Saturday 25 March 2017

แนวคิดการพัฒนาว่าด้วยระบบโลก (The World – System Perspective)

แนวคิดว่าด้วยระบบโลก เป็นการอธิบายการพัฒนาที่ต่างออกไป กล่าวคือ มีหน่วย ของการวิเคราะห์อยู่ที่ระบบโลกทั้งระบบ เพื่อให้เห็นถึงพลวัตที่เกิดขึ้นในโลก ซึ่งนักวิชาการ ตามแนวคิดว่าด้วยระบบโลกนี้ เชื่อว่าพลวัตที่เกิดขึ้นสามารถอธิบายปรากฎการณ์หรือ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นระดับรัฐหรือหน่วยย่อยของระบบโลก ซึ่งแนวทฤษฎีหรือแนวคิดที่ให้รัฐ เป็นหน่วยการวิเคราะห์ไม่สามารถอธิบายได้ กล่าวอีกนัยหนึ่ง แนวคิดว่าด้วยระบบโลกเป็นการ เปิดขอบเขตแห่งความรู้สู่ความจริง ในระดับที่การวิเคราะห์วิจัยในระดับรัฐหรือแม้แต่การ เปรียบเทียบระหว่างรัฐ ไม่อาจทำได้
การอธิบายการพัฒนาโดยใช้ระบบโลกทั้งระบบเป็นหน่วยการวิเคราะห์นี้เป็น การศึกษาวิเคราะห์ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในระยะเวลา (Long term) และในภาพกว้าง (Large scale) เพื่อให้เห็นถึงจังหวะคลื่น (Cyclical rhythms) แนวโน้มและการเบี่ยงเบนหรือการ เปลี่ยนแปลงที่ เกิดขึ้นในประเด็นที่ศึกษา หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งเป็นการศึกษาพลวัตที่เกิดขึ้นใน แนวคิดว่าด้วยระบบโลกนี้ เริ่มพัฒนาขึ้นในช่วงปลายทศวรรษที่ 1970 ต่อเนื่อง มาถึงทศวรรษที่ 1980 โดยนักวิชาการซึ่งเห็นว่าแนวทฤษฎีหรือแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาที่มีมาก่อนหน้านั้นไม่สามารถอธิบายหรือมองข้ามประเด็นสำคัญหลายประเด็นไป โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งพฤติกรรมใหม่ ๆ หรือสิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในทศวรรษที่ 1982 หรือที่เปลี่ยนแปลงไปจากก่อน หน้านั้น เป็นต้น (เกื้อ วงศ์บุญสิน, 2538 : 62)
วิธีวิทยาของแนวคิดพัฒนาว่าด้วยระบบโลก
1) แนวคิดและวิธีวิทยาของ Immanuel Wellerstein
Wallerstein ชาวฝรั่งเศส เป็นผู้ริเริ่มแนวคิดว่าด้วยระบบโลก เพื่อศึกษา พลวัตของเศรษฐกิจโลก ตลอดจนเพื่อหาคำอธิบายต่อปรากฎการณ์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งทฤษฎี ภาวะทันสมัยและทฤษฎีพึ่งพิง หรือทฤษฎีพึ่งพาไม่สามารถอธิบายได้ ทั้งนี้แนวคิดส่วนหนึ่ง เกิดจากการผสมผสานแนวคิดของ Neo-Marxist ของ Fran, Dos Santos และ Amin รวมทั้ง แนวคิดของ Fermand Braudel และสำนัก Annales (Annales School ของฝรั่งเศส) Wallerstein เห็นว่า ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในโลกนั้น เป็นผลที่มีความสอดคล้องกันไม่สามารถแยกแยะออกเป็นสาขาใดของศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่ง
Wallerstein มองว่าระบบโลกเป็นหน่วยของการวิเคราะห์ (Unit of Analysis) และมีเพียงระบบเดียวเท่านั้น ไม่ได้แบ่งโลกออกเป็นระบบทุนนิยม ระบบสังคมนิยม โลกที่ หนึ่งหรือประเทศที่พัฒนาแล้ว โลกที่ สามหรือประเทศที่กำลังพัฒนา ทั้งนี้ระบบโลก ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ 3 ส่วน คือ ส่วนแก่น (Core) ส่วนบริวาร (Periphery) และส่วนกึ่งบริวาร (Semiperiphery) โดยส่วนหนึ่งเป็นกึ่งบริวารนั้นอยู่ระหว่างส่วนที่เป็นแก่นกับส่วนที่เป็น บริวารและเป็นส่วนที่มีลักษณะของทั้ง 2 ส่วนดังกล่าวผสมกัน การเพิ่มส่วนที่เป็นกึ่งบริวารเข้า มาในการวิเคราะห์นี้แนวคิดว่าด้วยระบบโลกเชื่อว่าจะทำให้สามารถอธิบายความเป็นไปในโลก ซึ่งแนวคิดอื่นแยกอธิบายไว้ต่างหาก เช่น พัฒนาการเฉพาะตัวของประเทศบริวารในกลุ่มโลกที่ สาม การที่ประเทศในเอเชียตะวันออกบางประเทศสามารถก้าวออกจากการมีสถานะเป็นบริวาร ในช่วงปลายของทศวรรษที่ 20 เป็นต้น การที่ระบบโลกประกอบด้วยส่วนแกน ส่วนบริวาร และส่วนกึ่งบริวารนี้ ชี้ให้เห็นว่าแนวคิดว่าด้วยระบบโลกไม่เน้นศึกษาเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งหากแต่ให้น้ำหนักใน การศึกษาวิเคราะห์แก่ทั้ง 3 ส่วนเท่ากัน
2) แนวคิดและวิธีวิทยาของ Bergesen and Schoenburg
แนวคิดนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับลัทธิอาณานิคมและมองว่าประเทศที่เป็นแกน (Core) หรือประเทศที่เป็นส่วนบริวาร (Periphery) ซึ่งแนวคิดระบบโลกมองว่า ส่วนแกนและ ส่วนบริวารมีการเชื่อมโยงทางด้านโครงสร้าง จึงถือว่าทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจ แบบทุนนิยม Borgesen และ Schoenberg มีวิธีวิทยาทางการศึกษาที่มองถึงความเป็น พลวัต (Collective dynamic) ของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมและเป็นการวิเคราะห์ลัทธิอาณา นิคมในระดับที่สูงกว่าระดับรัฐ โดยมีการศึกษาถึงปัจจัย 3 ประการ ได้แก่
(1) การกระจายอำนาจภายในของประเทศส่วนแก่น หรือประเทศแม่
(2) ความมั่นคงของประเทศส่วนแก่นหรือประเทศแม่
(3) ปฏิกิริยาในรูปของลัทธิอาณานิคม (Colonialism) และพานิชย์นิยม (Merchantism) ฉะนั้นปัจจัยทั้งสามประการจึงเป็นองค์ประกอบของการรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ ส่วนประเทศแม่หรือส่วนแก่น ซึ่งถือว่าเป็นข้อเสียเปรียบอย่างยิ่งสำหรับประเทศบริวารทั้งหลาย
3) แนวคิดและวิธีวิทยาของรูปแบบการเคลื่อนไหวของแรงงาน (Labour Movement)
ในช่วงศตวรรษที่ 20 ได้มีการเปลี่ยนแปลงที่ เกิดขึ้น โดยเฉพาะโครงสร้าง ของกระบวนการผลิตต่อแรงงาน (production / labour process) และโครงสร้างของแรงงาน เอง การเคลื่อนไหวของแรงงานในแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน ซึ่งมีทั้งการเคลื่อนไหวของ แรงงานทางการเมือง (political labour movement) และความเคลื่อนไหวของแรงานทางด้านสังคม (social labour movement) จะเห็นได้ว่าช่วงต้นทศวรรษที่20 เป็นช่วงที่ระบบทุนนิยมมีการ พัฒนาที่รุนแรงขึ้นจนกลายเป็นระบบผูกขาด (monopoly) มีการเปลี่ยนแปลงทางด้าน โครงสร้างแรงงานและการผลิตมีการนำเครื่องจักรมาใช้ในการผลิต เพราะฉะนั้นจึงทำให้เกิด สภาวะแรงงานไม่มีงานทำ (unemployment) นายจ้างหันมาใช้เครื่องจักรแทนกำลังแรงคน ลักษณะดังกล่าวจึงเป็นที่มาของการต่อรองทางด้านอำนาจ อนึ่งส่วนใหญ่ในลักษณะการ เคลื่อนไหวของแรงงานนั้นประเทศแกนจะไม่เน้นนโยบายปราบปรามแรงงาน ส่วนประเทศ บริวารนั้นจะเน้นการปราบปราม อย่างไรก็ตาม ตามปรากฏการณ์ของสังคมโลกทั้งประเทศ แกนและประเทศบริวารต่างก็ประสบปัญหาการเคลื่อนไหวทั้ งทางด้านแรงงานและความ เคลื่อนไหวทางด้านของสังคม เช่นกัน 3.6.4 แนวคิดและวิธีวิทยาของรูปแบบว่าด้วยระบบโลกกับความเป็นเมือง ความเป็นเมืองที่มากเกินไป (Overurbanization) เป็นผลมาจากการเพิ่ม ประชากรอย่างรวดเร็ว ตลอดจนระบบเทคโนโลยีที่ช่วยสร้างระบบสาธารณูปโภค ตลอดจน เครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ ทันสมัย ค่านิยมวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งการย้ายถิ่นจาก ชนบทเข้าสู่เมือง ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถกล่าวได้อย่างชัดเจนว่า เป็นผลมาจากลัทธิการล่าอาณานิคม ทั้งที่เป็นจริง ๆ หรือเคลือบแฝงมาจากพฤติกรรมอื่น ดังจะเห็นได้จากแผนภูมิในหน้าถัดไป ประเทศแกน (Core) การล่าอาณานิคม (Colonialism) ประเทศบริวาร (periphery) การเพิ่ม ประชากร เทคโนโลยี ความต้องการ ด้าน สาธารณูปริโภค การย้ายถิ่น อื่น ๆ การหลุดพ้นจาก การครอบงำทาง การเมือง อัตลักษณ์ ชุมชน สังคม เศรษฐกิจ
แผนภูมิระบบของความเป็นเมืองและสภาวะการเปลี่ยนแปลง

เพราะสังคมโลกมีการเชื่อมโยงต่อกันด้วยสิ่งที่เรียกว่าเครือข่ายเมือง (Urban network) ของประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศที่ด้อยพัฒนา จากสภาพความเป็นจริงประเทศที่ พัฒนาแล้วจะกอบโกยและตักตวงผลประโยชน์ต่าง ๆ จากประเทศที่เป็นบริวารหรือประเทศที่ ด้อยพัฒนา ซึ่งเพื่อความมั่นคงของตนเอง และปล่อยให้ล้าหลัง ฉะนั้นตราบใดที่ไม่มีความ เสมอภาพทางด้านโครงสร้างของสังคมตราบนั้นมีระบบทุนนิยม

No comments:

Post a Comment