Saturday 25 February 2017

พระราชบัญญัติ ลักษณะปกครองท้องที่ พุทธศักราช 2457

มีพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎ เกล้าเจ้าอยู่หัว ดำรัสเหนือเกล้า ฯ ให้ประกาศทราบทั่วกันว่า เมื่อในสมัยรัชกาลแห่งสมเด็จพระบรม ชนกนารถ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งพระราช บัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ขึ้นเมื่อ พระพุทธศักราช 2440 และได้ใช้พระราชบัญญัตินั้นเป็นแบบ แผนวิธีปกครองพระราชอาณาจักร อันอยู่ภายนอกจังหวัดกรุงเทพฯ มาจนบัดนี้ พระราชบัญญัติ อื่น ๆ อันเนื่องด้วยปกครองราษฎร ซึ่งตั้งขึ้นภายหลังต่อมาได้ยึดพระราชบัญญัติลักษณะปกครอง ท้องที่นี้เป็นหลักอีกเป็นอันมาก เพราะฉะนั้นพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ นับว่าเป็น พระราชบัญญัติสำคัญในการปกครองพระราชอาณาจักรอย่างหนึ่ง ตั้งแต่ได้ตราพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ในพระพุทธศักราช 2440 มา วิธีปกครองพระราชอาณาจักรได้จัดการเปลี่ยนแปลงดำเนินมาโดยลำดับหลายอย่าง ทรงพระราช ดำริเห็นว่า ถึงเวลาอันสมควรที่จะแก้ไขพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ให้ตรงกับวิธีการ ปกครองที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้แก้ไขพระราชบัญญัติลักษณะ ปกครองท้องที่ รัตนโกสินทรศก 116 ของเดิม แห่งใดที่ยังใช้ได้ให้คงไว้ แห่งที่เก่าเกินกว่า วิธีปกครองทุกวันนี้ แก้ไขให้ตรงกับเวลารวบรวมตราเป็นพระราชบัญญัติไว้ สืบไปดังนี้

หมวดที่ 1 ว่าด้วยนามและการใช้พระราชบัญญัติ
__________
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า "พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2457"
มาตรา 2* พระราชบัญญัตินี้ ตั้งแต่วันประกาศแล้วให้ใช้ทั่วทุกมณฑล เว้นแต่ใน จังหวัดกรุงเทพฯ ชั้นใน และเมื่อใช้พระราชบัญญัตินี้แล้วให้ยกเลิกพระราชบัญญัติลักษณะปกครอง ท้องที่ รัตนโกสินทรศก 116 เสีย ใช้พระราชบัญญัตินี้แทนสืบไป
*[รก.2457/-/229/17 กรกฎาคม 2457]
มาตรา 3 บรรดาพระราชกำหนดกฎหมายแต่ก่อน บทใดข้อความขัดกับพระราช บัญญัตินี้ ให้ยกเลิกกฎหมายบทนั้นตั้งแต่วันที่ได้ใช้พระราชบัญญัตินี้ไป
มาตรา 4 อำนาจหน้าที่สมุหเทศาภิบาล ซึ่งกล่าวต่อไปในพระราชบัญญัตินี้ ส่วน ในมณฑลกรุงเทพฯ ให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของเสนาบดีกระทรวงนครบาลหรือข้าราชการผู้ใหญ่ ในกระทรวงนครบาล ซึ่งเสนาบดีกระทรวงนครบาล จะได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ อำนาจหน้าที่เฉพาะการนั้น ๆ อีกประการหนึ่งความที่กล่าวต่อไปในพระราชบัญญัตินี้ แห่งใดมี ใจความว่าสมุหเทศาภิบาลจะทำได้ด้วยอนุมัติของเสนาบดี ใจความอันนี้ไม่ต้องใช้ในส่วนมณฑล กรุงเทพฯ และหน้าที่สมุหเทศาภิบาลและเสนาบดีในส่วนมณฑลกรุงเทพฯ รวมอยู่ในตำแหน่ง เสนาบดีกระทรวงนครบาล

มาตรา 5 ให้เสนาบดีผู้บัญชาการปกครองท้องที่มีอำนาจที่จะตั้งกฎ ข้อบังคับ สำหรับจัดการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ ถ้าและกฎนั้นได้รับพระราชทานพระบรม ราชานุญาต และประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว ก็ให้ถือว่าเป็นเหมือนส่วนหนึ่งใน พระราชบัญญัตินี้
มาตรา 6 ในการที่จะกำหนดเขตหมู่บ้านและตำบลทั้งปวงในหัวข้อเรื่องใดให้ ผู้ว่าราชการเมืองนั้น เมื่อได้อนุมัติของสมุหเทศาภิบาลแล้ว มีอำนาจที่จะกำหนดได้ และการที่จะ กำหนดเขตอำเภอนั้นก็ให้สมุหเทศาภิบาลมีอำนาจที่จะกำหนดได้ เมื่อได้รับอนุมัติของเสนาบดี กระทรวงมหาดไทยแล้วฉะนั้น ส่วนมณฑลกรุงเทพฯ เสนาบดีกระทรวงนครบาลกำหนดได้ เด็ดขาด

หมวดที่ 2 ว่าด้วยวิธีอธิบายศัพท์ที่ใช้ในพระราชบัญญัติ
_________
มาตรา 7 ศัพท์ว่า บ้าน และเจ้าบ้าน ซึ่งกล่าวในพระราชบัญญัติ ให้พึงเข้าใจดังนี้ คือ ข้อ 1 ศัพท์ว่า บ้านนี้ หมายความว่า เรือนหลังเดียวก็ตาม หลายหลังก็ตาม ซึ่งอยู่ ในเขตที่มีเจ้าของอิสระส่วนหนึ่ง ในพระราชบัญญัตินี้ว่า บ้านหนึ่งห้องแถว และแพ หรือเรือชำ ซึ่ง ประจำอยู่ที่ใด ถ้ามีเจ้าของหรือผู้เช่าครอบครองเป็นอิสระต่างหากห้องหนึ่ง หลังหนึ่ง ลำหนึ่ง หรือ หมู่หนึ่ง ในเจ้าของหรือผู้เช่าคนนั้นนับว่าบ้านหนึ่งเหมือนกัน ข้อ 2 ศัพท์ว่า เจ้าบ้านนั้น หมายความว่า ผู้อยู่ปกครองบ้าน และได้ว่ามาแล้วใน ข้อก่อน จะครอบครองด้วยเป็นเจ้าของ ด้วยหรือเป็นผู้เช่าก็ตาม ด้วยเป็นผู้อาศัยโดยชอบด้วย กฎหมายก็ตาม ถือตามพระราชบัญญัตินี้ว่าเป็นเจ้าบ้าน ข้อ 3 วัด โรงพยาบาล โรงทหาร โรงเรียน เรือนจำ ที่ทำการไปรษณีย์ สถานี รถไฟ สถานที่ต่าง ๆ ของรัฐบาล อยู่ในความปกครองของหัวหน้าในที่นั้น ไม่นับเป็นบ้านตาม พระราชบัญญัติ

หมวดที่ 3 ว่าด้วยลักษณะปกครองหมู่บ้าน
__________

ตอน 1 การตั้งหมู่บ้าน
__________
มาตรา 8 บ้าน หลายบ้านอยู่ในท้องที่อันหนึ่ง ซึ่งควรอยู่ในความปกครองเดียวกัน ได้ ให้จัดเป็นหมู่บ้านหนึ่ง ลักษณะที่กำหนดหมู่บ้านตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือความสะดวกแก่ การปกครองเป็นประมาณ คือ
ข้อ 1 ถ้าเป็นที่มีคนอยู่รวมกันมาก ถึงจำนวนบ้านน้อย ให้ถือเอาจำนวนคนเป็น สำคัญประมาณราว 200 คนเป็นหมู่บ้านหนึ่ง
ข้อ 2 ถ้าเป็นที่ผู้คนตั้งบ้านเรือนอยู่ห่างไกลกัน ถึงจำนวนคนน้อย ถ้าและจำนวน บ้านไม่ต่ำกว่า 5 บ้านแล้ว จะจัดเป็นหมู่บ้านหนึ่งก็ได้
ตอน 2*
การแต่งตั้งผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
การออกจากตำแหน่งของผู้ใหญ่บ้าน
และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
__________
[ชื่อตอน 2 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2486]
มาตรา 9* ในหมู่บ้านหนึ่งให้มีผู้ใหญ่บ้านคนหนึ่ง และมีผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่าย ปกครอง หมู่บ้านละสองคน เว้นแต่หมู่บ้านใดมีความจำเป็นต้องมีมากกว่าสองคน ให้ขออนุมัติ กระทรวงมหาดไทย
ในหมู่บ้านใด ผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นสมควรให้มีผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษา ความสงบ ก็ให้มีได้ตามจำนวนที่กระทรวงมหาดไทยจะเห็นสมควร

ผู้ใหญ่บ้านจะได้รับเงินเดือน แต่มิใช่จากเงินงบประมาณประเภทเงินเดือน ส่วน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง จะได้รับเงินตอบแทนตาม ที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด
*[มาตรา 9 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 112 ลงวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2515]
มาตรา 10* ผู้ใหญ่บ้านมีอำนาจหน้าที่ปกครองบรรดาราษฎรที่อยู่ในเขตหมู่บ้าน
*[มาตรา 10 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2486]
มาตรา 11* ให้กรมการอำเภอประชุมราษฎรซึ่งมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ เลือกราษฎร ผู้มีคุณสมบัติที่บัญญัติไว้ในมาตรา 12 เป็นผู้ใหญ่บ้าน
*(1) มีสัญชาติไทยและมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ ในวันที่ 1 มกราคม ของปี ที่มีการเลือก
(2) ไม่เป็นภิกษุสามเณร นักพรต หรือนักบวช
(3) ไม่เป็นคนวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
*(4) มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นประจำ และมีชื่อในทะเบียนบ้านตามกฎหมาย ว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ในหมู่บ้านนั้นติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่าสามเดือนจนถึงวันเลือก
*[มาตรา 11 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2489 ส่วน ความใน (1) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2542 และความใน (4) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2535]
มาตรา 12* ผู้ที่จะได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะ ต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
(2) อายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์ในวันรับเลือก
(3) มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นประจำ และมีชื่อในทะเบียนบ้านตามกฎหมาย ว่าด้วยการทะเบียนราษฎรในหมู่บ้านนั้นติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีจนถึงวันเลือกและเป็น ผู้ที่ประกอบอาชีพเป็นหลักฐาน
(4) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองตามรัฐธรรมนูญด้วยความบริสุทธิ์ใจ
(5) ไม่เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
(6) ไม่เป็นผู้มีร่างกายทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ วิกลจริต จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ติดยาเสพติดให้โทษ หรือเป็นโรคตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา
(7) ไม่เป็นสมาชิกรัฐสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ข้าราชการ การเมือง ข้าราชการประจำ พนักงาน เจ้าหน้าที่ หรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ หรือของ รัฐวิสาหกิจ หรือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือลูกจ้างของส่วนราชการ หรือลูกจ้างของ เอกชนซึ่งมีหน้าที่ทำงานประจำ
(8) ไม่เป็นผู้มีอิทธิพลหรือเสียชื่อในทางพาลหรือทางทุจริต หรือเสื่อมเสียในทาง ศีลธรรม
(9) ไม่เป็นผู้เคยถูกให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพราะทุจริตต่อหน้าที่ และยังไม่พ้นกำหนดเวลาสิบปี นับแต่วันถูกให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก
(10) ไม่เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุด เว้นแต่เป็นโทษสำหรับ ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ และยังไม่พ้นกำหนดเวลาสิบปีนับแต่วัน พ้นโทษ
(11) ไม่เป็นผู้เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำผิดเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วย ป่าไม้ กฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ กฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า กฎหมาย ว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ กฎหมายว่าด้วยศุลกากร กฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุ ระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน ในฐานความผิดเกี่ยวกับอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือ วัตถุระเบิดที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ กฎหมายว่าด้วยที่ดิน ในฐานความผิดเกี่ยวกับ ที่สาธารณประโยชน์ กฎหมายว่าด้วยยาเสพติด กฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้ง และกฎหมายว่าด้วย การพนัน ในฐานความผิดเป็นเจ้ามือหรือเจ้าสำนัก
(12) ไม่เป็นผู้เคยถูกให้ออกจากตำแหน่ง ตามมาตรา 14 (6) (7) และยังไม่พ้น กำหนดเวลาสิบปีนับแต่วันถูกให้ออก
(13) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล หรือผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการ พลเรือน และยังไม่พ้นกำหนดเวลาสิบปีนับแต่วันถูกให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก
(14) มีพื้นความรู้ไม่ต่ำกว่าการศึกษาภาคบังคับ หรือที่กระทรวงศึกษาธิการ เทียบไม่ต่ำกว่าการศึกษาภาคบังคับ เว้นแต่ในท้องที่ใดไม่อาจเลือกผู้มีพื้นความรู้ดังกล่าวได้ ผู้ว่า ราชการจังหวัดโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา ยกเว้นหรือผ่อนผันได้
*[มาตรา 12 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2542]
มาตรา 13* การเลือกนั้นให้กรมการอำเภอเป็นประธานพร้อมด้วยกำนันหรือ ผู้ใหญ่บ้านในตำบลนั้นอย่างน้อยหนึ่งคน
วิธีเลือกจะกระทำโดยลับหรือโดยเปิดเผยก็ได้
เมื่อราษฎรส่วนมากที่มาประชุมเลือกผู้ใดแล้ว ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้ใหญ่บ้าน แล้ว ให้กรมการอำเภอรายงานไปยังข้าหลวงประจำจังหวัดเพื่อออกหนังสือสำคัญให้ไว้เป็นหลักฐาน
ในกรณีที่ผู้รับเลือกมีคะแนนเสียงเท่ากันให้จับสลาก
*ผู้ใหญ่บ้านอยู่ในตำแหน่งคราวละห้าปี นับแต่วันที่ราษฎรเลือก
*[มาตรา 13 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2489 ส่วนความในวรรคห้าของมาตรา 13 เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2535]
มาตรา 14* ผู้ใหญ่บ้านต้องออกจากตำแหน่งด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) ขาดคุณสมบัติหรือเข้าลักษณะต้องห้ามอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา 12
*(1 ทวิ) ถึงคราวออกตามวาระ
(2) ตาย
(3) ได้รับอนุญาตให้ลาออก
(4) หมู่บ้านที่ปกครองถูกยุบ
(5) ไปเสียจากหมู่บ้านที่ตนปกครองเกินสามเดือน
(6) ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้านในหมู่บ้านนั้นมีจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งจำนวน ร้องขอให้ออกจากตำแหน่ง
(7) ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้ออกจากตำแหน่ง เมื่อได้สอบสวนเห็นว่าบกพร่องใน ทางความประพฤติ หรือความสามารถไม่เหมาะสมกับตำแหน่ง
ความใน (1) มิให้ใช้บังคับแก่มาตรา 12 (5) ในกรณีที่ผู้ใหญ่บ้านได้รับอนุญาต จากผู้ว่าราชการจังหวัดให้ลาอุปสมบท หรือบรรพชาได้ไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวัน

ความในวรรคสอง ให้ใช้บังคับแก่กำนันด้วย
*[มาตรา 14 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2532 ส่วนความ ใน (1 ทวิ) เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2535]
มาตรา 15* ผู้ใหญ่บ้านและกำนันท้องที่ร่วมกันพิจารณาคัดเลือกราษฎรซึ่งมี คุณสมบัติตามมาตรา 16 เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครองและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ
*[มาตรา 15 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2510]
มาตรา 16* ผู้มีสิทธิจะได้รับคัดเลือกเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง หรือผู้ช่วย ผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 12
*[มาตรา 16 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2542]
มาตรา 17* เมื่อผู้ใดได้รับคัดเลือกเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครองหรือผู้ช่วย ผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ ให้กำนันรายงานไปยังนายอำเภอเพื่อออกหนังสือสำคัญไว้เป็น หลักฐาน และให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง หรือผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษา ความสงบตั้งแต่วันที่นายอำเภอออกหนังสือสำคัญ
*[มาตรา 17 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2510]
มาตรา 17 ทวิ* ในหมู่บ้านใดมีผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ ผู้ว่าราชการ จังหวัดจะแต่งตั้งให้ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครองเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบอีก ตำแหน่งหนึ่งก็ได้ ส่วนเงินค่าตอบแทนให้เป็นไปตามที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด
*[มาตรา 17 ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 112 ลงวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2515]
มาตรา 18* ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครองและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ อยู่ในตำแหน่งคราวละห้าปี
นอกจากออกจากตำแหน่งตามวาระ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง และผู้ช่วย ผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบต้องออกจากตำแหน่งเพราะขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้าม ตามมาตรา 12 หรือเพราะเหตุเช่นเดียวกับที่ผู้ใหญ่บ้านต้องออกจากตำแหน่งตามมาตรา 14 (2) ถึง (7)

ถ้าตำแหน่งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครองหรือผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ ว่างลง ให้มีการคัดเลือกผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครองหรือผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบแทน และให้นำความในมาตรา 15 มาตรา 16 และมาตรา 17 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ผู้ซึ่งได้รับคัดเลือกตามวรรคสามอยู่ในตำแหน่งตามวาระของผู้ซึ่งตนแทน
เมื่อผู้ใหญ่บ้านต้องออกจากตำแหน่งไม่ว่าด้วยเหตุใด ให้ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่าย ปกครองและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบต้องออกจากตำแหน่งด้วย
*[มาตรา 18 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2542]
มาตรา 19 การที่ต้องเลือกผู้ใหญ่บ้านขึ้นใหม่นั้น อาศัยเหตุ 2 ประการ คือ
ข้อ 1 ถ้าลูกบ้านในหมู่บ้านใดทวีขึ้น จะเป็นด้วยผู้คนเกิดก็ตาม หรืออพยพมา แต่ที่อื่นก็ตาม เมื่อกำนันนายตำบลและผู้ใหญ่บ้านในตำบลนั้นปรึกษากันเห็นว่า จำนวนคนใน หมู่บ้านใดเกินกว่าความสามารถในผู้ใหญ่บ้านคนเดียวจะดูแลปกครองให้เรียบร้อยได้ ให้กำนัน นำความแจ้งต่อกรมการอำเภอ ให้พิเคราะห์ด้วยอีกชั้นหนึ่ง แล้วให้กรมการอำเภอบอกเข้าไปยัง ผู้ว่าราชการเมือง เมื่อผู้ว่าราชการเมืองเห็นสมควรแล้ว ก็ให้ตั้งหมู่บ้านขึ้นใหม่และเลือกผู้ใหญ่บ้าน เพิ่มเติมขึ้นใหม่ได้
*ข้อ 2 ถ้าผู้ใหญ่บ้านหมู่ใดว่างลง ให้คัดเลือกผู้ใหญ่บ้านขึ้นใหม่ภายในกำหนด สิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้ทราบการว่างนั้น การคัดเลือกให้นำความในมาตรา 11 มาใช้บังคับ โดยอนุโลม
*[ความในข้อ 2 ของมาตรา 19 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2486]
มาตรา 20 เมื่อผู้ใหญ่บ้านต้องออกจากตำแหน่งด้วยเหตุประการใด ๆ เป็นหน้าที่ ของกำนันนายตำบลนั้น จะต้องเรียกหมายตั้ง และสำมะโนครัวทะเบียนบัญชีที่ได้ทำขึ้นไว้ใน หน้าที่ผู้ใหญ่บ้านนั้นคืนมารักษาไว้ เมื่อผู้ใดรับตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่บ้านแทน ก็ให้มอบสำมะโนครัว และทะเบียนบัญชีทั้งปวงให้ แต่หมายตั้งนั้นกำนันต้องรีบส่งให้กรมการอำเภอ อนึ่ง การที่จะ เรียกคืนหมายตั้งและสำมะโนครัวทะเบียนบัญชีที่ได้กล่าวมาในข้อนี้ ถ้าขัดข้องประการใด กำนัน ต้องรีบแจ้งความต่อกรมการอำเภอ

มาตรา 21* ถ้าผู้ใหญ่บ้านคนใดจะทำการในหน้าที่ไม่ได้ในครั้งหนึ่งคราวหนึ่ง ให้ มอบหน้าที่ให้แก่ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครองคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาการแทนจนกว่าผู้ใหญ่บ้าน นั้นจะทำการในหน้าที่ได้ และรายงานให้กำนันทราบ ถ้าการมอบหน้าที่นั้นเกินกว่าสิบห้าวัน ให้ กำนันรายงานให้นายอำเภอทราบด้วย *[มาตรา 21 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2510]

ตอน 3 การตั้งหมู่บ้านชั่วคราว
________
มาตรา 22 ถ้าในท้องที่อำเภอใดมีราษฎรไปตั้งชุมนุมทำการหาเลี้ยงชีพแต่ใน บางฤดู ถ้าและจำนวนราษฎรซึ่งไปตั้งทำการอยู่มากพอสมควรจะจัดเป็นหมู่บ้านได้ตามพระราช บัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ เพื่อความสะดวกแก่การปกครอง ก็ให้นายอำเภอประชุมราษฎรใน หมู่นั้นเลือกว่าที่ผู้ใหญ่บ้านคนหนึ่ง หรือหลายคนตามควรแก่กำหนดที่ว่าไว้ในพระราชบัญญัติ ลักษณะปกครองท้องที่นี้
มาตรา 23* ผู้ซึ่งสมควรจะเป็นว่าที่ผู้ใหญ่บ้านตามมาตรา 22 ต้องมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 12 (1) (2) (4) (5) (6) (7) (8) (9) (10) (11) (12) (13) และ (14)
*[มาตรา 18 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2542]
มาตรา 24 ผู้ใหญ่บ้านเช่นนี้ ให้เรียกว่า ว่าที่ผู้ใหญ่บ้าน เพราะเหตุที่เป็นตำแหน่ง ชั่วครั้งหนึ่งคราวหนึ่ง แต่มีอำนาจและหน้าที่เท่าผู้ใหญ่บ้านทุกประการ ถ้าราษฎรเลือกผู้หนึ่งผู้ใด อันสมควรจะว่าที่ผู้ใหญ่บ้านได้ ก็ให้รายงานขอหมายตั้งต่อผู้ว่าราชการเมือง
มาตรา 25 หมายตั้งว่าที่ผู้ใหญ่บ้านนี้ ให้ผู้ว่าราชการเมืองทำหมายพิเศษตั้ง เพื่อ ให้ปรากฏว่าผู้นั้นว่าที่ผู้ใหญ่บ้านตั้งแต่เดือนนั้นเพียงเดือนนั้นเป็นที่สุด ตามกำหนดฤดูกาลที่ราษฎร จะตั้งชุมนุมกันอยู่ในที่นั้น เมื่อราษฎรอพยพแยกย้ายกันไปแล้ว ก็ให้เป็นอันสิ้นตำแหน่งและหน้าที่ เมื่อถึงฤดูใหม่ก็ให้เลือกตั้งใหม่อีกทุกคราวไป
มาตรา 26 หมู่บ้านที่จัดขึ้นชั่วคราวนี้ ให้รวมอยู่ในกำนันนายตำบลซึ่งได้ว่ากล่าว ท้องที่นั้นแต่เดิม เว้นไว้แต่ถ้าท้องที่เป็นท้องที่ป่าเปลี่ยวห่างไกลจากกำนัน เมื่อมีจำนวนคนที่ไป ตั้งอยู่มาก ผู้ว่าราชการเมืองเห็นจำเป็นจะต้องมีกำนันขึ้นต่างหาก ก็ให้เลือกและตั้งว่าที่กำนันได้ โดย ทำนองตั้งว่าที่ผู้ใหญ่บ้านตามที่ได้กล่าวมาแล้ว

ตอน 4* หน้าที่และอำนาจของผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
__________

*[ตอนที่ 4 แก้ไขชื่อโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2510]
มาตรา 27 ผู้ใหญ่บ้านเป็นหัวหน้าของราษฎรในหมู่บ้านของตนตามที่กำหนดไว้ ในพระราชบัญญัตินี้ มีหน้าที่และอำนาจในทางปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อยของราษฎร ดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ
ข้อ 1 ที่จะรักษาความสงบและความสุขสำราญ ช่วยป้องกันความทุกข์ภัยของ ลูกบ้านตามสมควรและที่สามารถจะทำได้ การที่กล่าวนี้ ถ้าสมควรจะต้องปรึกษาหารือและช่วยกัน กับเพื่อนผู้ใหญ่บ้านก็ดี กับกำนันนายตำบลก็ดี ก็เป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านที่จะต้องปฏิบัติให้สมควร แก่การที่จะรักษาประโยชน์และความสุขของลูกบ้าน ซึ่งได้มอบไว้ให้เป็นธุระในพระราชบัญญัตินี้
ข้อ 2 ถ้าความทุกข์ภัยเกิดแก่ลูกบ้าน ซึ่งจะต้องขอความป้องกันจากรัฐบาล เป็น หน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านที่จะนำความแจ้งต่อเจ้าพนักงานปกครอง ตั้งแต่กำนัน นายอำเภอ เป็นต้น ขึ้นไปโดยลำดับ
ข้อ 3 ถ้ารัฐบาลจะประกาศ หรือจะสั่งราชการอันใดให้ราษฎรทราบ เป็นหน้าที่ ของผู้ใหญ่บ้านที่จะรับข้อความอันนั้นไปแจ้งแก่ลูกบ้านของตนให้ทราบ
ข้อ 4 เป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านที่จะทำบัญชีสำมะโนครัวในหมู่บ้านของตนและ คอยแก้ไขบัญชีนั้นให้ถูกต้องเสมอ
ข้อ 5 ถ้าผู้ใหญ่บ้านรู้เห็นเหตุการณ์แปลกประหลาดอันใดที่เกิดขึ้นในหมู่บ้าน ของตน หรือในลูกบ้านของตนซึ่งอาจจะเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ราชการบ้านเมืองก็ดี แก่ประชาชน ในที่นั้นก็ดี ยกตัวอย่างข้างฝ่ายโทษ ดังรู้เห็นว่าผู้คนมีทรัพย์สิ่งของแปลกประหลาดอันน่าสงสัยว่า เป็นของที่ได้มาโดยทางโจรกรรมก็ดี หรือว่าถ้าเห็นผู้คนล้มตาย หรือมีบาดแผลอันควรสงสัยว่า จะมีผู้อื่นกระทำเอาโดยทุจริต หรือไปกระทำทุจริตต่อผู้อื่นแล้วจึงเกิดเหตุขึ้นก็ดี เหล่านี้เป็นต้น ให้รีบนำความแจ้งต่อกำนันนายตำบลของตน
ข้อ 6 ถ้ามีคนจรแปลกหน้านอกสำมะโนครัวหมู่บ้านนั้นเข้ามาอาศัย เป็นหน้าที่ ของผู้ใหญ่บ้านจะต้องไต่ถาม ให้รู้จักตัวและรู้เหตุการณ์ที่มาอาศัย ถ้าเห็นว่าไม่ได้มาโดยสุจริต ให้เอาตัวผู้นั้นส่งกำนันนายตำบลของตน
ข้อ 7 ถ้าเกิดเหตุจลาจลก็ดี ฆ่ากันตายก็ดี ตีชิงก็ดี ปล้นทรัพย์ก็ดี หรือไฟไหม้ก็ดี หรือเหตุร้ายสำคัญอย่างใด ๆ ในหมู่บ้านของตน หรือในหมู่บ้านที่ใกล้เคียงอันสมควรจะช่วยได้ เป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านจะต้องเรียกลูกบ้านของตนออกช่วยต่อสู้ติดตามจับผู้ร้ายเอาของกลางคืน หรือดับไฟ หรือช่วยอย่างอื่นที่สมควรโดยเต็มกำลัง
ข้อ 8 ผู้ใหญ่บ้านเห็นลูกบ้านของตนคนใดแสดงความอาฆาตมาดร้ายแก่ผู้อื่นก็ดี หรือเป็นคนจรจัดไม่ปรากฏการทำมาหาเลี้ยงชีพ และไม่สามารถจะชี้แจงให้เห็นความบริสุทธิ์ของ ตนได้ก็ดี ผู้ใหญ่บ้านมีอำนาจที่จะเรียกลูกบ้านคนนั้นมาไต่ถามและว่ากล่าวสั่งสอน ถ้าไม่ฟังให้ เอาตัวส่งกำนันจัดการตามความในมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัตินี้
*ข้อ 9 ควบคุมดูแลลูกบ้านให้ปฏิบัติหน้าที่ซึ่งจะต้องพึงกระทำตามกฎหมาย หรือ ระเบียบแบบแผนของทางราชการ
*ข้อ 10 ฝึกหัดอบรมให้คนไทยรู้จักหน้าที่และกระทำการในเวลารบ
*ข้อ 11 ทำการอบรมสั่งสอน หรือชี้แจงข้อราชการแก่ราษฎร ในการนี้ให้เรียก ราษฎรมาประชุมได้ตามครั้งคราวที่สมควร
*ข้อ 12 บำรุงและส่งเสริมการอาชีพของราษฎรในทางเกษตรกรรม พาณิชยกรรม และอุตสาหกรรม
*ข้อ 13 ตรวจตราและรักษาประโยชน์ในการอาชีพของราษฎร
*ข้อ 14 สั่งให้ราษฎรช่วยเหลือในการสาธารณประโยชน์ เพื่อบำบัดปัดป้อง ภยันตรายซึ่งมีมาเป็นสาธารณะโดยฉุกเฉิน และให้ทำการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ราษฎรผู้ประสพ สาธารณภัย
*ข้อ 15 จัดการป้องกันโรคติดต่อ หรือโรคระบาดซึ่งเกิดขึ้น หรือจะเกิดขึ้นใน หมู่บ้าน เพื่อมิให้ติดต่อลุกลามมากไป
*ข้อ 16 จัดหมู่บ้านให้เป็นระเบียบเรียบร้อยและต้องด้วยสุขลักษณะ
*ข้อ 17 จัดให้มีการประชุมกรรมการหมู่บ้าน
*ข้อ 18 ปฏิบัติการตามคำสั่งของกำนัน หรือทางราชการ และรายงานเหตุการณ์ ซึ่งเกิดขึ้นในหมู่บ้านให้กำนันทราบ เพื่อให้กำนันรายงานต่อคณะกรรมการอำเภอ
*ข้อ 19 กระทำตนให้เป็นตัวอย่างแก่ราษฎรตามที่ทางราชการได้แนะนำ
*[ความในข้อ 9 ถึงข้อ 19 ของมาตรา 27 เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2486]
มาตรา 28 ผู้ใหญ่บ้านมีหน้าที่และอำนาจในการที่เกี่ยวด้วยความอาญาดังต่อไปนี้ คือ
ข้อ 1 เมื่อทราบข่าวว่ามีการกระทำผิดกฎหมายเกิดขึ้น หรือสงสัยว่าได้เกิดขึ้นใน หมู่บ้านของตน ต้องแจ้งความต่อกำนันนายตำบลให้ทราบ
ข้อ 2 เมื่อทราบข่าวว่ามีการกระทำผิดกฎหมายเกิดขึ้น หรือสงสัยว่าได้เกิดขึ้นใน หมู่บ้านที่ใกล้เคียงต้องแจ้งความต่อผู้ใหญ่บ้านหมู่บ้านนั้นให้ทราบ
ข้อ 3 เมื่อตรวจพบของกลางที่ผู้ที่กระทำผิดกฎหมายมีอยู่ก็ดี หรือสิ่งของที่สงสัย ว่าได้มาโดยการกระทำผิดกฎหมาย หรือเป็นสิ่งของสำหรับใช้ในการกระทำผิดกฎหมายก็ดี ให้จับ สิ่งของนั้นไว้ และรีบนำส่งต่อกำนันนายตำบล
ข้อ 4 เมื่อปรากฏว่าผู้ใดกำลังกระทำผิดกฎหมายก็ดี หรือมีเหตุควรสงสัยว่าเป็น ผู้ที่ได้กระทำผิดกฎหมายก็ดี ให้จับตัวผู้นั้นไว้ และรีบนำส่งต่อกำนันนายตำบล
ข้อ 5 ถ้ามีหมายหรือมีคำสั่งตามหน้าที่ราชการ ให้จับผู้ใดในหมู่บ้านนั้น เป็น หน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านที่จะจับผู้นั้น และรีบส่งต่อกำนันหรือกรมการอำเภอตามสมควร
ข้อ 6 เมื่อเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ออกหมายสั่งให้ค้นหรือให้ยึด ผู้ใหญ่บ้านต้อง จัดการให้เป็นไปตามหมาย
มาตรา 28 ทวิ* ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครองมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) ช่วยเหลือผู้ใหญ่บ้านปฏิบัติกิจการตามอำนาจหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านเท่าที่ได้รับ มอบหมายจากผู้ใหญ่บ้านให้กระทำ
(2) เสนอข้อแนะนำและให้คำปรึกษาต่อผู้ใหญ่บ้านในกิจการที่ผู้ใหญ่บ้านมีอำนาจ หน้าที่ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) ตรวจตรารักษาความสงบเรียบร้อยภายในหมู่บ้าน
(2) ถ้ารู้เห็นหรือทราบว่าเหตุการณ์อันใดเกิดขึ้นหรือจะเกิดขึ้นในหมู่บ้านเกี่ยวกับ ความสงบเรียบร้อย ให้นำความแจ้งต่อผู้ใหญ่บ้าน
ถ้าเหตุการณ์ตามวรรคหนึ่งเกิดขึ้นหรือจะเกิดขึ้นในหมู่บ้านใกล้เคียง ให้นำความ แจ้งต่อผู้ใหญ่บ้านท้องที่นั้นและรายงานให้ผู้ใหญ่บ้านของตนทราบ
(3) ถ้ามีคนจรเข้ามาในหมู่บ้านและสงสัยว่าไม่ได้มาโดยสุจริต ให้นำตัวส่ง ผู้ใหญ่บ้าน
(4) เมื่อมีเหตุร้ายเกิดขึ้นในหมู่บ้าน ต้องระงับเหตุ ปราบปราม ติดตามจับผู้ร้าย โดยเต็มกำลัง
(5) เมื่อตรวจพบหรือตามจับได้สิ่งของใดที่มีไว้เป็นความผิด หรือได้ใช้ หรือมีไว้ เพื่อใช้ในการกระทำความผิด หรือได้มาโดยการกระทำความผิด ให้รีบนำส่งผู้ใหญ่บ้าน
(6) เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าผู้ใดได้กระทำความผิดและกำลังจะหลบหนี ให้ ควบคุมตัวส่งผู้ใหญ่บ้าน
(7) ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งสั่งการโดยชอบด้วยกฎหมาย
*[มาตรา 28 ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2510]
มาตรา 28 ตรี* ในหมู่บ้านหนึ่งให้มีคณะกรรมการหมู่บ้านคณะหนึ่ง มีหน้าที่ เสนอข้อแนะนำและให้คำปรึกษาต่อผู้ใหญ่บ้าน เกี่ยวกับกิจการที่จะปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของ ผู้ใหญ่บ้าน
คณะกรรมการหมู่บ้านประกอบด้วยผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง เป็นกรรมการหมู่บ้านโดยตำแหน่ง และผู้ซึ่งราษฎรเลือกตั้งเป็นกรรมการหมู่บ้านผู้ทรงคุณวุฒิ มีจำนวนตามที่นายอำเภอจะเห็นสมควรแต่ต้องไม่น้อยกว่าสองคน
ในการประชุมคณะกรรมการหมู่บ้าน ต้องมีกรรมการหมู่บ้านมาประชุมไม่ น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่จึงจะเป็นองค์ประชุม ให้ผู้ใหญ่บ้านเป็น ประธาน การวินิจฉัยชี้ขาดให้ถือเสียงข้างมาก ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานออกเสียงอีกเสียง หนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด

กรรมการหมู่บ้านผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีสัญชาติไทย และมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะ ต้องห้ามเช่นเดียวกับผู้มีสิทธิที่จะได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านตามมาตรา 12 (2) ถึง (13)
การเลือกตั้งกรรมการหมู่บ้านผู้ทรงคุณวุฒิ ให้ราษฎรมีสิทธิเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน เป็นผู้เลือก โดยให้นายอำเภอเป็นประธาน พร้อมด้วยกำนันหรือผู้ใหญ่บ้านในตำบลนั้นอย่างน้อย หนึ่งคน
วิธีเลือกจะกระทำโดยลับหรือเปิดเผยก็ได้
เมื่อราษฎรส่วนมากที่มาประชุมเลือกผู้ใดแล้ว ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นกรรมการหมู่บ้าน ผู้ทรงคุณวุฒิ และให้นายอำเภอออกหนังสือสำคัญให้ไว้เป็นหลักฐาน
ในกรณีผู้รับเลือกมีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้จับสลาก
กรรมการหมู่บ้านผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในตำแหน่งคราวละห้าปี
นอกจากออกจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการหมู่บ้านผู้ทรงคุณวุฒิต้องออกจาก ตำแหน่งเพราะเสียสัญชาติไทย หรือขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 12 (3) ถึง (13) หรือเพราะเหตุเช่นเดียวกับที่ผู้ใหญ่บ้านต้องออกจากตำแหน่งตามมาตรา 14 (2) ถึง (7)
ถ้าตำแหน่งกรรมการหมู่บ้านผู้ทรงคุณวุฒิว่างลง ให้มีการเลือกตั้งขึ้นแทนให้เต็ม ตำแหน่งที่ว่าง และให้อยู่ในตำแหน่งตามวาระของผู้ซึ่งตนแทน
การเลือกตั้งกรรมการหมู่บ้านผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้กระทำภายใน หกสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งนั้นว่าง ถ้าตำแหน่งว่างลงก่อนถึงกำหนดออกตามวาระไม่เกินหนึ่ง ร้อยแปดสิบวัน จะไม่เลือกตั้งขึ้นแทนก็ได้
*[มาตรา 28 ตรี แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2542]
มาตรา 28 จัตวา* ในการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อย ให้ ผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบใช้อาวุธปืนของทางราชการได้
การเก็บรักษาและการใช้อาวุธปืนให้เป็นไปตามข้อบังคับของกระทรวงมหาดไทย
*[มาตรา 28 จัตวา เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2510]

หมวดที่ 4 ว่าด้วยลักษณะปกครองตำบล
__________

ตอน 1 การตั้งตำบล
___________
มาตรา 29 หลายหมู่บ้านรวมกันราว 20 หมู่บ้าน ให้จัดเป็นตำบลหนึ่ง และเมื่อ สมุหเทศาภิบาลเห็นชอบด้วยแล้ว ให้ผู้ว่าราชการเมืองกำหนดหมายเขตตำบลนั้นให้ทราบได้โดย ชัดว่าเพียงใดทุกด้าน ถ้าที่หมายเขตไม่มีลำห้วย,หนอง,คลอง,บึง,บาง หรือสิ่งใดเป็นสำคัญ ก็ให้ จัดให้มีหลักปักหมายเขตไว้เป็นสำคัญ
มาตรา 29 ทวิ* ในตำบลหนึ่งให้มีกำนันคนหนึ่ง มีอำนาจหน้าที่ปกครองราษฎร ที่อยู่ในเขตตำบลนั้น กำนันจะได้รับเงินเดือนแต่มิใช่จากเงินงบประมาณประเภทเงินเดือน
ในตำบลหนึ่งให้มีคณะกรรมการตำบลคณะหนึ่ง มีหน้าที่เสนอข้อแนะนำและให้ คำปรึกษาต่อกำนัน เกี่ยวกับกิจการที่จะปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของกำนัน
คณะกรรมการตำบลประกอบด้วยกำนันท้องที่ ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้านในตำบล และแพทย์ประจำตำบล เป็นกรรมการตำบลโดยตำแหน่ง และครูประชาบาลในตำบลหนึ่งคน กรรมการหมู่บ้านผู้ทรงคุณวุฒิหมู่บ้านละหนึ่งคน เป็นกรรมการตำบลผู้ทรงคุณวุฒิ โดยนายอำเภอ เป็นผู้คัดเลือกแล้วรายงานไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อออกหนังสือสำคัญให้ไว้เป็นหลักฐานและ ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นกรรมการตำบลผู้ทรงคุณวุฒิตั้งแต่วันที่ผู้ว่าราชการจังหวัดออกหนังสือสำคัญ
กรรมการตำบลผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในตำแหน่งคราวละห้าปี
นอกจากออกจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการตำบลผู้ทรงคุณวุฒิต้องออกจาก ตำแหน่งเพราะพ้นจากตำแหน่งครูประชาบาลหรือกรรมการหมู่บ้านผู้ทรงคุณวุฒิ
ถ้าตำแหน่งกรรมการตำบลผู้ทรงคุณวุฒิว่างลง ให้มีการคัดเลือกขึ้นแทนให้เต็ม ตำแหน่งที่ว่างและให้อยู่ในตำแหน่งตามวาระของผู้ซึ่งตนแทน

การคัดเลือกกรรมการตำบลผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้กระทำภายใน หกสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งนั้นว่าง ถ้าตำแหน่งนั้นว่างลงก่อนถึงกำหนดออกตามวาระไม่เกิน หนึ่งร้อยแปดสิบวัน จะไม่คัดเลือกขึ้นแทนก็ได้
*[มาตรา 29 ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2510]
มาตรา 29 ตรี* ในการประชุมคณะกรรมการตำบลต้องมีกรรมการตำบลมาประชุม ไม่น้อยกว่ากึ่งจำนวนจึงจะเป็นองค์ประชุม ให้กำนันเป็นประธาน การวินิจฉัยชี้ขาดให้ถือเสียงข้าง มาก ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานออกเสียงอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
*[มาตรา 29 ตรี แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2510]
ตอน 2
การตั้งกำนันและกำนันออกจากตำแหน่ง
___________
มาตรา 30* ให้นายอำเภอจัดให้มีการเลือกกำนัน โดยรับสมัครจากผู้ใหญ่บ้าน ในตำบลนั้น ผู้มีสิทธิเลือกกำนันต้องมีคุณสมบัติและไม่อยู่ในลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 11
เมื่อราษฎรที่มาลงคะแนนเสียงส่วนมากเลือกผู้ใดแล้ว ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นกำนัน และให้นายอำเภอรายงานไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อออกหนังสือสำคัญให้ไว้เป็นหลักฐาน
ในกรณีที่ผู้ได้รับเลือกมีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้จับฉลาก
วิธีเลือกกำนัน ให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด
*[มาตรา 30 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 364 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2515]
มาตรา 31* กำนันต้องออกจากตำแหน่งด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) เมื่อต้องออกจากผู้ใหญ่บ้าน
(2) ได้รับอนุญาตให้ลาออก
(3) ยุบตำบลที่ปกครอง
(4) เมื่อข้าหลวงประจำจังหวัดสั่งให้ออกจากตำแหน่ง เพราะพิจารณาเห็นว่า บกพร่องในทางความประพฤติ หรือความสามารถไม่พอแก่ตำแหน่ง
(5) ต้องถูกปลดหรือไล่ออกจากตำแหน่ง

การออกจากตำแหน่งกำนันนั้นให้ออกจากตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านด้วย เว้นแต่การ ออกตาม (2) (3) และ (4) ไม่ต้องออกจากตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน
*[มาตรา 31 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2486]
มาตรา 32* ถ้าตำแหน่งกำนันว่างลง ให้เลือกกำนันขึ้นใหม่ภายในกำหนด หกสิบวันนับแต่วันที่นายอำเภอได้ทราบการว่างนั้น การเลือกกำนันให้นำความในมาตรา 30 มาใช้บังคับ
*[มาตรา 32 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 364 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2515]
มาตรา 33 ถ้ากำนันทำการในหน้าที่ไม่ได้ในชั่วคราวเวลาใด เช่น ไปทางไกล เป็นต้น ให้มอบอำนาจและหน้าที่ไว้แก่ผู้ใหญ่บ้านคนใดคนหนึ่งซึ่งอยู่ในตำบลเดียวกันให้ทำการ แทน และให้ผู้แทนนี้มีอำนาจเต็มที่ในตำแหน่งกำนัน แต่การที่กำนันจะมอบหมายหน้าที่ให้แก่ ผู้ใหญ่บ้านทำการแทนเช่นนี้ ให้บอกผู้ใหญ่บ้านทั้งหลายในตำบลเดียวกันและบอกกรมการอำเภอ ให้ทราบไว้ด้วย

ตอน 3 หน้าที่และอำนาจของกำนัน
__________
มาตรา 34 บรรดาการที่จะตรวจตรารักษาความปกติเรียบร้อยในตำบล คือ การที่ จะว่ากล่าวราษฎรในตำบลนั้นให้ประพฤติตามพระราชกำหนดกฎหมายก็ดี หรือการที่จะป้องกัน ภยันตรายและรักษาความสุขสำราญของราษฎรในตำบลนั้นก็ดี หรือการที่จะรับกิจสุขทุกข์ของ ราษฎรในตำบลนั้นขึ้นร้องเรียนต่อผู้ว่าราชการเมือง กรมการอำเภอ และจะรับข้อราชการมา ประกาศแก่ราษฎรในตำบลนั้นก็ดี หรือที่จะจัดการตามพระราชกำหนดกฎหมาย เช่น การตรวจ และนำเก็บภาษีอากรในตำบลนั้นก็ดี การทั้งนี้อยู่ในหน้าที่ของกำนันผู้เป็นนายตำบล ผู้ใหญ่บ้าน ทั้งปวงในตำบลนั้น และแพทย์ประจำตำบลจะต้องช่วยกันเอาเป็นธุระจัดการให้เรียบร้อยได้ตาม สมควรแก่หน้าที่
มาตรา 34 ทวิ* นอกจากอำนาจหน้าที่ที่กล่าวโดยเฉพาะ ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ กำนัน ให้กำนันมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ใหญ่บ้านด้วย *[มาตรา 34 ทวิ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2486]
มาตรา 35 กำนันมีหน้าที่และอำนาจในการที่เกี่ยวด้วยความอาญา ดังต่อไปนี้ คือ
ข้อ 1 เมื่อทราบข่าวว่า มีการกระทำผิดกฎหมายเกิดขึ้น หรือสงสัยว่าได้เกิดขึ้นใน ตำบลของตน ต้องแจ้งความต่อกรมการอำเภอให้ทราบ
ข้อ 2 เมื่อทราบข่าวว่ามีการกระทำผิดกฎหมายเกิดขึ้น หรือสงสัยว่าได้เกิดขึ้นใน ตำบลที่ใกล้เคียง ต้องแจ้งความต่อกำนันนายตำบลนั้นให้ทราบ
ข้อ 3 เมื่อปรากฏว่าผู้ใดกำลังกระทำผิดกฎหมายก็ดี หรือมีเหตุควรสงสัยว่าเป็น ผู้ที่ได้กระทำผิดกฎหมายก็ดี ให้จับผู้นั้นไว้และรีบนำส่งต่อกรมการอำเภอ
ข้อ 4 ถ้ามีหมายหรือมีคำสั่งตามหน้าที่ราชการให้จับผู้ใดในตำบลนั้น เป็นหน้าที่ ของกำนันที่จะจับผู้นั้นแล้วรีบส่งต่อกรมการอำเภอตามสมควร
ข้อ 5 เมื่อเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ออกหมายสั่งให้ค้นหรือให้ยึด กำนันต้องจัดการ ให้เป็นไปตามหมาย
ข้อ 6 ถ้ามีผู้มาขออายัดตัวคนหรือสิ่งของก็ดี หรือผู้ต้องโจรกรรมจะทำกฎหมาย ตราสิน หรือมีผู้จะขอทำชันสูตรบาดแผลก็ดี ทั้งนี้ให้กำนันสืบสวนฟังข้อความแล้วรีบนำตัวผู้ขอ และผู้ต้องอายัด และทรัพย์สิ่งของบรรดาที่จะพาไปด้วยนั้นไปยังกรมการอำเภอ ถ้าสิ่งของอย่างใด จะพาไปไม่ได้ ก็ให้กำนันชันสูตรให้รู้เห็น แล้วนำความไปแจ้งต่อกรมการอำเภอในขณะนั้น
มาตรา 36 ถ้ากำนันรู้เห็นเหตุทุกข์ร้อนของราษฎร หรือการแปลกประหลาด เกิดขึ้นในตำบลต้องรีบรายงานต่อกรมการอำเภอให้ทราบ
มาตรา 37 ถ้าเกิดจลาจลก็ดี ฆ่ากันตายก็ดี ชิงทรัพย์ก็ดี ปล้นทรัพย์ก็ดี ไฟไหม้ก็ดี หรือเหตุร้ายสำคัญอย่างใด ๆ ในตำบลของตน หรือในตำบลที่ใกล้เคียงอันสมควรจะช่วยได้ก็ดี หรือมีผู้ร้ายแต่ที่อื่นมามั่วสุมในตำบลนั้นก็ดี หรือมีเหตุควรสงสัยว่าลูกบ้านในตำบลนั้นบางคนจะ เกี่ยวข้องเป็นโจรผู้ร้ายก็ดี เป็นหน้าที่ของกำนันจะต้องเรียกผู้ใหญ่บ้านและลูกบ้านในตำบลออกช่วย ต่อสู้ติดตามจับผู้ร้าย หรือติดตามเอาของกลางคืน หรือดับไฟ หรือช่วยอย่างอื่นตามควรแก่การโดย เต็มกำลัง

มาตรา 38 ให้กำนันดูแลคนเดินทางซึ่งไม่มีเหตุควรสงสัยว่าจะเป็นผู้ร้ายให้ได้มี ที่พักตามควร
มาตรา 39 ถ้าผู้เดินทางด้วยราชการจะต้องการคนนำทางหรือขาดแคลนพาหนะ เสบียงอาหารลงในระหว่างทาง และจะร้องขอต่อกำนันให้ช่วยสงเคราะห์ กำนันต้องช่วยจัดหาให้ ตามที่จะทำได้ ถ้าหากว่าการที่จะช่วยเหลือนั้นจะต้องออกราคาค่าจ้างเพียงใด ให้กำนันเรียกเอา แก่ผู้เดินทางนั้น
มาตรา 40 กำนันต้องตรวจจัดการรักษาสิ่งซึ่งเป็นสาธารณประโยชน์อันอยู่ใน ตำบลนั้น เช่น สระน้ำ ศาลาอาศัย ที่เลี้ยงปศุสัตว์ เป็นต้น
มาตรา 41 กำนันต้องรักษาบัญชีสำมะโนครัว และทะเบียนบัญชีของรัฐบาลใน ตำบลนั้น และคอยแก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้องกับบัญชีของผู้ใหญ่บ้าน
มาตรา 42 กำนันต้องทำบัญชีสิ่งของซึ่งต้องภาษีอากรในแขวงนั้นยื่นต่อ กรมการอำเภอ และนำราษฎรไปเสียภาษีอากรตามพระราชบัญญัติภาษีอากร
มาตรา 43 กำนันกระทำการตามหน้าที่จะเรียกผู้ใดมาหารือให้ช่วยก็ได้
มาตรา 44 ในตำบลหนึ่งให้มีสารวัตรสำหรับเป็นผู้ช่วยและรับใช้สอยของกำนัน สองคน ผู้ที่จะเป็นสารวัตรนี้แล้วแต่กำนันจะขอร้องให้ผู้ใดเป็น แต่ต้องได้รับความเห็นชอบของ ผู้ว่าราชการเมืองด้วยจึงเป็นได้ และกำนันมีอำนาจเปลี่ยนสารวัตรได้

ตอน 4 แพทย์ประจำตำบล การตั้งและหน้าที่
__________
มาตรา 45 ในตำบลหนึ่ง ให้กำนันและผู้ใหญ่บ้านประชุมพร้อมกันเลือกผู้ที่มี ความรู้ในวิชาแพทย์เป็นแพทย์ประจำตำบลคนหนึ่ง สำหรับจัดการป้องกันความไข้เจ็บของ ราษฎรในตำบลนั้น

มาตรา 46* การแต่งตั้งแพทย์ประจำตำบล ให้ข้าหลวงประจำจังหวัดแต่งตั้งจาก บุคคลผู้มีสัญชาติไทย และต้องแต่งตั้งจากผู้ที่มีถิ่นที่อยู่ในตำบลนั้น เว้นแต่ผู้ที่เป็นแพทย์ประจำ ตำบลที่ใกล้เคียงกันอยู่แล้ว และยอมกระทำการรวมเป็นสองตำบล ถ้าข้าหลวงประจำจังหวัดเห็น สมควรก็แต่งตั้งได้ *[มาตรา 46 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2486]
มาตรา 47 เหตุที่แพทย์ประจำตำบลจะต้องออกจากตำแหน่งนั้นเหมือนกับ เหตุที่กำนันจะต้องออกจากตำแหน่งทุกประการ
มาตรา 48 แพทย์ประจำตำบล มีหน้าที่ดังกล่าวต่อไปนี้ คือ
ข้อ 1 ที่จะช่วยกำนันผู้ใหญ่บ้านคิดอ่านและจัดการรักษาความสงบเรียบร้อยใน ตำบล ดังกล่าวไว้ในมาตรา 36 และ 52 แห่งพระราชบัญญัตินี้
ข้อ 2 ที่จะคอยสังเกตตรวจตราความไข้เจ็บที่เกิดขึ้นแก่ราษฎรในตำบลนั้น และ ตำบลที่ใกล้เคียง ถ้าเกิดโรคภัยร้ายแรง เช่น อหิวาตกโรคก็ดี กาฬโรคก็ดี ไข้ทรพิษก็ดี ต้องคิด ป้องกันด้วยแนะนำกำนันผู้ใหญ่บ้านให้สั่งราษฎรให้จัดการป้องกันโรค เช่น ทำความสะอาด เป็นต้น และแพทย์ประจำตำบลต้องเที่ยวตรวจตราชี้แจงแก่ราษฎรด้วย
ข้อ 3 การป้องกันโรคภัยในตำบลนั้น เช่น ปลูกทรพิษป้องกันไข้ทรพิษก็ดี ที่จะ มียาแก้โรคไว้สำหรับตำบลก็ดี ดูแลอย่าให้ในตำบลนั้นมีสิ่งโสโครกอันเป็นเชื้อโรคก็ดี การเหล่านี้ อยู่ในหน้าที่แพทย์ประจำตำบล ๆ จะต้องคิดอ่านกับแพทย์ประจำเมือง และกำนันผู้ใหญ่บ้านใน ตำบลนั้นให้สำเร็จตลอดไป
ข้อ 4 ถ้าโรคภัยร้ายกาจ เช่น อหิวาตกโรค กาฬโรค ไข้ทรพิษ โรคระบาดปศุสัตว์ เกิดขึ้นในตำบลนั้น แพทย์ประจำตำบลต้องรีบรายงานยังกรมการอำเภอให้ทราบโดยทันทีและ ต่อไปเนือง ๆ จนกว่าจะสงบโรค
มาตรา 49 แพทย์ประจำตำบลมีสังกัดขึ้นอยู่ในแพทย์ประจำเมือง แพทย์ประจำ เมืองมีหน้าที่จะต้องตรวจตราแนะนำการงานในหน้าที่แก่แพทย์ประจำตำบลในเมืองนั้นทั่วไป

ตอน 5* การประชุมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กรรมการตำบล กรรมการหมู่บ้าน
แพทย์ประจำตำบล และวินัยของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล
และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
_____________
*[ตอนที่ 5 แก้ไขชื่อตอนโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2510]
มาตรา 50 เมื่อกำนันเห็นว่ามีการอันใดเนื่องในการรักษาความปกติเรียบร้อยใน ตำบล สมควรจะปรึกษาหารือกันในระหว่างกำนันผู้ใหญ่บ้านทั้งปวงและแพทย์ประจำตำบล กำนัน ก็มีอำนาจที่จะเรียกมาประชุมปรึกษาหารือกัน และให้เอาเสียงที่เห็นพร้อมกันโดยมากเป็นที่ชี้ขาด ตกลงในการที่ปรึกษาหารือกันนั้น
มาตรา 51* ให้กำนันเรียกผู้ใหญ่บ้านและแพทย์ประจำตำบลมาประชุมเพื่อปรึกษา หารือการที่จะรักษาหน้าที่ในตำบลให้เรียบร้อย ไม่น้อยกว่าเดือนละหนึ่งครั้ง
ให้ผู้ใหญ่บ้านเรียกประชุมคณะกรรมการหมู่บ้านตามครั้งคราวที่เห็นสมควร หรือ เมื่อกรรมการมีจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งร้องขอให้มีการประชุม แต่เมื่อรวมปีหนึ่งจะต้องมีการประชุม ไม่น้อยกว่าหกครั้ง
ให้กำนันเรียกประชุมคณะกรรมการตำบลไม่น้อยกว่าเดือนละหนึ่งครั้ง
*[มาตรา 51 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2486]
มาตรา 52 ถ้ามีเหตุสงสัยว่าผู้ใดในตำบลนั้น แสดงความอาฆาตมาดร้ายแก่ผู้อื่น ก็ดี หรือเป็นคนจรจัดไม่ปรากฏการทำมาหาเลี้ยงชีพ และไม่สามารถจะชี้แจงความบริสุทธิ์ของตน ได้ก็ดี ให้กำนันเรียกประชุมผู้ใหญ่บ้านสืบสวน ถ้ามีหลักฐานควรเชื่อว่าเป็นความจริง ก็ให้เอาตัว ผู้นั้นส่งกรมการอำเภอไปฟ้องร้องเอาโทษตามมาตรา 30 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 53 เมื่อมีผู้ใหญ่บ้านนำคนจรแปลกหน้านอกสำมะโนครัวตำบลมาส่ง กำนันตามความในมาตรา 27 ข้อ 6 ให้กำนันปรึกษาหารือกับผู้ใหญ่บ้าน เมื่อเห็นสมควรจะขับไล่ ผู้นั้นออกไปเสียจากท้องที่ตำบลนั้นก็ได้

มาตรา 54 ถ้าลูกบ้านผู้ใดไปตั้งทับกระท่อมหรือเรือนโรงอยู่ในที่เปลี่ยวในตำบล นั้น ซึ่งน่ากลัวจะเป็นอันตรายด้วยโจรผู้ร้าย หรือน่าสงสัยว่าจะเป็นสำนักโจรผู้ร้าย การอย่างนี้ให้ กำนันกับผู้ใหญ่บ้านในตำบลนั้นประชุมปรึกษากันดู เมื่อเห็นเป็นการสมควรแล้วจะบังคับให้ ลูกบ้านคนนั้นย้ายเข้ามาอยู่เสียในหมู่บ้านราษฎรก็ได้ และให้นำความแจ้งต่อกรมการอำเภอด้วย
มาตรา 55 ถ้าราษฎรคนใดทิ้งให้บ้านเรือนชำรุดรุงรัง หรือปล่อยให้โสโครก โสมมอาจจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่ผู้อยู่ในที่นั้นหรือผู้ที่อยู่ใกล้เคียงกัน หรือผู้ที่ไปมา หรือให้ เกิดอัคคีภัยหรือโรคภัย ให้กำนันผู้ใหญ่บ้านและแพทย์ประจำตำบลปรึกษากัน ถ้าเห็นควรจะบังคับ ให้ผู้ที่อยู่ในที่นั้นแก้ไขเสียให้ดี ก็บังคับได้ ถ้าผู้นั้นไม่ทำตามบังคับ ก็ให้กำนันนำความร้องเรียนต่อ กรมการอำเภอ
มาตรา 56 ในเวลาใดจะมีอันตรายแก่การทำมาหากินของลูกบ้านในตำบลนั้น เช่น มีเหตุโรคภัยไข้เจ็บติดต่อเกิดขึ้น หรือน้ำมากหรือน้ำน้อยเกินไป เป็นต้น ให้กำนันผู้ใหญ่บ้านและ แพทย์ประจำตำบลปรึกษาหารือกันในการที่จะป้องกันแก้ไขเยียวยาภยันตรายด้วยอาการที่แนะนำ ลูกบ้านให้ทำอย่างใด หรือลงแรงช่วยกันได้ประการใด กำนันมีอำนาจที่จะบังคับการนั้นได้ ถ้าเห็น เป็นการเหลือกำลัง ให้ร้องเรียนต่อกรมการอำเภอ และผู้ว่าราชการเมืองขอกำลังรัฐบาลช่วย
มาตรา 57 ในการที่จะสำรวจสำมะโนครัวและทะเบียนบัญชีต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ ในราชการ เช่น การที่จะสำรวจสำมะโนครัวและทำบัญชีไร่นาและสิ่งของต้องพิกัดภาษีอากร ในตำบลนั้น กำนันจะเรียกผู้ใหญ่บ้านทั้งปวงประชุมกันตรวจทำบัญชีให้ถูกต้อง และให้ลงชื่อ พร้อมกันเป็นพยานในบัญชีที่จะยื่นต่อเจ้าพนักงานก็ได้
มาตรา 58 ในการที่จะทำรายงานประจำหรือรายงานจรอย่างใด ๆ ยื่นต่อกรมการ อำเภอ กำนันจะเรียกประชุมผู้ใหญ่บ้านและแพทย์ประจำตำบลในตำบลนั้นพร้อมกันตรวจสอบ ก่อน และจะให้ลงชื่อเป็นพยานในรายงานนั้นก็ได้
มาตรา 59 ในเวลาที่ผู้ว่าราชการเมือง หรือกรมการอำเภอมีหมายให้ประกาศ ข้อราชการอันใดแก่ราษฎร กำนันจะเรียกประชุมผู้ใหญ่บ้านในตำบลนั้นพร้อมกันชี้แจงให้เป็นที่ เข้าใจข้อราชการอันนั้น แล้วให้รับข้อราชการไปประกาศแก่ราษฎรอีกชั้นหนึ่งก็ได้

มาตรา 60 ในเวลาใดมีการนักขัตฤกษ์ หรือประชุมชนเป็นการใหญ่ในตำบลนั้น กำนันจะเรียกผู้ใหญ่บ้านและแพทย์ประจำตำบลพร้อมกันมาช่วยพิทักษ์รักษาความเรียบร้อยในที่ อันนั้น ถ้าแลเห็นเป็นการจำเป็นแล้วจะขอแรงราษฎรมาช่วยด้วยก็ได้
มาตรา 61 เวลาข้าราชการผู้ใหญ่หรือผู้บังคับบัญชาโดยตรงมาตรวจราชการใน ท้องที่ กำนันจะเรียกผู้ใหญ่บ้านและแพทย์ในตำบลประชุมพร้อมกันเพื่อแจ้งข้อราชการ หรือฟัง ราชการก็ได้
มาตรา 61 ทวิ* กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และแพทย์ประจำตำบลต้องรักษาวินัยโดย เคร่งครัดอยู่เสมอ ผู้ใดฝ่าฝืนให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดต้องได้รับโทษ
วินัยและโทษผิดวินัยให้ใช้กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนโดยอนุโลม
อำนาจการลงโทษ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และแพทย์ประจำตำบล ให้เป็นไปดังนี้
(1) กำนันมีอำนาจลงโทษภาคทัณฑ์ผู้ใหญ่บ้าน
(2) นายอำเภอมีอำนาจลงโทษกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และแพทย์ประจำตำบล ดังนี้
(ก) ลดอันดับเงินเดือนไม่เกินหนึ่งอันดับ
(ข) ตัดเงินเดือน โดยเทียบในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาชั้นหัวหน้าแผนกกับ ผู้กระทำผิดชั้นเสมียนพนักงาน ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
(ค) ลงโทษภาคทัณฑ์
เมื่อกำนันผู้ใหญ่บ้านคนใดถูกฟ้องในคดีอาญา เว้นแต่คดีความผิดในลักษณะฐาน ลหุโทษ หรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท หรือมีกรณีที่ต้องหาว่าทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ถูกสอบสวนเพื่อไล่ออกหรือปลดออก ถ้านายอำเภอเห็นว่าจะคงให้อยู่ในตำแหน่งจะเป็นการ เสียหายแก่ราชการจะสั่งให้พักหน้าที่ก็ได้ แล้วรายงานให้ข้าหลวงประจำจังหวัดทราบ การสั่งให้ กลับเข้ารับหน้าที่ตลอดถึงการวินิจฉัยว่าจะควรจ่ายเงินเดือนระหว่างพักให้เพียงใดหรือไม่ ให้ข้าหลวงประจำจังหวัดเป็นผู้พิจารณาสั่ง อนุโลมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
(3) ข้าหลวงประจำจังหวัดมีอำนาจลงโทษกำนันผู้ใหญ่บ้านและแพทย์ประจำ ตำบลในทุกสถาน ในกรณีการลดอันดับและตัดเงินเดือน ให้เทียบข้าหลวงประจำจังหวัดในฐานะ เป็นผู้บังคับบัญชาชั้นหัวหน้ากอง และกำนันผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบลเป็นชั้นเสมียนพนักงาน ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน

โดยเฉพาะโทษปลด หรือไล่ออก ถ้ากำนันผู้ใหญ่บ้านและแพทย์ประจำตำบลผู้ถูก ลงโทษเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรม ก็มีสิทธิร้องทุกข์ต่อกระทรวงมหาดไทย
การร้องทุกข์ให้ทำคำร้องลงลายมือชื่อยื่นต่อนายอำเภอภายในกำหนดสิบห้าวัน นับแต่วันได้ทราบคำสั่งการลงโทษเพื่อนายอำเภอจักได้เสนอต่อไปยังข้าหลวงประจำจังหวัดและ กระทรวงมหาดไทยตามลำดับ ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำร้องทุกข์ พร้อมด้วยคำ ชี้แจง ถ้าจะพึงมี ให้กระทรวงมหาดไทยมีอำนาจสั่งให้ยกคำร้องทุกข์ หรือเพิกถอนคำสั่งการ ลงโทษหรือลดโทษ
*[มาตรา 61 ทวิ เพิ่มความโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2486]
มาตรา 61 ตรี* ให้นำความในมาตรา 61 ทวิ เฉพาะที่เกี่ยวกับผู้ใหญ่บ้านมาใช้ บังคับแก่ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครองและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบโดยอนุโลม
*[มาตรา 61 ตรี เพิ่มความโดยพระราชบัญญัติฯ(ฉบับที่ 4) พ.ศ.2510]

หมวดที่ 5 ว่าด้วยลักษณะปกครองอำเภอ
________

ตอน 1 การตั้งอำเภอและกิ่งอำเภอ
_________
มาตรา 62 ท้องที่หลายตำบลอันสมควรอยู่ในความปกครองอันเดียวกันได้ ให้จัดเป็นอำเภอหนึ่ง
มาตรา 63 ลักษณะการตั้งอำเภอ ให้สมุหเทศาภิบาลจัดการดังนี้ คือ
ข้อ 1 ให้กำหนดเขตท้องที่อำเภอ มีเครื่องหมายและจรดเขตอำเภออื่นทุกด้าน อย่าให้มีที่ว่างเปล่าอยู่นอกเขตอำเภอ
ข้อ 2 ให้กำหนดจำนวนตำบลที่รวมเข้าเป็นอำเภอและให้กำหนดเขตตำบลให้ตรง กับเขตอำเภอ ถ้ามีที่ว่างเปล่า เช่น ทุ่งหรือป่า เป็นต้น อยู่ใกล้เคียงท้องที่อำเภอใด หรือจะตรวจตรา ปกครองได้สะดวกจากอำเภอใดก็ให้สมุหเทศาภิบาลกำหนดที่ว่างนั้นเป็นที่ฝากในอำเภอนั้น

ข้อ 3 ให้กำหนดที่ตั้งที่ว่าการอำเภอในที่ซึ่งจะทำการปกครองราษฎรในอำเภอนั้น ได้สะดวก
ข้อ 4 ให้สมุหเทศาภิบาลบอกข้อกำหนดเหล่านี้เข้ามายังเสนาบดีในเวลาที่จะ จัดตั้งอำเภอใหม่ เมื่อได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้วจึงประกาศตั้งอำเภอได้
มาตรา 64 อำเภอใดท้องที่กว้างขวางกรมการอำเภอจะไปตรวจตราให้ตลอดท้องที่ ได้โดยยาก แต่หากในท้องที่นั้นผู้คนไม่มากมายพอแก่จะตั้งขึ้นเป็นอำเภอหนึ่งต่างหากก็ดี หรือใน ท้องที่อำเภอใดมีที่ประชุมชนมากอยู่ห่างไกลจากที่ว่าการอำเภอ กรมการอำเภอจะไปตรวจการไม่ ได้ดังสมควร แต่จะตั้งที่ประชุมชนแห่งนั้นขึ้นเป็นอำเภอต่างหาก ท้องที่จะเล็กไปก็ดี ถ้าความ ขัดข้องในการปกครองมีขึ้นอย่างใดดังว่ามานี้ จะแบ่งท้องที่นั้นออกเป็นกิ่งอำเภอเพื่อให้สะดวกแก่ การปกครองก็ได้ ให้พึงเข้าใจว่าการที่ตั้งกิ่งอำเภอนั้นให้ตั้งต่อเมื่อมีความจำเป็นในการปกครอง อำเภอหนึ่งจะมีกิ่งอำเภอเดียวหรือหลายกิ่งอำเภอก็ได้
มาตรา 65 การจัดตั้งกิ่งอำเภอใด ก็เสมอตั้งที่ว่าการอำเภอนั้นเองขึ้นอีกแห่งหนึ่ง เพื่อความสะดวกแก่การปกครอง การที่จะกำหนดจะต้องกำหนดแต่ว่าตำบลใด ๆ บ้าง ที่จะต้องอยู่ ในปกครองของกิ่งอำเภอ เมื่อสมุหเทศาภิบาลได้รับอนุญาตของเสนาบดีแล้ว ก็จัดตั้งกิ่งอำเภอได้

ตอน 2 การจัดตั้งกรมการอำเภอ
_________
มาตรา 66 อำเภอหนึ่งให้มีพนักงานปกครองคณะหนึ่ง เรียกรวมกันว่า กรมการ อำเภอ ๆ แยกเป็นรายตำแหน่ง ดังนี้ คือ
(1) นายอำเภอ หรือถ้าเป็นตำแหน่งพิเศษ เรียกว่าผู้ว่าราชการอำเภอ เป็นหัวหน้า การปกครองทั่วไปในอำเภอ และขึ้นตรงต่อผู้ว่าราชการเมืองมีอำเภอละคนหนึ่ง
(2) ปลัดอำเภอเป็นผู้ช่วยและผู้แทนนายอำเภออยู่ในบังคับนายอำเภอ อำเภอหนึ่ง มีจำนวนปลัดอำเภอมากน้อยตามสมควรแก่ราชการ
(3) สมุห์บัญชีอำเภอ คือ ข้าราชการมีสังกัดในกรมสรรพากร มีหน้าที่เป็นผู้ช่วย นายอำเภอในการเก็บภาษีอากรและผลประโยชน์แผ่นดิน อยู่ในบังคับนายอำเภอ
มาตรา 67 นายอำเภอ ปลัดอำเภอ สมุห์บัญชี ซึ่งรวมเรียกกันว่ากรมการอำเภอนี้ แม้มีตำแหน่งต่างกันย่อมมีหน้าที่และความรับผิดชอบรวมกันในการที่จะให้การปกครองอำเภอนั้น เรียบร้อย และเมื่อตำแหน่งใดการมากเหลือมือ หรือว่าว่าง พนักงานกรมการอำเภอแม้อยู่ใน ตำแหน่งอื่น ต้องช่วยและต้องทำแทนกัน จะถือว่าเป็นพนักงานต่างกันนั้นไม่ได้
มาตรา 68 นายอำเภอมีอำนาจในส่วนธุรการฝ่ายพลเรือนเหนือข้าราชการทุก แผนกที่ประจำรักษาราชการในอำเภอนั้น อำนาจที่ว่านี้ไม่มีแก่อำเภอที่ตั้งที่ว่าการเมือง หรือ ที่ว่าการมณฑล
มาตรา 69* ในอำเภอหนึ่ง นอกจากมีกรมการอำเภอ ให้มีตำแหน่งเสมียนพนักงาน อยู่ในบังคับบัญชากรมการอำเภออีกมากน้อยตามสมควรแก่ราชการ กับมีปลัดอำเภอประจำตำบล ซึ่งมีอำนาจบังคับบัญชาเหนือกำนันผู้ใหญ่บ้านและแพทย์ประจำตำบลในตำบลนั้น
ปลัดอำเภอประจำตำบลมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับกรมการอำเภอซึ่งมีอยู่ตาม กฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ แต่รับผิดชอบในกิจการเฉพาะตำบลที่ตนมีหน้าที่ประจำอยู่
*[มาตรา 69 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2486]
มาตรา 70 พนักงานปกครองกิ่งอำเภอ จะมีกรมการอำเภอรองแต่นายอำเภอ ตำแหน่งใดอยู่ประจำการ และจะมีเสมียนพนักงานอยู่ประจำทำการที่กิ่งอำเภอเท่าใด ทั้งนี้ แล้วแต่ จะสมควรแก่ราชการ แต่ผู้ที่เป็นใหญ่อยู่ประจำทำการที่กิ่งอำเภอต้องอยู่ในบังคับนายอำเภอ และทำ การในหน้าที่ในเวลาที่นายอำเภอมิได้มาอยู่ที่กิ่งอำเภอเหมือนเป็นผู้แทนนายอำเภอฉะนั้น
มาตรา 71 อำเภอใดมีกิ่งอำเภอ การอย่างใดจะควรแยกเป็นส่วนไปสำหรับกิ่ง อำเภอ และการอย่างใดควรรวมทำแต่ในที่ว่าการอำเภอแห่งเดียว ทั้งนี้ ผู้ว่าราชการเมืองมีอำนาจ ที่จะกำหนดได้ โดยอนุมัติของสมุหเทศาภิบาล

มาตรา 72 การเลือกตั้ง ย้าย ถอน นายอำเภอ ให้สมุหเทศาภิบาลมีอำนาจที่จะทำ ได้ โดยอนุมัติของเสนาบดี
มาตรา 73 การเลือกตั้ง ย้าย ถอน ปลัดอำเภอ สมุห์บัญชีอำเภอ ให้ผู้ว่าราชการ เมืองมีอำนาจที่จะทำได้ โดยอนุมัติของสมุหเทศาภิบาล สมุหเทศาภิบาลต้องบอกเข้ามายังเสนาบดี ให้ทราบด้วยจงทุกคราว
มาตรา 74 การเลือกตั้ง ย้าย ถอน เสมียนพนักงานในอำเภอ ให้ผู้ว่าราชการเมือง มีอำนาจที่จะทำได้ ต้องบอกให้สมุหเทศาภิบาลทราบด้วยจงทุกคราว
มาตรา 75 เวลาตำแหน่งปลัดอำเภอ หรือสมุห์บัญชีอำเภอว่าง ให้นายอำเภอมี อำนาจที่จะจัดผู้หนึ่งผู้ใดในคณะกรมการอำเภอ หรือเสมียนพนักงานคนหนึ่งคนใดเข้าทำการใน ตำแหน่งนั้น ๆ ได้ชั่วคราว แต่ต้องรีบบอกไปยังผู้ว่าราชการเมือง และให้ผู้นั้นทำการในตำแหน่ง นั้นไปจนกว่าจะได้รับคำสั่งจากเจ้าพนักงานผู้ใหญ่ให้เป็นประการใด
เวลาตำแหน่งเสมียนพนักงานในอำเภอว่าง ให้นายอำเภอมีอำนาจที่จะจัดคนเข้า ทำการในตำแหน่งนั้น ๆ ได้ชั่วคราว แต่ต้องบอกขออนุมัติของผู้ว่าราชการเมืองภายในเดือนหนึ่ง แล้วแต่ผู้ว่าราชการเมืองจะตั้งผู้นั้นหรือผู้อื่นให้เป็นแทนในตำแหน่งที่ว่าง
มาตรา 76 บรรดาข้าราชการซึ่งมีสังกัดทำราชการอยู่ในที่ว่าการอำเภอ นายอำเภอ มีอำนาจที่จะให้ลาได้คราวละไม่เกินสิบห้าวัน
มาตรา 77 ถ้าและผู้ใดมีเหตุอันนายอำเภอเห็นว่าจะให้ทำราชการอยู่ในตำแหน่ง จะเสียราชการ นายอำเภอจะให้ผู้นั้นพักราชการเสียชั่วคราวก็ได้ แต่ในการที่สั่งให้พักราชการนี้ ต้องบอกให้ผู้ว่าราชการเมืองทราบภายในสิบห้าวัน คำตัดสินเป็นเด็ดขาดในเรื่องนั้นให้เป็นหน้าที่ ของผู้มีอำนาจที่จะตั้งตำแหน่งที่เกิดเหตุนั้น
มาตรา 78 ให้มีดวงตราประจำตำแหน่งนายอำเภอ และดวงตราสำหรับนาย กิ่งอำเภอ สำหรับประทับกำกับลายมือที่ลงชื่อในหนังสือสำคัญต่าง ๆ บรรดาหนังสือที่ทำในนาม และหน้าที่กรมการอำเภอ ห้ามมิให้ใช้ตราอื่นประทับ และตราประจำตำแหน่งนี้ในเวลาผู้ใดทำการ แทนหรือรั้งตำแหน่งนั้นก็ให้ใช้ได้
มาตรา 79 ในเวลาตำแหน่งนายอำเภอว่างก็ดี หรือนายอำเภอจะทำการในหน้าที่ ไม่ได้ชั่วคราวก็ดี ถ้าและสมุหเทศาภิบาลหรือผู้ว่าราชการเมืองมิได้มีคำสั่งเป็นอย่างอื่นแล้ว ให้ กรมการอำเภอซึ่งมียศสูงกว่าผู้อื่นเป็นผู้แทน
มาตรา 80 ผู้แทนมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของตำแหน่งที่แทนนั้น ทุกอย่าง เว้นไว้แต่อำนาจอันเป็นส่วนบุคคล หรือที่มีข้อห้ามไว้โดยเฉพาะมิให้ผู้แทนทำได้
มาตรา 81 หน้าที่กรมการอำเภอที่กล่าวไว้ในพระราชบัญญัตินี้ก็ดีหรือในที่อื่นก็ดี ถ้ามิได้ระบุว่าเป็นหน้าที่เฉพาะนายอำเภอ หรือเฉพาะตำแหน่งใดในกรมการอำเภอไซร้ ให้พึงเข้าใจ ว่าเป็นหน้าที่และรับผิดชอบรวมกัน นายอำเภอเป็นหัวหน้าจะทำการนั้นเอง หรือจะมอบหมายให้ กรมการคนใดทำโดยอนุมัติของนายอำเภอก็ได้ แต่นายอำเภอจะหลีกความรับผิดชอบในการทั้งปวง เพราะเหตุที่อ้างว่าได้ให้ผู้อื่นทำแทนนั้นไม่ได้
มาตรา 82 ในการที่จะฟังบังคับบัญชาราชการทั่วไป กรมการอำเภออยู่ในบังคับ บัญชาผู้ว่าราชการเมืองโดยตรง จะลบล้างคำสั่งผู้ว่าราชการเมือง ได้แต่ผู้สำเร็จราชการมณฑล หรือ เสนาบดีเจ้ากระทรวงในกรุงเทพฯ ผู้บัญชาการนั้น ๆ แต่การโดยปกติซึ่งย่อมมีข้าราชการเป็น เจ้าแผนกจากเมืองหรือมณฑลไปตรวจการเฉพาะแผนกในที่ว่าการอำเภอ ถ้าและผู้ตรวจนั้นกระทำ การตามคำสั่งและรับอำนาจไปจากผู้ว่าราชการเมือง หรือผู้สำเร็จราชการมณฑล หรือเจ้ากระทรวง กรมการอำเภอต้องเชื่อฟังเหมือนคำสั่งผู้ว่าราชการเมือง ผู้สำเร็จราชการมณฑล และเจ้ากระทรวง ที่ใช้มานั้น ถ้าหากว่าผู้ตรวจการนั้นมาโดยลำพังหน้าที่ของตน จะสั่งให้จัดการในแผนกนั้น ๆ ประการใด กรมการอำเภอควรทำตาม ต่อเมื่อคำสั่งไม่ขัดกับคำสั่งผู้ว่าราชการเมืองและนายอำเภอ เห็นชอบด้วย ถ้ามีเจ้าพนักงานมาสั่งการประการใด ๆ กรมการอำเภอต้องรายงานให้ผู้ว่าราชการ เมืองทราบด้วยจงทุกคราว

ตอน 3 หน้าที่และอำนาจของกรมการอำเภอ
__________

ก. การปกครองท้องที่
__________
มาตรา 83 กรมการอำเภอต้องตรวจตราและจัดการปกครองตำบลและหมู่บ้านให้ เป็นไปได้จริงดังพระราชบัญญัตินี้ *นอกจากอำนาจหน้าที่ที่กล่าวโดยเฉพาะให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมการอำเภอ ให้กรมการอำเภอมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับกำนันผู้ใหญ่บ้านด้วย *[ความในวรรคสองของมาตรา 83 เพิ่มความโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2486]
มาตรา 84 กรมการอำเภอต้องเอาใจใส่สมาคมให้คุ้นเคยกับกำนันผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบลเป็นที่ปรึกษาหารือ และเป็นผู้รับช่วยแก้ไขความขัดข้องให้แก่เขา
มาตรา 85 ให้กรมการอำเภอเรียกประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล พร้อมกัน หรือเรียกประชุมแต่เฉพาะตำแหน่งมีประชุมกำนัน เป็นต้น ในเวลามีการจะต้องปรึกษา หรือต้องถามต้องสั่งตามสมควร
มาตรา 86 กรมการอำเภอรับผิดชอบที่จะรักษาสถานที่ว่าการอำเภอ สรรพหนังสือและบัญชี ตลอดจนบริเวณที่ว่าการอำเภอให้เรียบร้อย
มาตรา 87 กรมการอำเภอต้องให้ราษฎรที่มีกิจธุระหาได้ทุกเมื่อ ถ้าราษฎรมา ร้องทุกข์อย่างใด ซึ่งกรมการอำเภอควรช่วยได้ ต้องช่วยตามสมควร
มาตรา 88 กรมการอำเภอต้องหมั่นตรวจท้องที่ในเขตอำเภอของตนและท้องที่ อำเภออื่นที่ติดต่อกันให้รู้ความเป็นไปในท้องที่นั้น ๆ
มาตรา 89 บรรดาหนังสือสำคัญที่ต้องทำตามกฎหมาย ถ้ากฎหมายและข้อบังคับ มิได้ระบุไว้ว่าเป็นหน้าที่ของพนักงานอื่นทำแล้ว ให้เป็นหน้าที่ของกรมการอำเภอที่จะทำสำหรับ การในอำเภอนั้น
มาตรา 90 กรมการอำเภอเป็นพนักงานทำหนังสือเดินทางสำหรับราษฎรในท้องที่ อำเภอนั้นจะไปมาค้าขายในที่อื่น
มาตรา 91 หน้าที่ของกรมการอำเภอในการทำทะเบียนบัญชีนั้น คือ ทำบัญชี สำมะโนครัว และทะเบียนทุก ๆ อย่าง บรรดาที่ต้องการใช้ในราชการ
มาตรา 92 รายงานราชการที่กรมการอำเภอจะต้องทำนั้นจำแนกเป็นกิจต่าง ๆ ดังนี้ คือ
ข้อ 1 กรมการอำเภอเป็นหูเป็นตาของรัฐบาลต้องเอาใจใส่ตรวจตราสืบสวน ความทุกข์สุขของราษฎร และเหตุการณ์ที่เกิดมีในท้องที่ของตน การอันใดที่รัฐบาลควรรู้เพื่อ ความสุขของราษฎรและประโยชน์ของราชการ กรมการอำเภอต้องถือเป็นหน้าที่ๆ จะรายงาน ให้รัฐบาลทราบความตามที่เป็นจริง
ข้อ 2 โดยปกติให้กรมการอำเภอรายงานต่อผู้ว่าราชการเมืองของตน แต่ถ้ามีคำสั่ง โดยเฉพาะว่าให้รายงานการอย่างใดต่อผู้ใดก็ดี หรือว่าเหตุการณ์อันใดเกิดขึ้น กรมการอำเภอเห็นว่า จะรายงานต่อผู้ว่าราชการเมืองของตนก่อนจะไม่ทันประโยชน์ของราชการ จะรายงานไปยังที่แห่ง นั้น ๆ ซึ่งเห็นว่าจะเป็นประโยชน์อย่างดีแก่ราชการก็ได้ แต่ต้องบอกให้ผู้ว่าราชการเมืองของตน ทราบจงทุกคราว
ข้อ 3 รายงานประจำบอกเหตุการณ์ และข้อราชการบรรดามีในอำเภอ ควรยื่น ต่อผู้ว่าราชการเมืองไม่น้อยกว่าเดือนละครั้งหนึ่ง รายงานการจรนั้นแล้วแต่กำหนดในข้อบังคับ หรือ เหตุการณ์อันควรรายงาน ส่วนรายงานด่วนบอกเหตุสำคัญซึ่งเป็นปัจจุบันทันด่วนเกิดขึ้นนั้น ต้อง รีบรายงานทันทีและส่งโดยโทรเลขหรือโทรศัพท์อย่างเร็วที่สุด

ข. การป้องกันภยันตรายของราษฎรและรักษาความสงบในท้องที่
____________
มาตรา 93 เวลามีการประชุมชนมากในที่ใด เช่น ในเวลามีการนักขัตฤกษ์ เป็นต้น กรมการอำเภอกับกำนันผู้ใหญ่บ้านตำบลนั้น ต้องจัดการรักษาความเรียบร้อยในที่ประชุมชน
มาตรา 94 กรมการอำเภอต้องคอยตรวจตราตักเตือนกำนันผู้ใหญ่บ้านให้มี เครื่องหมายสัญญาณเรียกลูกบ้านช่วยกันดับไฟ หรือระวังเหตุภยันตรายอย่างอื่น หรือจับโจรผู้ร้าย ทุกหมู่บ้าน
มาตรา 95 เมื่อกรมการอำเภอได้ปรึกษากำนันผู้ใหญ่บ้านในท้องที่นั้นแล้ว เห็นว่าหมู่บ้านใดซึ่งอยู่ในที่ซึ่งสมควรจะจัดการล้อมรั้วป้องกันโจรได้ ให้กรมการอำเภอนำเสนอ ต่อผู้ว่าราชการเมือง เมื่อผู้ว่าราชการเมืองเห็นชอบด้วยแล้ว ก็ให้กรมการอำเภอชี้แจงและสั่ง ผู้ใหญ่บ้านและราษฎรในหมู่บ้านนั้นทำรั้วล้อมรอบหมู่บ้าน มีประตูเป็นทางเข้าออกกี่แห่งแล้ว แต่ชาวบ้านนั้นจะเห็นควร เวลากลางคืนให้ผู้ใหญ่บ้านจัดราษฎรผลัดเปลี่ยนกันรักษาประตู ป้องกันโจรผู้ร้ายให้ทั้งหมู่บ้าน
มาตรา 96 หมู่บ้านใดตั้งอยู่ใกล้ป่าพงอันเป็นเชื้อไฟ เมื่อถึงฤดูพงแห้งให้กรมการ อำเภอสั่งราษฎรในหมู่บ้านนั้นให้ช่วยกันถางพงให้เตียนออกไปห่างบ้านเรือน ป้องกันอย่าให้เป็น อัคคีภัยแก่หมู่บ้านนั้น
มาตรา 97 เมื่อกำนันตำบลใดรายงานมาว่าเจ้าของหรือผู้ที่อยู่ในเหย้าเรือนแห่งใด ที่ร้างหรือทรุดโทรม ไม่กระทำการตามคำสั่งให้จัดการซ่อมแซมรักษาเรือนนั้นให้ดีตามความที่ กล่าวไว้ในมาตรา 55 ให้กรมการอำเภอไต่สวนและบังคับตามควรแก่การ ถ้าไม่ทำตามบังคับ ให้กรมการอำเภอมีอำนาจรื้อเรือนนั้นได้ และเรียกเอาค่ารื้อแก่เจ้าของ
มาตรา 98 ราษฎรคนใดไปปลูกเรือนอยู่ในที่เปลี่ยว อันน่ากลัวอันตรายด้วยโจร ผู้ร้ายก็ดี หรือน่ากลัวจะเป็นที่ซ่องของโจรผู้ร้ายก็ดี เมื่อกรมการอำเภอได้ปรึกษากับกำนันในท้องที่ นั้นเห็นด้วยกันแล้ว ก็ให้บังคับให้ผู้นั้นย้ายเข้ามาอยู่เสียในหมู่บ้าน

มาตรา 99 ในเวลาอัตคัดอาหาร ให้กรมการอำเภอประกาศตักเตือนราษฎรให้เก็บ รักษาข้าวไว้ให้พอบริโภค
มาตรา 100 ถ้าแห่งใดข้าวไม่พอแก่ราษฎรในเวลาอัตคัด ให้กรมการอำเภอรีบ รายงานและกะประมาณจำนวนข้าวที่ขาด อันราษฎรจะไม่พึงขวนขวายหาเองได้ แจ้งต่อผู้ว่า ราชการเมือง ถ้าและรัฐบาลจัดส่งข้าวหลวงมาแก้อัตคัดไซร้ เป็นหน้าที่ของกรมการอำเภอที่จะ จัดการจำหน่ายข้าวตามวิธีที่สมควร คือ
ข้อ 1 ผู้ใดมีทุนพอซื้อ ให้ผู้นั้นซื้อได้เท่าราคาทุน
ข้อ 2 ผู้ใดทำนาไว้ยังไม่ได้ผล ให้ผู้นั้นยืมโดยสัญญาส่งเงินเมื่อขายข้าวใหม่ได้ เท่าราคาทุนที่รับข้าวไปในเวลานั้น หรือใช้ด้วยข้าวใหม่เมื่อทำได้คิดตามราคาข้าวใหม่ในเวลานั้น เท่าทุนที่รัฐบาลให้ยืมไป
ข้อ 3 ผู้ใดทำการเพาะปลูกหรือหาสินค้าป่า อันอาจจะหาสินค้ามาแลกข้าวได้ ก็ยอมรับสินค้าจากผู้นั้นแลกข้าว โดยคิดราคาตามสมควรและพอใจทั้งสองฝ่าย
ข้อ 4 ผู้ใดอาจจะทำการได้แต่ด้วยแรง ก็หางานอันประกอบด้วยสาธารณ ประโยชน์ เช่น ขุดสระน้ำ ทำถนน หรือซ่อมแซมสถานที่ทำราชการ เป็นต้น ให้ผู้นั้นรับจ้างทำ คิดข้าวให้ตามราคาทุนเป็นค่าจ้าง โดยอัตราสูงกว่าที่เขาจ้างกันทำการในที่นั้นหนึ่งในสี่ส่วน คือ ถ้าอัตราค่าจ้างเขาจ้างกันโดยปกติวันละบาทหนึ่ง ให้ให้ข้าวเท่าราคาวันละหนึ่งบาทยี่สิบห้าสตางค์ เป็นต้น
ข้อ 5 ห้ามมิให้ๆข้าวแก่ผู้ที่ยังสามารถกระทำการแลกได้ด้วยประการใด ๆ แต่ ผู้ซึ่งไม่สามารถกระทำการแลกได้จริง ๆ เช่น คนเจ็บไข้ ชราทุพพลภาพหรือทารกนั้น ควรให้ได้รับ ข้าวของหลวงพอสมควรแต่ที่จะเลี้ยงชีวิตในเวลาอัตคัดนั้น

ค. การที่เกี่ยวด้วยความแพ่งและความอาญา
____________
มาตรา 101 หน้าที่และอำนาจของกรมการอำเภอในการที่เกี่ยวด้วยความอาญานั้น มีดังต่อไปนี้ คือ
ข้อ 1 บรรดาอำนาจซึ่งกฎหมายกำหนดไว้สำหรับผู้ใหญ่บ้านและกำนันนั้น ให้ กรมการอำเภอใช้ได้ทุกอย่าง

ข้อ 2 ความอาญาเกิดขึ้นในท้องที่อำเภอใด หรือตัวจำเลยมาอาศัยอยู่ในท้องที่ อำเภอใด ให้กรมการอำเภอมีอำนาจที่จะสั่งให้จับผู้ต้องหามาไต่สวนคดีเรื่องนั้นในชั้นต้น
ข้อ 3 ในการไต่สวนในชั้นต้นก็ดี หรือจัดการตามหมายอย่างใด ๆ หรือตามคำสั่ง ของศาล หรือคำสั่งในทางราชการอย่างใด ๆ ก็ดี ให้กรมการอำเภอมีอำนาจที่จะออกหมายเรียกตัว คนมาสาบานให้การเป็นพยานหมายค้นบ้านเรือน หรือหมายยึดสิ่งของได้
ข้อ 4 ในการค้นบ้านเรือน หรือยึดสิ่งของนั้น ถ้านายอำเภอไปค้น หรือยึดเองไม่ ต้องมีหมาย ถ้าจะแต่งให้ผู้แทนไปค้นหรือยึด ก็ให้นายอำเภอมีหมายสั่งเจ้าพนักงานผู้ถือหมายมี อำนาจที่จะค้นและยึดได้ตามหมาย
ข้อ 5 ตัวผู้ต้องหาในคดีอาญา ซึ่งได้ตัวมาต่อหน้ากรมการอำเภอนั้นโดยปกติ นายอำเภอควรยอมให้มีประกัน แต่ถ้านายอำเภอเห็นว่ามีเหตุการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดที่จะกล่าวใน มาตรานี้ ก็ให้เอาตัวไว้ คือ
(ก) เป็นคดีฉกรรจ์ที่ต้องด้วยโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีขึ้นไปอย่างหนึ่ง หรือ
(ข) ถ้าผู้ต้องหาหลบหนีจะจับได้โดยยากอย่างหนึ่ง หรือ
(ค) เห็นได้ว่าถ้าปล่อยผู้นั้นไปจะทำให้เกิดเหตุอันตรายอย่างหนึ่ง หรือ
(ง) ถ้าปล่อยไปจะขัดข้องหรือลำบากแก่การไต่สวนคดีในชั้นต้นอย่างหนึ่ง
ข้อ 6 การไต่สวนคดีในชั้นต้นนั้น ต้องลงมือภายในสี่สิบแปดชั่วโมงตั้งแต่เวลา ที่จับผู้ต้องหา นายอำเภอต้องรีบจัดการโดยเร็วที่จะทำได้แล้วส่งตัวผู้ต้องหายังเมือง ให้ส่งต่อไปยัง ศาลซึ่งมีหน้าที่พิจารณาคดีนั้นโดยวิธีที่กล่าวต่อไปนี้
ถ้าเป็นตำบลที่มีศาลซึ่งมีอำนาจ และที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ด้วยกัน ให้ส่งตัวผู้ต้องหา ต่อศาลภายในสี่สิบแปดชั่วโมง ตั้งแต่เวลาที่ผู้ต้องหาได้ตกมาอยู่ในความควบคุมของกรมการอำเภอ
ถ้าเป็นที่อื่น ให้ส่งตัวผู้ต้องหายังศาลโดยเร็วที่จะทำได้ และห้ามมิให้กักขังตัวไว้ ที่ ๆ ว่าการอำเภอเกินกว่าสี่สิบแปดชั่วโมง โดยไม่มีเหตุจำเป็น
ถ้าเมื่อส่งผู้ต้องหาไปยังศาล นายอำเภอทำการไต่สวนคดีในชั้นต้นยังไม่สำเร็จ ก็ให้เจ้าพนักงานเมืองร้องต่อศาลขอผัดให้มีเวลาไต่สวนต่อไปตามสมควร
ข้อ 7 ในการไต่สวนความอาญา ถ้านายอำเภอเห็นว่าไม่มีหลักฐานข้างฝ่ายโจทก์ ให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาไป ถ้าผู้ต้องหาต้องด้วยหมายสั่งจับของศาลอยู่แล้ว ก็ให้เจ้าพนักงานเมือง ร้องขอต่อศาลให้สั่งปล่อยตัวผู้ต้องหา

มาตรา 102 กรมการอำเภอต้องจัดพนักงานออกตรวจตระเวนรักษาความเรียบร้อย และคอยสืบจับโจรผู้ร้ายในท้องที่ของตน
มาตรา 103 เมื่อมีเหตุผู้คนถูกกระทำร้ายตายลงในท้องที่อำเภอใดก็ดี ฟกช้ำ หรือ มีบาดแผลเจ็บป่วยสาหัสก็ดี ผู้ที่ถูกกระทำร้าย ฟกช้ำ หรือมีบาดแผลมาขอให้ชันสูตรก็ดี เป็นหน้าที่ ของกรมการอำเภอที่จะตรวจชันสูตรพลิกศพตามพระราชบัญญัติ และจดคำให้การพร้อมด้วยพยาน และทำหนังสือชันสูตรไว้เป็นหลักฐาน
มาตรา 104 เมื่อเกิดเหตุเสียทรัพย์แก่ผู้หนึ่งผู้ใด เช่น ถูกโจรภัย เป็นต้น เป็น หน้าที่ของกรมการอำเภอที่จะทำคำตราสินตามคำขอร้องของเจ้าทรัพย์ หรือเพื่อหลักฐานในราชการ
มาตรา 105* [ยกเลิกโดย พระราชบัญญัติการเปรียบเทียบคดีอาญา พุทธศักราช 2481]
มาตรา 106 ถ้ามีผู้ขอร้องอายัดตัวคน หรือสิ่งของโดยชอบด้วยกฎหมาย เป็น หน้าที่ของกรมการอำเภอที่จะรับอายัด และทำหนังสือหลักฐานในการอายัดนั้น
มาตรา 107 เงินกลาง หรือของกลางในคดีที่จะต้องรักษาไว้ในอำเภอนั้น หรือ จะต้องนำส่งไปยังเมือง เป็นหน้าที่ของกรมการอำเภอที่จะจัดการรักษาและนำส่ง
มาตรา 108* นายอำเภอมีอำนาจฝ่ายตุลาการในทางความแพ่งดังต่อไปนี้ คือ
(1) ความแพ่งที่มีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินสองหมื่นบาท ซึ่งมูลคดีเกิดขึ้นใน อำเภอนั้น หรือผู้ถูกร้องมีภูมิลำเนาอยู่ในอำเภอนั้น ถ้าผู้ร้องมาร้องขอต่อนายอำเภอ ให้เรียกผู้ถูกร้อง มาไกล่เกลี่ยและเปรียบเทียบให้แล้วต่อกัน โดยไม่ต้องไปยื่นฟ้องต่อศาล ก็ให้นายอำเภอมีอำนาจ ออกหมายเรียกผู้ถูกร้องมาไกล่เกลี่ยและเปรียบเทียบได้
(2) ถ้านายอำเภอเปรียบเทียบแล้ว แต่คู่กรณีไม่ตกลงกัน ก็ให้ยกเลิกคดีเรื่องนั้น ให้คู่กรณีไปยื่นฟ้องต่อศาล
(3) ในการเปรียบเทียบความแพ่งดังกล่าวข้างต้น ถ้าคู่กรณีสัญญาจะยอมตกลงตาม คำพยานหรือคำชี้ขาดของผู้ใด ให้นายอำเภอมีอำนาจออกหมายเรียกผู้นั้นมาให้ถ้อยคำหรือชี้ขาดให้ คดีเรื่องนั้นเป็นอันระงับไปได้

(4) ในการเปรียบเทียบความแพ่งนี้ ถ้าคู่กรณีตกลงยอมกันแล้วให้นายอำเภอ จดข้อความที่ตกลงกัน และให้คู่กรณีทั้งสองฝ่ายกับนายอำเภอลงลายมือชื่อในใบยอมนั้น แล้วมอบ ให้ทั้งสองฝ่ายถือไว้ฝ่ายละฉบับ ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามยอม ให้อีกฝ่ายหนึ่งนำใบยอมนั้น ไปยื่นฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้ศาลพิพากษาตามยอมได้
(5) คดีที่นายอำเภอเปรียบเทียบคู่กรณียอมกันแล้ว ให้ถือว่าเหมือนคดีที่อนุญาโต ตุลาการได้ชี้ขาดเป็นเด็ดขาด ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะเอาคดีนั้นกลับไปรื้อร้องฟ้องอีกไม่ได้
(6) ในการเปรียบเทียบความแพ่ง ให้เรียกค่าธรรมเนียมดังนี้ ค่าหมายและค่าเขียน คำร้องรวมกันห้าบาท ค่าทำใบยอมสิบบาท ค่าธรรมเนียมนี้ควรเรียกเก็บจากฝ่ายที่ต้องรับผิด แต่ถ้า คู่กรณีทั้งสองฝ่ายยินยอมจะช่วยกันเสียก็ให้เรียกเก็บตามยอม หากผู้จะต้องเสียค่าธรรมเนียมยากจน ไม่มีเงินจะเสีย ก็ให้นายอำเภอใช้ดุลพินิจที่จะงดเก็บค่าธรรมเนียมเช่นว่านั้นได้
*[มาตรา 108 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2527]
ง. การป้องกันโรคร้าย
__________
มาตรา 109 กรมการอำเภอต้องคอยระวังอย่าให้โรคแพร่หลายไปในประชุมชน ต้องคอยดูแลป้องกัน หรือเมื่อโรคเกิดขึ้นก็ต้องจัดการรักษาอย่าให้ติดต่อลุกลามมากไป
มาตรา 110 เพราะเหตุที่โสโครกเป็นแดนเกิดของโรคร้าย คือ อหิวาตกโรค และ กาฬโรค เป็นต้น กรมการอำเภอต้องคอยตรวจตราว่ากล่าวคนในท้องที่อย่าให้ทอดทิ้งหรือปล่อยให้ เกิดความโสโครกอันจะเป็นเหตุให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บแก่ประชาชน
มาตรา 111 กรมการอำเภอต้องเอาเป็นธุระตรวจตราอุดหนุนให้แพทย์ประจำ ตำบลดูแลการรักษาพยาบาล คือ การปลูกทรพิษ และจำหน่ายยาหลวง เป็นต้น และให้ราษฎรได้รับ ความป้องกันและรักษาโรคตามสมควรแก่การที่จะเป็นได้
มาตรา 112 ในเวลาเกิดโรคร้ายติดต่อขึ้นในอำเภอนั้น หรือในท้องที่อำเภออื่น ซึ่ง อาจจะลุกลามมาถึงอำเภอนั้น ให้กรมการอำเภอประกาศตักเตือนแก่ราษฎรให้จัดการป้องกันและ รักษาโรค ถ้าหากว่าจะควรจัดการป้องกันได้อย่างใดหรือว่าควรจะรีบร้องเรียนต่อผู้ใหญ่ขอกำลัง อุดหนุนประการใด ก็ให้กรมการอำเภอจัดการตามสมควร

มาตรา 113 ถ้าเกิดโรคร้ายที่ติดต่อขึ้นในอำเภอใด ให้กรมการอำเภอนั้นรีบบอก ข่าวโดยทางอย่างเร็วที่สุดที่จะบอกได้ให้ผู้ใหญ่เหนือตนทราบ แล้วให้รายงานเหตุความไข้นั้นต่อไป เนือง ๆ จนกว่าโรคจะสงบ
จ. บำรุงการทำนาค้าขายป่าไม้และทางไปมาต่อกัน
____________
มาตรา 114 กรมการอำเภอต้องตรวจให้รู้ทำเลที่ทำมาหาเลี้ยงชีพของราษฎรใน อำเภอนั้น คือ ที่นา ที่สวน ที่จับสัตว์น้ำ เป็นต้น และต้องสอบสวนให้รู้ว่าที่เหล่านั้นอาศัยสายน้ำ ทางใด ควรทำบัญชีมีทะเบียนไว้ในที่ว่าการอำเภอ
มาตรา 115 การบำรุงผลประโยชน์ในการหาเลี้ยงชีพของราษฎรก็ดี การป้องกัน ภยันตรายมิให้เกิดแก่การหาเลี้ยงชีพของราษฎรก็ดี อันต้องการความพร้อมเพรียงช่วยกันในหมู่ ราษฎร ยกตัวอย่างดังบางคราวจะต้องทำทำนบปิดน้ำ บางคราวต้องระบายน้ำสำหรับการเพาะปลูก การเหล่านี้เป็นหน้าที่ของกรมการอำเภอจะต้องเอาใจใส่คอยตรวจตราและปรึกษากำนันผู้ใหญ่บ้าน ถ้ามีการสมควรจะต้องทำเพื่อให้เจริญผลประโยชน์แก่ราษฎรก็ดี หรือเพื่อป้องกันความเสียหายแก่ ผลประโยชน์นั้นก็ดี ให้กรมการอำเภอเรียกราษฎรช่วยกันทำการนั้น ๆ ให้สำเร็จทันฤดูกาล
มาตรา 116 การรักษาผลประโยชน์ในการเลี้ยงชีพของราษฎร เช่น การปิดน้ำ และระบายน้ำ เช่นกล่าวมาในมาตราก่อน เป็นต้น ตลอดจนอย่างอื่น ๆ ถ้าหากเกิดเกี่ยงแย่งกัน ในประโยชน์ที่จะพึงได้ ยกตัวอย่างดังเช่น ชาวนาต้องการให้ปิดน้ำ ชาวเรือต้องการให้เปิดน้ำให้เรือ เดิน เป็นต้น ให้กรมการอำเภอเรียกกำนันประชุมปรึกษาหาวิธีที่จะรักษาประโยชน์ทั้งสองฝ่าย หรือ ถ้าจะให้ได้ประโยชน์ไม่ได้ทั้งสองฝ่ายก็ให้รักษาประโยชน์ใหญ่โดยยอมทิ้งประโยชน์น้อยด้วย ความจำเป็น
เมื่อเห็นด้วยกันโดยมากประการใด ก็ให้กรมการอำเภอจัดการตามนั้น
มาตรา 117 ห้วย คลอง และลำน้ำต่าง ๆ ย่อมเป็นของที่รัฐบาลปกปักรักษา เป็น หน้าที่ของกรมการอำเภอจะต้องตรวจตราอย่าให้เสีย และอย่าให้ผู้ใดทำให้เสียสาธารณประโยชน์ ถ้าจะต้องซ่อมแซมตกแต่ง ให้กรมการอำเภอเรียกราษฎรช่วยกันทำอย่างกับปิดน้ำฉะนั้น
มาตรา 118 กรมการอำเภอมีหน้าที่จะต้องตรวจตราและจัดการรักษาทางบก

ทางน้ำ อันเป็นทางที่ราษฎรไปมาค้าขาย ให้ไปมาโดยสะดวกตามที่จะเป็นได้ทุกฤดูกาล การอันนี้ ถ้าจะต้องทำการซ่อมแซม หรือแก้ไขความขัดข้อง ให้กรมการอำเภอเรียกราษฎรช่วยกันทำอย่าง ว่ามาแล้ว
มาตรา 119 กรมการอำเภอต้องตรวจตรารักษาป่าไม้ ซึ่งรัฐบาลหวงห้ามตาม ข้อบังคับการป่าไม้
มาตรา 120 ที่ว่างซึ่งรัฐบาลอนุญาตให้ราษฎรทำการเพาะปลูกนั้น เป็นหน้าที่ของ กรมการอำเภอที่จะต้องตรวจตราจัดการป้องกันการเกี่ยงแย่งระหว่างราษฎรที่ไปตั้งทำการ เพาะปลูกก่อนได้รับโฉนด
มาตรา 121 ที่น้ำอันเป็นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ เป็นหน้าที่ของกรมการอำเภอที่จะ ตรวจตรารักษาป้องกันมิให้พืชพันธุ์สัตว์น้ำสูญไป
มาตรา 122 ที่อันเป็นสาธารณประโยชน์ คือ ที่เลี้ยงปศุสัตว์ที่จัดไว้สำหรับราษฎร ไปรวมเลี้ยงด้วยกัน เป็นต้น ตลอดจนถนนหนทางและที่อย่างอื่นซึ่งเป็นของกลางให้ราษฎรใช้ได้ ด้วยกัน เป็นหน้าที่ของกรมการอำเภอจะต้องคอยตรวจตรารักษาอย่าให้ผู้ใดเกียดกันเอาไปเป็นอาณา ประโยชน์แต่เฉพาะตัว
มาตรา 123 ที่วัด หรือกุศลสถานอย่างอื่นซึ่งเป็นของกลางสำหรับมหาชน ก็ให้อยู่ ในหน้าที่กรมการอำเภอจะต้องคอยตรวจตราอุดหนุนผู้ปกปักรักษาอย่า ให้ผู้ใดรุกล้ำเบียดเบียน ที่อันนั้น
ฉ. บำรุงการศึกษา
_________
มาตรา 124 กรมการอำเภอต้องปรึกษาด้วยกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้อุปการะ การศึกษาในท้องที่ มีพระภิกษุสงฆ์ เป็นต้น ช่วยกันแนะนำและจัดให้มีสถานที่เล่าเรียนให้พอแก่ เด็กในอำเภอนั้น

มาตรา 125 กรมการอำเภอต้องตรวจตราปรึกษาด้วยกำนันผู้ใหญ่บ้าน และ ผู้อุปการะการศึกษาในท้องที่ จัดบำรุงการสั่งสอนอย่าให้เสื่อมทราม
มาตรา 126 กรมการอำเภอต้องคอยชี้แจงตักเตือนแก่กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน บิดา มารดา และผู้ปกครองเด็กให้ส่งบุตรหลานไปเล่าเรียน
ช. การเก็บภาษีอากร
__________
มาตรา 127 บรรดาภาษีอากร ซึ่งมิได้มีกฎหมายหรือข้อบังคับให้พนักงานอื่น เก็บแล้ว เป็นหน้าที่ของกรมการอำเภอที่จะจัดการเก็บในอำเภอนั้น
มาตรา 128 ในการเก็บภาษีอากร กรมการอำเภอต้องคอยตรวจตราเวลาเกิด อุปัทวเหตุ หรือเป็นเวลาราษฎรอัตคัดขัดสน เมื่อถึงกำหนดที่จะเก็บภาษีอากรนั้น ๆ ให้รู้และ รายงานพร้อมทั้งความเห็นที่ควรจะจัดการผ่อนผันอย่างใดให้ผู้ว่าราชการเมืองทราบ
มาตรา 129 เงินหลวงที่เก็บภาษีอากรได้ก็ดี หรือที่ได้จากประเภทอื่นก็ดี ซึ่งจะ ต้องนำส่งพระคลัง เป็นหน้าที่ของกรมการอำเภอที่จะรักษาและนำส่งถึงพระคลัง
_________
มาตรา 130 ในหน้าที่ของกรมการอำเภอที่จะจัดการทั้งปวงในอำเภอให้เรียบร้อย นั้น ถ้าหากว่ากรมการอำเภอเห็นวิธีการงานอย่างใดยังบกพร่อง ให้รายงานชี้แจงความเห็นต่อผู้ว่า ราชการเมือง ขออนุญาตแก้ไขตามที่คิดเห็นว่าเป็นอย่างดี
มาตรา 131 กรมการอำเภอมีหน้าที่จะต้องช่วยราชการของอำเภออื่นที่ใกล้เคียง แม้ต่างเมืองกัน และในการที่ช่วยนี้ไม่จำจะต้องรอจนอำเภอนั้นขอให้ช่วย ถ้ารู้เหตุการณ์ซึ่งเห็นว่า ตนควรจะช่วยเหลือจึงจะเป็นประโยชน์แก่ราชการ ต้องช่วยเหลือทีเดียว

มาตรา 132 หน้าที่ของกรมการอำเภอนอกจากที่กล่าวไว้ในพระราชบัญญัติ ลักษณะปกครองท้องที่นี้ ยังต้องทำตามความซึ่งกำหนดไว้ในพระราชกำหนดกฎหมายอย่างอื่น ๆ อันกำหนดไว้ว่าเป็นหน้าที่ของกรมการอำเภอ แม้พระราชกำหนดกฎหมายใดมิได้ระบุไว้ใน พระราชกำหนดกฎหมายนั้น ๆ ว่าเป็นหน้าที่ของผู้ใด ก็ให้พึงเข้าใจว่าเป็นหน้าที่ของกรมการอำเภอ ที่จะรักษาการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินั้น ๆ ประกาศมา ณ วันที่ 4 กรกฎาคม พระพุทธศักราช 2457 เป็นวันที่ 1332 ในรัชกาลปัจจุบันนี้
_______________________
พระราชบัญญัติการเปรียบเทียบคดีอาญา พุทธศักราช 2481
[รก.2482/-/203/1 เมษายน 2482]
_______________________
พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2486
มาตรา 18 กำนันผู้ใหญ่บ้านที่มีอายุไม่เกินหกสิบปีซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันใช้ พระราชบัญญัตินี้ให้คงอยู่ในตำแหน่งต่อไป แต่ถ้าข้าหลวงประจำจังหวัดเห็นว่าผู้ใดไม่สามารถที่จะ บริหารราชการได้ ตามอำนาจหน้าที่ในพระราชบัญญัตินี้ก็ให้ข้าหลวงประจำจังหวัดส่งให้ผู้นั้นพ้น จากตำแหน่ง
[รก.2486/14/504/9 มีนาคม 2486]
________________________
พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2489
มาตรา 5 กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวัน ใช้พระราชบัญญัตินี้ให้คงอยู่ในตำแหน่งต่อไป
[รก.2489/83/816/31 ธันวาคม 2489]
________________________
พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2510
มาตรา 18 ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง และให้อยู่ในตำแหน่งตามวาระของตำแหน่งเดิม
หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ ด้วยกระทรวงมหาดไทยได้ พิจารณาเห็นว่า หน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อยและปราบปรามโจรผู้ร้ายภายในเขต หมู่บ้านเป็นหน้าที่สำคัญประการหนึ่งของผู้ใหญ่บ้าน แต่ในปัจจุบันผู้ใหญ่บ้านยังมีหน้าที่ที่จะ ต้องปฏิบัติในด้านอื่น ๆ ตามอำนาจหน้าที่ที่มีตามกฎหมายอย่างกว้างขวาง และผู้ใหญ่บ้านก็มี แต่เพียงผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านเท่านั้นที่มีหน้าที่ช่วยเหลือผู้ใหญ่บ้านในกิจการต่าง ๆ ตามที่ผู้ใหญ่บ้าน จะมอบหมายให้ผู้ใหญ่บ้านยังไม่มีเจ้าหน้าที่ผู้ทำหน้าที่ช่วยเหลือในด้านการรักษาความสงบ เรียบร้อยและปราบปรามโจรผู้ร้ายโดยตรง จึงทำให้การปฏิบัติหน้าที่ในด้านรักษาความสงบ เรียบร้อยและปราบปรามโจรผู้ร้ายยังไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร จึงเห็นสมควรกำหนดให้มี "ผู้ช่วย ผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ" ขึ้น เพื่อทำหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อยและ ปราบปรามโจรผู้ร้ายและเพื่อให้เห็นความแตกต่างกับผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านปัจจุบัน จึงได้เปลี่ยนชื่อ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านปัจจุบันเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครองโดยให้กำนันและผู้ใหญ่บ้านร่วมกัน พิจารณาคัดเลือกได้ไม่เกิน 5 คน นอกจากนี้กรรมการหมู่บ้านและกรรมการตำบลตามกฎหมาย ที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ยังไม่เป็นการเหมาะสมและไม่สามารถที่จะปฏิบัติงานซึ่งเพิ่มเติมขึ้นอย่าง รวดเร็วของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สมควรจะได้พิจารณา ปรับปรุงแก้ไข
[รก.2510/11/4พ./1 กุมภาพันธ์ 2510]
________________________
พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2516
หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา 12 แห่งพระราช บัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2457 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 364 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2515 กำหนดคุณสมบัติผู้ใหญ่บ้านให้มีพื้นความรู้ไม่ต่ำกว่า ประโยคประถมศึกษาตอนต้นหรือที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบไม่ต่ำกว่าประโยคประถมศึกษา ตอนต้นเพื่อให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น แต่ปรากฏว่าบางหมู่บ้านซึ่งเป็นท้องที่กันดารชายแดน หรือเป็น ท้องถิ่นที่มีชาวเขาอยู่อาศัย ราษฎรยังไม่อาจเลือกผู้ใหญ่บ้านที่มีพื้นความรู้ดังกล่าวได้ เป็นอุปสรรค

แก่การเร่งรัดพัฒนา สมควรแก้ไขเพิ่มเติมให้อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทยที่จะประกาศในราชกิจจานุเบกษาเว้นหรือลดหย่อนพื้นความรู้ของผู้ใหญ่บ้าน ในบางท้องที่ได้ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติฉบับนี้ขึ้น
[รก.2516/107/1พ./23 สิงหาคม 2516]
________________________
พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2525
หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
1. เพื่อเปิดโอกาสให้สตรีเป็นผู้ใหญ่บ้านได้ เพราะตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านปัจจุบันไม่ ต้องรับผิดชอบด้านการปราบปรามอาชญากรรม ทั้งอาจจะแต่งตั้งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านที่เป็นผู้ชายได้ อยู่แล้ว
2. เพื่อให้ผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิดเท่านั้น เป็นผู้ใหญ่บ้านได้
3. เพื่อกำหนดมิให้ข้าราชการการเมือง เป็นผู้ใหญ่บ้านให้สอดคล้องกับกฎหมาย รัฐธรรมนูญ
[รก.2525/121/7พ./27 สิงหาคม 2525]
________________________
พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2527
หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติลักษณะ ปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2457 ได้กำหนดจำนวนทุนทรัพย์ในการเปรียบเทียบความแพ่ง ค่าธรรมเนียมหมายเรียกและคำร้องรวมกัน และค่าธรรมเนียมทำใบยอมไว้ในอัตราที่ยังไม่เหมาะสม กับค่าของเงินตราและภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน สมควรแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนทุนทรัพย์และอัตรา ค่าธรรมเนียมเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
[รก.2527/112/1พ./24 สิงหาคม 2527]
________________________
พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2532
หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยลักษณะ ปกครองท้องที่ กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ที่จะได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านไว้ว่า ต้องไม่เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช ทำให้ผู้ใหญ่บ้านต้องออกจากตำแหน่งถ้าอุปสมบท

หรือบรรพชา เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้กำนันและผู้ใหญ่บ้านมีสิทธิอุปสมบทหรือบรรพชาได้ เช่นเดียวกับข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ สมควรกำหนดให้กำนันและผู้ใหญ่บ้านมีสิทธิลา อุปสมบท หรือบรรพชาได้เป็นเวลาติดต่อกันไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวัน และต้องได้รับอนุญาตจาก ผู้ว่าราชการจังหวัด จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
[รก.2532/114/1พ./19 กรกฎาคม 2532]
________________________
พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2535
มาตรา 7 ให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่แล้วในวันที่พระราชบัญญัตินี้ ใช้บังคับยังคงดำรงตำแหน่งอยู่ต่อไปจนกว่าจะมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์
หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติลักษณะ ปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2457 ที่ใช้บังคับในปัจจุบัน กำหนดคุณสมบัติเกี่ยวกับอายุของ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ไว้ว่า ต้องมีอายุตั้งแต่ยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกินหกสิบปีบริบูรณ์ ซึ่งระยะเวลา ในการดำรงตำแหน่งนานที่สุดถึงสามสิบห้าปี ประกอบกับการกำหนดคุณสมบัติและลักษณะ ต้องห้าม ยังไม่เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน สมควรกำหนดระยะเวลาการอยู่ใน ตำแหน่งของผู้ใหญ่บ้านเป็นวาระ คราวละห้าปี และกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามเพิ่มขึ้น อีก จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
[รก.2535/42/90/8 เมษายน 2535]
________________________
พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2542
มาตรา 9 มิให้นำบทบัญญัติมาตรา 12 (7) แห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครอง ท้องที่ พระพุทธศักราช 2457 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ กรณีการกำหนดลักษณะ ต้องห้ามมิให้ผู้ใหญ่บ้านเป็นสมาชิกรัฐสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นมาใช้บังคับ กับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือแพทย์ประจำตำบล ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัติ ใช้บังคับจนกว่าจะพ้นจากตำแหน่งหรือครบวาระ

หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากการใช้สิทธิเลือกตั้ง บุคคลให้ทำหน้าที่แทนราษฎรควรมีหลักเกณฑ์ที่สอดคล้องกัน ทั้งนี้ โดยรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย มาตรา 105 บัญญัติให้ผู้มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้ ซึ่งต่อมาได้มีการแก้ไขสิทธิเลือกตั้งในองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ ให้เป็นไปตามเกณฑ์ดังกล่าวแล้ว สมควรแก้ไขอายุของผู้มีสิทธิ เลือกผู้ใหญ่บ้านให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญด้วย และโดยที่ การกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ที่จะได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ใหญ่บ้าน ผู้มีสิทธิจะ ได้รับคัดเลือกเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครองหรือผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ ว่าที่ ผู้ใหญ่บ้าน และกรรมการหมู่บ้าน ผู้ทรงคุณวุฒิ ตลอดจนการออกจากตำแหน่งของผู้ช่วย ผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครองและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ และกรรมการหมู่บ้าน ผู้ทรงคุณวุฒิยังบัญญัติไว้ไม่สอดคล้องกัน รวมทั้งยังไม่มีบทบัญญัติให้ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ฝ่ายปกครองและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบต้องออกจากตำแหน่งเมื่อผู้ใหญ่บ้าน ต้องออกจากตำแหน่งไว้ด้วย เพื่อให้ผู้ใหญ่บ้านที่เข้ารับตำแหน่งใหม่สามารถคัดเลือกตัวบุคคล มาร่วมปฏิบัติงานในท้องที่ในฐานะผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านได้ตามความต้องการแก่การบริหารและ การปกครองท้องที่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ [รก.2542/70ก/1/4 สิงหาคม 2542]



1 comment:

  1. I really appreciate your support on this.
    Look forward to hearing from you soon.
    I’m happy to answer your questions, if you have any.


    เครดิตฟรี

    เล่นบาคาร่า

    คาสิโนออนไลน์

    ReplyDelete