Saturday, 25 March 2017

แนวคิด ทฤษฎี และวิธีวิทยาการพัฒนา

การพัฒนาเป็นสิ่งสำคัญอันพึงปรารถนาของทุกประเทศ โดยเฉพาะ ประเทศกลุ่มที่กำลังพัฒนาหรือกลุ่มประเทศที่ สาม องค์ประกอบของการพัฒนามิใช่ให้ความสำคัญทางด้านมิติใดมิติหนึ่ง หากแต่ให้ความสำคัญในทุก ๆ ด้านอย่างเท่าเทียมกันเพราะการ พัฒนาเป็นมิติแห่งการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระบบของบริบทพื้นฐานทางด้านสังคมของประเทศ ในปัจจุบันหลายๆ ประเทศได้ตระหนักถึงคุณค่าแห่งการพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงสร้าง ของสถาบันต่าง ๆ โครงสร้างการบริหาร รวมทั้งขนบธรรมเนียม วิถีชีวิต อัตลักษณ์แห่งชุมชน แม้ว่าการพัฒนาจะเป็นเรื่องเฉพาะของแต่ละชาติ ในทางกลับกันสถานการณ์สังคมโลกมีความ เปลี่ยนแปลงและเจริญไปมาก ทุกคนต้องตระหนักที่จะช่วยกันพัฒนาช่วยหรือเกื้อกูลกันเพื่อ ความเจริญของสังคมโลกต่อไป แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนามีผู้เสนอแนวคิดและแนวทางปฏิบัติมากมาย ซึ่งมีทั้งส่วนที่สัมพันธ์กันและขัดแย้งกัน
แต่อย่างไรก็ตามแนวคิดต่าง ๆ นี้จะนำเสนอให้เห็นถึง คุณค่ามิติแห่งการพัฒนา ดังนี้
อ้างอิง
เกื้อ วงศ์บุญสิน. ประชากรกับการพัฒนา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538.
คณะกรรมาธิการโลกว่าด้วยวัฒนธรรมและกากรพัฒนา. วัฒนธรรมอันหลากสีของมนุษยชาติ. ม.ป.ป. : ม.ป.ท.
ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์. นิเวศเศรษฐศาสตร์และนิเวศวิทยาการเมือง. (พิมพ์ครั้งที่ 2) . กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543.
เย็นใจ เลาหวนิช. “การศึกษากับการพัฒนาคุณภาพชีวิต”. วารสารการศึกษาแห่งชาติ. 14 (สิงหาคม – กันยายน 2523): 7 – 9.
ราตรี ภารา. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร : อักษรพิพัฒน์, 2540.
สิทธิพันธ์ พุทธหุน. สังคมวิทยาทางกมรเมืองกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2543.
สุรเชษฐ์ เวชชพิทักษ์. “ประมวลสาระสำคัญจากเอกสารประกอบการสัมมนา เรื่อง นโยบาย การพัฒนาประเทศ : แนวคิดการศึกษาวิจัย”. จุลสารไทยคดีศึกษา. 2 (ตุลาคม 2527): 40.
Huntington, S.P. Political Order in Changing Societies. New Haven: Yale University Press, 1971.

Remenyi, J. Development Experience in The Third World. Victoria, Australia: Deakin University Press, 1984. Todoro, M. P. Economic Development in the Third World. New York: Alpire Press, 1985.

ทฤษฎีว่าด้วยขั้นตอนของความเจริญทางเศรษฐกิจ

ความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ เป็นจุดมุ่งหมายเดียวกันของการพัฒนาในทุก ๆ ประเทศและถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างยิ่ง แต่มิใช่องค์ประกอบเดียว เพราะนอกจากนี้ยังมีองค์ประกอบอื่น ๆ ทั้งในด้านทัศนคติ ความเชื่อ รวมทั้งกระบวนการทางด้านสังคม ทฤษฎีนี้เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1950 และต้นทศวรรษที่ 1960 โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งเป็นทฤษฎีที่นักเศรษฐศาสตร์ให้ความสนใจและมีฐานคิดเชื่อว่า การพัฒนาประเทศทั้งหมด จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจเป็นลำดับขั้นตอน กล่าวคือ มีขั้นของการออมทรัพย์ ขั้นการลงทุนและขั้นของการช่วยเหลือจากต่างประเทศ ฉะนั้นในความหมายของนัก เศรษฐศาสตร์ตามฐานคิดแนวนี้จึงหมายถึงการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วของระบบ เศรษฐกิจส่วนรวม เพื่อบูรณะและพัฒนาเศรษฐกิจในระยะสั้น ฉะนั้นการพัฒนาประเทศในบาง ประเทศโดยเฉพาะประเทศที่ด้วยพัฒนาทั้งหลาย จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุน เพื่อการพัฒนา ฐานคิดของทฤษฎีนี้มาจากการใช้แผนมาร์แชล (Marshall Plan) ของ สหรัฐอเมริกา ที่ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศต่าง ๆ ทางยุโรป ในการบูรณะประเทศ
1. วิธีวิทยาขั้นตอนเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของ Rostow (Rostow’s Stages of Growth)
W.W. Rostow เป็นนักเศรษฐศาสตร์ได้เขียนไว้ในหนังสือ ความเติบโตทาง เศรษฐกิจตามลำดับขั้นว่า การเปลี่ยนแปลงความเปลี่ยนแปลงจากความด้อยพัฒนาไปสู่ความ พัฒนาของแต่ละประเทศมีลำดับขั้นตอนโดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ขั้นตอน คือ
1) ขั้นลำดับดั้งเดิม (The traditional society)
2) ขั้นก่อนที่ระบบเศรษฐกิจจะทะยานขึ้น (The precondition for take-off)
3) ขั้นทะยานขึ้น (The take-off)
4) ขั้นผลักดันไปสู่ความเจริญเติบโตแบบเต็มที่ (The drive to maturity)
5) ขั้นที่มีการบริโภคขนาดใหญ่ (The age of high mass consumption)
ตามแนวคิดของ Rostow นี้มีปัญหาว่าระยะเวลาแต่ละขั้นตอนความยาวนาน แค่ไหนและแต่ละขั้นตอนมักมีความเหลื่อมซ่อนกัน ทำให้การแบ่งเขตแต่ละขั้นตอนทำได้ไม่ชัดเจน และอาจมีการผลักดันให้ข้ามขั้นตอนกันได้ ในประเทศกำลังพัฒนา ระบบเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้ยากที่จะแยก ขั้นตอนตามที่ Rostow เสนอไว้เพราะมีปรากฎการณ์หลายขั้นตอนรวมอยู่ด้วยกัน เช่น บางส่วน ของระบบเศรษฐกิจอาจเป็นแบบสังคมโบราณ ในขณะที่ส่วนอื่นมีลักษณะก่อนการทะยานขึ้น และในส่วนอื่น ๆ อาจจะได้ทะยานขึ้นเรียบร้อยแล้ว ตัวอย่างในเมืองใหญ่ ๆ ที่มีความ เจริญก้าวหน้ามากกว่าชนบท ดังนั้น ในระยะเวลาหนึ่ง ๆ สภาวะการณ์ของทั้ง 5 ขั้นตอนของ Rostow อาจเกิดขึ้นพร้อม ๆ กันในแต่ละส่วนของระบบเศรษฐกิจก็ได้ โดยที่ แต่ขั้นตอนมิได้สูญ สิ้นไปก่อนที่จะเกิดขั้นตอนใหม่ๆ ขึ้น สภาพของระบบเศรษฐกิจบางส่วนยังล้าหลังอยู่ ในขณะ ที่ส่วนอื่น ๆ เจริญก้าวหน้าทันสมัย มีช่องว่างแตกต่างกันมากก็ได้ นอกจากนี้ทฤษฎีนี้ยังกล่าวว่า เงื่อนไขสำคัญของความสามารถในการ เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ คืออัตราการพัฒนาอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรม 2 – 3 ประเภท ซึ่งอุตสาหกรรมสำคัญนั้นจะเป็นอะไรก็ได้ขึ้นอยู่แต่สภาพบริบทของแต่ละ ประเทศ เมื่ออุตสาหกรรมหนึ่งเจริญก็ทำให้อุตสาหกรรมอื่นที่เกี่ยวข้องเจริญไปด้วย และการที่เศรษฐกิจแต่ละขั้นต่างกันนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 ประการ คือ
1) ขนาดของรายได้
2) ประเภทของอุปสงค์
3) การตัดสินใจเรื่องนโยบาย
ทั้งนี้ ในสังคมแบบดั้งเดิมนั้น การพัฒนาเศรษฐกิจยังอยู่ในสภาพที่ไม่มีการ ปรับปรุงนัก เพราะฉะนั้นจึงมีประสิทธิภาพการผลิตต่ำและมีสภาพสังคมที่ไม่เปิดโอกาสให้มีการ ปรับปรุงได้เมื่อประเทศเจริญขึ้นสู่สภาวะก่อนที่ระบบเศรษฐกิจจะทะยานขึ้น ประเทศต้องปรับปรุง บางส่วนของระบบเศรษฐกิจ โดยวิธีดังนี้คือ
1) เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตร
2) ส่งสินค้าออกให้ทันการณ์
3) มีการลงทุนด้านการคมนาคมการขนส่ง การพัฒนาพลังงาน
ส่วนในขั้นทะยานขึ้นนั้น จะเห็นความสำเร็จขึ้นได้ในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจ บางส่วนและเมื่อมาถึงขั้นผลักดันจะมีการใช้เทคโนโลยีทันสมัยมีการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ อย่างจริงจังและได้ผลมาแล้ว สำหรับในขั้นสุดท้ายนั้นสังคมจะมีทางเลือก 3 ทาง คือ
1) การพัฒนา / สร้างความมั่นคงทางสังคม
2) การขยายอำนาจออกไป
3) การเพิ่มปริมาณสินค้าอุปโภคนานาชนิด
อย่างไรก็ตามกลยุทธ์ในการพัฒนาดังที่ทฤษฎีการเติบโตลำดับขั้นได้เสนอไว้ ไม่จำเป็นต้องใช้ได้ผลเสมอไป เหตุผลสำคัญก็คือ มิใช่การออมทรัพย์และการลงทุนไม่ได้เป็น เงื่อนไขที่จะเป็นต้องการพัฒนา แต่เป็นเพราะว่ามันไม่ได้เป็นเงื่อนไขที่ เพียงพอต่างหากการที่แผนการมาร์เชลประสบผลสำเร็จในยุโรปเนื่องจากประเทศเหล่านั้นได้รับความช่วยเหลืออัน เหมาะสมกับสภาวะการณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นและประเทศในยุโรปก็มีโครงสร้างสถาบัน ตลอดจน ทัศนคติของประชาชนเอื้ออำนวยและเหมาะสมอยู่แล้ว เช่น ตลาดสินค้าและตลาดเงินที่ดี สิ่งอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งกำลังแรงงานที่ได้รับการศึกษาและฝึกฝนเป็นอย่างดี แรง จูงใจที่จะประสบความสำเร็จและการบริหารที่มีประสิทธิภาพ แต่ประเทศโลกที่ สามยังขาดแคลนสิ่งเหล่านี้เป็นอย่างมาก ฉะนั้นทั้ง ๆ ที่มีการวางแผนตามโครงการไว้แล้วได้ดีเลิศเพียงใด ก็ไม่อาจนำไปสู่ความสำเร็จได้ เนื่องจากขาดปัจจัยเสริม เช่น ความสามารถในการบริหาร แรงงานมีฝีมือ เป็นต้น นอกจากนี้ทฤษฎีการเติบโตลำดับขั้น ยังไม่ได้คำนึงถึงพลังอำนาจ ภายนอกประเทศในโลกที่สามโดยเฉพาะระบบการค้า การเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ อันสลับ ซับซ่อนยิ่งในยุคปัจจุบัน ฉะนั้น จึงไม่สามารถกล่าวอ้างได้ว่าการพัฒนาประเทศเป็น เพียงการ “กำจัดอุปสรรคบางอย่าง” แล้วเพิ่ม “สิ่งที่ขาดหายไป” เข้าไปก็พอแล้ว เช่นที่นัก เศรษฐศาสตร์ในทศวรรษที่ 1950 และทศวรรษที่1960 หลายคนกล่าวอ้างในการนี้ประเทศ
2. วิธีวิทยาตัวแบบการเจริญเติบโตของแฮร์รอด-โดมาร์ (The Harrod – Domar Growth Model)
ทฤษฎีนี้ให้ความสำคัญของการออมและการสะสมทุน ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญอันจะส่งผลต่อผลผลิตรวมของประเทศเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังจะผลักดันให้ระบบ เศรษฐกิจเจริญเติบโตต่อไป การสะสมทุนที่เพิ่มขึ้นเกิดจากการลงทุนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะมากหรือน้อยขึ้นกับการออมทั้งหมดของประเทศ ตัวแบบการเจริญเติบโตของ Harrod – Domar นั้น อธิบายว่า อัตราการ เจริญเติบโตของระบบเศรษฐกิจในระยะสั้น ถูกกำหนดโดยการออมของประเทศและอัตราส่วน ของทุนต่อผลผลิต ระบบเศรษฐกิจจะขยายตัวสูงได้จะต้องอาศัยการออมและการลงทุนใน ประเทศที่สูง ในทางตรงข้ามประเทศต่าง ๆ ต้องพยายามให้อัตราส่วนของทุน (Capital) ต่อผลผลิตลดลง ซึ่งสามารถสรุปได้ว่าเศรษฐกิจของประเทศชาติจะเจริญได้นั้นมาจากการออมของ ประชาชนภายในชาติ รวมทั้งการลดการบริโภคในสินค้าที่ไม่จำเป็นลงไป ข้อบกพร่องของทฤษฎีที่ว่าด้วยการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
1) ขอบเขตของปัจจัยเพื่อการพัฒนาแคบเกินไป กล่าวคือ มีการเน้นเฉพาะ เรื่องการออมและการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตของปัจจัยทุน โดยไม่คำนึงความสำคัญของ ปัจจัยแรงงาน ซึ่งมีอยู่เหลือเฟื่อในประเทศด้อยพัฒนาจนทำให้อัตราค่าจ้างแรงงานต่ำซึ่งต่าง จากปัจจัยทุน
2) อัตราการออมและการลงทุนสูงๆ อย่างเดียวไม่พอที่จะเร่งรัดการ เจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจ
3) ขาดการพิจารณาเรื่องการปรับปรุงด้านวิชาการ เทคโนโลยี
4) ในประเทศด้อยพัฒนา ระดับการออม อาจไม่ทำให้เกิดระดับการลงทุนใน ด้านที่ก่อให้เกิดผลผลิตสูงตามไปด้วยเพราะว่าสภาพต่าง ๆ ยังไม่เอื้ออำนวยพอที่จะกระตุ้นให้ เกิดการลงทุนในด้านอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นด้านการตลาด การขนส่ง การคมนาคม
5) ประชาชนในประเทศขาดการตระหนักในการออม
6) ประชาชนนิยมบริโภคสินค้าที่มาจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากประเทศ ที่พัฒนาแล้ว
จากทฤษฎีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่กล่าวมา เมื่อพิจารณาถึงความ สอดคล้องในการพัฒนาประเทศของกลุ่มที่กำลังพัฒนาและด้อยพัฒนามีส่วนที่เหมือนกัน (Remenyi, J., 1984: 14 – 17 อ้างใน เกื้อ วงศ์บุญสิน, 2538: 36 – 37) ดังนี้
1) การเพิ่มระดับความเชี่ยวชาญและการแบ่งงานกันทำ ผู้มีส่วนร่วมในการ ผลิตทุกระดับจะมีความเชี่ยวชาญในงานของตนมากขึ้น และการแบ่งงานกันทำเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ นี่เป็นสิ่งที่เกิดในกระบวนการผลิต ซึ่งจะเพิ่มขึ้นไปพร้อม ๆ กับการพัฒนา เศรษฐกิจ เมื่อมีความเชี่ยวชาญเพิ่มขึ้นย่อมทำให้การผลิตมีประสิทธิภาพดีขึ้น อย่างไรก็ตามสิ่ง นี้มักสัมพันธ์กับอัตราที่เพิ่มขึ้นของการผลิตที่อาศัยทุนเป็นหลักการพัฒนาเศรษฐกิจจึงก่อให้เกิด อุปสงค์ต่อการจัดสรรทรัพยากรเพื่อการลงทุนให้มากกว่าการบริโภคที่เป็นอยู่สำหรับในประเทศ โลกที่ สามหลาย ๆ ประเทศนั้นควรเน้นเรื่องการลงทุนมนุษย์โดยที่ ทรัพยากรต่าง ๆ ซึ่งใช้ไปจะ ทำให้ประชาชนได้รับสารอาหารมากขึ้นและมีสุขภาพดีขึ้น ทั้งนี้ความล้าหลังของสังคมย่อมเป็น อุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ ถ้าไม่มีการลงทุนดังกล่าว
2) การแพร่กระจายของเศรษฐกิจเงินตรา และการเสื่อมความนิยมในเรื่อง การค้าแบบแลกของกัน จะเกิดขึ้นถ้ามีความเชี่ยวชาญเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกัน การมีความ ต้องการเพิ่มขึ้นในการแลกเปลี่ยนหรือการค้าระหว่างบุคคลที่อยู่ในขั้นตอนการผลิตต่าง ๆ กัน ย่อมกระตุ้นให้เศรษฐกิจเงินตราเจริญเติบโตขึ้น ซึ่งเงินตรานั้นถือเป็นสื่อของการแลกเปลี่ยนที่ดีกว่าการแลกเปลี่ยนของ ทั้งในแง่ของความยืดหยุ่น ความคงทนถาวร สามารถแบ่งส่วนได้ ขนถ่ายได้ และเป็นหนี้ได้
3) การเปิดโอกาสให้ปริมาณของทางเลือกที่มีประสิทธิภาพขยายวงออกไป มากขึ้นทั้งแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นได้ทั้งจากการนำเอาโภคภัณฑ์ใหม่ ๆ เข้ามา ใช้เช่น สินค้าประเภทเครื่องไฟ ประเภทพลาสติก อาหารแบบใหม่ๆ รวมทั้งสินค้าสาธารณะ เช่น การศึกษา โครงการสุขภาพและอนามัย และในด้านกิจกรรมทางเศรษฐกิจประเภทต่าง ๆ รวมทั้งการมีสถาบันใหม่ๆ ที่มีความก้าวหน้าทางเทคนิค เปิดโอกาสให้มีบรรษัทธุรกิจเพิ่มขึ้น มีกลุ่มธนาคารต่าง ๆ เพิ่มขึ้น มีครัวเรือนเพิ่มขึ้น มีคนเพิ่มขึ้น เป็นต้น
4) การเปลี่ยนบทบาทของรัฐบาล
5) การให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นแก่การส่งสินค้าและบริการออกนอกประเทศ การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ทั้งนี้รวมทั้งในแง่ของการไหลเวียนของเงินตรา เช่น การกู้ยืม  
6) การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างในการกระจายการจ้างงาน และสถานที่ของการทำงาน เช่น ให้แรงงานหันเหจากภาคเกษตรกรรมมาสู่ภาคอุตสาหกรรม เป็นต้น

นอกจากนี้ การพัฒนาเศรษฐกิจก่อให้เกิดสภาวะผลตามมาอีกหลายประการ เช่น รูปแบบของที่ อยู่อาศัยของประชากร อัตราการเกิด – อัตราการตาย ภาวะเจริญพันธุ์ การเพิ่มของประชากร การก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค เป็นต้น สิ่งเหล่านี้มาจากการพัฒนา รากฐานทางเศรษฐกิจ แต่ไม่จำเป็นที่จะต้องมีรูปแบบที่ เหมือนกัน แต่โดยภาพรวม การเปลี่ยนแปลงในหกประการข้างต้น เป็นปัจจัยหลักต่อการพัฒนาเศรษฐกิจเสมอ

แนวคิดตามทฤษฎีภาวะทันสมัย (Conceptualized Frame on Modernization Theory)

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยสาเหตุที่ประเทศแถบยุโรปตะวันตกแพ้สงคราม จึงต้องมีความจำเป็นในการบูรณะประเทศ ซึ่งการพื้นฟูประเทศนั้นต้องมีการบูรณะประเทศในทุก ด้าน ของชีวิตมนุษย์ ทฤษฎีนี้อาศัยทฤษฎีเศรษฐศาสตร์นีโอคลาสสิก (Neo-Classic Theory) และทฤษฎีสังคมศาสตร์ของอเมริกันมาประยุกต์เป็นกรอบการวิเคราะห์ปัญหา ซึ่งจุดเน้นของ แนวคิดทฤษฎีนี้คือ การที่จะพัฒนาประเทศให้ทันสมัยนั้นต้องมีการดำเนินไปในทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม การเมือง ความรู้สึกนึกคิด และความรู้ของคนในสังคมจะขาดด้าน ใดด้านหนึ่งไม่ได้ เพราะแต่ละด้านมีความสัมพันธ์กันตลอดจนส่งผลซึ่งกันและกัน ดังจะเห็นได้ จากแผนภูมิข้างล่าง
แผนภูมิการพัฒนาประเทศให้สู่สภาวะทันสมัย
อย่างไรก็ตามการพัฒนาประเทศของทั้งสองกลุ่มประเทศนั้น ย่อมที่จะมีทิศทางกลยุทธ์ (strategies) ที่แตกต่างกันไป เพราะแต่ละประเทศมีอัตลักษณ์ทางด้านบริบทสังคมแตกต่างกัน แต่โดยภาพรวมแล้ว การพัฒนาประเทศให้ทันสมัยมีลักษณะดังนี้
1. การพัฒนาประเทศให้ทันสมัยทางด้านเศรษฐกิจ
ในแง่ของเศรษฐศาสตร์การพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าเป็นประเทศอุตสาหกรรมนั้น มีความหมายเดียวกับการทำประเทศให้ทันสมัย ซึ่งจะต้องขึ้นอยู่กับ การเพิ่มพูนผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชน (GDP = Gross National Product) การพัฒนาสังคม เมืองและกระจายความเจริญไปสู่ชนบท ซึ่งต้องมีการลงทุนใหม่ๆ อย่างหนักทั้งในด้าน สาธารณูปโภค เช่น โครงการเงินผันของประเทศไทยในสมัย ม.ร.ว. ศึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นต้น ตลอดจนกิจกรรมเพื่อการผลิตโดยตรง เช่น การเพิ่มเขตอุตสาหกรรม (Industrial Zone) โรงงาน หรือแม้แต่ในภาคการเศรษฐกิจแบบดั้งเดิม ซึ่งได้แก่ภาคเกษตรกรรม และหัตถกรรม ต้องมีการลงทุนใหม่ๆ สนับสนุนการแปรรูปผลผลิตของเกษตรกร เช่น ประเทศไทยมีนโยบายหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล (One Tumbon, One Product) ในสมัย ของ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี กล่าวตามความเป็นจริง เมื่อมีการทุ่มไปที่ภาคเศรษฐกิจสมัยใหม่มากกว่า ผลที่ตามมา คือ ประสิทธิภาพการผลิตในภาคเกษตรกรรม
อย่างไรก็ตาม กิจกรรมทางเศรษฐกิจจะไม่จำกัดเพียงอย่างเดียวหรือสองอย่าง หากแต่มีความสลับซับซ่อนมากขึ้น ระดับของความชำนาญสูงขึ้น สัดส่วนของทุนต่อ แรงงานเพิ่มขึ้น มีการขยายตัวทางการค้าและตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งทำ ให้สามารถดึงทรัพยากรทั้งคนและสิ่งของจากแหล่งต่าง ๆ มาใช้ได้อย่างกว้างขวาง เกิดเป็น เครือข่ายของระบบเศรษฐกิจที่มีความเหนียวแน่น การเกษตรลดความสำคัญลงเมื่อเทียบกับ การค้าอุตสาหกรรม และบริการอื่น ๆ ซึ่งแนวคิดนี้เชื่อว่า เป็นวิธีที่ทำให้ความเป็นอยู่ทาง เศรษฐกิจของประชาชนดีขึ้น ความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจลดลง ถึงแม้ว่าทฤษฎีภาวะทันสมัยที่มีผลต่อการกำหนดศักยภาพทางด้าน เศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งมีผลต่อกระบวนการพัฒนาประเทศเป็นอันดับแรก ฉะนั้นการส่งเสริม การลงทุนจากต่างประเทศ รวมทั้งการได้รับความช่วยเหลือจากต่างประเทศ (Foreign Aids) จึง เป็นกุญแจสำคัญสำหรับการพัฒนาประเทศให้ทันสมัยด้วย อนึ่งดูเหมือนว่า แนวคิดทฤษฎีภาวะทันสมัยจะมีลักษณะเป็นพลวัต (dynamic) ในแง่เศรษฐกิจก็ตาม แต่โดยองค์รวมแล้วการพัฒนาเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นอีกด้วย คือ ความรู้สึกนึกคิดทางสติปัญญา ทางการเมือง และทางสังคม ตลอดจนอัจฉริยะภาพด้าน ความรู้ความสามารถของผู้นำทางการเมือง (รัฐบาล) ในการที่ จะนำทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีอยู่มา ใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
2. การพัฒนาประเทศให้ทันสมัยทางด้านสติปัญญา
การพัฒนาประเทศให้เป็นประเทศอุตสาหกรรมจะทำได้ต้องผ่านการพัฒนา และการใช้วิทยาศาสตร์สมัยใหม่แล้ว ฉะนั้นการพัฒนาในแง่ของสติปัญญาและความรู้สึกนึกคิด ของคน ตามแนวทฤษฎีภาวะทันสมัยนั้นมีความสำคัญมาก โดยมองว่าในสังคมล้าหลังนั้น เด็ก จะทำตามผู้ใหญ่เพียงอย่างเดียว มีโอกาสเรียนรู้และเผชิญกับปัญหาในสังคมหรือท้องถิ่นที่คน ต้องประสบต่อไปในอนาคต ตามแบบที่ผู้ใหญ่สอนไว้ไม่มีโอกาสค้นคิดวิธีหรือสิ่งใหม่ หรือเป็น ตัวของตัวเอง ในสังคมสมัยใหม่นั้นปัญหาพื้นฐานของมนุษย์และความสัมพันธ์ต่อกันไม่ได้ เปลี่ยนไป หากแต่คนในสังคมต้องเผชิญในสภาพที่ต่างกันออกไป ความแตกต่างที่สำคัญ คือ ใน สังคมคนสมัยใหม่มีเสถียรภาพทางด้านบรรทัดฐาน (Norms) และรูปแบบของการดำเนินชีวิต (Pattern of Life) เปลี่ยนไปในยุคของโลกาภิวัตน์ อาริยะทุกคนทุกวัยจะมีความคิดที่กว้างไกล ด้วยเหตุผลที่มีการนำความรู้เชิงวิทยาศาสตร์เชิงสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ฉะนั้นการพัฒนาให้เกิดความรู้ทางด้านสติปัญญาต่อการพัฒนาเพื่อก่อให้เกิด ภาวะทันสมัย ความรู้ดังกล่าวควรมีลักษณะดังนี้
1) ความรู้ต่าง ๆ ต้องผ่านกระบวนการพินิจพิเคราะห์อย่างแท้จริง
2) มีการทดลองเพื่อประเมินความถูกต้องของคำอธิบายต่าง ๆ
3) ใช้กฎธรรมชาติที่สามารถอธิบายได้อย่างมีเหตุผล
4) วิธีการหาความรู้ต้องมีวิธีการเฉพาะ
5) วิธีวิทยา (Methodological strategies) ต้องทำเป็นพื้นฐานในการ แสวงหาหรือสร้างข้อความรู้ใหม่ (New Categories of knowledge)
3. การพัฒนาประเทศให้ทันสมัยทางสังคม
ในยุคโลกาภิวัตน์ อาริยะ ค่านิยม (Values) ของคนในสังคมที่เปลี่ยนไปมาก ต่างก็พยายามสร้างความคาดหวังในลักษณะที่ยอมรับได้ ลักษณะของคนในสังคมใหม่จะต้องมี บุคลิกภาพ ซึ่งสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่ เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมได้ (Mobile personality) ส่วนในด้านสังคมนั้น นักคิดตามทฤษฎีภาวะทันสมัยมองว่าการเปลี่ยนแปลง อย่างลึกซึ้งในทางสังคมต้องดำเนินร่วมไปกับและมีส่วนสนับสนุนต่อแง่ความคิดความรู้ทางด้าน การเมืองและเศรษฐกิจซึ่งจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นเมือง มีย้ายถิ่นจากเขต ชนบทสู่เมือง พร้อมด้วยการเปลี่ยนแปลงอาชีพตามสภาพความเป็นอยู่ในเมือง ทำให้ลักษณะ โครงสร้างของครอบครัวเปลี่ยนไป นอกจากนี้แนวโน้มต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับระดับรายได้ การศึกษา และโอกาสทางสังคมเพื่อมิให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ตลอดจนจะสามารถทำให้สมาชิกใน สังคมสามารถที่จะแสดงบทบาทของตนเองให้เหมาะสมที่สุด อย่างไรก็ตามการพัฒนาประเทศให้ทันสมัยทางด้านสังคม สามารถดำเนินการ ได้ดังนี้
1) ปรับปรุงระบบการศึกษาในด้านการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาพื้นฐาน
2) รัฐบาลจัดระบบสวัสดิการทางสังคม (Social Welfare) ให้ทั่วถึงทุกภูมิภาค ของประเทศ
3) รัฐบาลกระตุ้นให้ประชาชนมีความตระหนักต่อการพัฒนา
4) รัฐบาลเปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาและสร้างอัตลักษณ์ของชุมชนเอง
5) ลดการพึ่งพาจากต่างประเทศ โดยการสร้างฐานพลังการพัฒนาแนวใหม่
6) สร้างภาวะเศรษฐกิจที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ภายในชาติ ทั้งการสร้างความทันสมัยทางด้านสังคมจะต้องมีทิศทางหรือกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่ สอดคล้องกับสภาวะความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของสังคมด้วย จึงจะทำให้ประชาชนในชาติไม่เกิด สภาวะที่เรียกว่าการช็อคทางวัฒนธรรม (Cultural shock) ได้
4. การพัฒนาประเทศให้ทันสมัยทางด้านการเมือง
Samuel P. Huntington ได้เสนอตัวแปรสำคัญ 3 ประการ ที่เกี่ยวเนื่องกับ Political Modernization คือ
1) ความเป็นเหตุผลของอำนาจหน้าที่ (Rationalization of Authority) ซึ่ง หมายถึงการที่อำนาจทางการเมืองแบบดั้งเดิมซึ่งมีฐานอยู่ที่ประเพณีศาสนา ครอบครัว หรือ เชื้อชาติใด ๆ ถูกแทนที่โดยอำนาจทางการเมืองใหม่ที่ตั้งอยู่บนฐานของความมีเหตุมีผล เป็น อำนาจทางการเมืองแห่งชาติ ความคิดของคนเปลี่ยนไปจากการมองว่ารัฐบาลเป็นผลผลิตของพระเจ้ามาเป็นผลผลิตของคนเราเอง คนเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการตัดสินใด ๆ นอกจากนี้รัฐบาลแห่งชาติจะต้องมีอำนาจและมีอธิปไตยเหนืออำนาจในระดับท้องถิ่น
2) ความแตกต่างซับซ่อนของโครงสร้างและหน้าที่ทางการเมือ ง (Differentiation of Political Structure) และมีความชำนาญเฉพาะด้านมากขึ้น ส่วนองค์กรทาง กฎหมาย องค์กรทหาร องค์กรบริหารและองค์กรทางวิทยาศาสตร์จะแยกตัวเป็นอิสสระไม่อย่างกับการเมือง แต่จะสร้างหน่วยงานย่อย ๆ มารับหน้าที่ต่าง ๆ ออกไปอีก นอกจากนี้การเข้า สู่ตำแหน่งใด ๆ จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์เรื่องของความสัมฤทธิผลไม่ใช่เนื่องจากเป็นพวกพ้องหรือสนิทสนมกันเป็นการส่วนตัว
3) การเข้ามีส่วนร่วมทางการเมือง หมายถึงการที่กลุ่มทางสังคมต่าง ๆ พา กันเข้ามีส่วนร่วมในการเมืองทั่วทั้งสังคม การที่มีการเข้ามีส่วนร่วมเพิ่มมากขึ้นนั้นอาจจะเป็นผลให้รัฐบาลจำต้องเข้าควบคุมประชาชนมากขึ้นหรืออาจจะทำให้ประชาชนเข้าควบคุมรัฐบาลได้ อย่างมีประสิทธิภาพขึ้นก็ได้ในสังคมที่ทันสมัยนั้นราษฎรจะเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรง เป็นส่วนใหญ่ (Huntington, S.P., 1971: 34 – 35)
การมีส่วนร่วมทางสังคมหรือของประชาชน จะเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญอย่างยิ่งใน การพัฒนาความทันสมัยทางการเมือง ทั้งนี้รูปแบบของการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองของ ประชาชนของแต่ละสังคมสามารถทำได้ ดังนี้
1) การเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างเป็นอิสระ (Autonomous Political Participation) หมายถึงลักษณะที่ราษฎรเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองในรูปแบบใด ๆ ด้วย ความพึงพอใจส่วนตัว เป็นไปโดยความสมัครใจหรือได้พินิจพิเคราะห์ใช้วิจารณญาณของตนเอง มองเห็นประโยชน์ของการเข้ามีส่วนร่วมและมองเห็นว่าตนเองสามารถที่จะก่อให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงทางการเมืองได้อย่างแท้จริง
2) การเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองโดยถูกปลุกระดม (Mobilized Political Participation) หมายถึงลักษณะของการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองของราษฎรที่เป็นไปโดยที่ ไม่ได้เกิดจากเจตจำนงของตนเอง แต่เกิดจากผู้อื่นปลุกระดมให้เขาเข้าร่วมในการกระทำ กิจกรรมทางการเมืองในรูปแบบต่าง ๆ โดยการขู่เข็ญ บังคับ ชักจูงหรือใช้อิทธิพลทางวัตถุเป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อให้เป็นไปตามที่ผู้ปลุกระดมต้องการ (สิทธิพันธ์ พุทธหุน, 2543 : 81) นอกจากนี้ในสังคมที่มีความขัดแย้ง มีปัญหาเรื่องเชื้อชาติ มีการช่วงชิงอำนาจทาง การเมืองระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะอยู่ในรูปของการเมือง และจะก่อให้เกิดการ ปลุกระดมอันจะนำไปสู่การเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองในรูปแบบที่รุนแรงขึ้นได้ ส่วนปัญหาอื่น ๆ ที่สังคมประสบ เช่น เรื่องของการแจกแจงสวัสดิการ ปัญหาเงินเฟ้อ สินค้าราคาแพง สิ่ง เหล่านี้อาจนำมาซึ่งการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองในรูปแบบใด ๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าวิธีการของ รัฐบาลมีประสิทธิผลและเปิดโอกาสให้ราษฎรได้เข้ามีส่วนร่วมมากน้อยเพียงไรเมื่อเทียบกับวิธี อื่น ๆ

ทฤษฎีพึ่งพา (Dependency Theory)

ทฤษฎีนี้ เกิดจากปัญหาความด้อยพัฒนาที่เรื้อรังในกลุ่มประเทศละตินอเมริกา โดยเป็นการศึกษาถึงปัญหารากเหง้าของความด้อยพัฒนาในประเทศโลกที่ สาม โดยมีขอบข่ายที่ครอบคลุมถึงการพัฒนาแบบพึ่งพา (Self–dependency) ชาตินิยม (Nationalism) โครงสร้าง นิยม (Structuralism) และพัฒนานิยม (Developmentalism) แนวคิดนี้เป็นแนวคิดที่ต่อต้าน ลัทธิจักรวรรดินิยม (Imperialism) ซึ่งนักพัฒนาของประเทศด้อยพัฒนาและประเทศที่มีความเจริญ แล้วต่างก็พยายามหาความหลุดพ้นจากสภาพความด้อยพัฒนา โดยการปรับปรุงโครงสร้างความ สัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การเมืองระหว่างประเทศที่พัฒนาและประเทศที่ด้อยพัฒนา การปรับปรุง ความสัมพันธ์ทางการผลิตเพื่อเตรียมรับการเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพของเศรษฐกิจและสังคม ใหม่จะเห็นได้ว่าแนวทางการศึกษาของทฤษฎีพึ่งพา มีดังนี้
1. แนวทางศึกษาแบบมาร์กซีสต์ (Marxist)
แนวทางศึกษาแบบนี้เป็นการศึกษาถึงรากเหง้าของปัญหาความด้อยพัฒนานี้เป็นผลมาจากกระบวนการทางประวัติศาสตร์ที่มีลักษณะเป็นพลวัตมากกว่าเป็นผลมาจาก ปัญหาภายในประเทศ การผลิตสินค้าแบบเกษตรกรรมเป็นผลให้เกิดระบบนายทุน – นายหน้า จะเห็นได้ว่าความด้อยพัฒนา (Underdevelopment) ไม่ใช่ภาวะเริ่มต้นของกระบวนการพัฒนา ประเทศที่ทุกสังคมต้องประสบ ประเทศที่พัฒนาแล้วบางประเทศไม่เคยตกอยู่ในสภาวะที่ด้อย พัฒนา แต่อาจอยู่ในสภาวะที่ไม่พัฒนา (Undeveloped) มาก่อน นอกจากนี้ความด้อยพัฒนา ส่วนมาก เป็นผลมาจากความเป็นระบบทุนนิยมโลกของประเทศพัฒนามิใช่เป็นผลสะท้อน จากลักษณะ บกพร่องทางโครงสร้างเศรษฐกิจสังคม หรือแม้แต่การเมืองภายในประเทศด้อย พัฒนาเอง ซึ่งระบบทุนนิยมนั้นมีมุมมอง คือ ประเทศแม่หรือประเทศศูนย์รวมและประเทศบริวาร (peripheral countries) ความสัมพันธ์ของประเทศทั้งสองนี้ จะมีความสัมพันธ์ทั้งทางบวกและทางลบ กล่าวคือ ในลักษณะที่ประเทศบริวารต้องคอยพึ่งพาประเทศศูนย์อยู่ตลอดเวลา ถูกประเทศศูนย์ (Core) เอารัดเอาเปรียบ มีการดูดซึมส่วนเกินทางเศรษฐกิจจากประเทศบริวารเพื่อ ไปพัฒนาประเทศของตน และสามารถกำหนดวิถีชีวิตความเป็นไปต่าง ๆ ในประเทศบริวาร จนทำให้ประเทศบริวารไม่อาจมีแนวทางพัฒนาประเทศได้อย่างเป็นอิสระ และลักษณะ ความสัมพันธ์ดังกล่าวถูกกำหนดให้ดำรงต่อไป ด้วยเจตนาของประเทศศูนย์ตามโครงสร้างของ ระบบทุนนิยมโลก ซึ่งเป็นสาเหตุของความด้อยพัฒนาเรื้อรังในประเทศบริวาร
แต่อย่างไรก็ตาม ถือว่า การพัฒนาของประเทศบริวารนั้นต่างไปจากของ ประเทศศูนย์โดยที่สถานะทางโครงสร้างในการที่ ตนต้องเป็นประเทศบริวารเป็นตัวทำให้ พัฒนาการของประเทศมีขีดจำกัด ประเทศศูนย์จะอยู่รอดได้ต้องมีประเทศบริวาร แต่ประเทศ บริวารไม่อาจพัฒนาเป็นทุนนิยมเต็มรูปแบบประเทศศูนย์ได้ตราบใดที่ยังอยู่ในระบบศูนย์บริวาร ของระบบทุนนิยมโลกอยู่ ในขณะที่ประเทศศูนย์มีองค์ประกอบทางสังคมที่เอื้อต่อการพัฒนาทุน นิยมเต็มรูป ซึ่งได้แก่ความเป็นอิสระเป็นตัวของตัวเองมาก มีโครงสร้างที่เอื้อต่อการเร่งการผลิตระบบทุนนิยมโลกบังคับให้ประเทศบริวารไม่สามารถประสบซึ่งลักษณะเช่นนั้นได้ สำหรับมาตรการในการแก้ปัญหาตามแนวทางศึกษานี้การปฏิบัติแบบสังคม นิยมและการตัดความสัมพันธ์เชิงพึ่งพาที่เคยมีมาต่อประเทศศูนย์เท่านั้น ที่จะทำให้ประเทศ เหล่านี้หลุดพ้นจากความด้อยพัฒนา
2. แนวทางศึกษาแบบทุนนิยม (Capitalism)
แนวทางศึกษาในแบบนี้ยังคงเห็นด้วยที่ว่าประเทศด้อยพัฒนาถูกประเทศที่ พัฒนาแล้วเอารัดเอาเปรียบ โดยการกอบโกยผลประโยชน์หรือมูลค่าส่วนเกินไปหมด ทำให้ ประเทศเหล่านี้ไม่อาจพัฒนาได้อย่างไรก็ตามแนวความคิดนี้เชื่อว่ายังมีโอกาสที่ จะพัฒนาประเทศตามแบบทุนนิยมต่อไปได้หากมีการปรับปรุงโครงสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ และ การเมืองระหว่างประเทศด้อยพัฒนากับประเทศพัฒนาเสียใหม่ ไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบ ทั้งนี้แนวคิดดังกล่าว อาศัยทัศนะของการพัฒนาแบบพึ่งตนเองและลักษณะของความเป็นชาตินิยม มาเป็นองค์ประกอบสำคัญ แนวทางเรื่องการพัฒนาโดยอาศัยความพยายามในการพึ่งพาตนเอง เป็นหลักนั้น (สุรเชษฐ์ เวชชพิทักษ์, 2527 : 40) มีดังนี้
1) การลดการพึ่งพาด้านการนำเข้าสำหรับสินค้าและบริวารที่จำเป็นทางด้าน อาหาร น้ำมัน ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ปัจจัยหรืออุปกรณ์การผลิตสินค้าประเภททุน และที่สำคัญ คือ ลดการพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ ที่มาจากภายนอกประเทศ
2) การเปลี่ยนแปลงรูปแบบและรสนิยมในการบริโภค และการเพิ่มสมรรถนะ ในการผลิต
3) การกระจายรายได้ ในลักษณะของการกำหนดนโยบายที่จะเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตของคนที่มีรายได้มาก โดยการใช้นโยบายภาษี นโยบายด้านราคา การ ชักจูงใจ และในกรณีจำเป็นอาจต้องใช้วิธีการปันส่วน
4) ในบางประเทศ รัฐอาจจำต้องใช้นโยบายการควบคุมและเป็นเจ้าของ กิจการที่เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติรวมทั้งการเพิ่มความสามารถและความพยายามในการ เจรจาต่อรองกับบริษัทข้ามชาติ
5) การดำเนินนโยบายทางวัฒนธรรม เพื่อลดภาวะพึ่งพาทางวัฒนธรรมที่เคยมีต่อประเทศมหาอำนาจ
3. แนวทางศึกษาแบบผสมระหว่างแนวมาร์กซิสต์กับแนวทุนนิยม
แนวทางนี้เป็นการศึกษาว่า การพึ่งพาภายในกระบวนการทางประวัติศาสตร์ ของการขยายตัวของระบบทุนนิยมโลกนั้น มีลักษณะต่างกันอย่างไรแต่ละสังคม เพราะเชื่อว่า ในแต่ละประเทศนั้นมีลักษณะและความเป็นไปทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ภูมิศาสตร์ สภาพแวดล้อม ปัจจัยทางธรรมชาติต่างกันออกไปและเชื่อว่าลักษณะดังกล่าวเฉพาะตัวในสังคม หนึ่งย่อมเป็นตัวกำหนดเงื่อนไขความสัมพันธ์เชิงพึ่งพาระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศ

แนวคิดการพัฒนาที่ว่าด้วยการกระจายรายได้ควบคู่ไปกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

หลังจากช่วงทศวรรษที่ 1960 เป็นต้นมา ความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศด้อยพัฒนาทั้งหลายมีการพัฒนาไปอย่างมาก เพราะมีการเข้าถึงปัจจัยการผลิต การปรับทิศทางการลงทุนของรัฐได้เหมาะสม และการขจัดการกีดกันผู้ผลิตรายย่อย ในการ วางแผนการพัฒนาจะต้องมีการจัดสรรงบต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน ทั้งการลงทุนที่รัฐ มุ่งกระจายรายได้กับกลุ่มคนจน หรือชนชั้นแรงงาน ให้สามารถเป็นเจ้าของการผลิตได้ ซึ่งรัฐ อาจดำเนินการได้ในรูปของสหกรณ์การผลิต กลุ่มการผลิต เป็นต้น ซึ่งจะทำให้คนกลุ่มนี้สามารถ ที่จะเรียนรู้ระบบการพัฒนาต่อไปในอนาคต
แนวคิดนี้เป็นแนวคิดสำหรับประเทศด้อยพัฒนาและประเทศกลุ่มโลกที่สาม โดยประชากรเสียเปรียบในแง่ของเศรษฐกิจที่มีการเจริญเติบโตเฉพาะทางเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นอยู่โดยไม่มีความจำเป็นต้องมีการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมแต่อย่างใด เพราะการกระจายรายได้เป็นสิ่งที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ฉะนั้นความเสมอภาคทางด้านเศรษฐกิจ  จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะลดความยากจนลงและลดช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวย

แนวคิดการพัฒนาที่เน้นความจำเป็นพื้นฐาน หรือ จปฐ. (BMN: Basic Minimum Needs Approach)

แนวคิดนี้ได้พัฒนามาช่วงกลางทศวรรษที่ 1970 เป็นแนวคิดใหม่ที่เปลี่ยนจากการ พัฒนาทางด้านเศรษฐกิจมาเป็นการพัฒนาที่ตัวคนเป็นหลัก ในลักษณะของการปรับปรุง คุณภาพชีวิตของประชาชน และการพัฒนาสังคม ซึ่งแนวคิดนี้ถือว่าคนเป็นทรัพยากรที่สำคัญ ที่สุดของโลก และเชื่อว่าความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียวไม่อาจแก้หรือขจัด ปัญหาความยากจนได้เสมอไป มีคนอีกเป็นจำนวนมากที่ยังไม่อาจได้สิ่งซึ่งตนต้องการเป็น พื้นฐาน ในขณะที่ เศรษฐกิจของประเทศเติบโตไป
ดัชนีบ่งชี้คุณภาพชีวิตของประชากรที่ใช้กันมาก ได้แก่ ความยืนยาวของชีวิต สุขภาพพลานามัยที่ดีการศึกษา ความเสมอภาคทางเพศ รวมทั้งเสรีภาพทางสังคมและการเมือง เป็นต้น ถึงแม้ว่าดัชนีเชิงปริมาณเหล่านี้จะไม่สามารถครอบคลุมแนวคิดว่าด้วยการพัฒนาทรัพยากรได้ทั้งหมด แต่ก็นับว่ามีความสำคัญในทัศนะที่สองเช่นกัน เพราะการขยาย ทางเลือกในด้านวัตถุ ก็เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายในทัศนะที่สอง ซึ่งมุ่งเพิ่มพูนสมรรถนะของ มนุษย์ควบคู่ไปกับการขยายทางเลือกในด้านต่าง ๆ (คณะกรรมาธิการโลกว่าด้วยวัฒนธรรมและ การพัฒนา, 2541 : 22)
แต่อย่างไรความจำเป็นพื้นฐานที่จะนำพาให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีสามารถแยกออกได้ เป็น 2 ส่วน คือ
1) ส่วนที่จะเป็นระดับพื้นฐาน ประกอบด้วย
(1) ปัจจัยสี่ คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่พักอาศัย และบริการด้านการแพทย์
(2) สุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์ ไม่พิการหรือเจ็บป่วยเรื้อรัง
(3) ชีวิตที่มั่งคงปลอดภัย เช่น มีงานทำ ปลอดภัยจากโจรผู้ร้าย มีฐานะทาง เศรษฐกิจและสภาพทางสังคมในระดับที่น่าพอใจ ปลอดภัยจากภาวะสงคราม
(4) มีอิสระเสรีตามสิทธิมนุษยชน ไม่อยู่ในสภาวะถูกจองจำ หรือคุมขังสามารถ ใช้สิทธิเสรีภาพในขอบเขตแห่งกฎหมายหรือประเพณีของสังคมที่ตนเป็นสมาชิกอยู่
2) ส่วนที่จำเป็นต่อการเพิ่มคุณภาพชีวิต ซึ่งมีอยู่ 3 ประเภท คือ
(1) สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมทั้งทางร่างกายและทางสังคม เช่น มีมลภาวะ (Pollution) น้อยที่สุด และใกล้ชิดธรรมชาติมากที่สุด อยู่ในสภาพที่ สงบ สะดวก และยุติธรรม เอื้ออำนวยแก่พัฒนาตนเอง
(2) คุณสมบัติส่วนบุคคลที่เหมาะสมซึ่งจะทำให้บุคคลนั้นสามารถยกระดับ คุณภาพชีวิตของตนเองได้เช่น การมีจุดมุ่งหมายในชีวิต ความสามารถในการตัดสินใจอย่าง ถูกต้องและเหมาะสม ความมานะพยายาม ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อมที่ตัวเองอาศัยอยู่ ซึ่งจะช่วยให้บุคคลนั้นสามารถปรับตัวได้ดีและกลมกลืนกับสิ่งที่อยู่รอบตัว
(3) คุณสมบัติที่ส่งเสริมอยู่ร่วมกันโดยสันติวิธี เช่น ความมักน้อย รู้จักประหยัด ซึ่งจะทำให้บุคคลนั้นไม่คิดเบียดเบียนหรือเอาเปรียบคนอื่น การรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา มีวินัยในตนเอง มีคุณธรรมและจริยธรรมที่สังคมยอมรับ (เย็นใจ เลาหวนิช, 2523 : 9)
นอกจากนี้ ยังมีแนวคิดเพิ่มเติมและเป็นข้อเสนอข้อคิดบางประการที่สามารถจะนำไปสู่การพัฒนาต่อความจำเป็นพื้นฐานของประชาชน ซึ่งอาจจะนำไปประยุกต์ใช้ได้กับหลายประเทศ เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายความต้องการขั้นพื้นฐานอย่างจริงจัง ได้แก่
1) การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ มีการกระจายรายได้อย่าง เท่าเทียมกัน
2) การทำให้เป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ หรือ เกษตร – อุตสาหกรรม
3) แรงงานที่มีส่วนต่อการผลิตควรเป็นแรงงานกึ่งฝีมือ หรือแรงงานฝีมือ
4) นโยบายของประเทศต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (กำลังคนในชาติ) มีความต่อเนื่อง
5) ความเชื่อมโยงระหว่างความต้องการขั้นพื้นฐานในรูปลักษณะต่าง ๆ
6) บทบาทของรัฐ (Public Sector)
7) บทบาทขององค์กรเอกชน (Private Sector/Non – Governmental Organizations)
จะเห็นได้ว่า ถ้าปราศจากการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการสนองความต้องการ ขั้นพื้นฐานของประชาชนแล้ว ประเทศที่ด้อยพัฒนาไม่อาจจะอยู่ในสถานะที่ จะสามารถ ปรับเปลี่ยนระบบการค้าระหว่างประเทศ เพื่อให้ตนพ้นจากความเสียเปรียบอย่างที่เป็นอยู่ใน ปัจจุบันได้เลย ให้ประเทศยากจนทั้งหลายมีโอกาสขยายสินค้าของตนไปยังตลาดโลกได้มากขึ้น ราคาสินค้า ส่งออกอยู่ในอัตราที่ยุติธรรมและรักษาระดับได้มั่นคงขึ้น มีการให้ความช่วยเหลือ ในแบบให้เปล่าแทนการกู้ยืมจากต่างประเทศ มีการควบคุมพฤติกรรมของบริษัทข้ามชาติอย่างมี ประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นต้น

แนวคิดการพัฒนาว่าด้วยระบบโลก (The World – System Perspective)

แนวคิดว่าด้วยระบบโลก เป็นการอธิบายการพัฒนาที่ต่างออกไป กล่าวคือ มีหน่วย ของการวิเคราะห์อยู่ที่ระบบโลกทั้งระบบ เพื่อให้เห็นถึงพลวัตที่เกิดขึ้นในโลก ซึ่งนักวิชาการ ตามแนวคิดว่าด้วยระบบโลกนี้ เชื่อว่าพลวัตที่เกิดขึ้นสามารถอธิบายปรากฎการณ์หรือ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นระดับรัฐหรือหน่วยย่อยของระบบโลก ซึ่งแนวทฤษฎีหรือแนวคิดที่ให้รัฐ เป็นหน่วยการวิเคราะห์ไม่สามารถอธิบายได้ กล่าวอีกนัยหนึ่ง แนวคิดว่าด้วยระบบโลกเป็นการ เปิดขอบเขตแห่งความรู้สู่ความจริง ในระดับที่การวิเคราะห์วิจัยในระดับรัฐหรือแม้แต่การ เปรียบเทียบระหว่างรัฐ ไม่อาจทำได้
การอธิบายการพัฒนาโดยใช้ระบบโลกทั้งระบบเป็นหน่วยการวิเคราะห์นี้เป็น การศึกษาวิเคราะห์ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในระยะเวลา (Long term) และในภาพกว้าง (Large scale) เพื่อให้เห็นถึงจังหวะคลื่น (Cyclical rhythms) แนวโน้มและการเบี่ยงเบนหรือการ เปลี่ยนแปลงที่ เกิดขึ้นในประเด็นที่ศึกษา หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งเป็นการศึกษาพลวัตที่เกิดขึ้นใน แนวคิดว่าด้วยระบบโลกนี้ เริ่มพัฒนาขึ้นในช่วงปลายทศวรรษที่ 1970 ต่อเนื่อง มาถึงทศวรรษที่ 1980 โดยนักวิชาการซึ่งเห็นว่าแนวทฤษฎีหรือแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาที่มีมาก่อนหน้านั้นไม่สามารถอธิบายหรือมองข้ามประเด็นสำคัญหลายประเด็นไป โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งพฤติกรรมใหม่ ๆ หรือสิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในทศวรรษที่ 1982 หรือที่เปลี่ยนแปลงไปจากก่อน หน้านั้น เป็นต้น (เกื้อ วงศ์บุญสิน, 2538 : 62)
วิธีวิทยาของแนวคิดพัฒนาว่าด้วยระบบโลก
1) แนวคิดและวิธีวิทยาของ Immanuel Wellerstein
Wallerstein ชาวฝรั่งเศส เป็นผู้ริเริ่มแนวคิดว่าด้วยระบบโลก เพื่อศึกษา พลวัตของเศรษฐกิจโลก ตลอดจนเพื่อหาคำอธิบายต่อปรากฎการณ์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งทฤษฎี ภาวะทันสมัยและทฤษฎีพึ่งพิง หรือทฤษฎีพึ่งพาไม่สามารถอธิบายได้ ทั้งนี้แนวคิดส่วนหนึ่ง เกิดจากการผสมผสานแนวคิดของ Neo-Marxist ของ Fran, Dos Santos และ Amin รวมทั้ง แนวคิดของ Fermand Braudel และสำนัก Annales (Annales School ของฝรั่งเศส) Wallerstein เห็นว่า ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในโลกนั้น เป็นผลที่มีความสอดคล้องกันไม่สามารถแยกแยะออกเป็นสาขาใดของศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่ง
Wallerstein มองว่าระบบโลกเป็นหน่วยของการวิเคราะห์ (Unit of Analysis) และมีเพียงระบบเดียวเท่านั้น ไม่ได้แบ่งโลกออกเป็นระบบทุนนิยม ระบบสังคมนิยม โลกที่ หนึ่งหรือประเทศที่พัฒนาแล้ว โลกที่ สามหรือประเทศที่กำลังพัฒนา ทั้งนี้ระบบโลก ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ 3 ส่วน คือ ส่วนแก่น (Core) ส่วนบริวาร (Periphery) และส่วนกึ่งบริวาร (Semiperiphery) โดยส่วนหนึ่งเป็นกึ่งบริวารนั้นอยู่ระหว่างส่วนที่เป็นแก่นกับส่วนที่เป็น บริวารและเป็นส่วนที่มีลักษณะของทั้ง 2 ส่วนดังกล่าวผสมกัน การเพิ่มส่วนที่เป็นกึ่งบริวารเข้า มาในการวิเคราะห์นี้แนวคิดว่าด้วยระบบโลกเชื่อว่าจะทำให้สามารถอธิบายความเป็นไปในโลก ซึ่งแนวคิดอื่นแยกอธิบายไว้ต่างหาก เช่น พัฒนาการเฉพาะตัวของประเทศบริวารในกลุ่มโลกที่ สาม การที่ประเทศในเอเชียตะวันออกบางประเทศสามารถก้าวออกจากการมีสถานะเป็นบริวาร ในช่วงปลายของทศวรรษที่ 20 เป็นต้น การที่ระบบโลกประกอบด้วยส่วนแกน ส่วนบริวาร และส่วนกึ่งบริวารนี้ ชี้ให้เห็นว่าแนวคิดว่าด้วยระบบโลกไม่เน้นศึกษาเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งหากแต่ให้น้ำหนักใน การศึกษาวิเคราะห์แก่ทั้ง 3 ส่วนเท่ากัน
2) แนวคิดและวิธีวิทยาของ Bergesen and Schoenburg
แนวคิดนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับลัทธิอาณานิคมและมองว่าประเทศที่เป็นแกน (Core) หรือประเทศที่เป็นส่วนบริวาร (Periphery) ซึ่งแนวคิดระบบโลกมองว่า ส่วนแกนและ ส่วนบริวารมีการเชื่อมโยงทางด้านโครงสร้าง จึงถือว่าทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจ แบบทุนนิยม Borgesen และ Schoenberg มีวิธีวิทยาทางการศึกษาที่มองถึงความเป็น พลวัต (Collective dynamic) ของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมและเป็นการวิเคราะห์ลัทธิอาณา นิคมในระดับที่สูงกว่าระดับรัฐ โดยมีการศึกษาถึงปัจจัย 3 ประการ ได้แก่
(1) การกระจายอำนาจภายในของประเทศส่วนแก่น หรือประเทศแม่
(2) ความมั่นคงของประเทศส่วนแก่นหรือประเทศแม่
(3) ปฏิกิริยาในรูปของลัทธิอาณานิคม (Colonialism) และพานิชย์นิยม (Merchantism) ฉะนั้นปัจจัยทั้งสามประการจึงเป็นองค์ประกอบของการรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ ส่วนประเทศแม่หรือส่วนแก่น ซึ่งถือว่าเป็นข้อเสียเปรียบอย่างยิ่งสำหรับประเทศบริวารทั้งหลาย
3) แนวคิดและวิธีวิทยาของรูปแบบการเคลื่อนไหวของแรงงาน (Labour Movement)
ในช่วงศตวรรษที่ 20 ได้มีการเปลี่ยนแปลงที่ เกิดขึ้น โดยเฉพาะโครงสร้าง ของกระบวนการผลิตต่อแรงงาน (production / labour process) และโครงสร้างของแรงงาน เอง การเคลื่อนไหวของแรงงานในแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน ซึ่งมีทั้งการเคลื่อนไหวของ แรงงานทางการเมือง (political labour movement) และความเคลื่อนไหวของแรงานทางด้านสังคม (social labour movement) จะเห็นได้ว่าช่วงต้นทศวรรษที่20 เป็นช่วงที่ระบบทุนนิยมมีการ พัฒนาที่รุนแรงขึ้นจนกลายเป็นระบบผูกขาด (monopoly) มีการเปลี่ยนแปลงทางด้าน โครงสร้างแรงงานและการผลิตมีการนำเครื่องจักรมาใช้ในการผลิต เพราะฉะนั้นจึงทำให้เกิด สภาวะแรงงานไม่มีงานทำ (unemployment) นายจ้างหันมาใช้เครื่องจักรแทนกำลังแรงคน ลักษณะดังกล่าวจึงเป็นที่มาของการต่อรองทางด้านอำนาจ อนึ่งส่วนใหญ่ในลักษณะการ เคลื่อนไหวของแรงงานนั้นประเทศแกนจะไม่เน้นนโยบายปราบปรามแรงงาน ส่วนประเทศ บริวารนั้นจะเน้นการปราบปราม อย่างไรก็ตาม ตามปรากฏการณ์ของสังคมโลกทั้งประเทศ แกนและประเทศบริวารต่างก็ประสบปัญหาการเคลื่อนไหวทั้ งทางด้านแรงงานและความ เคลื่อนไหวทางด้านของสังคม เช่นกัน 3.6.4 แนวคิดและวิธีวิทยาของรูปแบบว่าด้วยระบบโลกกับความเป็นเมือง ความเป็นเมืองที่มากเกินไป (Overurbanization) เป็นผลมาจากการเพิ่ม ประชากรอย่างรวดเร็ว ตลอดจนระบบเทคโนโลยีที่ช่วยสร้างระบบสาธารณูปโภค ตลอดจน เครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ ทันสมัย ค่านิยมวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งการย้ายถิ่นจาก ชนบทเข้าสู่เมือง ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถกล่าวได้อย่างชัดเจนว่า เป็นผลมาจากลัทธิการล่าอาณานิคม ทั้งที่เป็นจริง ๆ หรือเคลือบแฝงมาจากพฤติกรรมอื่น ดังจะเห็นได้จากแผนภูมิในหน้าถัดไป ประเทศแกน (Core) การล่าอาณานิคม (Colonialism) ประเทศบริวาร (periphery) การเพิ่ม ประชากร เทคโนโลยี ความต้องการ ด้าน สาธารณูปริโภค การย้ายถิ่น อื่น ๆ การหลุดพ้นจาก การครอบงำทาง การเมือง อัตลักษณ์ ชุมชน สังคม เศรษฐกิจ
แผนภูมิระบบของความเป็นเมืองและสภาวะการเปลี่ยนแปลง

เพราะสังคมโลกมีการเชื่อมโยงต่อกันด้วยสิ่งที่เรียกว่าเครือข่ายเมือง (Urban network) ของประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศที่ด้อยพัฒนา จากสภาพความเป็นจริงประเทศที่ พัฒนาแล้วจะกอบโกยและตักตวงผลประโยชน์ต่าง ๆ จากประเทศที่เป็นบริวารหรือประเทศที่ ด้อยพัฒนา ซึ่งเพื่อความมั่นคงของตนเอง และปล่อยให้ล้าหลัง ฉะนั้นตราบใดที่ไม่มีความ เสมอภาพทางด้านโครงสร้างของสังคมตราบนั้นมีระบบทุนนิยม

แนวคิดการพัฒนาว่าด้วยการพัฒนาแบบยั่งยืน (Sustainable development)

United Nation Population Fund Activities (UNFPA) ได้รวบรวมความหมาย ของการพัฒนาแบบยั่งยืนไว้ (เกื้อ วงศ์บุญสิน, 2538: 71 – 72) ดังนี้
1) การพัฒนาแบบยั่งยืน หมายถึง การพัฒนาที่ตรงกับความต้องการตามความจำเป็น ในปัจจุบัน โดยสามารถรองรับความต้องการ และหรือความจำเป็นที่จะเกิดแก่ชนรุ่นหลัง ๆ ด้วย ทั้งนี้มาตรฐานการครองชีพที่เลยขีดความจำเป็นขั้นพื้นฐานต่ำสุด จะยั่งยืนต่อเมื่อมาตรฐานการบริโภคในทุกหนทุกแห่งคำนึงถึงความยั่งยืนในระยะยาว (Long-term sustainability)
2) การพัฒนาแบบยั่งยืน คือ ครอบคลุมมาตรการรักษามารดทางทรัพยากรที่จะตกกับ ชนรุ่นหลัง โดยอย่างน้อยให้ได้มากพอ ๆ กับที่ชนรุ่นปัจจุบันได้รับมา
3) การพัฒนาแบบยั่งยืน หมายถึง การพัฒนาที่กระจายประโยชน์ของ ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจได้อย่างทั่วถึง ตลอดจนเป็นการพัฒนาที่ปกป้องสิ่งแวดล้อมทั้งใน ระดับท้องถิ่นและในระดับโลกโดยรวบเพื่อชนรุ่นหลังและเป็นการพัฒนาที่ทำให้คุณภาพชีวิตดี ขึ้นอย่างแท้จริง
4) การพัฒนาแบบยั่งยืน หมายถึง การทำให้คุณภาพของชีวิตมนุษย์ดีขึ้นภายใน ระบบนิเวศวิทยาที่สามารถจะรองรับการดำเนินชีวิตได้ต่อไป ในลักษณะดังกล่าว “เศรษฐกิจ แบบยั่งยืน” (Sustainable economy) คงต้องเป็นเศรษฐกิจที่ธำรงรักษาแหล่ง ทรัพยากรธรรมชาติของตนไว้ได้โดยเศรษฐกิจแบบนี้จะยังคงสามารถพัฒนาควบคู่ไปกับการ รักษาแหล่งทรัพยากร ได้ต่อไปด้วยการปรับตัว และโดยอาศัยการยกระดับความรู้ ปรับปรุง องค์กร ตลอดจนปรับประสิทธิภาพทางเทคนิคและเชาว์ปัญญา
จากความหมายของการพัฒนาแบบยั่งยืนนั้น เป็นแนวคิดที่อยู่บนพื้นฐานของ หลักการที่เรียกว่า “ความยุติธรรมระหว่างชน 2 รุ่น (Intergenerational equity) กล่าวคือ เมื่อพิจารณาจากความหมายของการพัฒนาแบบยั่งยืนนั้นสามารถกล่าวถึงการ ครอบคลุมประเด็น 2 ลักษณะ คือ ลักษณะแรก คือ เน้นเรื่องความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแบบมีขีดจำกัด โดยมุ่งเน้นวิถีชีวิตของประชาชนที่มีเศรษฐกิจพอเพียง สามารถอยู่ได้ท่ามกลางกระแสวิกฤต เศรษฐกิจหรือเศรษฐกิจที่บันป่วน โดยวิธีวิทยาของลักษณะแรกนั้น คือ “เน้นหลักความพอดี” และการตอบสนองต่อความจำเป็นพื้นฐานเท่าที่จำเป็น ลักษณะที่สอง คือ เน้นเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติหรือทรัพยากรธรรมชาติ เพราะ ธรรมชาติไม่ได้มีไว้เพื่อให้มนุษย์นำไปใช้ได้อย่างฟุ่มเฟื่อยและล้างผลาญ วิธีวิทยาของการ รักษาและอนุรักษ์ทรัพยากร คือ การใช้สอยให้คุ้มค่าและใช้ให้น้อยลง อย่างไรก็ตามประเด็นนี้กำลังเป็นที่น่าสนใจ (Currentiveness) ของมวลหมู่ธรรมชาติเพราะความสัมพันธ์ระหว่าง ประชากร การใช้ทรัพยากรธรรมชาติการเพิ่มประชากรและความเจริญทางด้านเทคโนโลยีขาด ความสมดุล (Unequilbrium) อย่างไรก็ตามวิธีวิทยาของการพัฒนาแบบยั่งยืนควรที่จะสามารถพัฒนาได้อย่างน้อย 3 ด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจ สังคม นิเวศวิทยา
1) วิธีวิทยาของการพัฒนาแบบยั่งยืนทางด้านเศรษฐกิจ
(1) มีการขยายตัวของระดับเศรษฐกิจแบบกึ่งอุตสาหกรรม กล่าวคือ เศรษฐกิจภายในครอบครัว การผลิตสินค้าที่คนภายในประเทศต้องการ โดยเฉพาะสินค้า บริโภคที่มีความสอดคล้องกันความจำเป็นพื้นฐาน
(2) ความยุติธรรม ประชาชนโดยเฉพาะชนชั้นแรงงานจะต้องได้รับความ ยุติธรรมจากหน่วยงานของการผลิต (Production unit) คือนายทุนนั่นเอง
(3) คุณภาพ ผลิตอะไรก็ตามจะต้องได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพจึงจะ สามารถทำให้เศรษฐกิจของชาติอยู่รอดและสามารถแข่งขันต่อตลาดโลกได้กรณีตัวอย่าง เช่น การส่งออกผลไม้ของประเทศไทย ซึ่งบางครั้งยังมีมาตรฐานต่ำเพราะยังขาดกระบวนการ คัดเลือก ซึ่งหมายถึงประสิทธิภาพของการคัดเลือกสินค้าจึงทำให้ผลไม้ไทยในตลาดโลก บางอย่างได้รับความนิยมลดลง
2) วิธีวิทยาของการพัฒนาแบบยั่งยืนทางด้านสังคม สังคมเป็นการรวมตัวของบุคคล ของวัฒนธรรม ฉะนั้น การพัฒนาที่ดีและ ยั่งยืนจะส่งผลต่อการดำรงอยู่ของสังคม ฉะนั้นวิธีวิทยาทางด้านนี้ต้องมีทิศทางการดำเนินงาน ดังนี้
(1) อำนาจ อำนาจของสังคมที่ขัดเกลาสมาชิกในสังคม รวมทั้งต่อรองอำนาจ บางประการจากสังคมที่เข้มแข็งและพัฒนามากกว่า โดยเฉพาะอำนาจทางสังคมชนบท ดู เหมือนจะได้รับการเล็งเห็นคุณค่าน้อยกว่าอำนาจทางสังคมเมือง
(2) การมีส่วนร่วม การมีส่วนร่วมโดยหลักธรรมชาติคือ การมีประชาธิปไตย ในการพัฒนาฐานรากของสังคม สมาชิกในสังคมจะต้องมีสิทธิที่จะ “ออกแบบ” สังคมด้วย ตนเองและมุ่งถึงความเจริญเติบโตของสังคมและประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน
(3) เสถียรภาพทางด้านสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสถียรภาพทางด้านความ ปลอดภัยทางสังคม
(4) อัตลักษณ์ ซึ่งรวมถึงวิถีชีวิต แนวความคิด (Ideology) เพื่อการปฏิบัติ สังคมจะต้องไม่ถูกคุกคามจากสถานการณ์ข้อความรู้ (Situated knowledge) หรือวัฒนธรรมของ ต่างชาติ โดยปราศจากฐานคติที่จะนำมาดัดแปลงให้เหมาะสมกับบริบทของตนเอง
3) วิธีวิทยาของการพัฒนาแบบยั่งยืนทางด้านนิเวศ
(1) เสถียรภาพระบบนิเวศ คนในสังคมจะต้องตระหนักและเห็นคุณค่าของ สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการจัดระบบนิเวศให้มีความสมดุลกับความต้องการของคนในสังคม รวมทั้งสภาพของทรัพยากรและระบบนิเวศที่มีอยู่ การสร้างเสถียรภาพระบบนิเวศสามารถทำ ได้โดยใช้
- นโยบายสิ่งแวดล้อมแบบป้องกันล่วงหน้า (Preventive environmental policy)
- การบูรณะฟื้นฟู (Restoration of renewal) เป็นการช่วยเหลือและจัดการ ทรัพยากร การผลิตและสิ่งแวดล้อมที่ได้รับความเสียหายให้มีสภาพเหมือนเดิมหรือเทียบเท่าของเดิม ในการบูรณะฟื้นฟูต้องคำนึงถึงสมดุลธรรมชาติของทรัพยากรอื่นด้วยเพราะการเพิ่ม ทรัพยากรอย่างหนึ่งอาจมีผลเสียต่อทรัพยากรอย่างอื่นได้
- การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบาง ประเภทที่มีคุณสมบัติที่สามารถดัดแปลงโดยใช้เทคโนโลยีสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น การนำสิ่งอื่นมาใช้ทดแทน ทรัพยากรบางอย่างที่มีขีดจำกัดและหมด เปลืองไป เนื่องจากบูรณะหรือมีราคาแพง ควรหาทรัพยากรที่สามารถนำมาใช้ทดแทนได้ (ราตรี ภารา, 2540: 15 – 16)
(2) ขีดจำกัด การพัฒนาแบบยั่งยืนของระบบนิเวศบางครั้งก็มีขีดจำกัดในการ นำมาพัฒนา โดยเฉพาะการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในจำนวนจำกัด จำเป็นที่จะต้องใช้อย่าง ประหยัดและมีความเหมาะสมที่จำเป็นมาใช้
(3) ความหลากหลายทางด้านชีวภาพ วิธีวิทยาของการพัฒนาแบบยั่งยืน ทางด้านนี้จะต้องเน้นกระบวนการที่นำลักษณะทางด้านนิเวศวิทยาผสมผสานเพื่อให้เกิด ประโยชน์สูงสุดต่อคนในสังคมที่นำมามาใช้

จะเห็นได้แนวคิด ทฤษฎี และวิธีวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานั้น ในกลุ่ม ประเทศที่พัฒนาแล้วจะเน้นทางด้านการพัฒนาทางสังคมมากกว่าการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ ส่วนในประเทศกลุ่มด้อยพัฒนาเน้นการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งเน้นการขยายตัวและ ประสิทธิภาพของเศรษฐกิจ แต่อย่างไรก็ตามทั้งสองกลุ่มประเทศต่างก็มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนภายในประเทศเป็นหลัก รวมทั้งแสวงหาความเข้าใจในการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างชาติต่อไป