Saturday 25 March 2017

ทฤษฎีพึ่งพา (Dependency Theory)

ทฤษฎีนี้ เกิดจากปัญหาความด้อยพัฒนาที่เรื้อรังในกลุ่มประเทศละตินอเมริกา โดยเป็นการศึกษาถึงปัญหารากเหง้าของความด้อยพัฒนาในประเทศโลกที่ สาม โดยมีขอบข่ายที่ครอบคลุมถึงการพัฒนาแบบพึ่งพา (Self–dependency) ชาตินิยม (Nationalism) โครงสร้าง นิยม (Structuralism) และพัฒนานิยม (Developmentalism) แนวคิดนี้เป็นแนวคิดที่ต่อต้าน ลัทธิจักรวรรดินิยม (Imperialism) ซึ่งนักพัฒนาของประเทศด้อยพัฒนาและประเทศที่มีความเจริญ แล้วต่างก็พยายามหาความหลุดพ้นจากสภาพความด้อยพัฒนา โดยการปรับปรุงโครงสร้างความ สัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การเมืองระหว่างประเทศที่พัฒนาและประเทศที่ด้อยพัฒนา การปรับปรุง ความสัมพันธ์ทางการผลิตเพื่อเตรียมรับการเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพของเศรษฐกิจและสังคม ใหม่จะเห็นได้ว่าแนวทางการศึกษาของทฤษฎีพึ่งพา มีดังนี้
1. แนวทางศึกษาแบบมาร์กซีสต์ (Marxist)
แนวทางศึกษาแบบนี้เป็นการศึกษาถึงรากเหง้าของปัญหาความด้อยพัฒนานี้เป็นผลมาจากกระบวนการทางประวัติศาสตร์ที่มีลักษณะเป็นพลวัตมากกว่าเป็นผลมาจาก ปัญหาภายในประเทศ การผลิตสินค้าแบบเกษตรกรรมเป็นผลให้เกิดระบบนายทุน – นายหน้า จะเห็นได้ว่าความด้อยพัฒนา (Underdevelopment) ไม่ใช่ภาวะเริ่มต้นของกระบวนการพัฒนา ประเทศที่ทุกสังคมต้องประสบ ประเทศที่พัฒนาแล้วบางประเทศไม่เคยตกอยู่ในสภาวะที่ด้อย พัฒนา แต่อาจอยู่ในสภาวะที่ไม่พัฒนา (Undeveloped) มาก่อน นอกจากนี้ความด้อยพัฒนา ส่วนมาก เป็นผลมาจากความเป็นระบบทุนนิยมโลกของประเทศพัฒนามิใช่เป็นผลสะท้อน จากลักษณะ บกพร่องทางโครงสร้างเศรษฐกิจสังคม หรือแม้แต่การเมืองภายในประเทศด้อย พัฒนาเอง ซึ่งระบบทุนนิยมนั้นมีมุมมอง คือ ประเทศแม่หรือประเทศศูนย์รวมและประเทศบริวาร (peripheral countries) ความสัมพันธ์ของประเทศทั้งสองนี้ จะมีความสัมพันธ์ทั้งทางบวกและทางลบ กล่าวคือ ในลักษณะที่ประเทศบริวารต้องคอยพึ่งพาประเทศศูนย์อยู่ตลอดเวลา ถูกประเทศศูนย์ (Core) เอารัดเอาเปรียบ มีการดูดซึมส่วนเกินทางเศรษฐกิจจากประเทศบริวารเพื่อ ไปพัฒนาประเทศของตน และสามารถกำหนดวิถีชีวิตความเป็นไปต่าง ๆ ในประเทศบริวาร จนทำให้ประเทศบริวารไม่อาจมีแนวทางพัฒนาประเทศได้อย่างเป็นอิสระ และลักษณะ ความสัมพันธ์ดังกล่าวถูกกำหนดให้ดำรงต่อไป ด้วยเจตนาของประเทศศูนย์ตามโครงสร้างของ ระบบทุนนิยมโลก ซึ่งเป็นสาเหตุของความด้อยพัฒนาเรื้อรังในประเทศบริวาร
แต่อย่างไรก็ตาม ถือว่า การพัฒนาของประเทศบริวารนั้นต่างไปจากของ ประเทศศูนย์โดยที่สถานะทางโครงสร้างในการที่ ตนต้องเป็นประเทศบริวารเป็นตัวทำให้ พัฒนาการของประเทศมีขีดจำกัด ประเทศศูนย์จะอยู่รอดได้ต้องมีประเทศบริวาร แต่ประเทศ บริวารไม่อาจพัฒนาเป็นทุนนิยมเต็มรูปแบบประเทศศูนย์ได้ตราบใดที่ยังอยู่ในระบบศูนย์บริวาร ของระบบทุนนิยมโลกอยู่ ในขณะที่ประเทศศูนย์มีองค์ประกอบทางสังคมที่เอื้อต่อการพัฒนาทุน นิยมเต็มรูป ซึ่งได้แก่ความเป็นอิสระเป็นตัวของตัวเองมาก มีโครงสร้างที่เอื้อต่อการเร่งการผลิตระบบทุนนิยมโลกบังคับให้ประเทศบริวารไม่สามารถประสบซึ่งลักษณะเช่นนั้นได้ สำหรับมาตรการในการแก้ปัญหาตามแนวทางศึกษานี้การปฏิบัติแบบสังคม นิยมและการตัดความสัมพันธ์เชิงพึ่งพาที่เคยมีมาต่อประเทศศูนย์เท่านั้น ที่จะทำให้ประเทศ เหล่านี้หลุดพ้นจากความด้อยพัฒนา
2. แนวทางศึกษาแบบทุนนิยม (Capitalism)
แนวทางศึกษาในแบบนี้ยังคงเห็นด้วยที่ว่าประเทศด้อยพัฒนาถูกประเทศที่ พัฒนาแล้วเอารัดเอาเปรียบ โดยการกอบโกยผลประโยชน์หรือมูลค่าส่วนเกินไปหมด ทำให้ ประเทศเหล่านี้ไม่อาจพัฒนาได้อย่างไรก็ตามแนวความคิดนี้เชื่อว่ายังมีโอกาสที่ จะพัฒนาประเทศตามแบบทุนนิยมต่อไปได้หากมีการปรับปรุงโครงสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ และ การเมืองระหว่างประเทศด้อยพัฒนากับประเทศพัฒนาเสียใหม่ ไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบ ทั้งนี้แนวคิดดังกล่าว อาศัยทัศนะของการพัฒนาแบบพึ่งตนเองและลักษณะของความเป็นชาตินิยม มาเป็นองค์ประกอบสำคัญ แนวทางเรื่องการพัฒนาโดยอาศัยความพยายามในการพึ่งพาตนเอง เป็นหลักนั้น (สุรเชษฐ์ เวชชพิทักษ์, 2527 : 40) มีดังนี้
1) การลดการพึ่งพาด้านการนำเข้าสำหรับสินค้าและบริวารที่จำเป็นทางด้าน อาหาร น้ำมัน ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ปัจจัยหรืออุปกรณ์การผลิตสินค้าประเภททุน และที่สำคัญ คือ ลดการพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ ที่มาจากภายนอกประเทศ
2) การเปลี่ยนแปลงรูปแบบและรสนิยมในการบริโภค และการเพิ่มสมรรถนะ ในการผลิต
3) การกระจายรายได้ ในลักษณะของการกำหนดนโยบายที่จะเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตของคนที่มีรายได้มาก โดยการใช้นโยบายภาษี นโยบายด้านราคา การ ชักจูงใจ และในกรณีจำเป็นอาจต้องใช้วิธีการปันส่วน
4) ในบางประเทศ รัฐอาจจำต้องใช้นโยบายการควบคุมและเป็นเจ้าของ กิจการที่เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติรวมทั้งการเพิ่มความสามารถและความพยายามในการ เจรจาต่อรองกับบริษัทข้ามชาติ
5) การดำเนินนโยบายทางวัฒนธรรม เพื่อลดภาวะพึ่งพาทางวัฒนธรรมที่เคยมีต่อประเทศมหาอำนาจ
3. แนวทางศึกษาแบบผสมระหว่างแนวมาร์กซิสต์กับแนวทุนนิยม
แนวทางนี้เป็นการศึกษาว่า การพึ่งพาภายในกระบวนการทางประวัติศาสตร์ ของการขยายตัวของระบบทุนนิยมโลกนั้น มีลักษณะต่างกันอย่างไรแต่ละสังคม เพราะเชื่อว่า ในแต่ละประเทศนั้นมีลักษณะและความเป็นไปทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ภูมิศาสตร์ สภาพแวดล้อม ปัจจัยทางธรรมชาติต่างกันออกไปและเชื่อว่าลักษณะดังกล่าวเฉพาะตัวในสังคม หนึ่งย่อมเป็นตัวกำหนดเงื่อนไขความสัมพันธ์เชิงพึ่งพาระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศ

No comments:

Post a Comment