ความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ เป็นจุดมุ่งหมายเดียวกันของการพัฒนาในทุก ๆ ประเทศและถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างยิ่ง แต่มิใช่องค์ประกอบเดียว เพราะนอกจากนี้ยังมีองค์ประกอบอื่น ๆ ทั้งในด้านทัศนคติ ความเชื่อ รวมทั้งกระบวนการทางด้านสังคม ทฤษฎีนี้เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1950 และต้นทศวรรษที่ 1960 โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งเป็นทฤษฎีที่นักเศรษฐศาสตร์ให้ความสนใจและมีฐานคิดเชื่อว่า การพัฒนาประเทศทั้งหมด จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจเป็นลำดับขั้นตอน กล่าวคือ มีขั้นของการออมทรัพย์ ขั้นการลงทุนและขั้นของการช่วยเหลือจากต่างประเทศ ฉะนั้นในความหมายของนัก เศรษฐศาสตร์ตามฐานคิดแนวนี้จึงหมายถึงการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วของระบบ เศรษฐกิจส่วนรวม เพื่อบูรณะและพัฒนาเศรษฐกิจในระยะสั้น ฉะนั้นการพัฒนาประเทศในบาง ประเทศโดยเฉพาะประเทศที่ด้วยพัฒนาทั้งหลาย จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุน เพื่อการพัฒนา ฐานคิดของทฤษฎีนี้มาจากการใช้แผนมาร์แชล (Marshall Plan) ของ สหรัฐอเมริกา ที่ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศต่าง ๆ ทางยุโรป ในการบูรณะประเทศ
1. วิธีวิทยาขั้นตอนเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของ Rostow (Rostow’s Stages of Growth)
W.W. Rostow เป็นนักเศรษฐศาสตร์ได้เขียนไว้ในหนังสือ ความเติบโตทาง เศรษฐกิจตามลำดับขั้นว่า การเปลี่ยนแปลงความเปลี่ยนแปลงจากความด้อยพัฒนาไปสู่ความ พัฒนาของแต่ละประเทศมีลำดับขั้นตอนโดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ขั้นตอน คือ
1) ขั้นลำดับดั้งเดิม (The traditional society)
2) ขั้นก่อนที่ระบบเศรษฐกิจจะทะยานขึ้น (The precondition for take-off)
3) ขั้นทะยานขึ้น (The take-off)
4) ขั้นผลักดันไปสู่ความเจริญเติบโตแบบเต็มที่ (The drive to maturity)
5) ขั้นที่มีการบริโภคขนาดใหญ่ (The age of high mass consumption)
ตามแนวคิดของ Rostow นี้มีปัญหาว่าระยะเวลาแต่ละขั้นตอนความยาวนาน แค่ไหนและแต่ละขั้นตอนมักมีความเหลื่อมซ่อนกัน ทำให้การแบ่งเขตแต่ละขั้นตอนทำได้ไม่ชัดเจน และอาจมีการผลักดันให้ข้ามขั้นตอนกันได้ ในประเทศกำลังพัฒนา ระบบเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้ยากที่จะแยก ขั้นตอนตามที่ Rostow เสนอไว้เพราะมีปรากฎการณ์หลายขั้นตอนรวมอยู่ด้วยกัน เช่น บางส่วน ของระบบเศรษฐกิจอาจเป็นแบบสังคมโบราณ ในขณะที่ส่วนอื่นมีลักษณะก่อนการทะยานขึ้น และในส่วนอื่น ๆ อาจจะได้ทะยานขึ้นเรียบร้อยแล้ว ตัวอย่างในเมืองใหญ่ ๆ ที่มีความ เจริญก้าวหน้ามากกว่าชนบท ดังนั้น ในระยะเวลาหนึ่ง ๆ สภาวะการณ์ของทั้ง 5 ขั้นตอนของ Rostow อาจเกิดขึ้นพร้อม ๆ กันในแต่ละส่วนของระบบเศรษฐกิจก็ได้ โดยที่ แต่ขั้นตอนมิได้สูญ สิ้นไปก่อนที่จะเกิดขั้นตอนใหม่ๆ ขึ้น สภาพของระบบเศรษฐกิจบางส่วนยังล้าหลังอยู่ ในขณะ ที่ส่วนอื่น ๆ เจริญก้าวหน้าทันสมัย มีช่องว่างแตกต่างกันมากก็ได้ นอกจากนี้ทฤษฎีนี้ยังกล่าวว่า เงื่อนไขสำคัญของความสามารถในการ เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ คืออัตราการพัฒนาอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรม 2 – 3 ประเภท ซึ่งอุตสาหกรรมสำคัญนั้นจะเป็นอะไรก็ได้ขึ้นอยู่แต่สภาพบริบทของแต่ละ ประเทศ เมื่ออุตสาหกรรมหนึ่งเจริญก็ทำให้อุตสาหกรรมอื่นที่เกี่ยวข้องเจริญไปด้วย และการที่เศรษฐกิจแต่ละขั้นต่างกันนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 ประการ คือ
1) ขนาดของรายได้
2) ประเภทของอุปสงค์
3) การตัดสินใจเรื่องนโยบาย
ทั้งนี้ ในสังคมแบบดั้งเดิมนั้น การพัฒนาเศรษฐกิจยังอยู่ในสภาพที่ไม่มีการ ปรับปรุงนัก เพราะฉะนั้นจึงมีประสิทธิภาพการผลิตต่ำและมีสภาพสังคมที่ไม่เปิดโอกาสให้มีการ ปรับปรุงได้เมื่อประเทศเจริญขึ้นสู่สภาวะก่อนที่ระบบเศรษฐกิจจะทะยานขึ้น ประเทศต้องปรับปรุง บางส่วนของระบบเศรษฐกิจ โดยวิธีดังนี้คือ
1) เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตร
2) ส่งสินค้าออกให้ทันการณ์
3) มีการลงทุนด้านการคมนาคมการขนส่ง การพัฒนาพลังงาน
ส่วนในขั้นทะยานขึ้นนั้น จะเห็นความสำเร็จขึ้นได้ในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจ บางส่วนและเมื่อมาถึงขั้นผลักดันจะมีการใช้เทคโนโลยีทันสมัยมีการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ อย่างจริงจังและได้ผลมาแล้ว สำหรับในขั้นสุดท้ายนั้นสังคมจะมีทางเลือก 3 ทาง คือ
1) การพัฒนา / สร้างความมั่นคงทางสังคม
2) การขยายอำนาจออกไป
3) การเพิ่มปริมาณสินค้าอุปโภคนานาชนิด
อย่างไรก็ตามกลยุทธ์ในการพัฒนาดังที่ทฤษฎีการเติบโตลำดับขั้นได้เสนอไว้ ไม่จำเป็นต้องใช้ได้ผลเสมอไป เหตุผลสำคัญก็คือ มิใช่การออมทรัพย์และการลงทุนไม่ได้เป็น เงื่อนไขที่จะเป็นต้องการพัฒนา แต่เป็นเพราะว่ามันไม่ได้เป็นเงื่อนไขที่ เพียงพอต่างหากการที่แผนการมาร์เชลประสบผลสำเร็จในยุโรปเนื่องจากประเทศเหล่านั้นได้รับความช่วยเหลืออัน เหมาะสมกับสภาวะการณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นและประเทศในยุโรปก็มีโครงสร้างสถาบัน ตลอดจน ทัศนคติของประชาชนเอื้ออำนวยและเหมาะสมอยู่แล้ว เช่น ตลาดสินค้าและตลาดเงินที่ดี สิ่งอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งกำลังแรงงานที่ได้รับการศึกษาและฝึกฝนเป็นอย่างดี แรง จูงใจที่จะประสบความสำเร็จและการบริหารที่มีประสิทธิภาพ แต่ประเทศโลกที่ สามยังขาดแคลนสิ่งเหล่านี้เป็นอย่างมาก ฉะนั้นทั้ง ๆ ที่มีการวางแผนตามโครงการไว้แล้วได้ดีเลิศเพียงใด ก็ไม่อาจนำไปสู่ความสำเร็จได้ เนื่องจากขาดปัจจัยเสริม เช่น ความสามารถในการบริหาร แรงงานมีฝีมือ เป็นต้น นอกจากนี้ทฤษฎีการเติบโตลำดับขั้น ยังไม่ได้คำนึงถึงพลังอำนาจ ภายนอกประเทศในโลกที่สามโดยเฉพาะระบบการค้า การเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ อันสลับ ซับซ่อนยิ่งในยุคปัจจุบัน ฉะนั้น จึงไม่สามารถกล่าวอ้างได้ว่าการพัฒนาประเทศเป็น เพียงการ “กำจัดอุปสรรคบางอย่าง” แล้วเพิ่ม “สิ่งที่ขาดหายไป” เข้าไปก็พอแล้ว เช่นที่นัก เศรษฐศาสตร์ในทศวรรษที่ 1950 และทศวรรษที่1960 หลายคนกล่าวอ้างในการนี้ประเทศ
2. วิธีวิทยาตัวแบบการเจริญเติบโตของแฮร์รอด-โดมาร์ (The Harrod – Domar Growth Model)
ทฤษฎีนี้ให้ความสำคัญของการออมและการสะสมทุน ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญอันจะส่งผลต่อผลผลิตรวมของประเทศเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังจะผลักดันให้ระบบ เศรษฐกิจเจริญเติบโตต่อไป การสะสมทุนที่เพิ่มขึ้นเกิดจากการลงทุนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะมากหรือน้อยขึ้นกับการออมทั้งหมดของประเทศ ตัวแบบการเจริญเติบโตของ Harrod – Domar นั้น อธิบายว่า อัตราการ เจริญเติบโตของระบบเศรษฐกิจในระยะสั้น ถูกกำหนดโดยการออมของประเทศและอัตราส่วน ของทุนต่อผลผลิต ระบบเศรษฐกิจจะขยายตัวสูงได้จะต้องอาศัยการออมและการลงทุนใน ประเทศที่สูง ในทางตรงข้ามประเทศต่าง ๆ ต้องพยายามให้อัตราส่วนของทุน (Capital) ต่อผลผลิตลดลง ซึ่งสามารถสรุปได้ว่าเศรษฐกิจของประเทศชาติจะเจริญได้นั้นมาจากการออมของ ประชาชนภายในชาติ รวมทั้งการลดการบริโภคในสินค้าที่ไม่จำเป็นลงไป ข้อบกพร่องของทฤษฎีที่ว่าด้วยการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
1) ขอบเขตของปัจจัยเพื่อการพัฒนาแคบเกินไป กล่าวคือ มีการเน้นเฉพาะ เรื่องการออมและการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตของปัจจัยทุน โดยไม่คำนึงความสำคัญของ ปัจจัยแรงงาน ซึ่งมีอยู่เหลือเฟื่อในประเทศด้อยพัฒนาจนทำให้อัตราค่าจ้างแรงงานต่ำซึ่งต่าง จากปัจจัยทุน
2) อัตราการออมและการลงทุนสูงๆ อย่างเดียวไม่พอที่จะเร่งรัดการ เจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจ
3) ขาดการพิจารณาเรื่องการปรับปรุงด้านวิชาการ เทคโนโลยี
4) ในประเทศด้อยพัฒนา ระดับการออม อาจไม่ทำให้เกิดระดับการลงทุนใน ด้านที่ก่อให้เกิดผลผลิตสูงตามไปด้วยเพราะว่าสภาพต่าง ๆ ยังไม่เอื้ออำนวยพอที่จะกระตุ้นให้ เกิดการลงทุนในด้านอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นด้านการตลาด การขนส่ง การคมนาคม
5) ประชาชนในประเทศขาดการตระหนักในการออม
6) ประชาชนนิยมบริโภคสินค้าที่มาจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากประเทศ ที่พัฒนาแล้ว
จากทฤษฎีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่กล่าวมา เมื่อพิจารณาถึงความ สอดคล้องในการพัฒนาประเทศของกลุ่มที่กำลังพัฒนาและด้อยพัฒนามีส่วนที่เหมือนกัน (Remenyi, J., 1984: 14 – 17 อ้างใน เกื้อ วงศ์บุญสิน, 2538: 36 – 37) ดังนี้
1) การเพิ่มระดับความเชี่ยวชาญและการแบ่งงานกันทำ ผู้มีส่วนร่วมในการ ผลิตทุกระดับจะมีความเชี่ยวชาญในงานของตนมากขึ้น และการแบ่งงานกันทำเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ นี่เป็นสิ่งที่เกิดในกระบวนการผลิต ซึ่งจะเพิ่มขึ้นไปพร้อม ๆ กับการพัฒนา เศรษฐกิจ เมื่อมีความเชี่ยวชาญเพิ่มขึ้นย่อมทำให้การผลิตมีประสิทธิภาพดีขึ้น อย่างไรก็ตามสิ่ง นี้มักสัมพันธ์กับอัตราที่เพิ่มขึ้นของการผลิตที่อาศัยทุนเป็นหลักการพัฒนาเศรษฐกิจจึงก่อให้เกิด อุปสงค์ต่อการจัดสรรทรัพยากรเพื่อการลงทุนให้มากกว่าการบริโภคที่เป็นอยู่สำหรับในประเทศ โลกที่ สามหลาย ๆ ประเทศนั้นควรเน้นเรื่องการลงทุนมนุษย์โดยที่ ทรัพยากรต่าง ๆ ซึ่งใช้ไปจะ ทำให้ประชาชนได้รับสารอาหารมากขึ้นและมีสุขภาพดีขึ้น ทั้งนี้ความล้าหลังของสังคมย่อมเป็น อุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ ถ้าไม่มีการลงทุนดังกล่าว
2) การแพร่กระจายของเศรษฐกิจเงินตรา และการเสื่อมความนิยมในเรื่อง การค้าแบบแลกของกัน จะเกิดขึ้นถ้ามีความเชี่ยวชาญเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกัน การมีความ ต้องการเพิ่มขึ้นในการแลกเปลี่ยนหรือการค้าระหว่างบุคคลที่อยู่ในขั้นตอนการผลิตต่าง ๆ กัน ย่อมกระตุ้นให้เศรษฐกิจเงินตราเจริญเติบโตขึ้น ซึ่งเงินตรานั้นถือเป็นสื่อของการแลกเปลี่ยนที่ดีกว่าการแลกเปลี่ยนของ ทั้งในแง่ของความยืดหยุ่น ความคงทนถาวร สามารถแบ่งส่วนได้ ขนถ่ายได้ และเป็นหนี้ได้
3) การเปิดโอกาสให้ปริมาณของทางเลือกที่มีประสิทธิภาพขยายวงออกไป มากขึ้นทั้งแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นได้ทั้งจากการนำเอาโภคภัณฑ์ใหม่ ๆ เข้ามา ใช้เช่น สินค้าประเภทเครื่องไฟ ประเภทพลาสติก อาหารแบบใหม่ๆ รวมทั้งสินค้าสาธารณะ เช่น การศึกษา โครงการสุขภาพและอนามัย และในด้านกิจกรรมทางเศรษฐกิจประเภทต่าง ๆ รวมทั้งการมีสถาบันใหม่ๆ ที่มีความก้าวหน้าทางเทคนิค เปิดโอกาสให้มีบรรษัทธุรกิจเพิ่มขึ้น มีกลุ่มธนาคารต่าง ๆ เพิ่มขึ้น มีครัวเรือนเพิ่มขึ้น มีคนเพิ่มขึ้น เป็นต้น
4) การเปลี่ยนบทบาทของรัฐบาล
5) การให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นแก่การส่งสินค้าและบริการออกนอกประเทศ การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ทั้งนี้รวมทั้งในแง่ของการไหลเวียนของเงินตรา เช่น การกู้ยืม
6) การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างในการกระจายการจ้างงาน และสถานที่ของการทำงาน เช่น ให้แรงงานหันเหจากภาคเกษตรกรรมมาสู่ภาคอุตสาหกรรม เป็นต้น
นอกจากนี้ การพัฒนาเศรษฐกิจก่อให้เกิดสภาวะผลตามมาอีกหลายประการ เช่น รูปแบบของที่ อยู่อาศัยของประชากร อัตราการเกิด – อัตราการตาย ภาวะเจริญพันธุ์ การเพิ่มของประชากร การก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค เป็นต้น สิ่งเหล่านี้มาจากการพัฒนา รากฐานทางเศรษฐกิจ แต่ไม่จำเป็นที่จะต้องมีรูปแบบที่ เหมือนกัน แต่โดยภาพรวม การเปลี่ยนแปลงในหกประการข้างต้น เป็นปัจจัยหลักต่อการพัฒนาเศรษฐกิจเสมอ
No comments:
Post a Comment