ยุทธศาสตร์พระราชทาน "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา" ของในหลวงรัชกาลที่ ๙ สามารถนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติหน้าที่พัฒนาและแก้ไขปัญหาต่าง
ๆ ของประชาชนได้ทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้
นี่คือคำบอกเล่าของ พล.ต.อ.สมศักดิ์
แขวงโสภา อดีตผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
(อดีต ผบช.ตชด.)
ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการลูกเสือชาวบ้านในพระบรมราชานุเคราะห์
เกี่ยวกับการน้อมนำ “ศาสตร์ของพระราชา” ในด้าน “เข้าใจ
เข้าถึง พัฒนา” มาปรับใช้กับการทำงานของ
ตชด.ในทุกท้องถิ่นห่างไกล
หัวใจสำคัญก็คือ
ต้องคำนึงถึงประโยชน์สุขของประชาชนเป็นที่ตั้ง และต้องทำให้ประชาชนไว้วางใจตำรวจ (รวมถึงหน่วยงานอื่น ๆ ด้วย)
แนวทางแบบนี้แก้ไขปัญหามาแล้วแทบทุกพื้นที่ของประเทศไทย
และสามารถดับไฟแห่งความรุนแรง ณ ดินแดนปลายด้ามขวานได้ด้วย
โดยเจ้าหน้าที่จะต้องไม่ใช้ความรุนแรงในการจัดการปัญหา
และเปิดให้ชาวบ้านในพื้นที่มีส่วนร่วมมากที่สุด
จริง
ๆ แล้วยุทธศาสตร์ “เข้าใจ
เข้าถึง พัฒนา” ไม่ใช่ยุทธศาสตร์แรกที่
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
พระราชทานแก่ข้าราชการเพื่อใช้เป็นแนวทางในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับประชาชน แต่พระองค์ท่านเคยพระราชทานมาก่อนหน้านั้นแล้ว
เช่น ยุทธศาสตร์การทำงานของ ตชด.ที่พระราชทานเมื่อปี ๒๕๑๓ ที่ อ.แม่ริม
จ.เชียงใหม่
แต่คำว่า “เข้าใจ
เข้าถึง พัฒนา” ที่พระองค์ท่านพระราชทานเป็นยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
เมื่อปี ๒๕๔๗ เสมือนเป็นการตกผลึกแนวพระราชดำริทั้งหมดผ่านคำสั้นๆ
แค่ ๓ คำ
พระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ท่านทรงมีต่อ
ตชด.
จากการที่ทรงลงพื้นที่เยี่ยมเยียนการทำงานของตำรวจตระเวนชายแดนในท้องถิ่นทุรกันดารแทบทุกพื้นที่
ทำให้แนวพระราชดำรัสนี้ซึมลึกเข้าไปในสายเลือด ตชด.ทุกนาย
“เป็นแนวทางการทำงานที่
ตชด.ถือปฏิบัติกันมาตลอด เมื่อผมขึ้นดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการ ตชด.ในปี ๒๕๔๗ ก็ได้ประยุกต์ยุทธศาสตร์พระราชทานที่สั่งสมในความคิดและประสบการณ์ออกมาเป็นแนวทางการทำงานที่เรียกว่า
๗ ย. ได้แก่ เยี่ยมเยียน ยิ้มแย้ม ยกย่อง แยกแยะ เยียวยา ยุติธรรม และยั่งยืน”
“อย่างเมื่อเราเข้าไปทำงานในพื้นที่
เริ่มแรกก็ต้องไปเยี่ยมเยียนชาวบ้านก่อน เวลาไปก็ต้องยิ้มแย้มแจ่มใส
ยกย่องคนที่เราเข้าไปพบปะพูดคุยด้วย พร้อมทั้งแยกแยะคนไม่ดีออกจากคนดี
และมีความยุติธรรม สิ่งสำคัญคือต้องทำอย่างยั่งยืน ไม่ใช่ไปโชว์ออฟ ทำดียัดไส้
หรือทำดีเอาหน้า แต่ต้องบูรณาการการทำงานเพื่อให้ก้าวเดินต่อไปอย่างยั่งยืน” อดีต
ผบช.ตชด.ระบุ
ยุทธศาสตร์ “เข้าใจ
เข้าถึง พัฒนา” แม้จะใช้คำสั้นๆ
เข้าใจง่าย แต่ในบริบทของการทำความเข้าใจเพื่อแปรไปสู่การปฏิบัตินั้น
พล.ต.อ.สมศักดิ์ บอกว่า มีรายละเอียดเยอะมาก อย่างเรื่อง “ความเข้าใจ” ต้องเข้าใจทั้งประวัติศาสตร์
ปูมหลัง สภาพภูมิสังคม ส่วน “เข้าถึง” ก็ต้องเข้าถึงคน
พื้นที่ และสถานการณ์ต่างๆ สิ่งสำคัญต้องเข้าถึงจิตใจของประชาชน
หากไม่เข้าใจก็จะเข้าไม่ถึง และเกิดความหวาดระแวงตามมา สำหรับ "พัฒนา" ในหลวง ร.๙ ทรงปฏิบัติด้านการพัฒนามาตลอดพระชนมชีพของพระองค์ท่านและได้พระราชทานคำขวัญแก่กรมการพัฒนาชุมชนเนื่องในวันพัฒนาเมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๑ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติตัวและปฏิบัติหน้าที่ของนักพัฒนา "พัฒนา คือ สร้างสรรค์"
“ปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีความซับซ้อน
เพราะมีประเด็นเรื่องชาติพันธุ์กับศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
จึงถือเป็นปัญหาสังคมจิตวิทยาที่ละเอียดอ่อนมาก
แม้คนที่คิดแยกดินแดนหรือเป็นผู้ก่อความไม่สงบจะเป็นคนส่วนน้อยของพื้นที่ แต่ก็เป็นคนส่วนน้อยที่มีพลัง
การแก้ไขปัญหาจึงต้องเข้าใจมิติต่างๆ เหล่านี้ ยกตัวอย่างง่ายๆ
เราทำดีในพื้นที่เยอะมาก แต่พอผิดนิดเดียว ทุกอย่างพลิกหมดเลย ไม่ใช่แค่เป็นศูนย์
แต่ติดลบ” อดีต
ผบช.ตชด.ระบุ
วิธีการทำงานดังที่เอ่ยถึงในตอนต้น
คือ ไม่ใช้ความรุนแรง และให้ประชาชนมีส่วนร่วมนั้น พล.ต.อ.สมศักดิ์
เคยทำกระทั่งประสบความสำเร็จมาแล้ว
ถือเป็นการน้อมนำยุทธศาสตร์พระราชทานมาปรับใช้อย่างเห็นผล
“ช่วงเป็น
ผบ.ร้อย ราว ๆ ปี ๒๕๑๔ ผมประจำอยู่ที่ อ.ยะหา จ.ยะลา
ตอนนั้นชาวบ้านบอกว่าอยากได้อาคารเรียน เราก็สร้างให้
สมเด็จย่าพระราชทานพระราชทรัพย์ให้ ๕ หมื่นบาท”
“ด้วยเงินจำนวนนี้
เราสามารถสร้างอาคาร ๕ ห้องเรียน กับบ้านพักอีก ๒ หลัง
สาเหตุที่ทำได้เพราะทุกฝ่ายช่วยกัน ทั้งนายอำเภอและประชาชน
โดยเฉพาะชาวบ้านมาลงแรงช่วยจนไม่ต้องจ้างแรงงาน ไม้บางส่วนชาวบ้านก็บริจาค
เมื่อทุกคนมาร่วมกันทำงานก็ทำให้เกิดความผูกพัน ทั้งระหว่างชาวบ้านด้วยกัน
ชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่ และความผูกพันกับวัตถุ ก็คือโรงเรียน”
“ช่วงหลายปีที่ผ่านมา
เกิดเหตุรุนแรงกับครูและสถานศึกษาจนโรงเรียนหลายแห่งต้องปิดการเรียนการสอน
แต่โรงเรียน ตชด.ไม่เคยปิด ทั้งยังมีชาวบ้านมาช่วยนอนเฝ้าเวลากลางคืนด้วย”
พล.ต.อ.สมศักดิ์
กล่าวด้วยว่า โครงการก่อสร้างต่าง ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานพัฒนานั้น
ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนหรือสิ่งปลูกสร้างอะไรก็ตาม ทุกแห่งมีเป้าหมายเดียวกันคือ
เป็นสะพานให้เจ้าหน้าที่รัฐเดินเข้าไปในหัวใจประชาชน
และนั่นก็คือ ผลจากยุทธศาสตร์พระราชทาน...เข้าใจ เข้าถึง
พัฒนา
--------------------------------
เนื้อหาส่วนใหญ่อ้างอิงจาก: http://www.isranews.org/isranews-article/item/51414-solve.html
โดย อนุรักษ์
เพ็ญสวัสดิ์ และ ปกรณ์ พึ่งเนตร
เขียนเมื่อวันที่วันเสาร์
ที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ เวลา ๒๓:๒๙
น.
--------------------------------
๒. http://www.sator4u.com/paper/2112
เข้าใจ หมายถึง ความเข้าใจแจ่มชัดในประเด็น จุดมุ่งหมาย ทิศทางของงานที่ทำ กล่าวคือ ทำอะไร เพื่อให้เกิดความ “เข้าใจ” บุคลากรภาครัฐคงต้องศึกษาใช้วิธีประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้ทราบถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้าใจในปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น เข้าใจถึงนโยบายของรัฐ นโยบายศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ นโยบายกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน นโยบายจังหวัด นโยบายกรมประชาสัมพันธ์ เพื่อที่จะได้สื่อสารกับประชาชนในพื้นที่ให้ถูกต้อง
เข้าใจ หมายถึง ความเข้าใจแจ่มชัดในประเด็น จุดมุ่งหมาย ทิศทางของงานที่ทำ กล่าวคือ ทำอะไร เพื่อให้เกิดความ “เข้าใจ” บุคลากรภาครัฐคงต้องศึกษาใช้วิธีประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้ทราบถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้าใจในปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น เข้าใจถึงนโยบายของรัฐ นโยบายศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ นโยบายกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน นโยบายจังหวัด นโยบายกรมประชาสัมพันธ์ เพื่อที่จะได้สื่อสารกับประชาชนในพื้นที่ให้ถูกต้อง
เข้าถึง หมายถึง การเข้าถึงปัจจัย เช่น องค์ความรู้
หลักคิดทฤษฎี แนวทาง ทรัพยากรการบริหารต่าง ๆ ของงานที่กำลังทำ กล่าวคือ เมื่อทำความเข้าใจกับข้อมูลข่าวสารและแนวทางต่าง ๆของภาครัฐแล้ว ก็ต้องพยายามเข้าถึงพื้นที่ เพื่อไปรับฟังปัญหา รับทราบข้อมูล ความจริง ความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง เพื่อนำมาวางแผนดำเนินการประชาสัมพันธ์ถึงแนวนโยบาย และวิธีการแก้ไขปัญหาของภาครัฐ เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ เข้าใจและให้ความไว้วางใจ มีความรู้สึกรัก ผูกพัน โดยคำนึงถึงกาลเทศะ ความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ โดยต้องดำเนินการให้เกิดความร่วมมือจาก ผู้นำชุมชนในด้านต่างๆเช่น ผู้นำศาสนา ผู้นำหน่วยงาน องค์การบริหารส่วนตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เพื่อประโยชน์ในการประสานงานทำงาน ร่วมกันในทุกๆโอกาส โดยสร้างเครือข่ายขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ข่าวสารได้อย่างกว้างขวางเข้าถึงความเข้าใจในทุกพื้นที่
พัฒนา
หมายถึง การลงมือกระทำ และหาทางต่อยอดองค์ความรู้เดิมให้ดีขึ้น สิ่งที่ต่อยอดนี้เป็นองค์ความรู้ใหม่
ที่เรียกว่า นวัตกรรม (Innovation)
เกิดวิธีคิดใหม่ (Paradigm) ที่เป็นของตน
ส่วนนี้ถือว่าเป็นองค์ความรู้ที่จะเปิดทางให้ผู้อื่นได้เรียนรู้และต่อยอด กล่าวคือ การพัฒนานั้นเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะแนวทางการพัฒนาจำเป็นจะต้องเป็นส่วนหนึ่งในความต้องการพื้นฐานของประชาชนในพื้นที่ จำเป็นที่จะต้องมีการทำประชาพิจารณ์ การมีส่วนร่วม การรับฟังความคิดเห็นอย่างหลากหลาย พร้อมกับต้องชี้แจง ในทุกด้าน ทั้งที่เป็นไปได้ และไม่อาจเป็นไปได้ จนได้ผลสรุปร่วมกันในที่สุด ผู้ที่จะทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ต้องมีความสามารถรอบด้าน มีภูมิปัญญา ความรู้ ทันเหตุการณ์ความเปลี่ยนแปลง ต่าง ๆ สามารถเข้ากับประชาชน กลุ่มคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ต้องมีวิธีการสื่อสารที่มีคุณภาพ มีความทันสมัยใช้ได้กับทุกพื้นที่ทุกสถานการณ์
No comments:
Post a Comment