Tuesday 10 April 2018

การปฏิรูปประเทศไทย ทำไมต้องมีแผนและระยะเวลานานถึง ๕ ปี?

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมจากแบบดั้งเดิมแล้วหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป เปลี่ยนแปลงแบบรวดเร็วกะทันหัน เปลี่ยนแปลงด้วยวิธีการออกกฎหมายมาบังคับใช้ เปลี่ยนแปลงแบบมีกำหนดทิศทาง ฯลฯ เป็นต้น ล้วนมีคำเรียกขานเฉพาะทั้งไทยและเทศ พอสรุปได้ดังนี้
๑. การเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไปตามยถากรรม เรียกว่า “วิวัฒนาการ (Evolution)
๒. การเปลี่ยนแปลงแบบรวดเร็วกะทันหัน เรียกว่า “การปฏิวัติ (Revolution)” หรือ “รัฐประหาร (Coup d'état)
๓. การเปลี่ยนแปลงแบบใช้กฎหมายบังคับ เรียกว่า “การปฏิรูป (Reformation)"
๔. การเปลี่ยนแปลงมีการวางแผนหรือกำหนดทิศทางที่ชัดเจน เรียกว่า “การพัฒนา (Development)

นอกจากนี้ ยังมีสิ่งที่เปลี่ยนแปลงทุกวัน นั่นคือ “ปฏิทิน (Calendar)

แต่เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ลงนามประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม ๑๓๕ ตอน ๒๔ ก รวม ๖ เรื่อง ดังนี้
๑.ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การประกาศแผนการปฏิรูปประเทศ [ด้านการเมือง ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน]ดูรายละเอียด คัดลอกข้อมูล
๒.ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การประกาศแผนการปฏิรูปประเทศ[ด้านกฎหมาย ด้านกระบวนการยุติธรรม] ดูรายละเอียด คัดลอกข้อมูล
๓. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การประกาศแผนการปฏิรูปประเทศ [ด้านเศรษฐกิจ] ดูรายละเอียด คัดลอกข้อมูล
๔. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การประกาศแผนการปฏิรูปประเทศ [ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม] ดูรายละเอียด คัดลอกข้อมูล 
๕. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การประกาศแผนการปฏิรูปประเทศ [ด้านสาธารณสุข ด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านสังคม]ดูรายละเอียด คัดลอกข้อมูล
๖. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การประกาศแผนการปฏิรูปประเทศ [ด้านพลังงาน ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ] ดูรายละเอียด คัดลอกข้อมูล 




หมายความว่า

การปฏิรูปประเทศไทย มีการใช้แผนอย่างชัดเจนและแผนนั้นต้องรอถึง ๕ ปี ในความคิดส่วนตัวแล้ว ชื่อคำว่า “ปฏิรูป” ก็จริง เหตุไฉนต้องมีแผนและระยะเวลาทั้ง ๕ ปีด้วย เท่ากับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ... นั่นไม่ใช่ปฏิรูปครับท่าน ชื่อนั่นไม่สำคัญเท่ากับเนื้อหาสารัตถะและวิธีการปฏิบัติ... เป็นแผนการพัฒนาประเทศโดยทั่วไป แต่เน้นเฉพาะด้านพัฒนาด้านการเมือง ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ด้านกฎหมาย ด้านกระบวนการยุติธรรม ด้านเศรษฐกิจ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านสาธารณสุข ด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านสังคม ด้านพลังงาน ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ เพราะการกำหนดแผนและมีระยะเวลาที่แน่นอน


เมื่อมีแผน... การที่จะนำแผนไปสู่การปฏิบัติ (Implement) ได้จริงหรือไม่ ขึ้นอยู่กับผู้ปฏิบัติหรือข้าราชการประจำแล้วล่ะครับ... อีก ๕ ปี รัฐบาลท่านจะถึงหรือเปล่า... ปัญหาประเทศไทยโดยเฉพาะการบริหารจัดการเชิงโครงสร้างของหน่วยงานของรัฐที่ขัดกัน (Public Administrative Structural Conflict) ไม่ว่าจะเป็นท้องถิ่น/ท้องที่ ส่วนกลาง/ส่วนภูมิภาค จังหวัด/อำเภอ/ตำบล ก็ยังเหมือนเดิม ไม่ได้รับการแก้ไขครับ... ความซ้ำซ้อน ซ้ำซาก ซ้ำเสริม และความไม่สมดุลของคน เงิน งาน ระบบ ที่จะขับเคลื่อนประเทศไทย ๔.๐ ก็ยังเป็นสุญญากาศอยู่ดีครับ
ข้อเสนอ
ถ้าใช้คำว่า “ปฏิรูป” คือ Reformation หรือ Transformation หมายถึง การปรับเปลี่ยนโครงสร้างหน่วยงานของรัฐนะครับ มิใช่เป็นคำที่แปลกประหลาดน่าสยองขวัญ อาทิเช่น จากที่มีอธิบดี การตัดสินใจอยู่ที่คนเดียว เปลี่ยนเป็นเลขาธิการ การตัดสินใจอยู่ในรูปองค์คณะ มีนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ... หน่วยงานที่ทำงานซ้ำซ้อน ซ้ำซาก ซ้ำเสริม นำมาควบรวม (Merge) อาจควบงานหรือควบหน่วยงาน หน่วยงานที่มีงานรับผิดชอบหลายงาน ทำให้หน่วยงานโตไม่สมส่วน เทอะทะ อุ้ยอ้าย ก็นำมาแยกส่วน (Split) เป็นหน่วยงานใหม่ เพื่อแก้ปัญหาการขาดความสมดุลระหว่าง คน เงิน งาน ระบบ...
รัฐบาลท่านต้องออกกฎหมายบังคับใช้เลยครับ เพราะต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้เร็วขึ้นกว่าการพัฒนา และช้ากว่าการปฏิวัติรัฐประหาร แต่มีความชอบธรรมสูงโดยมอบหมายหน้าที่นี้ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นหน่วยงานขับเคลื่อนหลัก ... ไม่ใช่มอบหน้าที่นี้ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติหรือสภาพัฒน์ เพราะจะได้แค่แผน สภาพัฒน์ถนัดทำแผน และไม่มีมาตรการในการปฏิบัติ ... การนำไปสู่การปฏบัติเป็นเรื่องของหน่วยงานต่าง ๆ ที่ถูกกำหนดด้วยพระราชกฤษฎีกา ... ด้วยการถอดบทเรียนจากข้อมูลปัญหาอุปสรรคที่มีอยู่แล้ว...  ไม่ต้องรอให้แต่ละหน่วยงานปฏิรูปตนเองตามแผนปฏิรูปที่รัฐบาลกำหนดครับ เพราะทำมานานแล้ว ให้แต่ละหน่วยงานเสนอยุทธศาสตร์ วิเคราะห์ BSC (Balanced Scored Card) มีการกำหนด Value Chain จัดทำกะลากะปิ (KRA: Key Result Area, KPI: Key Performance Indicator) มีการประเมินตนเอง แล้วรายงานให้รัฐบาลทราบ (SAR: Self Assesment Report)... จ้างบริษัท TRIS ร่วมกับสถาบันการศึกษามาประเมินอีก... สุดท้ายไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง แถมภาระงานเพิ่มขึ้น การทำงานลดลง กระดาษรายงานเพิ่มขึ้น... ผู้รับบริการ/ประชาชนถูกทอดทิ้ง 
วิธีเดียวครับ... การเปลี่ยนแปลงประเทศไทย คือ ปฏิรูป ด้วยการออกกฎหมาย... แก้ไข/ปรับปรุง พระราชกฤษฎี แบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ส่วนราชการ..................พ.ศ................ แล้วค่อยออกแผนพัฒนาหน่วยงานต่าง ๆ ที่ได้รับการปฏิรูป หรือให้ใช้แผนปฏิรูปประเทศทั้ง ๖ เรื่อง ที่สอดคล้องกับบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานนั่น ๆ  
สิ่งที่กำลังวิพากษ์ คือ แผนพัฒนา/แผนเชิงรุก/แผนกลยุทธ์/แผนยุทธศาสตร์/แผนแม่บท .... สุดแท้แต่จะเรียกครับ...  ซึ่งจะทำให้คำว่า "ปฏิรูป" เป็นการปรับเปลี่ยนประเทศให้ดีขึ้น ดูห่างไกลออกไป... 
ส่วนแผนดำเนินการ (Operational planning) หรือ แผนปฏิบัติการ (Action Plan) นั้น  ... จะต้องมีอยู่แล้วทุกงาน/ทุกกิจกรรม ... จะเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่เขียนก็ได้... มีทั้งแผนหลัก แผนรอง/แผนทางเลือก...  แบบทางการและไม่เป็นทางการ 
...การคิดเป็นวนลูปตั้งแต่ Providing - > Formulating -> Implementing -> Evaluating - กลับไปยัง -> Providing ...
ตัวอย่าง การขายขนมครกก็ต้องมีแผนธุรกิจด้วยนะครับ... อย่างน้อยก็แผน ๑ หน้ากระดาษที่นิยมแนะนำให้ผู้ประกอบการทำอยู่ (BMC : Business Model Canvas) ครับ!
ฉะนั้น เมื่อได้กำหนดว่าจะปฏิรูปประเทศก็ต้องออกแผนดำเนินการ/ปฏิบัติการให้เห็นเป็นรูปธรรม หลังจากนั้น ออกพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการใหม่ในส่วนหน่วยงานราขการที่มีความขัดกันเชิงโครงสร้างให้ตอบสนองการแก้ปัญหาประเทศชาติและประชาชน ที่เป็นทั้งทุกข์ของชาวบ้านและทุกข์ของชุมชน ก็เป็นการปฏิรูปแล้วครับท่าน!
สรุป 
การปฏิรูป คือ การเปลี่ยนแปลงประเทศ โดยใช้กฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายให้เกิดการปรับเปลี่ยน โดยเฉพาะโครงสร้างของหน่วยงานรัฐต่าง ๆ ที่มีความขัดกันเชิงบริหารจัดการให้เป็นรูปธรรมและตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศ 
ส่วน การพัฒนา คือ การเปลี่ยนแปลงประเทศ โดยใช้แผนและการนำแผนไปสู่การปฏิบัติให้เห็นเป็นรูปธรรม

No comments:

Post a Comment