Saturday, 14 April 2018

งานบูรณาการประสบผลสัมฤทธิ์น้อย

หลักการ
การบูรณาการ (integration) การปฏิบัติงานเป็นองค์รวม (holistic) มีโครงสร้างองค์การเฉพาะกิจ (adhoc/adhocracy) แบบผสม (matrix organization)

เราคุ้นเคยกับคำนี้ ตั้งแต่มีนโยบายผู้ว่า CEO ต่อมามีการจัดทำโครงการและให้มีการทำงานในลักษณะบูรณาการ  โดยคิดว่า งานในระดับพื้นที่ไม่สามารถทำงานเก่งคนเดียวได้ การทำงานต้องไม่มี hero ไม่มี one man show แต่ยังขาดการคำนึงถึงเหตุปัจจัยและเงื่อนไขที่ประสบผลสัมฤทธิ์น้อย ดังต่อไปนี้
๑. คณะกรรมการอำนวยการ/บริหาร ขาดการเป็น catalyst ที่ดี
    - authority
    - liaison
๒. งบประมาณในระดับอำเภอไม่ใช่แบบ lump sum 
๓. การให้หลายหน่วยงานบูรณาการงบ เพื่อให้เกิดการบูรณาการงานด้วยนั้น หมิ่นเหม่ต่อการใช้งบประมาณทับซ้อน (สตง.ไม่อนุญาต)
๔. เจ้าหน้าที่มีภารกิจงานประจำ บางครั้งไม่สามารถมาทำงานโครงการ/กิจกรรมร่วม
๕. ผู้บริหารระดับสั่งการไม่ได้คำนึงถึง
    - ความสมดุลของ คน เงิน งาน คือ สั่งให้ทำงาน แต่ไม่มีงบให้ และผู้ปฏิบัติงานไม่เพียงพอ
    - กระบวนระบบในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่แต่ละภาคส่วนขัดกันเชิงโครงสร้าง
    - ขาดการประเมินผลหรือถอดบทเรียนที่ไม่มี bias
    - งานที่สั่งการไม่ได้ศึกษาความเป็นไปได้ (FS: Feasibility Study) ไม่มี Pilot Project เป็นงานประเภทลองผิดลองถูก (Trial & Error)

การทำงานในลักษณะการบูรณาการในอดีตที่ประสบผลสำเร็จก็มี แต่ในขณะนั้น ยังไม่ได้นำคำว่า “บูรณาการ” มาเรียก เช่น การปฏิบัติงานของหน่วยงาน ปจว. ของ กอ.รมน.จว. รวบรวมบุคลากรของหลายหน่วยงานลงพื้นที่ทำงานปฏิบัติการจิตวิทยา (ปจว.) 

ปัจจุบันงานลักษณะบูรณาการ คือ ศอ.บต. และ อปท. โดยมีบุคลากรหรือมีเจ้าหน้าที่หลายภาคส่วนมาทำงานในที่เดี่ยวกัน ส่วนปัญหา/อุปสรรค คือ งานทับซ้อนหน่วยงานภูมิภาค มีความขัดกันเชิงโครงสร้างทางการบริหารในบางประเด็น จึงเกิดปรากฎการณ์หน่วยงานที่มีงบประมาณ ไม่มีคนทำงาน หน่วยงานที่ไม่ค่อยมีงบประมาณถูกบังคับให้ทำงาน หน่วยงานที่มีทั้งงบประมาณและมีคนทำงาน แต่กฎหมายไม่อนุญาตเพราะไม่ใช่หน้าที่

สรุปให้จำง่าย ๆ ว่า “การบูรณาการงาน” ประสบผลสัมฤทธิ์น้อยนั้น เพราะขาดการดูแลจากผู้บริหารระดับสั่งการ เพราะฉะนั้น “บู” อย่างเดียวไม่ได้ ต้อง “ดู” ด้วย ต้องมีทั้ง บู และ ดู จะได้เรียกคำจดจำง่าย ๆ คือ “บูดู”

No comments:

Post a Comment