พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ให้แก่ พัฒนากร ในวโรกาสเสด็จไปทรงกระทำพิธีเปิดเขื่อนและการพลังงานไฟฟ้า
แม่น้ำพุง จังหวัดสกลนคร เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๐๘
“ขอบใจมากที่ต้องเหน็ดเหนื่อยทำงานในหมู่บ้านชนบท และต้องประสบปัญหาต่าง ๆ มากมายขอให้ช่วยกันพัฒนาคนให้มีความฉลาด สามารถช่วยตัวเองได้ ให้รู้จักใช้และเห็นคุณค่าความเจริญในด้านวัตถุ เช่น รู้จักนำพลังงานไฟฟ้าจากเขื่อนน้ำพุงนี้ใช้ในบ้านเรือนและการอุตสาหกรรมขนาดย่อม ในการปฏิบัติงานชาวบ้านมักมีความหวาดระแวงและเกรงกลัวเจ้าหน้าที่ข้าราชการถือว่าเป็นบุคคลภายนอกหมู่บ้านไม่ใช่พวกเดียวกัน การเชื่อถือหรือยอมทำตามคำแนะนำส่งเสริมจึงมีน้อย ดังนั้น จะต้องทำให้ชาวบ้านรู้สึกรักและเชื่อถือว่าเราเป็นพวกเดียวกับเขา มีความปรารถนาจะช่วยเขาอย่างแท้จริง เช่น ให้ความรักช่วยเหลือเมื่อเดือดร้อน ทำงานให้จริงจัง ซึ่งต้องใช้ความพยายามความอดทนเป็นอย่างมากในการแนะนำส่งเสริมอาชีพหรือให้คำแนะนำเรื่องต่าง ๆ ต้องทำให้บ่อย ๆ ไม่ใช่พูดหรือทำหนเดียว เพราะชาวบ้านมีประเพณีความเคยชินมานาน และเมื่อแนะนำให้ทำอะไรได้แล้ว ต้องช่วยให้เขาขายได้ด้วย มิฉะนั้น เขาจะเสื่อมศรัทธาไม่เชื่อถือทำต่อไป ขอให้ช่วยกันแนะนำชาวบ้านราษฎรให้ขยันขันแข็ง มีความฉลาดสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัว ทำงานหารายได้และเก็บออมไว้เมื่อถึงคราวจำเป็น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการประกันสังคมการสร้างความมั่นคงเป็นปึกแผ่นแก่ครอบครัวชนบท เป็นการป้องกันประเทศชาติด้านหนึ่ง อย่าเข้าใจว่าการป้องกันประเทศชาติเป็นหน้าที่ของทหารเช่นสมัยก่อน ความมั่นคงของประชาชนชนบทเป็นส่วนที่จะสร้างชาติและป้องกันประเทศอย่างดี ขอบใจ ขอให้สบายดี โชคดีทุกคนและมีความสำเร็จในการงาน”
พัฒนากร คือ ข้าราชการสังกัดกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ซึ่งเดิมทีปฏิบัติหน้าที่ในการรับมอบภารกิจ จากรัฐบาล ให้รับผิดชอบงานด้าน สตรี เด็ก เยาวชน งานหนึ่งที่เคยสำคัญมาก และเป็นที่จดจำของกลุ่มคนบางกลุ่มหรือคนรุ่นเก่าๆ ที่จำได้ว่า ครั้งหนึ่ง เคยมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในหมู่บ้าน หน่วยงานที่รับผิดชอบคือ กรมการพัฒนาชุมชน โดยมี พัฒนากร เป็นผู้ขับเคลื่อนการดำเนินงานร่วมกับคนในหมู่บ้านช่วยกันจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขึ้น อาศัยศาลาวัดบ้าง ศาลากลางบ้านบ้าง ให้ผู้ดูแลเด็กซึ่งเป็นคนในหมู่บ้าน ได้ช่วยกันดูแลเด็กเล็ก และฝึกวินัยเด็ก ดูแลสุขภาพเด็ก อบรมกล่อมเกลาเด็กก่อนวัยเรียน มีค่าตอบแทนบ้าง ไม่มีบ้าง แต่อาศัยว่า เป็นคนในหมู่บ้าน ดูแลลูกหลานตัวเอง เพื่อให้พ่อแม่เด็กได้มีเวลาไปทำงานเลี้ยงชีพ พัฒนากร สร้างชาวบ้านให้ทำหน้าที่ครูหรือผู้ดูแลเด็ก สร้างชุมชนให้เอื้ออาทรซึ่งกันและกัน และเมื่อโตขึ้นมาเป็นเยาวชน พัฒนากรยังตามไปฝึกฝน อบรมเยาวชนในหมู่บ้าน ตำบล ผ่านการจัดค่ายเยาวชน สำหรับงานด้านสตรี จัดให้มีการรวมตัวกันของสตรีผ่านการจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาสตรีระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัด
พัฒนากร คือ ข้าราชการสังกัดกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ซึ่งเดิมทีปฏิบัติหน้าที่ในการรับมอบภารกิจ จากรัฐบาล ให้รับผิดชอบงานด้าน สตรี เด็ก เยาวชน งานหนึ่งที่เคยสำคัญมาก และเป็นที่จดจำของกลุ่มคนบางกลุ่มหรือคนรุ่นเก่าๆ ที่จำได้ว่า ครั้งหนึ่ง เคยมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในหมู่บ้าน หน่วยงานที่รับผิดชอบคือ กรมการพัฒนาชุมชน โดยมี พัฒนากร เป็นผู้ขับเคลื่อนการดำเนินงานร่วมกับคนในหมู่บ้านช่วยกันจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขึ้น อาศัยศาลาวัดบ้าง ศาลากลางบ้านบ้าง ให้ผู้ดูแลเด็กซึ่งเป็นคนในหมู่บ้าน ได้ช่วยกันดูแลเด็กเล็ก และฝึกวินัยเด็ก ดูแลสุขภาพเด็ก อบรมกล่อมเกลาเด็กก่อนวัยเรียน มีค่าตอบแทนบ้าง ไม่มีบ้าง แต่อาศัยว่า เป็นคนในหมู่บ้าน ดูแลลูกหลานตัวเอง เพื่อให้พ่อแม่เด็กได้มีเวลาไปทำงานเลี้ยงชีพ พัฒนากร สร้างชาวบ้านให้ทำหน้าที่ครูหรือผู้ดูแลเด็ก สร้างชุมชนให้เอื้ออาทรซึ่งกันและกัน และเมื่อโตขึ้นมาเป็นเยาวชน พัฒนากรยังตามไปฝึกฝน อบรมเยาวชนในหมู่บ้าน ตำบล ผ่านการจัดค่ายเยาวชน สำหรับงานด้านสตรี จัดให้มีการรวมตัวกันของสตรีผ่านการจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาสตรีระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัด
พัฒนากร
อาจไม่ได้สำคัญถึงขนาดที่ชาวบ้านจะขาดไม่ได้ แต่ พัฒนากร ถือเป็นข้าราชการหัวใจแกร่งที่มีความสามารถในการทำงานภายใต้บริบทที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
เพราะมุ่งหวังที่จะสร้างให้ ชุมชนเข้มแข็ง เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง
พัฒนากร จึงเป็นฟันเฟืองตัวเล็ก ๆ ในเครื่องจักรใหญ่ของระบบราชการ ทำหน้าที่เป็นหนึ่งในผู้นำการเปลี่ยนแปลง (change agent) และขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชนโดยมีประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม (People Participation) เพื่อให้ประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้ (Self-help) โดยวิธีการไม่ให้ประชาชนรู้สึกว่าถูกสั่งการ (Non-directive Approach) จนสามารถสร้างกระบวนการพัฒนาชุมชนที่ชุมขนเข้ามามีหุ้นส่วน (Collaborative Partnership in Community Development)
ปัจจุบัน พัฒนากร ถูกลิดรอนบทบาทหน้าที่บางประการไป เป็นเพราะสถานการณ์ร่วมสมัยกับการพัฒนาชุมชนของประเทศที่มีปัญหาโครงสร้างการบริหารจัดการภาครัฐ (Structural Conflict in Public Administation) ในระดับอำเภอ ด้วยการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย
ทำให้ภารกิจที่เคยได้รับมอบจึงถูกเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพการณ์ปัจจุบัน
อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงไปตามวิสัยทัศน์ของหน่วยงานอยู่หลายครั้งหลายครา ทำให้ พัฒนากร
ต้องปรับเปลี่ยนบทบาทของตนเองตลอดเวลาเพื่อให้พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง
แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนไป คือ บุคลิกเฉพาะตนของพัฒนากร นั่นคือ ความอ่อนน้อม และ การเสียสละความสุขส่วนตัวเพื่อความสุขส่วนรวม และหันมาสวมบทบาทที่สำคัญอย่างหนึ่ง
ซึ่งจะต้องทำหน้าที่อย่างเร่งด่วน คือ การขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจฐานรากของประเทศไทย
ถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องใช้ความพยามยามและความสามารถในการที่จะกระตุ้นและส่งเสริมให้ประชาชนเกิดการสร้างกลุ่มอาชีพเพื่อสร้างรายได้
นับตั้งแต่การจัดเก็บข้อมูลพื้นฐาน (จปฐ.) เพื่อสำรวจความเป็นอยู่ระดับครัวเรือน
ข้อมูล กชช.๒ ค ซึ่งเป็นข้อมูลระดับหมู่บ้าน โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.)
การสนับสนุนให้เกิดการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ให้คนในหมู่บ้านช่วยเหลือกันเอง
และโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ล้วนผ่านการปูพื้นฐานของพัฒนากร ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
ความยากลำบากที่ เหล่าพัฒนากรต้องพบเจอ
ต้องเคี่ยวเข็ญในการดำเนินงานครั้งแรก ๆ อย่างเช่น นโยบายหนึ่งตำบล
หนึ่งผลิตภัณฑ์ และกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี
และล่าสุดคือ การดำเนินงานสานพลังประชารัฐ
ที่สนองตอบนโยบายรัฐบาลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก
ซึ่งบทบาทหน้าที่ที่เปลี่ยนไปนี้
ส่วนหนึ่งมาจากกระจายงานและกระจายอำนาจ ในช่วงแรก ๆ ของการตั้งกรมการพัฒนาชุมชน
เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๕ เป็นหน่วยงานส่วนกลางที่รวมศูนย์อำนาจอยู่ที่กรม/กระทรวง (Centralization) ที่มีหน่วยงานทำงานกับชุมชนในระดับภูมิภาค (Deconcentralization) และมีหน่วยงานต่าง ๆ ที่ทำงานในชุมชนยังไม่มาก พัฒนากร
ซึ่งทำงานในส่วนภูมิภาคต้องทำทุกอย่างเกี่ยวกับการพัฒนาประเทศ ไม่ว่าจะเป็น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
การพัฒนาการศึกษา การส่งเสริมสุขภาพและอนามัย การส่งเสริมการเกษตร
อุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม ฯลฯ เป็นต้น แต่บทบาทนี้
ถูกแบ่งภารกิจให้กับหน่วยงานที่ทำงานและมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
ให้กับ รพช. หรือทางหลวงชนบท การพัฒนาการศึกษา คือ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การส่งเสริมสุขภาพและอนามัย ให้กับสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ
การส่งเสริมการเกษตร ให้กับสำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ สำนักงานประมงอำเภอ
อุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม ก็มีหน่วยงานที่มาร่วมทำงานด้วย
โดยการจัดตั้งกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ในชุมชน
ส่วนพาณิชยกรรมหรือการค้าการขายยังเป็นชะตากรรมของชาวบ้านที่การหาตลาดเป็นเรื่องยุ่งยาก
เราต้องย้อนกลับไปดูพระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้แก่ พัฒนากร
ในวโรกาสเสด็จไปทรงกระทำพิธีเปิดเขื่อนและการพลังงานไฟฟ้า แม่น้ำพุง จังหวัดสกลนคร
เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๐๘ ความตอนหนึ่งว่า ...และเมื่อแนะนำให้ทำอะไรได้แล้ว ต้องช่วยให้เขาขายได้ด้วย
มิฉะนั้น เขาจะเสื่อมศรัทธาไม่เชื่อถือทำต่อไป... ณ วันนี้
บางกิจกรรมเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาแล้ว หลายหน่วยงานสนับสนุนได้แก่ให้มีของ
แต่การนำของไปขายนั่นเป็นเรื่องยาก...ความศรัทธาของประชาชนก็เริ่มลดน้อยถอยลง
ส่วนบทบาทหน้าที่ของพัฒนากรที่เปลี่ยนไปอีกประการหนึ่งคือ
การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น (Decentralization) งานเชิงพื้นที่ก็ถูกโอนให้กับท้องถิ่น
ส่วนภูมิภาคจะมาอ้างการทำงานเชิงพื้นที่ในอนาคตไม่ได้อีกต่อไปแล้ว
เพราะงบประมาณและงานที่ให้ส่วนภูมิภาคโอนให้กับส่วนท้องถิ่น
แต่มีหลายหน่วยงานส่วนภูมิภาคที่คิดขึ้นมาใหม่ น่าจะเพื่อความอยู่รอดขององค์กร
หรือยังต้องการดูแลประชาชนในสภาพที่ไม่สมดุลและสัมพันธ์กันของ คน เงิน งาน
ที่ถูดลิดรอน
และการคิดระบบค้นระบบการทำงานที่ไม่เป็นไปตามหลักการทำงานและเจตนารมณ์ของการตั้งกรมฯ
มาตั้งแต่แรก จึงทำให้เกิดความระส่ำระสายของการทำงาน เมือบุคลากรมีน้อย งานที่คิด
และงบประมาณที่สนับสนุนที่ถูกปรับลด
แน่นอนโอกาสการลงพื้นที่พบปะประชาชนก็ย่อมลดน้อยถอยลง
สภาพบังคับที่ต้องทำงานในลักษณะ การใช้เครื่องมือทุ่นแรง เช่น
โทรศัพท์ก็เกิดขึ้นมากกว่าการเข้าไปสื่อสารโดยตนเอง
การจัดทำรายงานมีมากกว่าการทำงาน
ทุกอย่างขึ้นอยู่กับตัวชี้วัดที่ถูกออกแบบโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ผูกมัดผู้ปฏิบัติงานต้องทำแต่หลักฐานมากกว่าทำฐานและสร้างความมั่นคงให้กับคุณภาพชีวิตของประชาชน
หากไม่มีการปฏิรูปหน่วยงานด้านการพัฒนาชุมชนในอนาคต เราตอบโจทย์ไม่ได้เลยว่าจุดยืนต่อไปจะเป็นอย่างไร
ทางออกมี ๒ ทาง คือ
๑. หากรัฐบาลเห็นว่าพัฒนากร คือ ผู้ที่ทำงานใกล้ชิดกับประชาชนอย่างแท้จริง
แต่ท้องถิ่นก็มีนักพัฒนาชุมชน ก็เห็นควรที่ต้องแบ่งบทบาทหน้าที่ระหว่างบุคคลทั้ง ๒
นี้ ให้ชัด คือ พัฒนากรให้ทำงานเชิงประเด็น (Issue-based) และเป็นท่อส่งงานโดยตรงมาจากส่วนกลางลงถึงพื้นที่
โดยปฏิบัติงานคู่ขนานกับสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เป็นมันสมองให้รัฐบาล
และพัฒนากร คือ แขนขา ของรัฐบาลที่อยู่ในชุมชน เฉกเช่นในอดีตที่ผ่านมา ซึ่งมีคณะกรรมการพัฒนาชนบทแห่งชาติ (กชช.) ได้มอบนโยบายเงินผัน โครงการสร้างงานในชนบท (กสช.) ให้ดำเนินการ ส่วนนักพัฒนาชุมชนก็รับผิดชอบงานที่ผู้บริหารท้องถิ่นมอบหมายและทำงานเชิงพื้นที่ (Area-based)
พัฒนากรเองก็ต้องปรับตัวเองให้สามารถทำงานกับระบบราชการในยุคใหม่
๒. หากรัฐบาลเห็นว่าพัฒนากรหมดความสำคัญ
ก็ต้องยุบเลิกไปและโอนภารกิจนี้ให้กับหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง
นั่นหมายถึงความล่มสลายของงานพัฒนาชุมชนของประเทศที่มีรูปแบบการทำงานแบบมีพัฒนากรตามหลักการพัฒนาชุมชนหรือสุดแท้แต่หน่วยงานใหม่จะกำหนดเป็นอย่างใด
หากไม่มีทางออกในหนทางแรกข้างต้น
พัฒนากรก็ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง
(change agent) และขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชนโดยเป็นเครื่องมือ (tool) หนึ่ง ในการพัฒนาประเทศมีประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม (People
Participation) เพื่อให้ประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้ (Self-help) โดยวิธีการไม่ให้ประชาชนรู้สึกว่าถูกสั่งการ
(Non-directive Approach) ตามหลักการพัฒนาชุมชน
จนสามารถสร้างกระบวนการพัฒนาชุมชนที่ชุมชนเข้ามามีหุ้นส่วน (Collaborative
Partnership in Community Development) นำไปสู่การพึ่งกันเอง (self-reliance)
และการพัฒนาที่ยั่งยืน (sustainable development) ได้
------------------------------------
เขียนได้ดี สะท้อนความรู้สึกตัวตนของพัฒนากรได้ดีครับ แต่ลดการใช้วงเล็บภาษาอังกฤษลงบ้างน่าจะดูดีกว่าครับ
ReplyDelete