Wednesday, 15 February 2017

ภาระงาน...พัฒนากร...ในอดีตกับการขอคืน...พัฒนากร...ให้ชุมชน

พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ให้แก่ พัฒนากร ในโอกาสเสด็จไปทรงกระทำพิธีเปิดเขื่อนและการพลังงานไฟฟ้าแม่น้าพุง จังหวัดสกลนคร เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๐๘ 

ขอบใจมาก ที่ต้องเหน็ดเหนื่อยทำงานในหมู่บ้านชนบท และต้องประสบปัญหาต่าง ๆ มากมาย ขอให้ช่วยกันพัฒนาคนให้มีความฉลาด สามารถช่วยตัวเองได้ ให้รู้จักใช้และเห็นคุณค่าความเจริญในด้านวัตถุ เช่น รู้จักนาพลังงานไฟฟ้าจากเขื่อนน้าพุงนี้ใช้ในบ้านเรือนและการอุตสาหกรรมขนาดย่อม ในการปฏิบัติงาน ชาวบ้านมักมีความหวาดระแวง และเกรงกลัวเจ้าหน้าที่ข้าราชการ ถือว่าเป็นบุคคลภายนอกหมู่บ้าน ไม่ใช่พวกเดียวกัน การเชื่อถือหรือยอมทำตามคาแนะนาส่งเสริมจึงมีน้อย ดังนั้น จะต้องทำให้ชาวบ้านรู้สึกรักและเชื่อถือว่าเราเป็นพวกเดียวกับเขา มีความปรารถนาจะช่วยเขาอย่างแท้จริง เช่น ให้ความรัก ช่วยเหลือเมื่อเดือดร้อน ทำงานให้จริงจัง ซึ่งต้องใช้ความพยายาม ความอดทน เป็นอย่างมาก ในการแนะนาส่งเสริมอาชีพ หรือให้คาแนะนาเรื่องต่าง ๆ ต้องทำให้บ่อย ๆ ไม่ใช่พูดหรือทำหนเดียว เพราะชาวบ้านมีประเพณีความเคยชินมานาน และเมื่อแนะนาให้ทำอะไรได้แล้ว ต้องช่วยให้เขาขายได้ด้วย มิฉะนั้นเขาจะเสื่อมศรัทธา ไม่เชื่อถือทำต่อไป ขอให้ช่วยกันแนะนำชาวบ้าน ราษฎรให้ขยันขันแข็ง มีความฉลาด สร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัว ทำงานหารายได้ และเก็บออมไว้เมื่อถึงคราวจาเป็น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการประกันสังคม การสร้างความมั่นคงเป็นปึกแผ่นแก่ครอบครัวชนบทเป็นการปูองกันประเทศชาติด้านหนึ่ง อย่าเข้าใจว่าการปูองกันประเทศชาติเป็นหน้าที่ของทหารเช่นสมัยก่อน ความมั่นคงของประชาชนชนบทเป็นส่วนที่จะสร้างชาติและปูองกันประเทศอย่างดี ขอบใจ ขอให้สบายดี โชคดีทุกคน และมีความสำเร็จในการงาน”



คำกล่าวของ พลเอกอาทิตย์ กาลังเอก ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ถึงพัฒนากร เนื่องในโอกาสงานชุมนุมผู้นำศูนย์เยาวชนตำบลทั่วประเทศ ครั้งที่ ๑๑ ณ สนามกีฬาแห่งชาติ หัวหมาก กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคม  ๒๕๒๕ 

ผมรู้จักเจ้าหน้าที่ทุกคนของกรมการพัฒนาชุมชนที่เข้าไปมีบทบาทในชนบท เพราะผมทำงานในชนบท ผมทราบดีว่าเจ้าหน้าที่ทุกคนเหน็ดเหนื่อย และความเหน็ดเหนื่อยที่ทุกคนเผชิญในดงที่ทุรกันดาร ในบางครั้งนั้นผู้ใหญ่ในกรมฯ ที่อยู่เบื้องหลังนั้นไม่ทราบว่าเขาเหน็ดเหนื่อยจริง ๆ โรงแรมก็ไม่มีจะพัก ต้องเข้าไปนอนในหมู่บ้าน บางครั้งก็อดบางครั้งก็มีกิน บางบ้านก็มีผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์แทรกซึมทำงานก็ลำบาก มีพัฒนากร บางครั้งที่ผมแจกอาวุธปืนให้ก็ปรากฏว่า ขี่มอเตอร์ไซค์ไปแล้วถูกแย่งปืนไปเสีย เมื่อปืนหายก็ต้องมาชดใช้ค่าปืนให้แก่ทางราชการอีก บางครั้งไปร่วมพัฒนาหมู่บ้าน ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์เข้าขัดขวาง จับเอาพัฒนากร ไปสั่งสอนโดยการกักกัน หรือยึดอาวุธปล่อยกลับมา ซึ่งก็นับว่าโชคดีที่มันไม่ทำร้ายถึงแก่ชีวิต เพราะฉะนั้น พัฒนากร ที่เข้าไปทำงานกับกลุ่มหนุ่มสาวในหมู่บ้าน ในตำบลชนบทในทุกที่นั้น ถ้าไม่มีการแทรกซึมก็จะมีแต่ความยากความลำบาก แต่ถ้าเป็นแทรกซึมก็ต้องเสี่ยงอันตรายด้วย ผมทราบดีในประเด็นนี้ เพราะเคยคุ้นเคยกับพัฒนากร  พัฒนาการอำเภอและพัฒนาการจังหวัดมากมายหลายแห่ง“

แนวคิดการพัฒนาชุมชน
การพัฒนาชุมชนที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๘๓ ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาในกลุ่มประเทศเครือจักรภพจากเดิมมาเป็นการพัฒนาที่เห็นว่าประชาชนเป็นแกนกลางของพลังขับเคลื่อนทางสังคม เมื่อแนวคิดการพัฒนาชุมชนนี้เผยแพร่ออกไปจนก่อเกิดเป็นปรัชญาเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างประชาชนกับรัฐบาลในการปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ซึ่งเรียกว่าขบวนการพัฒนาชุมชน ขบวนการดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาในประเทศไทยด้วยเช่นกัน

ในปี พ.ศ. ๒๔๘๓ กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศใช้แผนการบูรณะชนบทพัฒนา มีวัตถุประสงค์ ๒ ประการ คือ
๑. สร้างสรรค์ชีวิตจิตใจของประชาชนในชนบทให้เหมาะสมที่จะเป็นพลเมืองดี
๒. ส่งเสริมให้ประชาชนมีการครองชีพที่ดีขึ้น

ได้จัดตั้งสำนักงานพัฒนาการท้องถิ่นขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น และมีการริเริ่มโครงการพัฒนาท้องถิ่นในปีถัดมา โดยมีปลัดพัฒนากรเป็นผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งเรียกกันในภายหลังว่า พัฒนากร 

กระทรวงมหาดไทย ได้ให้ความสำคัญของการบริหารงานระหว่างกรมการปกครอง (กรมมหาดไทยเดิม) กับกรมการพัฒนาชุมชน โดยให้ข้าราชการของทั้ง ๒ กรม สามารถโอนย้าย สับเปลี่ยนกันได้ และมีหลักการสับเปลี่ยนหมุนเวียน ยืมตัวกันได้ระหว่างกรมการปกครอง กรมการพัฒนาชุมชน สำนักงานรัฐมนตรี และสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ทำให้สามารถสอบเลื่อนระดับร่วมกันได้

ในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม ฉบับที่ ๑๐ และจัดตั้งกรมการพัฒนาชุมชนขึ้นเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ ภารกิจในระยะแรกของกรมการพัฒนาชุมชนคือ ปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชนในชนบทโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนและการพัฒนาตนเอง

ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า พัฒนากรต้องทำงานกับประชาชน มิใช่ทำให้ประชาชน พัฒนากร  เป็นจักรกลตัวสำคัญที่สุดที่จะทำให้การดำเนินงานพัฒนาชุมชนประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ เพราะ พัฒนากร เป็นเจ้าหน้าที่สำคัญที่สุดในงานนี้ พัฒนากร เป็นข้าราชการที่อยู่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด โดยประจำทำงานร่วมกับประชาชนในระดับหมู่บ้าน มีหน้าที่ให้คาแนะนาและให้คาปรึกษาหารือแก่องค์กรบริหารการพัฒนาของหมู่บ้านและตำบล ฝึกอบรมผู้นำท้องถิ่น จัดกลุ่มอาชีพ และกลุ่มผู้สนใจต่าง ๆ และทำงานกับกลุ่มเหล่านั้น ในช่วงเริ่มก่อร่างสร้างองค์การกรมการพัฒนาชุมชน พัฒนากร เป็นข้าราชการเพียงคนเดียวที่ส่วนราชการเพียงหน่วยงานเดียวลงไปปฏิบัติงานร่วมกับประชาชนในระดับหมู่บ้านตำบล โดยไม่มีเครื่องมืออันใดทั้งสิ้นที่จะไปสร้างอำนาจบารมีกับชาวบ้าน นอกจากหนึ่งสมองกับสองมือที่เปี่ยมไปด้วยพลังความตั้งใจ เสียสละ อดทน และสติปัญญา เพื่อนาความรู้ ความแปลกใหม่ในการสร้างวิถีชีวิตใหม่ให้กับชาวบ้าน พัฒนากร สมัยนั้นกล่าวได้ว่าเป็นผู้ร่วมทุกข์ร่วมสุข เป็นเพื่อน เป็นที่ปรึกษา และอื่น ๆ อีกหลายอย่าง จนกล่าวกันว่า เมื่อมีปัญหา หรือความทุกข์เกิดขึ้น ชาวบ้านจะนึกถึงพัฒนากร เป็นคนแรก


นายพัฒน์ บุณยรัตพันธ์ อดีตอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เคยเปรียบเปรยถึงพัฒนากร ไว้ว่า พัฒนากร  คือ ศรัทธาเดินได้ พัฒนากร  คือ ไม้เกาหลังของชาวบ้าน ซึ่งเป็นคาพูดที่ตรงประเด็นที่สุด เพราะพัฒนากรเปรียบเหมือนเส้นประสาทสุดท้ายของราชการที่ยื่นไปสัมผัสกับชาวบ้าน ท่ามกลางความอ้างว้างโดดเดี่ยวของชาวชนบท ประชาชนจะหันหน้าไปทำงานใดก็มีแต่ความว่างเปล่า นอกจากพัฒนากร เพียงคนเดียวที่เดินดุ่มอยู่ท่ามกลางความเงียบเหล่านั้น ข้อจากัดของทางราชการเองก็มีอยู่ไม่น้อยในการหาบุคลากรที่เปี่ยมไปด้วยความอดทนอย่างมากในการลงไปต่อสู้กับความยากลำบากเช่นนั้น การสรรหาบุคคลที่มีคุณลักษณะเหมาะสมมาเป็นพัฒนากร จึงได้ถูกกำหนดขึ้นอย่างละเอียดถี่ถ้วน ผ่านกระบวนการกลั่นกรองหลายรูปแบบ เพื่อให้ได้บุคลากรที่ดีที่สุด



คุณลักษณะที่เหมาะสม
จากหลักฐานที่พอจะหาพบ คือ หนังสือกระทรวงมหาดไทยด่วนมากที่ ๑๙๖๙๐/๒๕๐๒ ลงวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๐๒ เรื่องการอบรมปลัดอำเภอพัฒนากร รุ่นที่ ๓ (ผลัดที่ ๒) แจ้งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดคัดเลือกคนเข้ารับฝึกอบรมเป็นพัฒนากร  โดยให้มีคุณลักษณะที่เหมาะสมดังนี้
๑. มีความรู้อย่างต่ำชั้นมัธยมปีที่ ๖ หรือเทียบเท่าหรือปริญญาบัตรในทางวิชาชีพอื่นอยู่ด้วยก็เป็นสิ่งที่พึงปรารถนายิ่งขึ้น
๒. มีอายุไม่ต่ำกว่า ๒๕ ปี และไม่เกิน ๔๕ ปี
๓. เคยปฏิบัติงานของอำเภอในด้านการบำรุงส่งเสริม หรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่รับผิดชอบควบคุมงานตามโครงการบำรุงท้องที่ของอำเภอแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี
๔. มีภาระผูกพันทางครอบครัวแต่น้อย พอจะออกไปปฏิบัติงานในหมู่บ้านได้เป็นประจำ
๕. มีความรัก ความสนใจ ความเสียสละเพื่อส่วนรวมตลอดจนความอุตสาหะไม่ย่อท้อที่จะปฏิบัติงานของอำเภอมาแล้ว
๖. มีอุปนิสัยอ่อนโยนละมุนละไม สามารถติดต่อและเข้ากับคนได้ดีทุกชั้นทุกวัย เหมาะสมที่จะทำงานคลุกคลีร่วมกับชาวบ้านในฐานะเป็นพัฒนากร ได้ดี และในเวลาเดียวกันเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่โดยเข้มแข็ง
๗. เป็นผู้มีความคิดริเริ่มดี ยอมรับฟังความคิดเห็นของบุคคลอื่นโดยมีเหตุผล
๘. มีนิสัยร่าเริง แช่มชื่น ชอบศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ
๙. ถ้าหากจะได้ผู้ที่มีพื้นฐานที่ราษฎรนิยมเลื่อมใสอยู่ก่อนแล้ว หรือเป็นผู้มีภูมิลาเนาเดิมในจังหวัดนั้นเองได้ก็ยิ่งดี

บทบาทของพัฒนากร 
ด้วยเหตุที่พัฒนากร เป็นข้าราชการซึ่งต้องทำงานกับชาวบ้านอย่างใกล้ชิด ดังนั้นบทบาทในการทำงานของพัฒนากร จึงอยู่ที่การเข้าไปคลุกคลีกับชาวบ้านในชนบทด้วยความรัก ความเห็นใจ ในอันที่จะช่วยเหลือชาวบ้าน พัฒนากร ไม่มีอำนาจใด ๆ ตามกฎหมายที่เหนือชาวบ้าน นอกจากความรักและอุดมคติอันสูงส่งที่จะใช้ชีวิตในชนบท เพื่อที่จะร่วมมือกับชาวบ้านในอันที่จะขจัดปัญหาข้อขัดข้องที่มีอยู่ให้หมดไป ฉะนั้นพัฒนากร จึงจาเป็นต้องมีความเข้าใจถึงวิถีทางเศรษฐกิจและสังคมของหมู่บ้านอย่างลึกซึ้ง ตลอดจนมีความตระหนักในหน้าที่ความรับผิดชอบของตนที่จะดำเนินงานในหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด 


กองฝึกอบรม กรมการพัฒนาชุมชนได้รวบรวมบทบาทของพัฒนากร และใช้ในการฝึกอบรมพัฒนากร ไว้ (กรมการพัฒนาชุมชน ๒๕๑๑: ๕๗-๖๒) ดังนี้

๑. เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change agent) เนื่องจากงานพัฒนาชุมชนเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ของประเทศ วิธีการที่ใช้ในการพัฒนาชุมชนจึงต้องทำตามแบบกึ่งเสรีกึ่งบังคับ โดยมีลักษณะที่การทำงานมีโครงการ มีเป้าหมายและมีกำหนดระยะปฏิบัติการที่แน่นอน เพื่อที่จะให้การพัฒนาได้เป็นไปโดยรวดเร็วกว่าที่จะปล่อยให้ความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของประชาชนเองแต่ฝ่ายเดียว หรือเป็นไปโดยธรรมชาติ ฉะนั้นบทบาทสำคัญของพัฒนากร  คือ การเป็นตัวนาการเปลี่ยนแปลงโดยพยายามทุกวิถีทางที่จะให้หมู่บ้านชนบทได้มีการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านเศรษฐกิจ การศึกษา และวัฒนธรรม ในการที่จะเปลี่ยนแปลงได้นั้น พัฒนากร จะต้องใช้วิธีเข้าไปคลุกคลีทำตัวสนิทสนมกับชาวบ้าน เพื่อที่จะชักจูงให้ชาวบ้านเกิดความคิดริเริ่มและมองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านตน ตลอดจนทั้งพยายามกระตุ้นเตือนยุหนุนให้ชาวบ้านได้ตระหนักในปัญหาเหล่านั้น และร่วมมือกันแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องที่เขาเผชิญอยู่

๒. เป็นนักรวมกลุ่ม (Organizer) ในการดำเนินงานพัฒนากร นั้น จาเป็นต้องมีการปฏิบัติต่อเนื่องกัน ตั้งแต่แรกเริ่มไปจนกระทั่งหลังจากโครงการได้เสร็จสิ้นลงแล้ว กล่าวคือ ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่การแพร่ความคิดให้แก่ประชาชน สำรวจความต้องการ วางโครงการ ดำเนินงานตามโครงการ และติดตามผลการปฏิบัติตามโครงการ ซึ่งขบวนการดังกล่าวเป็นการปฏิบัติที่ต่อเนื่องกัน การทำงานของพัฒนากร นั้น ถ้าจะให้ได้ผลอย่างสมบูรณ์ และเป็นการง่ายแล้ว จาเป็นต้องทำงานกับกลุ่ม การทำงานกับกลุ่มชนนั้น นอกจากจะเป็นการประหยัดเวลาแล้ว ยังเป็นผลให้งานมีประสิทธิภาพมากกว่าที่จะทำงานกับแต่ละคน ฉะนั้น พัฒนากร จึงต้องเป็นนักรวมกลุ่มที่ดี ในการที่พัฒนากร จะเป็นนักรวมกลุ่มที่ดีนั้น จะต้องรู้จักการติดต่อสร้างสรรค์ เขาต้องมีกลวิธีในการที่จะรวมบุคคลเข้ามาร่วมกัน และยั่วยุแนะนาชักจูงให้กลุ่มรู้จักการดำเนินงานในทางที่มีประสิทธิภาพและประหยัด เช่น ให้กลุ่มมีศิลปะในการจัดการประชุม การหันหน้าเข้าปรึกษาหารือกันในปัญหาต่าง ๆ รู้จักการติดต่อแหล่งทรัพยากร และเข้าใจในการคิดค้นแก้ปัญหา ให้มีความสามารถในการทำงานตามความมุ่งหมายให้สำเร็จภายในกำหนดเวลา แม้แต่กลุ่มที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ พัฒนากร จะต้องพยายามเข้าร่วมและชักจูงให้กลุ่มเข้าร่วมกันเป็นปึกแผ่นที่มั่นคงยิ่งขึ้น โดยมีความมุ่งหมายที่จะให้กลุ่มได้เกิดการสร้างสรรค์แลกเปลี่ยนความคิด การแก้ปัญหาและวิธีการทำงานแบบใหม่ การปรับปรุงกิจกรรมของชีวิตด้านต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้ว ความคิดริเริ่ม ตลอดจนสมรรถภาพในการทำงานร่วมกันและปรึกษาหารือในปัญหาประจำวันเป็นต้น 

การทำงานกับกลุ่มชน พัฒนากร ต้องมีความเชื่อมั่นในการดำเนินงานของประชาชนเหล่านั้น เข้าหาประชาชนโดยเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นคนของเขาเป็นพื้นฐาน มีใจกว้างยอมรับความคิดเห็นของประชาชน เพื่อกำหนดทิศทางการทำงาน และพยายามปรับความคิดการกระทำทั้งมวลให้สอดคล้องกลืนกับภาวะวิสัย อย่าให้เกิดความรู้สึกเห็นแก่ตัวข้นได้ งานก็จะสำเร็จตามความมุ่งหมายของกรมการพัฒนาชุมชน

๓. เป็นผู้ให้การศึกษา (Educator) ขบวนการพัฒนาชุมชนนั้น นอกจากเป็นการรวมกลุ่มคนแล้ว โดยลักษณะของงานพัฒนาชุมชนยังเป็นขบวนการศึกษาอยู่ตลอดเวลา ในการที่ประชาชนจะทราบว่ามีสิ่งใหม่ ๆ แนวความคิดใหม่ ๆ ที่พัฒนากร ทำมาปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของเขา และทราบว่าเขามีความรู้สึกอย่างไร คนอื่นมีความรู้สึกอย่างไร จนสามารถวางโครงการแก้ไขปัญหาของหมู่บ้าน ย่อมจะต้องมีการติดต่อกันเป็นระยะ จนกว่างานจะสำเร็จออกมา ในการนี้พัฒนากร จะเข้าไปกระตุ้นเตือน ชักจูง และให้แนวความคิดวิชาการใหม่ ๆ ทำให้ชาวบ้านเริ่มคิด เริ่มศึกษา เริ่มเข้าใจ เริ่มตระหนักในปัญหาต่าง ๆ ของตัวเอง และชี้ให้พวกเขาเห็นว่าเขามีความสามารถที่จะช่วยตัวเองได้ ซึ่งเป็นขบวนการดังกล่าวนี้ ย่อมนาไปสู่การเปลี่ยนแปลงทัศนคติต่อสังคม ต่อชีวิต และต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ และทำให้เกิดพฤติกรรมที่จะแก้ปัญหาและนาความเจริญมาสู่ตัวเขาเองในที่สุด

๔. เป็นผู้กระตุ้นเตือนยั่วยุ (Stimulator) โดยปกติ ประชาชนในชุมชนนั้นย่อมมีวิธีการประกอบอาชีพและวิถีทางดำเนินชีวิตซึ่งเป็นแบบฉบับของเขาเองอยู่แล้ว ตามประเพณีดั้งเดิม แต่วิธีการประกอบอาชีพและวิถีทางดำเนินชีวิตของเขามีการเปลี่ยนแปลงพัฒนากันไปอย่างช้า ๆ ตามประสบการณ์และความเปลี่ยนแปลงตามสังคม ซ่งเป็นหลักธรรมดาไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้ การพัฒนาชุมชนเป็นขบวนการที่มุ่งให้มีการเปลี่ยนแปลงชุมชนไปในทางที่ต้องการ ให้มีอัตราเร่งของการเปลี่ยนแปลงโดยเหมาะสม ไม่ใช่ให้เป็นไปตามยะถากรรม โดยให้พัฒนากร เป็นผู้ดำเนินการใช้วิธียั่วยุ กระตุ้นเตือนและชักจูง เร่งเร้าให้ประชาชนในชุมชนนั้นเกิดความรู้สึกใคร่ที่จะเปลี่ยนแปลงและพยายามระดมสรรพกาลังและความช่วยเหลือจากภายนอก เพื่อช่วยเหลือประชาชนให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ที่ต้องการ

๕. เป็นผู้ประสานงาน (Coordinator) บรรดาปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชนบทนั้นย่อมจะมีแตกต่างกันไป ปัญหาบางอย่างอยู่ในความสามารถของพัฒนากร และชาวบ้านซึ่งพอจะแก้ไขได้ แต่ปัญหาบางอย่างเกินวิสัยที่พัฒนากร จะช่วยเหลือ เมื่อเกิดปัญหาดังกล่าว พัฒนากร จะต้องขอความช่วยเหลือจากนักวิชาการต่าง ๆ อีกทอดหนึ่ง พัฒนากร ต้องทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างบริการของรัฐกับประชาชน ในการประสานงาน พัฒนากร จะต้องคำนึงถึงกาลเทศะและความพร้อมของทั้งสองฝ่าย เช่นการจะชุมนุมให้ชาวบ้านมาทดลองปลูกข้าวตัวอย่าง พัฒนากร จะต้องรู้และคำนึงอย่างลึกซึ้งรอบคอบเสียก่อนว่า เวลาใดที่ราษฎรพร้อม กล่าวคือมีเวลาว่างโดยทั่วถึงกัน และเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการก็พร้อมและเต็มใจที่จะมาสาธิต พัฒนากร จะต้องเข้าใจกลไกและความละเอียดอ่อนแห่งความสัมพันธ์ของบุคคลและเจ้าหน้าที่ระดับสูง คือ ระดับอำเภอ จังหวัดและกรมด้วย การติดต่อประสานงานอาจจะกระทำในแบบเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการก็ได้ แล้วแต่กรณี การประสานงานของพัฒนากร นการปฏิบัตินั้นมีอยู่ 3 ระดับคือ
(๑) ระดับแรก เป็นการประสานงานระหว่างชาวบ้านกันเองให้ร่วมมือร่วมใจสละทรัพยากร กาลังกาย เพื่อให้โครงการพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชนบรรลุผล
(๒ระดับสอง เป็นการประสานระหว่างชาวบ้านผู้มีความต้องการบริการกับเจ้าหน้าที่รัฐในด้านต่าง ๆ
(๓) ระดับสาม เป็นการประสานงานระหว่างเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ของรัฐบาล เพื่อให้ได้มาซึ่งความร่วมมือและการทำงานร่วมกัน

๖. เป็นตัวเชื่อม (Link) ในการทำงานของพัฒนากร นั้น บทบาทสำคัญอีกอย่างหนึ่งซึ่งจะขาดเสียไม่ได้ ก็คือ จะต้องเป็นตัวเชื่อมที่ดี พัฒนากร ต้องเป็นสื่อกลางระหว่างประชาชนกับรัฐ กล่าวคือ เป็นผู้นำความต้องการของประชาชนเสนอมาตามลาดับชั้น ขณะเดียวกันก็ชักนาบริการของรัฐ ตลอดจนข่าวสารต่าง ๆ จากรัฐไปสู่ประชาชน นาให้ประชาชนกับรัฐอานวยประโยชน์ซึ่งกันและกันอย่างเต็มที่มีความกลมกลืนสัมพันธ์กัน โดยใช้ระบบการสื่อความคิดติดต่อด้วยกันทั้งสองฝ่าย ซึ่งจะอานวยให้เกิดความเข้าอกเข้าใจซึ่งกันและกันทั้งสองฝ่าย ในเรื่องนี้พัฒนากร ต้องระวังในเรื่องการปฏิบัติอย่างมาก เพราะการที่จะเป็นสื่อกลางที่ดีนั้น จะต้องมีความเข้าใจวัตถุประสงค์ของทั้งสองฝ่ายอย่างถ่องแท้ กล่าวคือ พัฒนากร จะต้องมีความเข้าใจในนโยบายของรัฐและความต้องการของประชาชนเป็นอย่างดี และนาเอาความต้องการของทั้งสองฝ่ายมาติดต่อกันอย่างชัดเจน มิฉะนั้นแล้วอาจเป็นผลเสียหายได้ในทางปฏิบัติ

๗. เป็นผู้อานวยความสะดวก (Facilitator) นอกจากการอานวยความสะดวกให้กับประชาชนในการติดต่อกับหน่วยราชการแล้ว พัฒนากร ต้องช่วยให้ความสะดวกแก่ชาวบ้านในการดำเนินงานของเขาเองในหมู่บ้าน จัดเตรียมประชาชนให้พร้อมที่จะทำงานร่วมกับนักวิชาการ การนัดหมายประชาชน การนัดหมายนักวิชาการ การช่วยเหลือนักวิชาการในการสาธิตต่าง ๆ และการช่วยเหลือประชาชนในการทำงานร่วมกัน

๘. เป็นผู้สื่อความคิดติดต่อ (Communicator) พัฒนากร ซึ่งเป็นข้าราชการที่ทำงานส่วนใหญ่อยู่ในหมู่บ้าน นับว่าเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชนมากกว่าข้าราชการประเภทอื่น ฉะนั้นพัฒนากร จึงสามารถทราบได้ดีถึงปัญหาความต้องการของชาวบ้านตลอดจนชีวิตความเป็นอยู่และรวมถึงภาษาในท้องถิ่นด้วย การที่นักวิชาการจะสามารถเข้าถึงประชาชนได้เพียงใด หรือให้ความช่วยเหลือชาวบ้านได้ตรงกับความต้องการของเขาได้มากเพียงใดนั้น พัฒนากร ย่อมมีบทบาทสำคัญในการที่จะสื่อความคิดระหว่างชาวบ้านกับนักวิชาการ เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีซึ่งกันและกัน ซึ่งจะมีผลทำให้ชาวบ้านได้รับความช่วยเหลือสมตามความมุ่งหวัง

ปัญหาความต้องการของพัฒนากร  ปี ๒๕๐๗
ข้อความต่อไปนี้ เป็นผลการวิจัยของ ดร.โตชิโอ ยัตสุชิโร ที่ดำเนินการเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๐๗ เรื่องพัฒนากร  ในประเทศไทย การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับปัญหาและความต้องการของพัฒนากร ซึ่งเป็นโครงกรวิจัยร่วมระหว่างยูซอม-ประเทศไทย กับ กองวิจัยและประเมินผล กรมการพัฒนาชุมชน ตีพิมพ์เผยแพร่ ปี ๒๕๐๙ การเก็บข้อมูลใช้วิธีการสัมภาษณ์พัฒนากร ในเขตพัฒนาอำเภอในจังหวัด มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ สกลนคร อุดรธานี ขอนแก่น เลย และหนองคาย ผลการวิจัยมีประเด็นน่าสนใจหลายเรื่อง ซึ่งเห็นว่า ปัญหาอะไรหลาย ๆ อย่างที่พบในปีที่สองของการก่อตั้งกรมการพัฒนาพัฒนาชุมชนกับปีที่ ๕๐ คล้ายคลึงกันมาก จากการศึกษาของ ดร.โตชิโอ ยัตสุชิโร (๒๕๐๙) เห็นว่า พัฒนากร ที่พอใจในงานในตำแหน่งหน้าที่ควรจะทำงานได้ผลกว่าคนที่ไม่พอใจในตำแหน่งหน้าที่ และถ้าความพอใจในงานกับผลงานมีความสัมพันธ์กันแล้ว ผู้บริหารควรจะได้พิจารณาถึงนโยบายการรับบุคคลที่จะมาเป็นพัฒนากร  ซึ่งจากการศึกษาพบว่า

๑. พัฒนากร ที่พอใจในตำแหน่งหน้าที่ส่วนใหญ่เป็นคนมีอายุ เป็นผู้ชาย แต่งงานแล้ว การศึกษาไม่สูงกว่าชั้นมัธยมปีที่ ๖ หรือเทียบเท่า (ปวช.) เคยเป็นครูมาก่อน ได้รับการฝึกอบรมก่อนประจำการที่ ศ.อ.ศ.อ. มา ๒ ปี เคยบวชมาแล้ว ทำงานอยู่ในเขตท้องที่นั้นมาแล้ว อย่างน้อย ๑ ปี และชอบตำแหน่งหน้าที่ในปัจจุบัน ดร.โตชิโอ จึงเสนอว่า
๑) ควรรับผู้ชายมาเป็นพัฒนากร  ส่วนผู้หญิงไม่เหมาะจะรับเป็นพัฒนากร แต่ควรรับมาเป็นเจ้าหน้าที่ ส.ด.ย.
๒) ควรรับคนที่มีอายุอย่างน้อย ๒๕ ปีขึ้นไป ถ้าเป็นคนหนุ่มก็ต้องมีความสามารถพิเศษจริง ๆ
๓) ควรคัดเลือกพัฒนากร จากผู้ที่จบการศึกษาระดับ ปวช.และมีประสบการณ์ในการทำงานมาบ้าง แทนที่จะไปรับบุคคลที่สำเร็จจากมหาวิทยาลัยโดยไม่มีประสบการณ์ เพราะพัฒนากร ที่สำเร็จจากมหาวิทยาลัยไม่ใคร่พอใจในงานในหน้าที่ของตน การเป็นพัฒนากร เป็นเพียงการพักพิงชั่วคราวเพื่อหาตำแหน่งสูงขึ้นไป และการทำงานร่วมกับชาวบ้านเป็นสิ่งที่ลำบากที่จะเข้าใจและไม่ชอบ ผิดกับผู้ที่มีการศึกษาต่ำกว่า
๔) ควรคัดเลือกผู้ที่มีพื้นฐานในชนบทและควรทำการคัดเลือกในเขตพัฒนานั้น ๆ มาเป็นพัฒนากร และควรจะส่งกลับไปปฏิบัติงานในภูมิภาคที่มีภูมิลำเนาหลังจากเสร็จสิ้นการฝึกอบรมก่อนประจำการแล้ว เพราะคนที่มีพื้นฐานในชนบทมักจะพร้อมที่ทำงานร่วมกับชาวบ้าน เข้าใจและซาบซึ้งถึงวัฒนธรรมและชีวิตในชนบท ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่จะเรียกร้องความร่วมมือและความเคารพนับถือจากชาวบ้าน
๕) ควรขยายเวลาฝึกอบรมก่อนประจำการเป็น  เดือน โดยให้ฝึกหัดปฏิบัติงาน  เดือน นอกจากนี้การฝึกอบรมระหว่างประจำการควรจะดำเนินการในระดับภาค จังหวัด และอำเภอ (ขณะนั้นการฝึกอบรมพัฒนาก่อนประจำการมีระยะเวลา ๖ เดือน) ทั้งนี้ ให้ส่งผู้เข้ารับการอบรมไปทำงานในหมู่บ้านโดยให้ข้อแนะนาและแนวทางในการปฏิบัติงานน้อยที่สุด แต่ให้ทำงานภายใต้การควบคุมดูแลของพัฒนากร ที่ชานาญงานซึ่งประจำอยู่ในกลุ่มนั้นเป็นระยะ ๆ โดยผู้เข้ารับการอบรมควรเป็นตัวของตัวให้มากที่สุดในการพัฒนาความชำนิชำนาญในการพัฒนาทำงานกับชาวบ้าน

๒. เนื่องจากลักษณะงานเป็นสิ่งจำเป็นที่พัฒนาจะต้องอยู่อาศัยในหมู่บ้านเพื่อจะได้มีการติดต่อกับชาวบ้านอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องกัน ซึ่งจะทำให้พัฒนากร ได้รับความไว้วางใจและความร่วมมือจากชาวบ้านในการดำเนินการพัฒนาให้ได้รับผลสำเร็จ การพักอาศัยในหมู่บ้านของพัฒนากร เป็นปัญหาทั้งสาหรับพัฒนากร และชาวบ้าน จึงเสนอว่า พัฒนากร ควรดำเนินการร่วมกับชาวบ้านสร้างศูนย์ปฏิบัติการขึ้นมาในหมู่บ้านที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ และให้ใช้เป็นศูนย์กลางการดำเนินกิจกรรมของพัฒนาชุมชนและเป็นที่อยู่อาศัยของพัฒนากร ละครอบครัว โดยถือว่าศูนย์ปฏิบัติการนี้เป็นสมบัติของหมู่บ้าน หรือสร้างเป็นบ้านตัวอย่างแบบง่าย ๆ ราคาถูกใช้เป็นที่อยู่อาศัยของพัฒนากร และครอบครัวอยู่ในหมู่บ้านนั้น

๓. พัฒนากร ประสบปัญหาในการทำงาน ๒ เรื่อง คือ
๑) ยานพาหนะเดินทางซึ่งได้รับเป็นรถจักรยานไม่เหมาะสาหรับใช้เดินทางไปมาระหว่างหมู่บ้าน กรมฯควรช่วยเหลือด้านการเงินเพื่อให้พัฒนากร สามารถมีรถจักรยานยนต์ไว้ใช้ปฏิบัติงาน
๒) จานวนหมู่บ้านที่รับผิดชอบอยู่ระหว่าง ๓-๑๖ หมู่บ้านซึ่งมากเกินไปที่ระปฏิบัติงานได้ทั่วถึง ภายใน ๑ ปี พัฒนากร ควรมุ่งพัฒนาใน ๒-๓ หมู่บ้านเท่านั้น และค่อยขยายผลออกไปในหมู่บ้านที่เหลือภายหลัง

๔. พัฒนากร ถูกหวังให้ทำงานทางด้านวิชาการมากกว่างานด้านอื่น แต่พัฒนากรก็ไม่ได้รับการฝึกอบรมหรือมีทักษะเพียงพอที่จะทำโครงการพัฒนาทางด้านวิชาการนั้น ๆ และเมื่อพัฒนากรแสดงบทบาทของผู้ประสานงานทางวิชาการโดยขอความช่วยเหลือทางวิชาการจากนักวิชาการในท้องถิ่นก็มักจะเกิดความท้อแท้ใจ เพราะไม่ค่อยมีนักวิชาการเพียงพอ ดร. ยัตสุชิโร ให้ความเห็นว่า ถ้าหากหลักการ ”ช่วยตนเอง”มีคุณค่าในการส่งเสริมการพัฒนาการของชาติแล้ว เราจะต้องเข้าใจและส่งเสริมให้เหมาะสม อันที่จริงหลักการช่วยตัวเองนี้มิใช่ว่าจะเปลี่ยนแปลงภาระความรับผิดชอบของรัฐบาลไปยังชาวบ้าน แต่มันมีความหมายมากไปกว่านั้น กล่าวคือ การช่วยตัวเอง เป็นการเสริมสร้างรากฐานที่มั่นคงและต่อเนื่องให้แก่ท้องถิ่นได้แก้ปัญหาของตัวเอง ไม่วาเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม แต่จุดประสงค์อันใหญ่หนักไปในทางด้านการเมือง คือ เป็นการเสริมสร้างผู้นำท้องถิ่นหรือการกำหนดวิถีชีวิตของหมู่บ้าน รากฐานที่มั่นคงทางการเมืองเป็นสิ่งที่จาเป็นและสำคัญในการก่อสร้างระบบเศรษฐกิจที่มั่นคงในภูมิภาคและระดับชาติ ดังนั้นงานที่จะมอบหมายให้แก่พัฒนากร ควรที่อยู่ในแนวนี้ คือ การเสริมสร้างผู้นำท้องถิ่น การกำหนดวิถีชีวิตของท้องถิ่นเอง และการกระตุ้นจัดตั้งกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ ส่วนงานที่ต้องใช้วิชาการมาก เช่นการก่อสร้างถนน เขื่อน การทำนาสมัยใหม่ และการปรับปรุงอนามัยและสุขาภิบาลในหมู่บ้าน ควรมาเป็นอันดับสอง นอกจากนี้ พัฒนากรควรมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการพัฒนาหมู่บ้าน

๕. ปัญหาด้านการบริหารงาน
๑) เรื่องเบี้ยเลี้ยง ควรใช้ระบบ”การตอบแทนการทำงานหนัก” หรือปรับปรุงให้เหมาะสมเป็นธรรม อาจจ่ายให้กับเจ้าหน้าที่วิชาการจากหน่วยงานอื่นที่มาทำงานให้กับพัฒนากร ด้วย เพื่อให้ได้รับความร่วมมืออย่างเต็มใจ ถ้าเห็นว่าความร่วมมือนั้นมีความจำเป็นยิ่ง
๒) แบบรายงาน แบบสำรวจข้อมูล ควรให้มีน้อยที่สุด เพื่อลดภาระงานด้านหนังสือของพัฒนากร  ข้อมูลในรายงานที่ต้องทำควรจะเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์และใช้ประโยชน์ในการวางแผนการบริหารงานอย่างจริง ๆ ซึ่งสิ่งนี้ควรจะได้เป็นจุดประสงค์เบื้องต้นของการรายงาน รายงานควรจะไม่ใช่เพื่อวัตถุประสงค์ในการวัดผลการทำงานของพัฒนากร  หรือเพื่อการพิจารณาความดีความชอบ เพราะการกระทำเช่นนั้นจะทำให้พัฒนากร ให้ข้อความที่ไม่เป็นจริง ดังนั้นจึงเสนอว่า การจัดทำระบบการรายงานจากท้องที่ที่มีประสิทธิภาพควรเป็นเป้าหมายอันดับแรก ซึ่งการดำเนินการเช่นนี้จำต้องอาศัยความช่วยเหลือจากบุคคลที่มีความสามารถในด้านนี้โดยทั่วไป และแบบรายงานควรจะง่าย ซึ่งกินเวลาพัฒนากร น้อยที่สุด ยิ่งไปกว่านั้น แบบรายงานควรจะเป็นแบบที่สามารถวิเคราะห์ด้วยเครื่องจักร IBM หรือวิธีการอื่นที่ทุ่นเวลา สุดท้ายนี้ เจ้าหน้าที่กองวิจัยและประเมินผล ควรดำเนินการสำรวจเบื้องต้นตามแบบ ก. (แบบ ก. คือแบบสำรวจเบื้องต้นเมื่อเปิดเขตพัฒนาอำเภอ) ที่ได้แก้ไขและทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาจากการสำรวจ พัฒนากร ไม่ควรเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการสำรวจทั้งหมด ควรจะเป็นผู้ช่วยในการสำรวจเพื่อทำความสนิทสนมคุ้นเคยกับสภาวการณ์ของท้องถิ่น
๓) การขาดการประสานงานระหว่างองค์การ ซึ่งเป็นปัญหาหนักมากและจาต้องได้รับการแก้ไขในระดับอำเภอ จังหวัดและชาติ การประสานงานมีความหมายมากกว่าความ”เต็มใจ” หรือสปิริตของความร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่ทางวิชาการและข้าราชการจากหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ยังจาต้องเปลี่ยนโครงร่างและนโยบายของหน่วยงานของรัฐบาลทุกระดับ เช่น ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ทางวิชาการในท้องที่ซึ่งมีส่วนโดยตรงในเรื่องนี้จะต้องจัดให้มีพื้นฐานของการทำงาน เพื่อที่จะประสานงานให้มีประสิทธิภาพ นอกจากนั้น ยังจาต้องเปลี่ยนทัศนคติของเจ้าหน้าที่ทางวิชาการในท้องที่เหล่านี้ นอกจากนี้ หน่วยงานส่วนกลาง และจังหวัดจะต้องอานวยความสะดวกให้กับการทำงานของพัฒนากร  และต้องสนับสนุนข้อมูลข่าวสารและวัสดุที่จาเป็นให้กับพัฒนากร การออกเยี่ยมเยียนท้องที่ของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เป็นสิ่งที่จะช่วยให้การสื่อสารระหว่างพัฒนากรกับส่วนกลางเป็นไปได้เร็วขึ้น

ดร.โตชิโอ ยัตสุชิโร เห็นว่า ความสำเร็จของโครงการพัฒนาชุมชนไม่ได้ขึ้นอยู่กลไกการบริหารอย่างอื่นเท่ากับคุณภาพในการปฏิบัติงานของพัฒนากร  ถ้าหากพัฒนากร ล้มเหลว ทำงานไม่ได้ผล ก็จะไม่มีอะไรมาปูองกันมิให้โครงการพัฒนาชุมชนล้มเหลวได้ ขวัญกาลังใจของพัฒนากรจึงเป็นปัจจัยสำคัญของความสำเร็จในโครงการพัฒนาชุมชน

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อขวัญกาลังใจของพัฒนากร  ก็คือ การยอมรับรู้ (Recognition) ในการดำเนินงานของพัฒนากรในท้องที่ที่ห่างไกลเต็มไปด้วยภาวการณ์ที่ยากลำบาก พัฒนากรต้องการการยอมรับรู้ และหากขาดการยอมรับรู้ที่เหมาะสมแล้ว คนที่ดี ๆ และมีความเสียสละก็จะกลายเป็นผู้ที่ท้อถอย และเข้าใจผิด จะทำให้มีผลกระทบกระเทือนต่อการทำงาน พัฒนากรเองได้กลาวอย่างเปิดเผยว่า ผู้ใดที่ทำงานดีควรจะได้รับรางวัลอย่างใดอย่างหนึ่ง มีข้อเสนอบางอย่างว่า โครงการพัฒนาชุมชนที่ดำเนินการสำเร็จโดยพัฒนากร ควรจะได้มีประกาศเผยแพร่ในวงราชการ หมู่เพื่อนพัฒนากรด้วยกัน และชาวบ้านทั้งในระดับชาติและระดับภูมิภาค พัฒนากร ขอให้เจ้าหน้าที่ระดับสูงออกเยี่ยมเยียนในท้องที่ให้มากขึ้นและเป็นประจำสม่าเสมอ ทั้งนี้ จะเป็นโอกาสให้พัฒนากร จะได้อภิปรายปัญหาที่เกิดขึ้นในท้องที่รวมทั้งปัญหาส่วนตัว และทั้งยังได้อวดผลงานที่สำเร็จต่าง ๆ ด้วย

วิธีการให้การยอมรับรู้แก่พัฒนากร นั้น มีอยู่หลายประการด้วยกัน นอกจากจะโดยวิธีการเลื่อนตำแหน่งและเงินเดือนแล้ว ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่อาจจะดำเนินการโดยกล่าวคาชมเชย เป็นการส่วนตัวหรือด้วยทางจดหมาย หรืออาจจะกล่าวถึงเป็นพิเศษในพิธีการสาธารณะที่มีเจ้าหน้าที่ชั้นสูงร่วมอยู่ เช่น คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือแม้แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ หรืออาจะมีการกล่าวถึงประวัติของพัฒนากรเป็นส่วนบุคคลในหนังสือพิมพ์ระดับชาติหรือนิตยสาร หรือทางวิทยุและโทรทัศน์ หรืออาจจะเชิญพัฒนากรที่ได้รับการคัดเลือกปรากฏตัวทางวิทยุหรือโททัศน์ ในวารสารพัฒนาชุมชนอาจสละเนื้อที่สาหรับลงข่าว “พัฒนากร ในรอบเดือน” ไว้เป็นประจำ นอกจากนี้ยังคงมีวิธีการอื่น ๆ อีกมากมายสาหรับให้รางวัลพัฒนากร ที่ปฏิบัติงานดี

นอกจากการยอมรับรู้แล้ว พัฒนากร ทุกคนอยากที่จะได้รับการยกย่องว่าพวกเขาเป็นสมาชิกที่สำคัญของกลุ่ม (รัฐบาลหรือกรมฯ) ที่จะขาดเสียมิได้ในการดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ (วัตถุประสงค์ของการพัฒนาชุมชน) หรือพัฒนากร เป็นผ้ที่มีบทบาทสำคัญและมีความหมายต่อการดำเนินงานของกลุ่ม คาร้องขอของพัฒนากรให้มีการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นระหว่างพวกเขากับคณะผู้บริหารเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
ความล่าช้าของกรมฯ ในการดำเนินการตามคาร้องขอหรือคาถามของพัฒนากร  ละการละเลยเพิกเฉยต่อปัญหาในท้องที่และที่เกี่ยวข้อง จะทำให้พัฒนากร รู้สึกขมขื่นใจและเข้าใจว่าตนได้ถูกทอดทิ้ง ดังนั้น ผู้บริหารโครงการพัฒนาชุมชน จะต้องมีความผูกพันกับพัฒนากร โดยปฏิบัติการให้เป็นที่สะดวกและเหมาะสม เพื่อที่จะให้โครงการพัฒนาชุมชนดำเนินการในท้องที่เป็นไปตามที่คาดหวัง ปัญหาใหญ่ ๆ ในท้องที่ซึ่งพัฒนากรต้องประสบจาต้องได้รับการพิจารณาอย่างเหมาะสม เพื่อที่จะแก้ให้หมดไปโดยเร็วเท่าที่จะทำได้ ถึงแม้ว่า มาตรการในการแก้ไขปัญหาในระยะแรกอาจจะไม่สามารถแก้ปัญหาให้หมดไปโดยสิ้นเชิง แต่การที่ผู้บริหารได้มีปฏิกิริยาสนองตอบโดยทันทีทันใด

และโดยจริงใจ จะช่วยทำให้พัฒนากร เชื่อมั่นในตัวผู้บริหารและในโครงการโดยส่วนรวม ไม่มีอะไรที่จะทำอันตรายต่อขวัญของพัฒนากรได้มากไปกว่าการขาดการดำเนินการตามที่กล่าวไว้ในตอนนี้
ผู้บริหารจาต้องใช้ความพยายามทุกประการ เพื่อให้มีระบบการสื่อสารไปและกลับ ระหว่างผู้บริหารกับพัฒนากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จาต้องส่งเอกสารที่สำคัญ ๆ ข่าวสารและวัสดุที่จาเป็นในท้องที่ให้แก่พัฒนากร  ข้อเสนอของโครงการในหมู่บ้าน คาร้องขอและคาถามที่ด่วนที่พัฒนากรเสนอขึ้นมา จะต้องได้รับการดำเนินการโดยทันทีทันใด การไปเยี่ยมเยียนในท้องที่ของเจ้าหน้าที่ชั้นสูงจะช่วยแก้ปัญหาการสื่อสารไปและกลับได้ดีขึ้น และจะสามารถแก้ปัญหาที่ใหญ่ ๆ ในท้องที่ได้

ผู้บริหารจะต้องใช้ความพยายามทุกวิถีทางที่จะนามาซึ่งความร่วมมือที่จาเป็นจากเจ้าหน้าที่วิชาการและข้าราชการของกระทรวงทบวงกรมอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับอำเภอ และจังหวัด เพื่อที่จะทำให้โครงการของหมู่บ้านได้รับบริการและความช่วยเหลือที่จาเป็นตามคาร้องขอของพัฒนากร ละชาวบ้าน นอกจากนี้ ลักษณะงานในหน้าที่ของพัฒนากร จะต้องทำให้กระจ่างชัด



ข้อเสนอต่าง ๆ ที่กล่าวไว้ข้างต้นนี้ ถ้าหากปฏิบัติตามก็จะมีส่วนช่วยผดุงขวัญของพัฒนากร ให้ดีขึ้น เพราะพัฒนากร จะมีความรู้สึกว่าตัวเองได้รับการยอมรับว่าเป็นส่วนที่สำคัญ และมีคุณค่าต่อกลุ่มและขบวนการ (รัฐบาลและโครงการพัฒนาชุมชน) และเป็นผู้ที่มีบทบาทอย่างสำคัญในการดำเนินงานของกลุ่ม สุดท้ายนี้ คุณภาพของการเป็นผู้นำที่แสดงออกโดยผู้บริหารจะมีผลอย่างสำคัญต่อขวัญของพัฒนากร  เพื่อที่จะสร้างความเชื่อมั่นของพัฒนากร และในขณะเดียวกันจะเป็นการนาโครงการพัฒนาชุมชนก้าวต่อไปข้างหน้า เจ้าหน้าที่ชั้นสูงที่รับผิดชอบโดยตรงต่อโครงการพัฒนาชุมชนจะต้องแสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำที่เข้มแข็งไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค มิใช่แสดงแต่เพียงอำนาจประการเดียว และเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์นี้ ผู้บริหารจะต้องให้ความสนใจอย่างทันทีทันใดและอย่างมีประสิทธิภาพต่อความต้องการและปัญหาของพัฒนากร ซึ่งได้กล่าวไว้อย่างมากมายแล้วในรายงานฉบับนี้ ข้อเสนอแนะต่าง ๆ สาหรับการดำเนินงานด้านบริหารซึ่งได้กล่าวมาแล้วในบทนี้ก็เพื่อที่จะช่วยผู้บริหารในเรื่องนี้ การที่พัฒนากรได้รับรู้ว่าจะได้รับการสนับสนุนจากกรมฯ และถือว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการที่มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานที่มีเกียรติ และตนเป็นผู้มีบทบาทสำคัญ งานของตนได้รับการยอมรับจากเจ้าหน้าที่ชั้นสูงและจากสาธารณะ พัฒนากร ก็สามารถขจัดความยุ่งยากใจได้หมดไป และตั้งต้นใหม่ด้วยความเชื่อมั่น ซึ่งจะทำความสำเร็จสู่โครงการพัฒนาชุมชนได้ ดังนั้น ข้อเสนอก็คือ ผู้บริหารจาต้องให้ความสนใจต่อขวัญของเจ้าหน้าที่ในท้องที่ให้มาก เพื่อที่จะให้การดำเนินงานพัฒนาชุมชนบรรลุผลสำเร็จ ซึ่งหมายความว่าจาเป็นที่จะต้องยอมรับรู้ถึงความต้องการและปัญหาต่าง ๆ ของพัฒนากรและจะต้องปฏิบัติตามข้อเสนอเพื่อแก้ปัญหาเหล่านั้น 

ปัจจุบัน  พัฒนากรเองก็ต้องปรับตัวเองให้สามารถทำงานกับระบบราชการในยุคใหม่ เพราะ บางภารกิจก็ถูกลิดรอน ตามสถานการณ์ร่วมสมัยกับงานพัฒนาชุมชนของประเทศที่มีปัญหาเชิงโครงสร้างการบริหารงานภาครัฐในพื้นที่ระดับอำเภอ และไม่ลืมที่จะน้อมนำยุทธศาสตร์พระราชทาน "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา" มาถือปฏิบัติ





เนื้อหาส่วนใหญ่คัดจาก: 
๑. https://www.facebook.com/PrachachnThiy/posts/767250566723699
๒. http://www.cdd.go.th/web/cdd_about.php

No comments:

Post a Comment