Saturday, 25 March 2017

แนวคิดตามทฤษฎีภาวะทันสมัย (Conceptualized Frame on Modernization Theory)

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยสาเหตุที่ประเทศแถบยุโรปตะวันตกแพ้สงคราม จึงต้องมีความจำเป็นในการบูรณะประเทศ ซึ่งการพื้นฟูประเทศนั้นต้องมีการบูรณะประเทศในทุก ด้าน ของชีวิตมนุษย์ ทฤษฎีนี้อาศัยทฤษฎีเศรษฐศาสตร์นีโอคลาสสิก (Neo-Classic Theory) และทฤษฎีสังคมศาสตร์ของอเมริกันมาประยุกต์เป็นกรอบการวิเคราะห์ปัญหา ซึ่งจุดเน้นของ แนวคิดทฤษฎีนี้คือ การที่จะพัฒนาประเทศให้ทันสมัยนั้นต้องมีการดำเนินไปในทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม การเมือง ความรู้สึกนึกคิด และความรู้ของคนในสังคมจะขาดด้าน ใดด้านหนึ่งไม่ได้ เพราะแต่ละด้านมีความสัมพันธ์กันตลอดจนส่งผลซึ่งกันและกัน ดังจะเห็นได้ จากแผนภูมิข้างล่าง
แผนภูมิการพัฒนาประเทศให้สู่สภาวะทันสมัย
อย่างไรก็ตามการพัฒนาประเทศของทั้งสองกลุ่มประเทศนั้น ย่อมที่จะมีทิศทางกลยุทธ์ (strategies) ที่แตกต่างกันไป เพราะแต่ละประเทศมีอัตลักษณ์ทางด้านบริบทสังคมแตกต่างกัน แต่โดยภาพรวมแล้ว การพัฒนาประเทศให้ทันสมัยมีลักษณะดังนี้
1. การพัฒนาประเทศให้ทันสมัยทางด้านเศรษฐกิจ
ในแง่ของเศรษฐศาสตร์การพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าเป็นประเทศอุตสาหกรรมนั้น มีความหมายเดียวกับการทำประเทศให้ทันสมัย ซึ่งจะต้องขึ้นอยู่กับ การเพิ่มพูนผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชน (GDP = Gross National Product) การพัฒนาสังคม เมืองและกระจายความเจริญไปสู่ชนบท ซึ่งต้องมีการลงทุนใหม่ๆ อย่างหนักทั้งในด้าน สาธารณูปโภค เช่น โครงการเงินผันของประเทศไทยในสมัย ม.ร.ว. ศึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นต้น ตลอดจนกิจกรรมเพื่อการผลิตโดยตรง เช่น การเพิ่มเขตอุตสาหกรรม (Industrial Zone) โรงงาน หรือแม้แต่ในภาคการเศรษฐกิจแบบดั้งเดิม ซึ่งได้แก่ภาคเกษตรกรรม และหัตถกรรม ต้องมีการลงทุนใหม่ๆ สนับสนุนการแปรรูปผลผลิตของเกษตรกร เช่น ประเทศไทยมีนโยบายหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล (One Tumbon, One Product) ในสมัย ของ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี กล่าวตามความเป็นจริง เมื่อมีการทุ่มไปที่ภาคเศรษฐกิจสมัยใหม่มากกว่า ผลที่ตามมา คือ ประสิทธิภาพการผลิตในภาคเกษตรกรรม
อย่างไรก็ตาม กิจกรรมทางเศรษฐกิจจะไม่จำกัดเพียงอย่างเดียวหรือสองอย่าง หากแต่มีความสลับซับซ่อนมากขึ้น ระดับของความชำนาญสูงขึ้น สัดส่วนของทุนต่อ แรงงานเพิ่มขึ้น มีการขยายตัวทางการค้าและตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งทำ ให้สามารถดึงทรัพยากรทั้งคนและสิ่งของจากแหล่งต่าง ๆ มาใช้ได้อย่างกว้างขวาง เกิดเป็น เครือข่ายของระบบเศรษฐกิจที่มีความเหนียวแน่น การเกษตรลดความสำคัญลงเมื่อเทียบกับ การค้าอุตสาหกรรม และบริการอื่น ๆ ซึ่งแนวคิดนี้เชื่อว่า เป็นวิธีที่ทำให้ความเป็นอยู่ทาง เศรษฐกิจของประชาชนดีขึ้น ความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจลดลง ถึงแม้ว่าทฤษฎีภาวะทันสมัยที่มีผลต่อการกำหนดศักยภาพทางด้าน เศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งมีผลต่อกระบวนการพัฒนาประเทศเป็นอันดับแรก ฉะนั้นการส่งเสริม การลงทุนจากต่างประเทศ รวมทั้งการได้รับความช่วยเหลือจากต่างประเทศ (Foreign Aids) จึง เป็นกุญแจสำคัญสำหรับการพัฒนาประเทศให้ทันสมัยด้วย อนึ่งดูเหมือนว่า แนวคิดทฤษฎีภาวะทันสมัยจะมีลักษณะเป็นพลวัต (dynamic) ในแง่เศรษฐกิจก็ตาม แต่โดยองค์รวมแล้วการพัฒนาเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นอีกด้วย คือ ความรู้สึกนึกคิดทางสติปัญญา ทางการเมือง และทางสังคม ตลอดจนอัจฉริยะภาพด้าน ความรู้ความสามารถของผู้นำทางการเมือง (รัฐบาล) ในการที่ จะนำทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีอยู่มา ใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
2. การพัฒนาประเทศให้ทันสมัยทางด้านสติปัญญา
การพัฒนาประเทศให้เป็นประเทศอุตสาหกรรมจะทำได้ต้องผ่านการพัฒนา และการใช้วิทยาศาสตร์สมัยใหม่แล้ว ฉะนั้นการพัฒนาในแง่ของสติปัญญาและความรู้สึกนึกคิด ของคน ตามแนวทฤษฎีภาวะทันสมัยนั้นมีความสำคัญมาก โดยมองว่าในสังคมล้าหลังนั้น เด็ก จะทำตามผู้ใหญ่เพียงอย่างเดียว มีโอกาสเรียนรู้และเผชิญกับปัญหาในสังคมหรือท้องถิ่นที่คน ต้องประสบต่อไปในอนาคต ตามแบบที่ผู้ใหญ่สอนไว้ไม่มีโอกาสค้นคิดวิธีหรือสิ่งใหม่ หรือเป็น ตัวของตัวเอง ในสังคมสมัยใหม่นั้นปัญหาพื้นฐานของมนุษย์และความสัมพันธ์ต่อกันไม่ได้ เปลี่ยนไป หากแต่คนในสังคมต้องเผชิญในสภาพที่ต่างกันออกไป ความแตกต่างที่สำคัญ คือ ใน สังคมคนสมัยใหม่มีเสถียรภาพทางด้านบรรทัดฐาน (Norms) และรูปแบบของการดำเนินชีวิต (Pattern of Life) เปลี่ยนไปในยุคของโลกาภิวัตน์ อาริยะทุกคนทุกวัยจะมีความคิดที่กว้างไกล ด้วยเหตุผลที่มีการนำความรู้เชิงวิทยาศาสตร์เชิงสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ฉะนั้นการพัฒนาให้เกิดความรู้ทางด้านสติปัญญาต่อการพัฒนาเพื่อก่อให้เกิด ภาวะทันสมัย ความรู้ดังกล่าวควรมีลักษณะดังนี้
1) ความรู้ต่าง ๆ ต้องผ่านกระบวนการพินิจพิเคราะห์อย่างแท้จริง
2) มีการทดลองเพื่อประเมินความถูกต้องของคำอธิบายต่าง ๆ
3) ใช้กฎธรรมชาติที่สามารถอธิบายได้อย่างมีเหตุผล
4) วิธีการหาความรู้ต้องมีวิธีการเฉพาะ
5) วิธีวิทยา (Methodological strategies) ต้องทำเป็นพื้นฐานในการ แสวงหาหรือสร้างข้อความรู้ใหม่ (New Categories of knowledge)
3. การพัฒนาประเทศให้ทันสมัยทางสังคม
ในยุคโลกาภิวัตน์ อาริยะ ค่านิยม (Values) ของคนในสังคมที่เปลี่ยนไปมาก ต่างก็พยายามสร้างความคาดหวังในลักษณะที่ยอมรับได้ ลักษณะของคนในสังคมใหม่จะต้องมี บุคลิกภาพ ซึ่งสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่ เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมได้ (Mobile personality) ส่วนในด้านสังคมนั้น นักคิดตามทฤษฎีภาวะทันสมัยมองว่าการเปลี่ยนแปลง อย่างลึกซึ้งในทางสังคมต้องดำเนินร่วมไปกับและมีส่วนสนับสนุนต่อแง่ความคิดความรู้ทางด้าน การเมืองและเศรษฐกิจซึ่งจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นเมือง มีย้ายถิ่นจากเขต ชนบทสู่เมือง พร้อมด้วยการเปลี่ยนแปลงอาชีพตามสภาพความเป็นอยู่ในเมือง ทำให้ลักษณะ โครงสร้างของครอบครัวเปลี่ยนไป นอกจากนี้แนวโน้มต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับระดับรายได้ การศึกษา และโอกาสทางสังคมเพื่อมิให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ตลอดจนจะสามารถทำให้สมาชิกใน สังคมสามารถที่จะแสดงบทบาทของตนเองให้เหมาะสมที่สุด อย่างไรก็ตามการพัฒนาประเทศให้ทันสมัยทางด้านสังคม สามารถดำเนินการ ได้ดังนี้
1) ปรับปรุงระบบการศึกษาในด้านการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาพื้นฐาน
2) รัฐบาลจัดระบบสวัสดิการทางสังคม (Social Welfare) ให้ทั่วถึงทุกภูมิภาค ของประเทศ
3) รัฐบาลกระตุ้นให้ประชาชนมีความตระหนักต่อการพัฒนา
4) รัฐบาลเปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาและสร้างอัตลักษณ์ของชุมชนเอง
5) ลดการพึ่งพาจากต่างประเทศ โดยการสร้างฐานพลังการพัฒนาแนวใหม่
6) สร้างภาวะเศรษฐกิจที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ภายในชาติ ทั้งการสร้างความทันสมัยทางด้านสังคมจะต้องมีทิศทางหรือกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่ สอดคล้องกับสภาวะความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของสังคมด้วย จึงจะทำให้ประชาชนในชาติไม่เกิด สภาวะที่เรียกว่าการช็อคทางวัฒนธรรม (Cultural shock) ได้
4. การพัฒนาประเทศให้ทันสมัยทางด้านการเมือง
Samuel P. Huntington ได้เสนอตัวแปรสำคัญ 3 ประการ ที่เกี่ยวเนื่องกับ Political Modernization คือ
1) ความเป็นเหตุผลของอำนาจหน้าที่ (Rationalization of Authority) ซึ่ง หมายถึงการที่อำนาจทางการเมืองแบบดั้งเดิมซึ่งมีฐานอยู่ที่ประเพณีศาสนา ครอบครัว หรือ เชื้อชาติใด ๆ ถูกแทนที่โดยอำนาจทางการเมืองใหม่ที่ตั้งอยู่บนฐานของความมีเหตุมีผล เป็น อำนาจทางการเมืองแห่งชาติ ความคิดของคนเปลี่ยนไปจากการมองว่ารัฐบาลเป็นผลผลิตของพระเจ้ามาเป็นผลผลิตของคนเราเอง คนเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการตัดสินใด ๆ นอกจากนี้รัฐบาลแห่งชาติจะต้องมีอำนาจและมีอธิปไตยเหนืออำนาจในระดับท้องถิ่น
2) ความแตกต่างซับซ่อนของโครงสร้างและหน้าที่ทางการเมือ ง (Differentiation of Political Structure) และมีความชำนาญเฉพาะด้านมากขึ้น ส่วนองค์กรทาง กฎหมาย องค์กรทหาร องค์กรบริหารและองค์กรทางวิทยาศาสตร์จะแยกตัวเป็นอิสสระไม่อย่างกับการเมือง แต่จะสร้างหน่วยงานย่อย ๆ มารับหน้าที่ต่าง ๆ ออกไปอีก นอกจากนี้การเข้า สู่ตำแหน่งใด ๆ จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์เรื่องของความสัมฤทธิผลไม่ใช่เนื่องจากเป็นพวกพ้องหรือสนิทสนมกันเป็นการส่วนตัว
3) การเข้ามีส่วนร่วมทางการเมือง หมายถึงการที่กลุ่มทางสังคมต่าง ๆ พา กันเข้ามีส่วนร่วมในการเมืองทั่วทั้งสังคม การที่มีการเข้ามีส่วนร่วมเพิ่มมากขึ้นนั้นอาจจะเป็นผลให้รัฐบาลจำต้องเข้าควบคุมประชาชนมากขึ้นหรืออาจจะทำให้ประชาชนเข้าควบคุมรัฐบาลได้ อย่างมีประสิทธิภาพขึ้นก็ได้ในสังคมที่ทันสมัยนั้นราษฎรจะเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรง เป็นส่วนใหญ่ (Huntington, S.P., 1971: 34 – 35)
การมีส่วนร่วมทางสังคมหรือของประชาชน จะเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญอย่างยิ่งใน การพัฒนาความทันสมัยทางการเมือง ทั้งนี้รูปแบบของการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองของ ประชาชนของแต่ละสังคมสามารถทำได้ ดังนี้
1) การเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างเป็นอิสระ (Autonomous Political Participation) หมายถึงลักษณะที่ราษฎรเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองในรูปแบบใด ๆ ด้วย ความพึงพอใจส่วนตัว เป็นไปโดยความสมัครใจหรือได้พินิจพิเคราะห์ใช้วิจารณญาณของตนเอง มองเห็นประโยชน์ของการเข้ามีส่วนร่วมและมองเห็นว่าตนเองสามารถที่จะก่อให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงทางการเมืองได้อย่างแท้จริง
2) การเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองโดยถูกปลุกระดม (Mobilized Political Participation) หมายถึงลักษณะของการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองของราษฎรที่เป็นไปโดยที่ ไม่ได้เกิดจากเจตจำนงของตนเอง แต่เกิดจากผู้อื่นปลุกระดมให้เขาเข้าร่วมในการกระทำ กิจกรรมทางการเมืองในรูปแบบต่าง ๆ โดยการขู่เข็ญ บังคับ ชักจูงหรือใช้อิทธิพลทางวัตถุเป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อให้เป็นไปตามที่ผู้ปลุกระดมต้องการ (สิทธิพันธ์ พุทธหุน, 2543 : 81) นอกจากนี้ในสังคมที่มีความขัดแย้ง มีปัญหาเรื่องเชื้อชาติ มีการช่วงชิงอำนาจทาง การเมืองระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะอยู่ในรูปของการเมือง และจะก่อให้เกิดการ ปลุกระดมอันจะนำไปสู่การเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองในรูปแบบที่รุนแรงขึ้นได้ ส่วนปัญหาอื่น ๆ ที่สังคมประสบ เช่น เรื่องของการแจกแจงสวัสดิการ ปัญหาเงินเฟ้อ สินค้าราคาแพง สิ่ง เหล่านี้อาจนำมาซึ่งการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองในรูปแบบใด ๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าวิธีการของ รัฐบาลมีประสิทธิผลและเปิดโอกาสให้ราษฎรได้เข้ามีส่วนร่วมมากน้อยเพียงไรเมื่อเทียบกับวิธี อื่น ๆ

No comments:

Post a Comment