United Nation Population Fund Activities (UNFPA) ได้รวบรวมความหมาย ของการพัฒนาแบบยั่งยืนไว้ (เกื้อ วงศ์บุญสิน, 2538: 71 – 72) ดังนี้
1) การพัฒนาแบบยั่งยืน หมายถึง การพัฒนาที่ตรงกับความต้องการตามความจำเป็น ในปัจจุบัน โดยสามารถรองรับความต้องการ และหรือความจำเป็นที่จะเกิดแก่ชนรุ่นหลัง ๆ ด้วย ทั้งนี้มาตรฐานการครองชีพที่เลยขีดความจำเป็นขั้นพื้นฐานต่ำสุด จะยั่งยืนต่อเมื่อมาตรฐานการบริโภคในทุกหนทุกแห่งคำนึงถึงความยั่งยืนในระยะยาว (Long-term sustainability)
2) การพัฒนาแบบยั่งยืน คือ ครอบคลุมมาตรการรักษามารดทางทรัพยากรที่จะตกกับ ชนรุ่นหลัง โดยอย่างน้อยให้ได้มากพอ ๆ กับที่ชนรุ่นปัจจุบันได้รับมา
3) การพัฒนาแบบยั่งยืน หมายถึง การพัฒนาที่กระจายประโยชน์ของ ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจได้อย่างทั่วถึง ตลอดจนเป็นการพัฒนาที่ปกป้องสิ่งแวดล้อมทั้งใน ระดับท้องถิ่นและในระดับโลกโดยรวบเพื่อชนรุ่นหลังและเป็นการพัฒนาที่ทำให้คุณภาพชีวิตดี ขึ้นอย่างแท้จริง
4) การพัฒนาแบบยั่งยืน หมายถึง การทำให้คุณภาพของชีวิตมนุษย์ดีขึ้นภายใน ระบบนิเวศวิทยาที่สามารถจะรองรับการดำเนินชีวิตได้ต่อไป ในลักษณะดังกล่าว “เศรษฐกิจ แบบยั่งยืน” (Sustainable economy) คงต้องเป็นเศรษฐกิจที่ธำรงรักษาแหล่ง ทรัพยากรธรรมชาติของตนไว้ได้โดยเศรษฐกิจแบบนี้จะยังคงสามารถพัฒนาควบคู่ไปกับการ รักษาแหล่งทรัพยากร ได้ต่อไปด้วยการปรับตัว และโดยอาศัยการยกระดับความรู้ ปรับปรุง องค์กร ตลอดจนปรับประสิทธิภาพทางเทคนิคและเชาว์ปัญญา
จากความหมายของการพัฒนาแบบยั่งยืนนั้น เป็นแนวคิดที่อยู่บนพื้นฐานของ หลักการที่เรียกว่า “ความยุติธรรมระหว่างชน 2 รุ่น (Intergenerational equity) กล่าวคือ เมื่อพิจารณาจากความหมายของการพัฒนาแบบยั่งยืนนั้นสามารถกล่าวถึงการ ครอบคลุมประเด็น 2 ลักษณะ คือ ลักษณะแรก คือ เน้นเรื่องความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแบบมีขีดจำกัด โดยมุ่งเน้นวิถีชีวิตของประชาชนที่มีเศรษฐกิจพอเพียง สามารถอยู่ได้ท่ามกลางกระแสวิกฤต เศรษฐกิจหรือเศรษฐกิจที่บันป่วน โดยวิธีวิทยาของลักษณะแรกนั้น คือ “เน้นหลักความพอดี” และการตอบสนองต่อความจำเป็นพื้นฐานเท่าที่จำเป็น ลักษณะที่สอง คือ เน้นเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติหรือทรัพยากรธรรมชาติ เพราะ ธรรมชาติไม่ได้มีไว้เพื่อให้มนุษย์นำไปใช้ได้อย่างฟุ่มเฟื่อยและล้างผลาญ วิธีวิทยาของการ รักษาและอนุรักษ์ทรัพยากร คือ การใช้สอยให้คุ้มค่าและใช้ให้น้อยลง อย่างไรก็ตามประเด็นนี้กำลังเป็นที่น่าสนใจ (Currentiveness) ของมวลหมู่ธรรมชาติเพราะความสัมพันธ์ระหว่าง ประชากร การใช้ทรัพยากรธรรมชาติการเพิ่มประชากรและความเจริญทางด้านเทคโนโลยีขาด ความสมดุล (Unequilbrium) อย่างไรก็ตามวิธีวิทยาของการพัฒนาแบบยั่งยืนควรที่จะสามารถพัฒนาได้อย่างน้อย 3 ด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจ สังคม นิเวศวิทยา
1) วิธีวิทยาของการพัฒนาแบบยั่งยืนทางด้านเศรษฐกิจ
(1) มีการขยายตัวของระดับเศรษฐกิจแบบกึ่งอุตสาหกรรม กล่าวคือ เศรษฐกิจภายในครอบครัว การผลิตสินค้าที่คนภายในประเทศต้องการ โดยเฉพาะสินค้า บริโภคที่มีความสอดคล้องกันความจำเป็นพื้นฐาน
(2) ความยุติธรรม ประชาชนโดยเฉพาะชนชั้นแรงงานจะต้องได้รับความ ยุติธรรมจากหน่วยงานของการผลิต (Production unit) คือนายทุนนั่นเอง
(3) คุณภาพ ผลิตอะไรก็ตามจะต้องได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพจึงจะ สามารถทำให้เศรษฐกิจของชาติอยู่รอดและสามารถแข่งขันต่อตลาดโลกได้กรณีตัวอย่าง เช่น การส่งออกผลไม้ของประเทศไทย ซึ่งบางครั้งยังมีมาตรฐานต่ำเพราะยังขาดกระบวนการ คัดเลือก ซึ่งหมายถึงประสิทธิภาพของการคัดเลือกสินค้าจึงทำให้ผลไม้ไทยในตลาดโลก บางอย่างได้รับความนิยมลดลง
2) วิธีวิทยาของการพัฒนาแบบยั่งยืนทางด้านสังคม สังคมเป็นการรวมตัวของบุคคล ของวัฒนธรรม ฉะนั้น การพัฒนาที่ดีและ ยั่งยืนจะส่งผลต่อการดำรงอยู่ของสังคม ฉะนั้นวิธีวิทยาทางด้านนี้ต้องมีทิศทางการดำเนินงาน ดังนี้
(1) อำนาจ อำนาจของสังคมที่ขัดเกลาสมาชิกในสังคม รวมทั้งต่อรองอำนาจ บางประการจากสังคมที่เข้มแข็งและพัฒนามากกว่า โดยเฉพาะอำนาจทางสังคมชนบท ดู เหมือนจะได้รับการเล็งเห็นคุณค่าน้อยกว่าอำนาจทางสังคมเมือง
(2) การมีส่วนร่วม การมีส่วนร่วมโดยหลักธรรมชาติคือ การมีประชาธิปไตย ในการพัฒนาฐานรากของสังคม สมาชิกในสังคมจะต้องมีสิทธิที่จะ “ออกแบบ” สังคมด้วย ตนเองและมุ่งถึงความเจริญเติบโตของสังคมและประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน
(3) เสถียรภาพทางด้านสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสถียรภาพทางด้านความ ปลอดภัยทางสังคม
(4) อัตลักษณ์ ซึ่งรวมถึงวิถีชีวิต แนวความคิด (Ideology) เพื่อการปฏิบัติ สังคมจะต้องไม่ถูกคุกคามจากสถานการณ์ข้อความรู้ (Situated knowledge) หรือวัฒนธรรมของ ต่างชาติ โดยปราศจากฐานคติที่จะนำมาดัดแปลงให้เหมาะสมกับบริบทของตนเอง
3) วิธีวิทยาของการพัฒนาแบบยั่งยืนทางด้านนิเวศ
(1) เสถียรภาพระบบนิเวศ คนในสังคมจะต้องตระหนักและเห็นคุณค่าของ สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการจัดระบบนิเวศให้มีความสมดุลกับความต้องการของคนในสังคม รวมทั้งสภาพของทรัพยากรและระบบนิเวศที่มีอยู่ การสร้างเสถียรภาพระบบนิเวศสามารถทำ ได้โดยใช้
- นโยบายสิ่งแวดล้อมแบบป้องกันล่วงหน้า (Preventive environmental policy)
- การบูรณะฟื้นฟู (Restoration of renewal) เป็นการช่วยเหลือและจัดการ ทรัพยากร การผลิตและสิ่งแวดล้อมที่ได้รับความเสียหายให้มีสภาพเหมือนเดิมหรือเทียบเท่าของเดิม ในการบูรณะฟื้นฟูต้องคำนึงถึงสมดุลธรรมชาติของทรัพยากรอื่นด้วยเพราะการเพิ่ม ทรัพยากรอย่างหนึ่งอาจมีผลเสียต่อทรัพยากรอย่างอื่นได้
- การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบาง ประเภทที่มีคุณสมบัติที่สามารถดัดแปลงโดยใช้เทคโนโลยีสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น การนำสิ่งอื่นมาใช้ทดแทน ทรัพยากรบางอย่างที่มีขีดจำกัดและหมด เปลืองไป เนื่องจากบูรณะหรือมีราคาแพง ควรหาทรัพยากรที่สามารถนำมาใช้ทดแทนได้ (ราตรี ภารา, 2540: 15 – 16)
(2) ขีดจำกัด การพัฒนาแบบยั่งยืนของระบบนิเวศบางครั้งก็มีขีดจำกัดในการ นำมาพัฒนา โดยเฉพาะการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในจำนวนจำกัด จำเป็นที่จะต้องใช้อย่าง ประหยัดและมีความเหมาะสมที่จำเป็นมาใช้
(3) ความหลากหลายทางด้านชีวภาพ วิธีวิทยาของการพัฒนาแบบยั่งยืน ทางด้านนี้จะต้องเน้นกระบวนการที่นำลักษณะทางด้านนิเวศวิทยาผสมผสานเพื่อให้เกิด ประโยชน์สูงสุดต่อคนในสังคมที่นำมามาใช้
จะเห็นได้แนวคิด ทฤษฎี และวิธีวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานั้น ในกลุ่ม ประเทศที่พัฒนาแล้วจะเน้นทางด้านการพัฒนาทางสังคมมากกว่าการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ ส่วนในประเทศกลุ่มด้อยพัฒนาเน้นการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งเน้นการขยายตัวและ ประสิทธิภาพของเศรษฐกิจ แต่อย่างไรก็ตามทั้งสองกลุ่มประเทศต่างก็มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนภายในประเทศเป็นหลัก รวมทั้งแสวงหาความเข้าใจในการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างชาติต่อไป
No comments:
Post a Comment