Monday, 16 November 2015

ผู้แทน MITI และ MATRADE เยี่ยมคารวะนายอำเภอสุไหงโก-ลก

ผู้แทนคณะกระทรวงการค้าระหว่างประเทศและอุตสาหกรรม ประเทศมาเลเซีย (MITI)
และสำนักพัฒนาการค้าเพื่อการส่งออก ประเทศมาเลเซีย (MATRADE) 
เยี่ยมคารวะ นายปรีชา นวลน้อย นายอำเภอสุไหงโก-ลก
วันที่ 16 พฤศจิกายน 2558 เวลา 13.00 น. 
ณ ห้องประชุม ดร.เจษฎา ชั้น 2 ที่ว่าการอำเภอสุไหงโก-ลก
----------------------------------------------------


นายปรีชา นวลน้อย นายอำเภอสุไหงโก-ลก นายมหามะบักรี ลือบาฮางุ พัฒนาการอำเภอสุไหงโก-ลก นายกิริยา อาแซ สำนักงานปกครองอำเภอสุไหงโก-ลก และเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน น้องๆ ในสำนักงานฯ (นางมุฑิตา บุตตะจีน, นายนิรุต อ่อนทอง, นางสาวโนอาอีซะ เจ๊ะซู, นางสาวรอริดา สามะแอ, นางสาวสิริมา สีระโก) ร่วมต้อนรับคณะฯ ประกอบด้วย
1. ท่าน Azran Deraman ผู้อำนวยการสำนักงานกระทรวงการค้าระหว่างประเทศและอุตสาหกรรม ประเทศมาเลเซีย ประจำรัฐกลันตันและตรังกานู Director of Ministry of International Trade and Industry (MITI) in Kelantan and Terengganu
2. Raja Badrulnizam ผู้แทนสำนักพัฒนาการค้าเพื่อการส่งออก ประเทศมาเลเซีย สำนักงานใหญ่ Malaysia External Trade Development Corporation (MATRADE HQ)
3. ท่าน Hasziah Mat Yazid ผู้แทนสำนักพัฒนาการค้าเพื่อการส่งออก ประเทศมาเลเซีย สำนักงานภาคตะวันออก (MATRADE Wilayah Timur)
4. คุณ Hafidz Junit ผู้แทนหน่วยงานพัฒนาการค้าเพื่อการส่งออก ประเทศมาเลเซีย สำนักงานภาคตะวันออก (MATRADE Wilayah Timur)
5. คุณ Natasha Mohd เจ้าหน้าที่ สำนักงานกระทรวงการค้าระหว่างประเทศและอุตสาหกรรม ประเทศมาเลเซีย (MITI)
6. คุณ Ahmad Nazir Mohamad เจ้าหน้าที่ สำนักงานกระทรวงการค้าระหว่างประเทศและอุตสาหกรรม ประเทศมาเลเซีย (MITI)

ผู้ร่วมติดตาม
7. คุณ Mohd hanapiah bin jaafar ผู้ใหญ่บ้านบูเกะบูหงา อ.ตาเนาะแมเราะ รัฐกลันตัน
8. Syed Sabri bin Syed Ali ผู้แทน FGV (FELDA Group Venture) [FELDA = Malaysia's Federal Land Development Authority (สำนักงานการพัฒนาที่ดินแห่งประเทศมาเลเซีย)


ในโอกาสนี้ นายปรีชา นวลน้อย นายอำเภอสุไหงโก-ลก ได้กล่าวต้อนรับและยินดีที่คณะได้มาเยี่ยมและพบปะเพื่อสร้างความคุ้นเคยและเตรียมความพร้อมที่จะดำเนินกิจกรรมร่วมกัน การขับเคลื่อนงานสานสัมพันธ์สองแผ่นดิน ไม่ว่าจะเป็นงานสานสัมพันธ์สองแผ่นดิน และงานด้านการค้าขาย การค้าชายแดน ซึ่งได้มอบหมายให้พัฒนาการอำเภอสุไหงโก-ลก เป็นผู้รับผิดชอบหลัก และได้ขณะนี้ อำเภอฯได้เตรียมป้องกันด้านอุทกภัย ซึ่งช่วงนี้ แม่น้ำสุไหงโก-ลก จะท่วม ซึ่งกินพื้นที่ ตั้งแต่อำเภอแว้ง สุไหงโก-ลก และตากใบ รวมทั้งฝั่งรัฐกลันตันด้วย ซึ่งจะมีการประชุมในบ่ายวันนี้  สำหรับเรื่องการท่องเที่ยว อำเภอร่วมกับเจ้าหน้าที่ทั้ง 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายปกครอง ตำรวจ และทหาร ให้กับนักท่องเที่ยว ให้มีความรู้สึกปลอดภัย และมีความประสงค์ที่จะมาเที่ยวสุไหงโก-ลก อันจะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจให้กับสุไหงโก-ลกด้วย ทั้งนี้ เรื่องกีฬานั้น จะจัดให้มีการแข่งขันกีฬาเพื่อเชื่อมสัมพันธ์ไทย-มาเลเซีย



ส่วนเรื่องการค้าขายและการค้าชายแดนมอบให้ นายมหามะบักรี ลือบาฮางุ พัฒนาการอำเภอสุไหงโก-ลก เป็นผู้นำเสนอ ซึ่งมีเนื้อหาในการนำเสนอ กล่าวคือ ตามที่ท่านนายอำเภอในมอบหมายภารกิจให้รับผิดชอบงานการค้าขายและการค้าชายแดนนั้น ด่านสุไหงโก-ลก เป็นด่านหลัก เพราะหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นตำรวจตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ด่านศุลกากร ด่านกักกันพืชและสัตว์ สำนักงานของจังหวัดนราธิวาส จะอยู่ที่อำเภอสุไหงโก-ลก ผู้ที่จะนำผลิตภัณฑ์ พืชผลทางการเกษตรเข้าประเทศมาเลเซีย ก็จะต้องมาออกเอกสารใบอนุญาตที่อำเภอสุไหงโก-ลก  และอำเภอเองก็ต้องร่วมกับเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ช่วยกันสนับสนุนศูนย์การท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ชุมชนที่กำลังก่อสร้าง ซึงคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคม 2559 ให้สามารถดำเนินการและบริการให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นชาวไทยหรือชาวต่างชาติได้ และอำเภอกำลังดำเนินการสนับสนุนเพื่อให้เกิดช่องทางการตลาดให้กับผู้ประกอบการวิสาหกิจและกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนให้มีรายได้เพิ่มขึ้น อันจะนำไปสู่การแลกเปลี่ยนสินค้า หรือจัด Event ร่วมกันไม่ว่าจะเป็นทั้งฝั่งสุไหงโก-ลก หรือฝั่งมาเลเซีย  โดยที่ผ่านมาต้องขอบคุณท่าน Azran Deraman ผู้อำนวยการสำนักงานกระทรวงการค้าระหว่างประเทศและอุตสาหกรรม ประเทศมาเลเซีย ประจำรัฐกลันตันและตรังกานู ที่ให้การสนับสนุนให้เกิดกิจกรรมเหล่านี้เป็นอย่างดี ซึ่งถ้าคิดแล้ว คนไทยในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะได้เปรียบด้านการจัด Event เพราะส่วนใหญ่สามารถพูดภาษามลายูได้ ถึงแม้สำเนียงอันจะต่างกัน แต่ก็สามารถสื่อสารกันได้ และจะเป็นความยุ่งยากที่ผู้ประกอบการมาเลเซียจะมาร่วม Event ในไทย เพราะส่วนใหญ่สื่อสารภาษาไทยไม่ค่อยได้ แต่มาเลเซียจะได้เปรียบในเรื่องการนำสินค้าไทย ไปจำหน่ายในประเทศจีน อินเดีย ตะวันออกกลาง ยุโรป และอเมริกา เพราะคนมาเลเซียส่วนใหญ่ใช้ภาษาต่างประเทศข้างต้นได้เป็นอย่างดี  


นายอำเภอสุไหงโก-ลก ได้สรุปงานของอำเภอ ที่จะเน้นหนักในการดำเนินการต่อไป ดังต่อไปนี้
1. การพัฒนาด้านเศรษฐกิจเป็นอันดับแรก การค้าชายแดน การขนส่งสินค้า OTOP ซึ่งจักได้คุยกับหอการค้าอำเภอสุไหงโก-ลก นายกการท่องเที่ยวนราธิวาส เพื่อกากระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นคืนเหมือนเดิม
2. การศึกษา ทั้งในระบบและนอกระบบ สามารถยกฐานะคนสุไหงโก-ลกด้านการศึกษาในทุกระดับ
3. สุขภาพอนามัย ต้องการให้คนสุไหงโก-ลกมีสุขภาพอนามันดี ซึ่งขณะนี้ คนสุไหงโก-ลกความดัน เบาหวาน มาก และได้พูดคุยกับผู้อำนวยการโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก และสาธารณสุขอำเภอสุไหงโก-ลก
4. ความมั่นคง การป้องกันเขตเมือง เขตเศรษฐกิจ ซึ่งต้องอาศัยผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น ช่วยกันดูแล เพราะสุไหงโก-ลกเป็นเมืองเศรษฐกิจ


ในการนี้ Raja Badrulnizam ผู้แทนหน่วยงานพัฒนาการค้าเพื่อการส่งออก ประเทศมาเลเซีย สำนักงานใหญ่ ได้ขอบคุณท่านในอำเภอและทีมงานให้การต้อนรับ ซึ่งถือว่า การมาเยี่ยมท่านในครั้งนี้ เป็นการเยี่ยมคารวะ (kunjongan hormat/respectful visit) ซึ่งในอนาคตข้างหน้า จะได้ทำงานร่วมกัน โดยเฉพาะเรื่องการค้าชายแดน (border trade) ซึ่งช่วงนี้ ประเทศมาเลเซีย เป็นประธานอาเซียน เพื่อต้อนรับประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะ AEC ก็จะจัด Event และเชิญประเทศสมาชิกอาเซียนต่างๆ มาร่วม ในเดือนมีนาคม 2559 ที่รัฐกลันตัน และจะเชิญผู้ประกอบการของอำเภอและของไทยเข้าร่วมด้วย ปีที่ผ่านมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าระหว่างประเทศและอุตสาหกรรม ประเทศมาเลเซีย (Dato' Sri Mustapa Mohamed) ได้มอบหมายให้ผู้อำนวยการ MATRADE เข้าร่วมงาน Border Trade ที่ จ.สงขลา ซึ่งได้เชิญผู้ประกอบการจะปีนัง เคะห์ และเปอร์ลิส เข้าร่วม นอกจากประเทศมาเลเซีย ได้ทำการค้ากับประเทศไทยแล้ว ยังทำการค้ากับประเทศพม่า กัมพูชา ลาว เวียตนาม ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องผ่านสินค้ามาทางด่านสุไหงโก-ลก และจะต้องขออนุญาตท่านนายอำเภอได้อำนวยความสะดวก และขอขอบคุณท่านนายอำเภออีกครั้งหนึ่ง



ซึ่งนายอำเภอสุไหงโก-ลก ยินดีร่วมกิจกรรม และจะมีการเยี่ยมเยียนมาเลเซีย และยินดีเชิญทางการมาเลเซียมาประชุมและร่วมกิจกรรมของอำเภอสุไหงโก-ลกต่อไป

การประชุมพบปะครั้งนี้ นายอำเภอได้มอบให้ นายกิริยา อาแซ ทำหน้าที่ล่าม 


และมอบให้ นายมหามะบักรี ลือบาฮางุ รับคณะที่สำนักงานศุลกากรรันตูปันยัง




หมายเหตุ รายชื่อเรียกบุคลลในภาษามาเลเซีย
1. En Azran Deraman (Director of MITI Kelantan and Terengganu, Ketua rombongan
2. En Raja Badrulnizam (MATRADE HQ)
3. Pn Hasziah Mat Yazid (MATRADE Wilayah Timur)
4. En Hafidz Junit (MATRADE Wilayah Timur)
5. Cik Natasha Mohd (MITI) 
6. En Ahmad Nazir Mohamad (MITI)

Wednesday, 11 November 2015

หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง


เศรษฐกิจพอเพียง


“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ 

หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง
          การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำ
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีหลักพิจารณาอยู่ ๕ ส่วน ดังนี้ 
          •  กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สมารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อความมั่นคง และ ความยั่งยืน ของการพัฒนา
          •  คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับโดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
          •  คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย ๓ คุณลักษณะ พร้อม ๆ กัน ดังนี้
          •  ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่นการผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
          •  ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
          •  การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
          เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้นต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ
          •  เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
          •  เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

          แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี


เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ
          เศรษฐกิจพอเพียงและแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ เป็นแนวทางในการพัฒนาที่นำไปสู่ความสามารถในการพึ่งตนเอง ในระดับต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นตอน โดยลดความเสี่ยงเกี่ยวกับความผันแปรของธรรมชาติ หรือการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยต่าง ๆ โดยอาศัยความพอประมาณและความมีเหตุผล  การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี มีความรู้ ความเพียรและความอดทน สติและปัญญา การช่วยเหลือซึ่งกันและกันและความสามัคคี
          เศรษฐกิจพอเพียงมีความหมายกว้างกว่าทฤษฎีใหม่โดยที่เศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบแนวคิดที่ชี้บอกหลักการและแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ในขณะที่ แนวพระราชดำริเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาภาคเกษตรอย่างเป็นขั้นตอนนั้น เป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติ ที่เป็นรูปธรรมเฉพาะในพื้นที่ที่เหมาะสม
           ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ อาจเปรียบเทียบกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบพื้นฐานกับแบบก้าวหน้า ได้ดังนี้
          ความพอเพียงในระดับบุคคลและครอบครัวโดยเฉพาะเกษตรกร เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐานเทียบได้กับทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 ที่มุ่งแก้ปัญหาของเกษตรกรที่อยู่ห่างไกลแหล่งน้ำ ต้องพึ่งน้ำฝนและประสบความเสี่ยงจากการที่น้ำไม่พอเพียง แม้กระทั่งสำหรับการปลูกข้าวเพื่อบริโภค และมีข้อสมมติว่า มีที่ดินพอเพียงในการขุดบ่อเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องดังกล่าวจากการแก้ปัญหาความเสี่ยงเรื่องน้ำ จะทำให้เกษตรกรสามารถมีข้าวเพื่อการบริโภคยังชีพในระดับหนึ่งได้ และใช้ที่ดินส่วนอื่น ๆ สนองความต้องการพื้นฐานของครอบครัว รวมทั้งขายในส่วนที่เหลือเพื่อมีรายได้ที่จะใช้เป็นค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ไม่สามารถผลิตเองได้ ทั้งหมดนี้เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวให้เกิดขึ้นในระดับครอบครัว  อย่างไรก็ตาม แม้กระทั่ง ในทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 ก็จำเป็นที่เกษตรกรจะต้องได้รับความช่วยเหลือจากชุมชนราชการ มูลนิธิ และภาคเอกชน ตามความเหมาะสม
          ความพอเพียงในระดับชุมชนและระดับองค์กรเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 2 เป็นเรื่องของการสนับสนุนให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์ หรือการที่ี่ธุรกิจต่าง ๆ รวมตัวกันในลักษณะเครือข่ายวิสาหกิจ  กล่าวคือ เมื่อสมาชิกในแต่ละครอบครัวหรือองค์กรต่าง ๆ มีความพอเพียงขั้นพื้นฐานเป็นเบื้องต้นแล้วก็จะรวมกลุ่มกันเพื่อร่วมมือกันสร้างประโยชน์ให้แก่กลุ่มและส่วนรวมบนพื้นฐานของการไม่เบียดเบียนกัน การแบ่งปันช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามกำลังและความสามารถของตนซึ่งจะสามารถทำให้ ชุมชนโดยรวมหรือเครือข่ายวิสาหกิจนั้น ๆ เกิดความพอเพียงในวิถีปฏิบัติอย่างแท้จริง
          ความพอเพียงในระดับประเทศ เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 3  ซึ่งส่งเสริมให้ชุมชนหรือเครือข่ายวิสาหกิจสร้างความร่วมมือกับองค์กรอื่น ๆ ในประเทศ เช่น บริษัทขนาดใหญ่ ธนาคาร สถาบันวิจัย เป็นต้น
          การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในลักษณะเช่นนี้จะเป็นประโยชน์ในการสืบทอดภูมิปัญญา แลกเปลี่ยนความรู้ เทคโนโลยี และบทเรียนจากการพัฒนา หรือร่วมมือกันพัฒนา ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ประเทศอันเป็นสังคมใหญ่อันประกอบด้วยชุมชน องค์กร และธุรกิจต่าง ๆ ที่ดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงกลายเป็นเครือข่ายชุมชนพอเพียงที่เชื่อมโยงกันด้วยหลัก ไม่เบียดเบียน แบ่งปันและช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ในที่สุด
การสร้างขบวนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง
          สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอให้ริเริ่มการสร้างขบวนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสานต่อความคิดและเชื่อมโยงการขยายผลที่เกิดจากการนำหลักปรัชญาฯ ไปใช้อย่างหลากหลาย รวมทั้งเพื่อจุดประกายให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ซึ่งจะนำไปสู่การยอมรับ และการนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดผลในทางปฏิบัติในทุกภาคส่วนของสังคมอย่างจริงจัง
          จากพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสของพระองค์ นับตั้งแต่ปี 2517 เป็นต้นมา จะพบว่าพระองค์ท่านได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการพัฒนาที่อยู่บนพื้นฐานของการพึ่งตนเอง ความพอมีพอกิน พอมีพอใช้ การรู้จักความพอประมาณ การคำนึงถึงความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว และทรงเตือนสติประชาชนคนไทยไม่ให้ประมาท ตระหนักถึงการพัฒนาตามลำดับขั้นตอนที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ตลอดจนมีคุณธรรมเป็นกรอบในการดำรงชีวิตซึ่งทั้งหมดนี้เป็นที่รู้กันภายใต้ชื่อว่า เศรษฐกิจพอเพียง
          สศช. จึงได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากสาขาต่าง ๆ มาร่วมกันกลั่นกรองพระราชดำรัสฯ สรุปเป็นนิยาม ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และได้อัญเชิญมาเป็นปรัชญานำทางในการจัดทำ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกระดับมีความเข้าใจและนำไปประกอบการดำเนินชีวิต
          การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง มีเป้าหมายหลักเพื่อสร้างเครือข่ายเรียนรู้ ให้มีการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้เป็นกรอบความคิด เป็นแนวทางในการปฏิบัติ ตลอดจนเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของคนไทยในทุกภาคส่วน
          วัตถุประสงค์ของการขับเคลื่อนเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงให้ประชาชนทึกคนสามารถนำหลักปรัชญาฯ ไปประยุกต์ให้ได้อย่างเหมาะสม และปลูกฝัง ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการดำรงชีวิตให้อยู่บนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนนำไปสู่การปรับแนวทางการพัฒนาให้อยู่บนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง

          การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการเสริมพลังให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาไปได้อย่างมั่นคง ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ โดยให้ความสำคัญกับการสร้างฐานรากทางเศรษฐกิจและสังคมให้เข้มแข็ง รักษาความสมดุลของทุนและทรัพยากรในมิติต่าง ๆ ตลอดจนสามารถปรับตัวพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้อย่างเท่าทัน และนำไปสู่ความเอยู่เย็นเป็นสุขของประชาชนชาวไทย
          การขับเคลื่อนจะเป็นลักษณะเครือข่ายและระดมพลังจากทุกภาคส่วน แบ่งเป็น 2 เครือข่ายสนับสนุนตามกลุ่มเป้าหมายเบื้องต้น ได้แก่
         - เครือข่ายด้านประชาสังคมและชุมชน
         - เครือข่ายธุรกิจเอกชน
          นอกจากนี้แล้วยังมีเครือข่ายสนับสนุนตามภารกิจ ได้แก่
         - เครือข่ายวิชาการ
         - เครือข่ายสร้างกระบวนการเรียนรู้
         - เครือข่ายเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
          ทั้งนี้แกนกลางขับเคลื่อนมี 3 ระดับได้แก่ คณะที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง และกลุ่มงานเศรษฐกิจพอเพียงใน สศช. ซึ่งจะเป็นหน่วยปฏิบัติงานในการขับเคลื่อนและจะทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายผลการดำเนินงานเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา ครบรอบ 80 พรรษา ในเดือนธันวาคม 2550
ขอบคุณข้อมูลจาก เว็บไซต์สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 
          เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์
          ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐนักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริตและให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
(ประมวลและกลั่นกรองจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งพระราชทานในวโรกาสต่าง ๆ รวมทั้งพระราชดำรัสอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำไปเผยแพร่ เมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของทุกฝ่ายและประชาชนโดยทั่วไป)
ที่มา: http://guru.sanook.com/4238/

แนวทางการดำเนินโครงการพัฒนาและขยายผล
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ปีงบประมาณ ๒๕๕๙

๑. หลักเกณฑ์การพิจารณาโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ
๑.๑ การคัดเลือกโรงเรียนให้เป็นไปตามความสมัครใจไม่กำหนดว่าโรงเรียนจะสังกัด สพฐ หรือ สช.
๑.๒ ผู้อำนวยการ/ผู้บริหารโรงเรียน มีความสมัครใจเข้าร่วมโครงการ
๑.๓ ครูเกษตรมีความพร้อมและต้องการที่จะดำเนินโครงการ
๑.๔ การสมัครเข้าร่วมโครงการต้องผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการการศึกษา
๑.๕ กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน/นายก อบต. ให้ความร่วมมือกับโรงเรียนในการดำเนินโครงการ
๑.๖ โรงเรียนต้องมีพื้นที่ทางการเกษตรอย่างน้อย ๒ ไร่ (แบ่งเป็นพื้นที่ว่างเปล่าอย่างน้อย ๑ ไร่) หรือ เป็นพื้นที่ของชาวบ้าน/ชุมชน ให้โรงเรียนใช้ประโยชน์ได้เช่นกัน

๒. งบประมาณที่ได้รับการสนับสนุน
๒.๑ โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ในปีงบประมาณ ๒๕๕๙ จะได้รับงบประมาณไม่เกินวงเงิน ๑๐๐,๐๐๐ บาทา
๒.๒ โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ปี ๒๕๕๗ - ๒๕๕๘ ต่อเนื่องปีงบประมาณ ๒๕๕๙ จะได้รับงบประมาณไม่เกิน ๔๐,๐๐๐ บาท
๒.๓ โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ปี ๒๕๕๘ (งบกระทรวงมหาดไทย) ให้นำมาเป็นโรงเรียนต่อยอดในปีงบประมาณ ๒๕๕๙

ทั้งนี้ การขอนุมัติกิจกรรม/งบประมาณ ให้ขึ้นอยู่กับความจำเป็น ให้ยึดหลักการดำเนินโครงการฯ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึงคณะทำงานโครงการฯ จะพิจารณาตามความเหมาะสม ทั้งนี้ พันธุ์ปลา และพันธุ์สัตว์ปีก ได้รับจากหน่วยงานราชการสนับสนุนต่อไป

๓. สิ่งที่โรงเรียนเห็นควรดำเนินการ/ปฏิบัติ
๓.๑ โรงเรียนต้องประกอบอาหารให้เด็กนักเรียนในอัตราการบริโภคอาหารกลางวันตามข้อกำหนดของสำนักงานโครงการส่วนพระองค์ ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- พืชผัก เท่ากับ ๑๐๐ กรัม/คน/มื้อ
- ผลไม้ เท่ากับ ๑๐๐ กรัม/คน/มื้อ
- เนื้อสัตว์ เท่ากับ ๘๐ กรัม/คน/มื้อ
- ไข่ไก่ สัปดาห์ละ ๓ ฟอง/คน
๓.๒ การประกอบอาหารให้นักเรียนต้องใช้เกลือไอโอดีน เป็นส่วนประกอบเท่านั้น ห้ามใช้เกลือเม็ด
๓.๓ โรงเรียนต้องมีการจดบันทึกรายงานภาวะโภชนาการของเด็กนักเรียน ที่เข้าร่วมโครงการอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เด็กนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ แล้ว ต้องไม่มีภาวะทุพโภชนาการ (เด็กผอม)
๓.๔ โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ จะต้องมีการดำเนินโครงการผ่านระบบสหกรณ์โรงเรียน นำผลผลิตที่ได้เข้าสหกรณ์โรงเรียน เพื่อฝึกให้นักเรียนได้ใช้ความรู้ในชั้นเรียน ทั้งการคิดเลข การเขียนหนังสือ มาบริหารสหกรณ์อย่างง่ายๆ และมีการจดบันทึกบัญชีรายรับ-รายจ่าย อย่างง่ายได้
๓.๕ ให้ผู้ปกครองนักเรียนและคณะกรรมการการศึกษาที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชนรอบโรงเรียนหมุนเวียนกันไปประกอบหรือตักอาหารกลางวันให้นักเรียน สัปดาห์ละครั้ง เพื่อจะตระหนักว่า โรงเรียนได้ดูแลเอาใจใส่ลูกหลานในเรื่องการรับประทานอาหารอย่างไร

โครงการพัฒนาและขยายผล
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันจังหวัดนราธิวาส ปีงบประมาณ ๒๕๕๙

จังหวัดนราธิวาส ได้ดำเนินโครงการพัฒนาและขยายผลโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน จังหวัดนราธิวาส ซึ่งดำเนินการต่อเนื่องมาตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๕๖ - ๒๕๕๘ มีโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯแล้ว จำนวน ๗๒ โรง โดยมุ่งเน้นการนำองค์ความรู้ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และแนวทางการดำเนินงานตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมาขยายผลให้มีความเหมาะสมกับชุมชนและสังคม โดยการส่งเสริมให้ทำการเกษตรในโรงเรียน แล้วนำผลผลิตมาประกอบเป็นอาหารกลางวันแก่นักเรียน

เพื่อให้โครงการดังกล่าว สามารถดำเนินการอย่างต่อเนื่องและขยายผลตามแนวพระราชดำริสู่โรงเรียนอื่นๆ เพิ่มขึ้น และอำเภอได้ประชุมเมื่อวันพุธ ที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ ห้องประชุม ศปก.อ.สุไหงโก-ลก

การคัดเลือกโรงเรียนที่จะเข้าร่วมโครงการปีงบประมาณ ๒๕๕๙ อำเภอละ ๑ โรง (ใหม่) คือ
๑. โรงเรียนบ้านโต๊ะเวาะ และ
๒. โรงเรียนบ้านซรายอ (สำรอง)

ส่วนโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ปีงบประมาณ ๒๕๕๗ - ๒๕๕๘ (ต่อเนื่อง)  ได้แก่
๑. โรงเรียนบ้านลูโบ๊ะลือซง (ปี ๒๕๕๖, ๒๕๕๘) ส่วนปี ๒๕๕๗ โรงเรียนดำเนินการเอง
๒. โรงเรียนบ้านกวาลอซีรา
๓. โรงเรียนรังผึ้ง
๔. โรงเรียนดารุลฟุรกอน
๕. โรงเรียนบ้านปาดังยอ (งบกระทรวงมหาดไทย ๕๕,๐๐๐ บาท) ตามโครงการรักราษฎร์ รักษ์แผ่นดิน

สำหรับโรงเรียนที่ยกเลิกการเข้าร่วมโครงการฯ ซึ่งครบกำหนดตามหลักเกณฑ์ คือ ๓ ปีต่อเนื่อง คือ โรงเรียนเกษมทรัพย์

สำหรับงบประมาณที่จัดสรรให้ปีแรก คือ ๑๐๐,๐๐๐ บาท ยกเว้น โรงเรียนบ้านปาดังยอ ปีต่อไป คือ ๔๐,๐๐๐ บาท

ปีนี้ นายปรีชา นวลน้อย นายอำเภอสุไหงโก-ลก ต้องการสนับสนุนโรงเรียนบ้านลูโบ๊ะลือซง เป็นโรงเรียนเพชรของอำเภอ โดยเด็กนักเรียนต้องมีสุขภาพดี รับประทานอาหารครบ ๕ หมู่ มีระบบสหกรณ์อยู่ในโรงเรียน ฯลฯ และให้ทุกหน่วยงานระดมสรรพกำลัง เพื่อให้หมู่บ้านลูโบ๊ะลือซง ซึ่งเป็นหมู่บ้านบริวารศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง เป็นหมู่บ้านบูรณาการการทำงานของทุกหน่วยงาน และสามารถส่งเข้าประกวดได้ทุกๆ กิจกรรม

บัญชีมอบหมายการงานพัฒนาชุมชนอำเภอสุไหงโก-ลก

บัญชีมอบหมายการงาน
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสุไหงโก-ลก

นายสุรัตน์ ลายจันทร์        ปลัดอำเภอหัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานปกครอง      ผู้มอบ
นายปรีชา นวลน้อย          นายอำเภอสุไหงโก-ลก                                ผู้รับมอบ

ก. เอกสารราชการต่าง ๆ

ที่
เรื่อง
จำนวนเอกสาร
หมายเหตุ
๑.
๒.
๓.
๔.
๕.
๖.
๗.
๘.
๙.
๑๐.
๑๑.
๑๒.
๑๓.
๑๔.
๑๕.
๑๖.
๑๗.
๑๘.
๑๙.
๒๐.
๒๑.
๒๒.
๒๓.
๒๔.
๒๕.
๒๖.
๒๗.
๒๘.
๒๙.
๓๐.
๓๑.
๓๒.
๓๓.
๓๔.
กองทุนแม่ของแผ่นดิน
แผนชุมชน
OTOP
จปฐ./กชช.๒ค
หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
โครงการ กข.คจ.
กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี
กทบ.
จูงมือเพื่อนขับเคลื่อนงานชุมชน
กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
เยาวชนและสตรี
ศูนย์เรียนรู้ชุมชน
ยุทธศาสตร์กรมฯ
ระบบมาตรฐานงานชุมชน (มชช.)
สารสนเทศ/ระบบรายงาน (รง.)
ศูนย์ประสานงานองค์การชุมน (ศอช.ต.)
อาสาพัฒนาชุมชน (อช.)/อาสาพัฒนา (อสพ.)
วันลา
แบบคำภีร์ GVH
ข้อสั่งการ
พิจารณาความดี ความชอบ
โครงการงบตามยุทธศาสตร์กรมฯ
โครงการ กข.คจ.ส่งใช้เงินยืม
หลักฐานล้างหนี้โครงการ
เบ็ดเตล็ด
เรื่องจากการประชุม
พัสดุ
โครงการบำบัดทุกข์ บำรุงสุขแบบ ABC
คำรับรองการปฏิบัติราชการ
การเงิน เบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าบ้าน
หนังสือเวียน
ขอเบิกค่าบันทึกและประมวลผล จปฐ.
อินเตอร์เน็ต
การเงิน
๒  แฟ้ม
๑  แฟ้ม
๑  แฟ้ม
๒  แฟ้ม
๑  แฟ้ม
๓  แฟ้ม
๒  แฟ้ม
๑๑  แฟ้ม
๑  แฟ้ม
๑  แฟ้ม
๑  แฟ้ม
๑  แฟ้ม
๑  แฟ้ม
๑  แฟ้ม
๑  แฟ้ม
๑  แฟ้ม
๒ แฟ้ม
๒  แฟ้ม
๑  แฟ้ม
๒  แฟ้ม
๑  แฟ้ม
๓  แฟ้ม
๑  แฟ้ม
๔  แฟ้ม
๑  แฟ้ม
๒  แฟ้ม
๑  แฟ้ม
๑  แฟ้ม
๑  แฟ้ม
๑  แฟ้ม
๒  แฟ้ม
 แฟ้ม
๑  แฟ้ม
๑  แฟ้ม


ข. ครุภัณฑ์

รายการ
จำนวน
ราคา (บาท)
หมายเหตุ
ครุภัณฑ์ยานพาหนะ



-รถยนต์ส่วนกลาง สพอ.สุไหงโก-ลก
๑ คัน

 ทะเบียน ชฬ ๑๖๔๓
ที่ต้องดูแล


   กทม.
-โทรศัพท์ Samsung
๑ เครื่อง








ค. งานตามบทบาทหน้าที่ของหน่วยงาน

ลำดับที่
เรื่อง
จำนวน
หมายเหตุ
หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
๘ หมู่บ้าน

กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
๕ กลุ่ม

กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี
๒๕ โครงการ

กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
๒๘ กองทุน

กองทุนแม่ของแผ่นดิน
๑๓ กองทุน

โครงการ กข.คจ.
๔ หมู่บ้าน

งานพัฒนาองค์กร/เครือข่ายประชาชน
๑๙ หมู่บ้าน

OTOP
๓๓ กลุ่ม

แผนชุมชน ๓ ตำบล ๑ เทศบาลเมืองฯ
๔๗ ชุมชน/หมู่บ้าน

๑๐
งานข้อมูลเพื่อการพัฒนาชนบท
๔๗ ชุมชน/หมู่บ้าน

๑๑
งาน OTOP สานสัมพันธ์สองแผ่นดิน
๑ โครงการ

๑๒
งานบริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก
๑ โครงการ

๑๓
งานสานสัมพันธ์ชายแดนร่วมกับจังหวัด
จังหวัด/อำเภอมอบหมายเป็นครั้งคราว


จ. อัตรากำลังข้าราชการและลูกจ้าง

ลำดับที่
ตำแหน่ง
ชื่อผู้ดำรงตำแหน่ง
หมายเหตุ
เจ้าพนักงานพัฒนาชุมชนชำนาญงาน
นางมุทิตา          ขุนจำเริญ

นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ
นายนิรุตน์          อ่อนทอง

อาสาพัฒนา รุ่นที่ ๖๘
นางสาวโนอาอีซะ  เจ๊ะซู






ได้ทำการรับมอบและตรวจสอบกันเป็นที่เรียบร้อย เมื่อวันที่  ๙  พฤศจิกายน ๒๕๕๘ เวลา  ๑๕.๐๐ น.


(ลงชื่อ)..............................................ผู้รับมอบ
          (นายปรีชา นวลน้อย)
        นายอำเภอสุไหงโก-ลก


(ลงชื่อ).............................................ผู้ส่งมอบ
            (นายสุรัตน์ ลายจันทร์)
                  ปลัดอำเภอหัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานปกครอง     


(ลงชื่อ).............................................พยาน
         (นายมหามะบักรี ลือบาฮางุ)
         พัฒนาการอำเภอสุไหงโก-ลก


 (ลงชื่อ).............................................พยาน
            (นายนิรุตน์  อ่อนทอง)
      นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ