การจัดทำนโยบายสาธารณะ/แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมของหน่วยงาน ที่มีประชาชนเป็นกลุ่มเป้าหมาย ปัญหาคือ หน่วยงานขาดการบริการหลังการขายที่เหมาะสม (ไม่มีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง ไม่ได้ศึกษาผลกระทบ ไม่มีมาตรการ/แผนงานทางเลือก รวมทั้งขาดมาตรการ/วิธีการควบคุมที่ดี ฯลฯ) ตัวอย่าเช่น กองทุนหมุนเวียนให้กู้ยืม โครงการฝึกอบรม สนับสนุนอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือ ฯลฯ มิฉะนั้นแล้ว จะถือว่า สักแต่ทำงานให้พ้น ๆ
ประเด็นนี้ สามารถเปรียบเทียบกับค่ายโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ รถยนต์ ฯลฯ ยังเห็นได้ชัด ค่ายไหนมีการบริการหลังการขายที่ดี จะเป็นที่ชื่นชอบของลูกค้า หากสามารถส่งคืนผลิตภัณฑ์/สินค้าเดิมและแลกกับผลิตภัณฑ์/สินค้ารุ่นใหม่ได้ จากการเป็นลูกค้าธรรมดา ก็จะยกฐานะเป็นสาวก แม้นว่า ลูกค้าจะเป็นผู้ออกสตางค์ก็ตาม มีการตั้งกลุ่มออนไลน์ คนรักผลิตภัณฑ์โน้น สินค้านี้...
สาปีนะห์ แมงสาโมง
อย่าว่าแต่บริการหลังการขายหรอกครับ เอาแค่ไม่ได้ทำเพราะนโยบายสั่งมา..ก็เลยทำแต่เปลือกนอก..ไม่เคยมาปรับและปรึกษาให้ถ่องแท้กับบริบทของพื้นที่..ไม่ได้มีการถอดบทเรียนจากโครงการที่ผ่านมา...มีโครงการ..หนึ่งในพื้นที่บ้านเรา...เจอแต่หลังเสื้อที่แจกให้กับคนในชุมชน..ปีนี้....ปี้นั้น...แล้วก็ปีนี้ ความรู้ที่ชาวบ้านได้ คือ ออ.ถ้าโครงการนี้ รู้แต่ต้องใช้เงินนหมดภายในกิจกรรมเดียว วันเดียว ซื้ออะไร ได้บ้าง ทำอะไรได้บ้าง...ชาวบ้านไม่เคยเรียนรู้ได้มากกว่านี้ เพราะเจ้าหน้าที่ไม่เคยได้ตั้งโจทย์ก่อนทำและทำ...ห่างไกลการประเมิน.ไม่เคยคิดเสี่ยงหรือ ท้าทายปัญหาให้ทุกคนมาร่วมแก้ แลกเปลี่ยน ร่วมค้นหา......ไม่เคยเอาสถิติ งานวิจัยชุมชนใกล้ตัวมาดูไม่เคย...ไม่เคย...ไม่เคย ไม่ได้ร้อนแรง..แต่กำลังร้องเพลงอย่างมีความสุข...เพราะดีใจที่รัฐจะมีบริการหลังการขาย..
อย่าว่าแต่บริการหลังการขายหรอกครับ เอาแค่ไม่ได้ทำเพราะนโยบายสั่งมา..ก็เลยทำแต่เปลือกนอก..ไม่เคยมาปรับและปรึกษาให้ถ่องแท้กับบริบทของพื้นที่..ไม่ได้มีการถอดบทเรียนจากโครงการที่ผ่านมา...มีโครงการ..หนึ่งในพื้นที่บ้านเรา...เจอแต่หลังเสื้อที่แจกให้กับคนในชุมชน..ปีนี้....ปี้นั้น...แล้วก็ปีนี้ ความรู้ที่ชาวบ้านได้ คือ ออ.ถ้าโครงการนี้ รู้แต่ต้องใช้เงินนหมดภายในกิจกรรมเดียว วันเดียว ซื้ออะไร ได้บ้าง ทำอะไรได้บ้าง...ชาวบ้านไม่เคยเรียนรู้ได้มากกว่านี้ เพราะเจ้าหน้าที่ไม่เคยได้ตั้งโจทย์ก่อนทำและทำ...ห่างไกลการประเมิน.ไม่เคยคิดเสี่ยงหรือ ท้าทายปัญหาให้ทุกคนมาร่วมแก้ แลกเปลี่ยน ร่วมค้นหา......ไม่เคยเอาสถิติ งานวิจัยชุมชนใกล้ตัวมาดูไม่เคย...ไม่เคย...ไม่เคย ไม่ได้ร้อนแรง..แต่กำลังร้องเพลงอย่างมีความสุข...เพราะดีใจที่รัฐจะมีบริการหลังการขาย..
ตอบ เขาเรียกว่า โครงการสิ้นคิด...ไม่รู้จะทำอะไรแล้ว...เพื่อใช้งบประมาณให้หมด มิฉะนั้น จะไม่ผ่านตัวชี้วัด...เพื่อให้เงินจากรัฐบาลกลางกระจายไปสู่พื้นที่ และให้เศรษฐกิจในพื้นที่เกิดการหมุนเวียนโดยมีเงินลงทุนจากภาครัฐเป็นตัวกระตุ้นตามกฎของ Irving Fisher (MV=PT) จะนำไปสู่ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศตามหลัก GDP = C+I+G+(X-M) ในส่วนค่า G คือ Government Spending หรือ Government Expenditure ...ในส่วนของ Demand Side... และการกระจายรายได้สู่ชุมชน ...ในส่วนของ Supply Side... ไม่เชื่อ ลองถาม ท่าน ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ซิ...
นั่นดี...ยังซื้อเสื้อแจก...ชาวบ้านจะได้มีเสื้อใส่ และคนจะได้รู้ว่า ชาวบ้านกลุ่มนี้ เป็นกลุ่มของใคร...ใครดูแลเขาอยู่...ชาวบ้านมีที่พึ่งแล้ว...เกิดความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์... ดีไม่ดี พ่นชื่อคนสนับสนุนบนเสื้อให้อีก...หรือไม่ก็เขียนป้ายขอบคุณตัวเอง...ว่า “ชาวบ้าน...........ขอบคุณท่าน..................ได้แจกเสื้อดี ๆ ให้กับพวกเรา”
เป็นอันว่า ชาวบ้าน มีเสื้อใส่...แต่ประเภทเบียดเบียนเงินคนจน คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส...ทำโครงการแล้วมีการหัก ณ ที่จ่าย โดยมีชาวบ้านเป็นเหยื่อ.... อย่างงี้ กฎ Irving Fisher ก็ช่วยไม่ได้ครับ...เงินไม่ได้กระจายไปสู่พื้นที่ แต่กระจุกอยู่ที่ใครคนใดคนหนึ่งเสียแล้ว...
พิศิษฐ์ วิริยสกุล
ส่วนใหญ่เป็นเช่นนั้นไม่ใช่หรือ... ส่วนน้อย "คิดไกล" แต่นาย "คิดไม่ถึง" ... ที่สำคัญตีโจทย์นโยบายไม่ออก จะเดินหน้าเดินหลังก็กลัว วนอยู่แต่ในกรอบให้จบโครงการ... ที่เห็นทั่วไปคล้ายอย่างนี้ จริงหรือเปล่าครับ
ส่วนใหญ่เป็นเช่นนั้นไม่ใช่หรือ... ส่วนน้อย "คิดไกล" แต่นาย "คิดไม่ถึง" ... ที่สำคัญตีโจทย์นโยบายไม่ออก จะเดินหน้าเดินหลังก็กลัว วนอยู่แต่ในกรอบให้จบโครงการ... ที่เห็นทั่วไปคล้ายอย่างนี้ จริงหรือเปล่าครับ
ตอบ ที่ผ่านมา รัฐจะมอบนโยบายผ่านหน่วยงานที่สังการง่าย รับรู้คำสั่งได้เร็ว และเสนอหน้าว่า สามารถทำได้และบอกว่า หน่วยงานตนเอง มีความพร้อม .... หน่วยงานมีปัญหาไว้แก้ภายในที่หลัง เวลารายงานก็บอกแต่สิ่งดี ๆ ไม่มีการประเมินแบบตรงไปตรงมา... หากหน่วยงานจ้างประเมินก็ไปจ้างหน่วยงานภายนอก ... ไม่ได้มาประเมินเอง เพื่อแก้ปัญหาตามหลักการประเมิน...แต่ประเมินเพื่อสร้างความชอบธรรม .. รู้อยู่แล้ว ถ้าจ้างคนมาประเมิน.. .เขาจะสรุปข้อมูลตามแต่คนจ้างต้องการ...
ละม้าย มานะการ
เห็นใจราชการนะ จริงๆ พี่บักรี จนไม่อยากไปประสานงานขอการสนับสนุน เพื่อช่วยชาวบ้าน กลัวพี่น้องข้าราชการลำบากใจค่ะ
แต่ก้อนะ ดูเหมือนเอ็นจีโอจะถูกกล่าวหาบางอย่าง จากคนของรัฐ มากกว่าชม เรานิออกเห็นใจราชการ .. รู้ว่าพี่เข้าใจ ค่ะ
เห็นใจราชการนะ จริงๆ พี่บักรี จนไม่อยากไปประสานงานขอการสนับสนุน เพื่อช่วยชาวบ้าน กลัวพี่น้องข้าราชการลำบากใจค่ะ
แต่ก้อนะ ดูเหมือนเอ็นจีโอจะถูกกล่าวหาบางอย่าง จากคนของรัฐ มากกว่าชม เรานิออกเห็นใจราชการ .. รู้ว่าพี่เข้าใจ ค่ะ
ตอบ เห็นใจชาวบ้านเถอะ...บางคนยังขาดปัจจัย ๔ ไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง บางคนไม่มีข้าวกรอกหม้อ เด็ก ๆ ใส่เสื้อชุดเดียวเป็นปีแล้วก็มี คนจนป่วยได้รับการรักษาพยาบาลไม่เหมือนคนมีสตางค์ ที่สามารถจ่ายค่ายาประเภทพิเศษ นอนห้องพิเศษ ได้ ...
ส่วนเจ้าหน้าที่ของรัฐ...ขี้หมูขี้หมา ก็มีเงินเดือนใช้ในแต่ละเดือน...และงานบริการประชาชน บำบัดทุกข์ บำรุงสุข เป็นหน้าที่ที่ละเว้นไม่ได้...ข้าราชการไทยทุกคนต้องตระหนัก... คำสั่งการนี้ มีมาตั้งแต่กรมพระยาดำรงราชานุภาพ...ข้าราชการต้องรองเท้าขาด ก่อนที่จะกางเกงขาด...เว้นแต่มีเหตุผลอื่นที่ต้องอธิบายและหาแนวทางแก้ไข...
ในปัจจุบัน ข้าราชการทำงานในพื้นที่โดยไม่อาศัยภาคีร่วมพัฒนา จะยากขึ้น ภาคประชาสังคม จะต้องมีบทบาทในการพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน พัฒนาประเทศ ...รัฐบาลได้กำชับเจ้าหน้าที่ให้การทำงานลักษณะประชารัฐ... เว้นแต่เขาไม่ได้เชิญภาคีอื่นเข้ามาร่วม...ก็อยู่ที่ตัวบุคคล...คนเรามันมีหลายประเภท...ประเภทสำนึกรักประชาชน ทำงานแบบมีส่วนร่วม ต้องการตอบแทนคุณแผ่นดิน... ประเภทรสนิยมสูง แต่รายได้ต่ำ เบียดเบียนทุกอย่างที่ทำได้ สะสมเป็นสมบัติไว้ใช้ตอนเกษียณอายุ...พอตายไป ก็นำไปไม่ได้...มีแต่คำสาปแช่งจากลูกหลาน...
เป้าหมายสุดท้ายของการพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน คือ คุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน...การพัฒนาชุมชน คือ การพัฒนาประเทศ
Chongdee Thummakhun
ภาพรวมจริงๆเหมือนกับที่หัวหน้าพูดแต่ทำไม?ประชาชนก็ยังย่ำอยู่กับที่ยังไม่หลุดพ้นพันทนาการ
ภาพรวมจริงๆเหมือนกับที่หัวหน้าพูดแต่ทำไม?ประชาชนก็ยังย่ำอยู่กับที่ยังไม่หลุดพ้นพันทนาการ
ตอบ ผมมองว่า.. ประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน ไม่สามารถพึ่งพากันเองได้ดี..ครับพี่... จึงยังไม่สามารถหลุดพ้นพันทนาการ... ตามพี่ ๆ รุ่นก่อนหน้าผมวิเคราะห์ไว้ คือ ๔จ (จน เจ็บ จ๋อง โจร) เพราะติดปัญหาซ่อนเร่น ที่เขาไม่พูด ไม่กล้าบอก อยากจะหลบหลีกหนีจากหมู่บ้าน/ชุมชน ใน ๓ ปัญหาหรืออย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
๑) ความขัดแย้งทางความคิด ที่มาจากการเลือกตั้งในชุมชน เกิดการแบ่งพรรคแบ่งพวก... เราจัดเวที ถึงชาวบ้านจะมาร่วม เขาก็ไม่พูด ไม่เสนอ ไม่คัดค้าน... บางคนไม่มาร่วมเวทีเลย... แต่เขาไม่ให้ความร่วมมือ...
๒) ครอบครัวเขาถูกทำลายทั้งกายใจ ทรัพย์สมบัติ เกียรติยศชื่อเสียง เพราะยาเสพติด... เท่าที่พบมา... ครอบครัวเคยรวย ชอบช่วยเหลือสังคม... พอลูกติดยา ทุกอย่างกลับตัลปัตรหมด... นาน ๆ เข้า.. ลูกกลับทำลายคนที่รักเขา..พ้อ แม่ พี่ น้อง ... ไปคบกับคนขายยาที่ต้องการฆ่าเขาและพ่อแม่เขา... ผมประสบกับญาติพี่น้องเองด้วย... จึงรับรู้ความรู้สึกนี้ดี...
๓) ความน่าเชื้อถือในหมู่บ้านและความมั่นใจกับเพื่อนบ้าน ผู้นำในหมู่บ้าน หายไป เพราะหนี้สิน กู้ยืมแล้วไม่จ่าย โดยเฉพาะหนี้จากกองทุนหมุนเวียนของรัฐ... เขาหมดศรัทธากันเองแล้ว ทำอย่างไร ความสามัคคี การให้ความร่วมมือมันก็ทำได้ไม่เต็มที่ ... คนที่เป็นหนี้ ไม่สามารถจ่ายได้เพราะฐานะยากจน ก็พยายามจะหลบหนีจากสังคมหมู่บ้าน/ชุมชน อีกประเภทหนึ่งคือ ชอบเป็นหนี้แล้วไม่จ่ายโดยสันดาน... มาเรียกร้องอะไรจากชาวบ้าน แล้วใครจะไปเชื่อครับ! ไหนไปเบี้ยวงบโครงการที่ลงไปไหนหมู่บ้าน/ชุมชนอีก...
๑) ความขัดแย้งทางความคิด ที่มาจากการเลือกตั้งในชุมชน เกิดการแบ่งพรรคแบ่งพวก... เราจัดเวที ถึงชาวบ้านจะมาร่วม เขาก็ไม่พูด ไม่เสนอ ไม่คัดค้าน... บางคนไม่มาร่วมเวทีเลย... แต่เขาไม่ให้ความร่วมมือ...
๒) ครอบครัวเขาถูกทำลายทั้งกายใจ ทรัพย์สมบัติ เกียรติยศชื่อเสียง เพราะยาเสพติด... เท่าที่พบมา... ครอบครัวเคยรวย ชอบช่วยเหลือสังคม... พอลูกติดยา ทุกอย่างกลับตัลปัตรหมด... นาน ๆ เข้า.. ลูกกลับทำลายคนที่รักเขา..พ้อ แม่ พี่ น้อง ... ไปคบกับคนขายยาที่ต้องการฆ่าเขาและพ่อแม่เขา... ผมประสบกับญาติพี่น้องเองด้วย... จึงรับรู้ความรู้สึกนี้ดี...
๓) ความน่าเชื้อถือในหมู่บ้านและความมั่นใจกับเพื่อนบ้าน ผู้นำในหมู่บ้าน หายไป เพราะหนี้สิน กู้ยืมแล้วไม่จ่าย โดยเฉพาะหนี้จากกองทุนหมุนเวียนของรัฐ... เขาหมดศรัทธากันเองแล้ว ทำอย่างไร ความสามัคคี การให้ความร่วมมือมันก็ทำได้ไม่เต็มที่ ... คนที่เป็นหนี้ ไม่สามารถจ่ายได้เพราะฐานะยากจน ก็พยายามจะหลบหนีจากสังคมหมู่บ้าน/ชุมชน อีกประเภทหนึ่งคือ ชอบเป็นหนี้แล้วไม่จ่ายโดยสันดาน... มาเรียกร้องอะไรจากชาวบ้าน แล้วใครจะไปเชื่อครับ! ไหนไปเบี้ยวงบโครงการที่ลงไปไหนหมู่บ้าน/ชุมชนอีก...
แล้วปัญหาในหมู่บ้าน/ชุมชน ต้องคนในหมู่บ้าน/ชุมชนร่วมกันแก้ ถ้าร่วมกันไม่ได้... การแก้ปัญหา...ก็จะไม่เกิด ครับ! ประเทศที่เข้มแข็ง เหมือน เยอรมัน ญึ่ปุ่น ประชาชนเขาพึ่งพากันเองครับ รวมกลุ่มคิด แก้ปัญหา ที่เราเรียกว่า ประชาสังคม หรือ CSO (Civil Society Organization) ... เยอรมัน เราไปลอกรัฐธรรมนูญเขามาใช้...ญึ่ปุ่น เราไปลอกงานเศรษฐกิจฐานราก (OVOP) มาใช้เป็น OTOP ครับ! แต่จนกว่าเขาจะเป็นอย่างทุกวันนี้ เขามาจากคนในหมู่บ้าน/ชุมชน เป็นผู้นำการพัฒนา เจ้าหน้าที่ของรัฐเพียงแค่สนับสนุน ประสานงานให้ ครับ!
พิศิษฐ์ วิริยสกุล
ประเทศเราออกแบบวางระบบโครงสร้างการจัดการประเทศเก่ง... หรือเราจำมาจากไปขี่ม้าชมเมืองประเทศอื่น แต่เราไม่เรียนรู้การสร้างจิตสำนึกของคนในประเทศนั้น... การพัฒนาจึงเป็นแบบหยิบยื่นกับรอรับมากกว่าครับ
ประเทศเราออกแบบวางระบบโครงสร้างการจัดการประเทศเก่ง... หรือเราจำมาจากไปขี่ม้าชมเมืองประเทศอื่น แต่เราไม่เรียนรู้การสร้างจิตสำนึกของคนในประเทศนั้น... การพัฒนาจึงเป็นแบบหยิบยื่นกับรอรับมากกว่าครับ
ตอบ เราลอกคนอื่นเขา... โดยไม่รู้ ต้นสาย ปลายเหตุ... ทั้งคำถาม วิธีทำ เพราะเห็นคำตอบมันดี... พอนำไม่ใช้บ้านเรา ใช้คำถาม วิธีทำ เดียวกัน แต่คำตอบออกมาคนละเรื่อง เพราะผู้ที่ถามคนละคนกัน นิสัย พฤติกรรม ความชอบ ความเชื่อ ค่านิยม ไม่เหมือนกันกันแล้ว... หวังคำตอบให้เหมือนเขาได้อย่างไร...
ต้องเปลี่ยนใหม่ ครับ! ... บ้านเราต้องหาคำตอบจากคนที่เราจะถามก่อน แล้วค่อยหาวิธีทำที่เหมาะสม แล้วค่อยไปตั้งคำถามให้ตรงคำตอบ... แต่เราไม่ได้ทำ...หรือทำไม่ได้.. หรือไม่รู้วิธี... ผลกระทบในระยะยาว จึงเกิดขึ้น... มาตรการ/การควบคุมก็ไม่มี...
สุดท้าย เราก็ไปไม่ถูก.. ก็ต้องมาเริ่มใหม่... กลายเป็นทำอะไร ก็จะออกมา... หนึ่ง...สอง...สาม... ศูนย์... เริ่มใหม่... เหมือนรถ เน้นตอนสตาร์ท... มีพิธีการใหญ่โตอลังการ (kick off) ตีปี๊บ... พอเข้าเกียร์หนึ่ง เกี่ยร์สอง เกี่ยร์สาม...รถก็ดับ... ต้องมาสตาร์ทใหม่...วนอยู่อย่างนี้.. ไม่ได้ดูว่าใส่น้ำมันตรงกับเครื่องยนต์ของรถหรือเปล่า รถรับน้ำหนักไวไหม.. บางครั้งคนที่รับภาระเป็นรถบรรทุกเล็ก เราทำเป็นรถบรรทุกใหญ่... พังกับพัง.. ครับ!...
สุดท้าย เราก็ไปไม่ถูก.. ก็ต้องมาเริ่มใหม่... กลายเป็นทำอะไร ก็จะออกมา... หนึ่ง...สอง...สาม... ศูนย์... เริ่มใหม่... เหมือนรถ เน้นตอนสตาร์ท... มีพิธีการใหญ่โตอลังการ (kick off) ตีปี๊บ... พอเข้าเกียร์หนึ่ง เกี่ยร์สอง เกี่ยร์สาม...รถก็ดับ... ต้องมาสตาร์ทใหม่...วนอยู่อย่างนี้.. ไม่ได้ดูว่าใส่น้ำมันตรงกับเครื่องยนต์ของรถหรือเปล่า รถรับน้ำหนักไวไหม.. บางครั้งคนที่รับภาระเป็นรถบรรทุกเล็ก เราทำเป็นรถบรรทุกใหญ่... พังกับพัง.. ครับ!...
ช่วยกันใส่ใจเถอะครับ บ้านเมือง... ต้องช่วยกันดูแล รักษา เป็นมรดกตกทอดไปถึงลูกหลาน... ไม่ใช่จะจบแค่รุ่นเรา...
ละม้าย มานะการ
เคยฝันว่า ราชการจะแทรกกรอบมาเปิดทางเอื้อต่อพี่น้อง
เคยฝันว่า ราชการจะแทรกกรอบมาเปิดทางเอื้อต่อพี่น้อง
ตอบ ก็ต้องเป็นแบบที่ว่า ... ถ้าต้องการให้งานพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชนได้รับการแก้ปัญหาโดยคนในหมู่บ้าน/ชุมชนมีส่วนร่วม ...
แต่มันยังติดที่โครงสร้างการบริหารภาครัฐในระดับอำเภอ/ตำบล ท้องถิ่น/ท้องที่ ที่ยังขัด ๆ กันอยู่... หน่วยงานที่ถูกสั่งการ ก็สั่งให้ทำแต่งงาน ... หน่วยงานที่ให้งบไป ก็ติดระเบียบเบิกจ่ายไม่ได้ ... บางครั้งต้องหาวิธีแก้ด้วยการบริจาคเงิน สมทบ เรี่ยไร กันเอง เพื่อให้งานมันเดิน...
แต่มันยังติดที่โครงสร้างการบริหารภาครัฐในระดับอำเภอ/ตำบล ท้องถิ่น/ท้องที่ ที่ยังขัด ๆ กันอยู่... หน่วยงานที่ถูกสั่งการ ก็สั่งให้ทำแต่งงาน ... หน่วยงานที่ให้งบไป ก็ติดระเบียบเบิกจ่ายไม่ได้ ... บางครั้งต้องหาวิธีแก้ด้วยการบริจาคเงิน สมทบ เรี่ยไร กันเอง เพื่อให้งานมันเดิน...
เสียดาย... รัฐบาล มี ปยป. แต่ไม่มีข้อมูลและไม่ได้ศึกษาปัญหา/อุสรรคที่เกิดขึ้น ในระดับอำเภอ/ตำบล แล้วทำการปฏิรูปโครงสร้างการบริหารจัดการภาครัฐ ในยุคนี้... งานพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน คือ งานพัฒนาประเทศครับ!...
หมู่บ้าน/ชุมชนอ่อนแอ.... คนในหมู่บ้าน/ชุมชน ไม่สามาถพึ่งพากันเองได้ ไม่สามารถดูแล...คนเปราะบาง (Vulnerable Person)...ประเทศชาติจะเข้มแข็งไม่ได้ครับท่าน!
------------------------------------------------
สงสัยนายกฯประยุทธ์ ท่านจะทราบปัญหาแล้ว... หรือมีคนบอก หรือมีคนเขียนสคริปต์ให้ท่าน... หรือท่านพูดดักหน้าก่อน... ขอให้ท่านส่งคนมาศึกษาข้อเท็จจริงในพื้นที่ให้ชัดเจน และดำเนินการปฏิรูปในสมัยที่ท่านเป็นนายกรัฐมนตรีเถอะครับ... ลูกหลานจะได้รับอนิสงส์ ไม่มีที่สิ้ินสุด
------------------------------------------------
สงสัยนายกฯประยุทธ์ ท่านจะทราบปัญหาแล้ว... หรือมีคนบอก หรือมีคนเขียนสคริปต์ให้ท่าน... หรือท่านพูดดักหน้าก่อน... ขอให้ท่านส่งคนมาศึกษาข้อเท็จจริงในพื้นที่ให้ชัดเจน และดำเนินการปฏิรูปในสมัยที่ท่านเป็นนายกรัฐมนตรีเถอะครับ... ลูกหลานจะได้รับอนิสงส์ ไม่มีที่สิ้ินสุด
3. “ไทยนิยม” รอบ 1 รอบ 2 ผลออกมาดี น่าพึงพอใจ เน้นการให้ความรู้ ฝึกใช้เทคโนโลยี สร้างอาชีพ เข้าถึงตลาด online เข้าถึงแหล่งทุน ไม่ใช่การปล่อยกู้ อาจเป็นการลงทุนเพื่อส่วนรวม จัดหาเครื่องมือ พัฒนาพื้นที่ ส่วนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ นั้น อาจจะต้องไปใช้งบประจำ งบท้องถิ่นอื่นที่มีอยู่แล้ว เช่น ที่หนองบัวลำภู ต้องการไฟจราจร สร้างสะพานทางข้าม ทางลอด หรืออุโมงค์ สำหรับ “อีแต๋น” รถเกษตรกรให้กลับรถได้ หลังจากไปไร่นานั้น ผมก็ได้สั่งการให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าไปดูแลและดำเนินการแล้ว ว่าอย่างไรจะเหมาะสม และตอบโจทย์ของพี่น้องประชาชนได้อย่างไร
5. ข้าราชการต้องมีการปฏิรูปตนเอง เนื่องจากวันที่ 1 เมษายน ของทุกปี จะเป็น “วันข้าราชการพลเรือน” ขอให้ยึดมั่นในอุดมการณ์ที่ว่า “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” เราทุกคนเมื่อถอดเครื่องแบบ ถอดหัวโขน คือ ประชาชนเหมือนกัน สำหรับการพัฒนาศักยภาพข้าราชการนั้น ผมอยากจะขอยกตัวอย่างหลักสูตรของกรมการพัฒนาชุมชน ที่มุ่งสร้าง “เพื่อนคู่คิด” ให้กับชาวบ้าน ด้วยการให้หลักคิด มีความเป็นผู้นำ และช่วยกันสร้างภูมิคุ้มกันให้กับชุมชน ลักษณะเด่นของหลักสูตร ก็คือมีทั้งภาควิชาการ ภาคปฏิบัติ และการลงพื้นที่ “คลุกคลีตีโมง” เข้าถึงความคิด ความทุกข์ และจิตใจของชาวบ้าน
ที่ผ่านมามี “พัฒนากร” ประจำพื้นที่ทั่วประเทศเกือบ 4,000 คนลงพื้นที่ เพื่อเก็บข้อมูลและความต้องการของประชาชน ในทีมปฏิบัติการไทยนิยมยั่งยืนด้วย ผมก็อยากเห็นข้าราชการทุกหน่วยงาน มีการฝึกอบรมเช่นนี้ เพื่อผลในการปฏิบัติงาน ผมก็ทราบว่าหลายหน่วยงาน อาจจะทุกหน่วยงานก็ได้ได้มีการฝึกอบรมเช่นนี้ ก็ขอให้ไปทบทวนดู ถึงประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ในการอบรมดังกล่าวว่านำไปใช้งานได้จริงหรือไม่ การทำงานใกล้ชิดประชาชนนั้น ต้องทำใจให้เสมือนเป็น“ญาติพี่น้อง” ให้เกิดความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ร่วมมือกันแก้ปัญหา มากกว่าใช้อำนาจ หรือการบังคับใช้กฎหมายเพียงอย่างเดียว อย่าลืมว่ากฎหมายนั้นมีไว้เพื่ออำนวยความสะดวก ไม่สร้างภาระ แล้วก็ทำให้สังคมนั้นเป็นปกติ สันติสุข
6. การปฏิรูประบบราชการ การบริหารราชการแผ่นดิน เราควรคำนึงถึงการเรียกร้องที่ให้เกิดการกระจายอำนาจให้มากยิ่งขึ้น ผมเองก็ไม่ได้ขัดข้องอะไร เราต้องใคร่ครวญให้รอบคอบถึง “ความพร้อม” ก่อน ไม่ว่าจะส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น สิ่งสำคัญคือ ประชาชนจะต้องพัฒนาตนเองไปด้วย เราต้องส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ให้เกิดการบูรณาการอย่างแท้จริง เราจึงจะพัฒนาประเทศได้ และใช้จ่ายงบประมาณให้เกิดประโยชน์สูงสุด การกระจายอำนาจนั้น อยากให้เข้าใจว่า ไม่ใช่คำนึงถึงแต่เรื่องของงบประมาณ หรืออำนาจ ควรจะพิจารณากันถึงประสิทธิภาพและความพร้อมของข้าราชการ ของหน่วยงาน ของทุกกระทรวง มีความพร้อมเพียงใด หากเรากระจายอำนาจไปมาก ๆ ด้วยการกระจายงบประมาณลงไปเท่านั้น แล้วเราไม่สร้างให้เกิดความพร้อม มีความรู้การบริหารจัดการแผนงาน งบประมาณ โครงการต่าง ๆ การแบ่งสรรปันส่วนงบประมาณลงไปนั้น ก็จะถูกใช้ให้หมดไป โดยไม่เกิดประโยชน์ หรือไม่คุ้มค่า ไม่เกิดผลสัมฤทธิ์ สูญเปล่า แล้วเสี่ยงต่อการเกิดทุจริตคอร์รัปชั่นในกระบวนการอีกด้วย วันนี้ท่านคงเข้าใจว่ามีการกระจายอำนาจไปท้องถิ่นอยู่มากแล้ว เป็นร้อยกิจกรรม แต่ก็ยังไม่เกิดประสิทธิภาพเท่าที่ควรในบางกิจกรรมเนื่องจากท้องถิ่น อปท. หลายแห่งยังขาดความพร้อม ที่ต้องพัฒนาไปด้วยกัน ทั้งระบบ ประสิทธิภาพ งบประมาณ คน ทรัพยากรมนุษย์ ในระบบเพื่อจะทำให้เกิดการบริหารแผนงานโครงการต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลให้มากยิ่งขึ้น
7. เรื่องการทุจริตคอร์รัปชั่น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมานานในสังคมไทย เป็น “สนิม” ในสังคม ในระบบราชการของเรา ปัจจุบันนับว่าเป็นเรื่องที่ดี ที่มีการตรวจสอบจากภาคประชาชน สื่อมวลชน สื่อโซเชียล ขอบคุณ ที่ช่วยกันรักษาผลประโยชน์ของชาติ รัฐบาลและ คสช. ก็เปิดกว้างเพื่อจะเปิดช่องทางรับเรื่องราวร้องเรียนต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่อง สำหรับกรณีที่เป็นข่าว ผมได้สั่งการให้ขยายผลไปทุกที่ ทุกกองทุน ทุกโครงการ ที่หลักฐานจะพาไป และขอให้ประชาชนทุกคน ช่วยให้เบาะแสมาด้วย นอกจากนี้ คสช. ได้กำหนดมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตให้เข้มงวดขึ้น ในการประพฤติมิชอบในระบบราชการ โดยที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ได้เห็นชอบในหลักการ และสั่งการให้ทุกหน่วยงานยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ อย่างเคร่งครัด อาทิ
(1) ในกรณีที่มีการร้องเรียน มีข้อร้องเรียน ให้ส่วนราชการต้นสังกัดดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้นให้แล้วเสร็จภายใน 7 วัน และให้พิจารณาดำเนินการทางวินัยหรือทางอาญาโดยเร็วให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน
(2) กรณีที่มีเหตุน่าเชื่อถือ ที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่ราชการหรือสร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชน แม้ผลการตรวจสอบยังไม่อาจสรุปความผิดได้ชัดเจน ถึงขั้นชี้มูลความผิด ก็ให้พิจารณาปรับย้ายข้าราชการที่เกี่ยวข้องไปดำรงตำแหน่งอื่นเป็นการชั่วคราว เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ ก็ไม่ได้หยุดเพียงแค่นั้นนะครับก็ต้องตรวจสอบกันต่อ
(3) หากพบว่ามีหลักฐานชัดเจนถึงขั้นชี้มูลความผิดแล้ว นอกจากจะต้องถูกดำเนินการทางวินัยอย่างเด็ดขาดโดยเร็วแล้ว อาจพิจารณาให้ออกจากตำแหน่งหรือออกจากราชการไว้ก่อนตามความจำเป็นและเหมาะสม รวมทั้งอาจมีการเอาผิดทางอาญาอีกด้วย โดยต้องส่งเรื่องให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อพิจารณาดำเนินคดีโดยทันที
(4) กรณีที่เป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ หรือความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง เมื่อถูกย้ายพ้นจากตำแหน่งเดิมไปแล้ว ห้ามปรับย้ายกลับไปดำรงตำแหน่งในลักษณะเดิม หรือแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้นภายในเวลา 3 ปี
(5) สำหรับผู้ที่ปฏิบัติราชการเกิดความล่าช้าหรือไม่มีประสิทธิภาพทำให้เกิดความเสียหายแก่ราชการ ปล่อยปละละเลย สร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชน อาจถูกพิจารณาให้มีการย้ายหรือการโอนไปดำรงตำแหน่งอื่น เพื่อประโยชน์ของทางราชการ
(6) ให้มีมาตรการคุ้มครองพยานผู้ให้ข้อมูลหรือเบาะแสในการตรวจสอบอย่างเหมาะสม เพื่อให้การได้รับข้อมูลและหลักฐานในการดำเนินการต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการทุจริตและประพฤติมิชอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับการจงใจให้ข้อมูลเพื่อใส่ร้ายหรือบิดเบือนข้อมูลที่เป็นผลร้ายต่อผู้อื่น บุคคลอื่น ให้พิจารณาดำเนินการลงโทษบุคคลดังกล่าวอย่างเด็ดขาดอีกด้วย ทั้งในทางโซเชียล มีเดียด้วย
ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในกระบวนการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ กระบวนการยุติธรรม และเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ และสร้างความเชื่อมั่นเกิดความไว้วางใจแก่ประชาชน ซึ่งเป็น “เจ้าของประเทศ” อีกด้วย
No comments:
Post a Comment