลิตและด้านการตลาด เน้นการแตกตัวตามบริบทของพื้นที่ จากต้นแบบเปลี่ยนเป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง ไม่มีแบบที่ตายตัวเพียงแบบเดียว แต่จะเน้นตามบริบทตามศักยภาพของแต่ละคน โดยเชื่อมโยงการทำงานกับผู้เชี่ยวชาญทางด้านอื่น ๆ อย่างเช่น เทคโนโลยี นวัตกรรม หรือสุขภาพ เพื่อสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้อย่างทันสมัยและมีคุณภาพชีวิตที่ดี” โดยการมอบหมายให้พัฒนากรขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนปฏิบัติด้วยตนเองก่อนสู่ระดับหมู่บ้าน
5. ส่วนขยาย
กระบวนการ/วิธีการ/เทคนิค/ข้อพึงระวังอย่างไรที่ใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน
1. ดำเนินการวางแผน ออกแบบ แปลนแผนผังพื้นที่ในการทำในสิ่งที่ชอบและอยากทำ ปรึกษาหารือ ขอคำแนะนำจากผู้รู้ รับอาสาสมัคร ภาคีเครือข่าย ผู้ชำนาญการในแต่ละด้าน
2. จัดหาอุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องใช้ การออกแบบนวัตกรรมอย่างง่ายให้เกิดความสมดุล แม้มีข้อจำกัด เรื่องของพื้นที่ และเขตชุมชนเมือง
3. ศึกษาคุณสมบัติ การบำรุงรักษา แสวงหาเมล็ดพันธ์ มาเพาะปลูก โดยยึดหลักปลูกในสิ่งที่ชอบรับประทาน ลดรายจ่าย
4. ค้นคว้าหาความรู้จากสื่อต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้กับงาน และในการแก้ไขปัญหา
5. เชิญชวนประชาสัมพันธ์ กลุ่มสัมมาชีพชุมชนในตำบลที่รับผิดชอบและข้างเคียง มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้
6. เทคนิค
1. ต้องเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง โดยมีความ ตั้งใจ ใส่ใจ จริงใจและแบ่งปัน
2. ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เน้นตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ทางสายกลาง
3. ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่ไม่หยุดนิ่ง ใช้หลักการประสาน มองงานในภาพรวม
7. บทสรุป
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
1. องค์ความรู้ ประสบการณ์ทดลองปฏิบัติด้วยตนเอง เอาแบบอย่างของวิทยากร ครู พี่เลี้ยง ที่ประสบความสำเร็จ
2. ฝึกปฏิบัติ เพิ่มทักษะ ค้นหา แก้ไขปัญหาด้วยตนเองและภาคีพัฒนา
3. ความสุขที่เกิดจากการใช้เวลาว่าง มีการพัฒนาเจริญเติบโตจากพืชผักสีเขียว
การทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง 2 ประสาน
บำรุงราก ผล ใบ เพิ่มรสชาติ แก้ปัญหากลิ่น
เพิ่มออกซิเจนในน้ำ
ใช้ในปศุสัตว์ โรงเรือนสัตว์ ด้านประมง ลดภาวะโลกร้อน
คอนโดแฝด และกระโจมอินเดียแดง
นวัตกรรมการปลูกผักในที่จำกัด เขตชุมชนเมือง
No comments:
Post a Comment