Saturday 25 March 2017

แนวคิดการพัฒนาที่เน้นความจำเป็นพื้นฐาน หรือ จปฐ. (BMN: Basic Minimum Needs Approach)

แนวคิดนี้ได้พัฒนามาช่วงกลางทศวรรษที่ 1970 เป็นแนวคิดใหม่ที่เปลี่ยนจากการ พัฒนาทางด้านเศรษฐกิจมาเป็นการพัฒนาที่ตัวคนเป็นหลัก ในลักษณะของการปรับปรุง คุณภาพชีวิตของประชาชน และการพัฒนาสังคม ซึ่งแนวคิดนี้ถือว่าคนเป็นทรัพยากรที่สำคัญ ที่สุดของโลก และเชื่อว่าความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียวไม่อาจแก้หรือขจัด ปัญหาความยากจนได้เสมอไป มีคนอีกเป็นจำนวนมากที่ยังไม่อาจได้สิ่งซึ่งตนต้องการเป็น พื้นฐาน ในขณะที่ เศรษฐกิจของประเทศเติบโตไป
ดัชนีบ่งชี้คุณภาพชีวิตของประชากรที่ใช้กันมาก ได้แก่ ความยืนยาวของชีวิต สุขภาพพลานามัยที่ดีการศึกษา ความเสมอภาคทางเพศ รวมทั้งเสรีภาพทางสังคมและการเมือง เป็นต้น ถึงแม้ว่าดัชนีเชิงปริมาณเหล่านี้จะไม่สามารถครอบคลุมแนวคิดว่าด้วยการพัฒนาทรัพยากรได้ทั้งหมด แต่ก็นับว่ามีความสำคัญในทัศนะที่สองเช่นกัน เพราะการขยาย ทางเลือกในด้านวัตถุ ก็เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายในทัศนะที่สอง ซึ่งมุ่งเพิ่มพูนสมรรถนะของ มนุษย์ควบคู่ไปกับการขยายทางเลือกในด้านต่าง ๆ (คณะกรรมาธิการโลกว่าด้วยวัฒนธรรมและ การพัฒนา, 2541 : 22)
แต่อย่างไรความจำเป็นพื้นฐานที่จะนำพาให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีสามารถแยกออกได้ เป็น 2 ส่วน คือ
1) ส่วนที่จะเป็นระดับพื้นฐาน ประกอบด้วย
(1) ปัจจัยสี่ คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่พักอาศัย และบริการด้านการแพทย์
(2) สุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์ ไม่พิการหรือเจ็บป่วยเรื้อรัง
(3) ชีวิตที่มั่งคงปลอดภัย เช่น มีงานทำ ปลอดภัยจากโจรผู้ร้าย มีฐานะทาง เศรษฐกิจและสภาพทางสังคมในระดับที่น่าพอใจ ปลอดภัยจากภาวะสงคราม
(4) มีอิสระเสรีตามสิทธิมนุษยชน ไม่อยู่ในสภาวะถูกจองจำ หรือคุมขังสามารถ ใช้สิทธิเสรีภาพในขอบเขตแห่งกฎหมายหรือประเพณีของสังคมที่ตนเป็นสมาชิกอยู่
2) ส่วนที่จำเป็นต่อการเพิ่มคุณภาพชีวิต ซึ่งมีอยู่ 3 ประเภท คือ
(1) สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมทั้งทางร่างกายและทางสังคม เช่น มีมลภาวะ (Pollution) น้อยที่สุด และใกล้ชิดธรรมชาติมากที่สุด อยู่ในสภาพที่ สงบ สะดวก และยุติธรรม เอื้ออำนวยแก่พัฒนาตนเอง
(2) คุณสมบัติส่วนบุคคลที่เหมาะสมซึ่งจะทำให้บุคคลนั้นสามารถยกระดับ คุณภาพชีวิตของตนเองได้เช่น การมีจุดมุ่งหมายในชีวิต ความสามารถในการตัดสินใจอย่าง ถูกต้องและเหมาะสม ความมานะพยายาม ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อมที่ตัวเองอาศัยอยู่ ซึ่งจะช่วยให้บุคคลนั้นสามารถปรับตัวได้ดีและกลมกลืนกับสิ่งที่อยู่รอบตัว
(3) คุณสมบัติที่ส่งเสริมอยู่ร่วมกันโดยสันติวิธี เช่น ความมักน้อย รู้จักประหยัด ซึ่งจะทำให้บุคคลนั้นไม่คิดเบียดเบียนหรือเอาเปรียบคนอื่น การรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา มีวินัยในตนเอง มีคุณธรรมและจริยธรรมที่สังคมยอมรับ (เย็นใจ เลาหวนิช, 2523 : 9)
นอกจากนี้ ยังมีแนวคิดเพิ่มเติมและเป็นข้อเสนอข้อคิดบางประการที่สามารถจะนำไปสู่การพัฒนาต่อความจำเป็นพื้นฐานของประชาชน ซึ่งอาจจะนำไปประยุกต์ใช้ได้กับหลายประเทศ เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายความต้องการขั้นพื้นฐานอย่างจริงจัง ได้แก่
1) การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ มีการกระจายรายได้อย่าง เท่าเทียมกัน
2) การทำให้เป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ หรือ เกษตร – อุตสาหกรรม
3) แรงงานที่มีส่วนต่อการผลิตควรเป็นแรงงานกึ่งฝีมือ หรือแรงงานฝีมือ
4) นโยบายของประเทศต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (กำลังคนในชาติ) มีความต่อเนื่อง
5) ความเชื่อมโยงระหว่างความต้องการขั้นพื้นฐานในรูปลักษณะต่าง ๆ
6) บทบาทของรัฐ (Public Sector)
7) บทบาทขององค์กรเอกชน (Private Sector/Non – Governmental Organizations)
จะเห็นได้ว่า ถ้าปราศจากการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการสนองความต้องการ ขั้นพื้นฐานของประชาชนแล้ว ประเทศที่ด้อยพัฒนาไม่อาจจะอยู่ในสถานะที่ จะสามารถ ปรับเปลี่ยนระบบการค้าระหว่างประเทศ เพื่อให้ตนพ้นจากความเสียเปรียบอย่างที่เป็นอยู่ใน ปัจจุบันได้เลย ให้ประเทศยากจนทั้งหลายมีโอกาสขยายสินค้าของตนไปยังตลาดโลกได้มากขึ้น ราคาสินค้า ส่งออกอยู่ในอัตราที่ยุติธรรมและรักษาระดับได้มั่นคงขึ้น มีการให้ความช่วยเหลือ ในแบบให้เปล่าแทนการกู้ยืมจากต่างประเทศ มีการควบคุมพฤติกรรมของบริษัทข้ามชาติอย่างมี ประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นต้น

No comments:

Post a Comment