ในฐานะนักพัฒนาชุมชน ได้รับการบอกเล่าต่อ ๆ กันมาว่า ปัญหาประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชนไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน คือ ปัญหา ๔ จ. ได้แก่ จน เจ็บ จ๋อง โจร สามารถอธิบายได้ดังนี้
จน หมายความว่า ประชาชนยังประสบปัญหาความยากจน รายได้น้อย มีภาระหนี้สิน เกิดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ
เจ็บ หมายความว่า ประชาชนยังประสบปัญหาด้านสุขภาพอนามัย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสุขภาพกายหรือสุขภาพจิต แม้นว่า เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นของธรรมดา สังขารล้วนไม่เที่ยง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ซึ่งโรงพยาบาลจะเป็นสถานที่พักแหล่งที่สองของประชาชนนับวันจะเพิ่มปริมาณมากขึ้น หรือบ้านพักคนชราก็จะเป็นที่พักพิงของผู้สูงอายุ
จ๋อง หมายความว่า ประชาชนเกิดอาการทำอะไรไม่ถูก คิดอะไรไม่ออก ไม่ว่าจะเป็นคนจนหรือคนรวย หากมีคนในครัวเรือนไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ลูกหลานเกเร หรือถูกลูกหลานทอดทิ้งเมื่อยามแก่เฒ่า
โจร หมายความว่า ประชาชนยังประสบปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ปัญหาอาชญากรรม หรือบางคนเป็นโจรหรือลักเล็กขโมยน้อย เนื่องมาจากสันดานโจร หรือไปติดยา ติดการพนัน แม้กระทั่งไม่มีอันจะกิน เลยกลายเป็นโจร
รัฐบาลทุกยุคทุกสมัย พยายามแก้ปัญหาหลากหลายรูปแบบ มีทั้งส่งเสริม/สนับสนุนอาชีพ รวมทั้งลดแลกแจกแถม การแก้ปัญหาก็ยังไม่จบสิ้น จัดให้มีกองทุนเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน จัดทำบัตรสวัสดิการ ประกันสุขภาพ ออกกฎหมายและบังคับใช้กฎหมาย ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการเมืองการปกครอง ให้มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถึงระดับตำบลให้มีการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่น ระดับหมู่บ้าน เพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเลือกผู้นำของตนเอง โดยไม่ได้คาดคิดว่า นโยบายและสิ่งที่ได้ดำเนินการมีผลกระทบในระยะยาว และไม่ได้เตรียมความพร้อมสำหรับปัญหาที่เกิดขึ้นจากการแก้ปัญหา ๔ จ. นั่นคือ
๑. ความขัดแย้งทางความคิดจากการเลือกตั้งในหมู่บ้าน
๒. ความล่มสลายของครอบครัวจากบุคคลในครัวเรือนไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด
๓. ขาดความเชื่อถือศรัทธาไว้วางใจกันเองของคนในหมู่บ้าน/ชุมชนจากการไม่ใช้หนี้กองทุนเหมุนเวียน
นั่นคือ ในระดับหมู่บ้าน/ชุมชน เราพบว่า ปัญหาอุปสรรคมูลฐานและผลกระทบเชิงโครงสร้างทางสังคมในหมู่บ้าน/ชุมชนที่ชาวบ้านไม่ค่อยพูด เป็นปัญหาซ่อนเร้น (hidden problems) แต่เป็นปัจจัยสำคัญที่บั่นทอนความเข้มแข็งของหมู่บ้าน/ชุมชนและเป็นความทุกข์ของชาวบ้าน ความทุกข์ของชุมชน เป็นผลกระทบจากการแก้ปัญหา ๔ จ. โดยมีหน่วยงานของรัฐที่ทำงานในระดับพื้นที่หมู่บ้าน/ชุมชนไม่ว่า จะเป็นหน่วยงานปกครอง/ตำรวจ/ทหาร พัฒนาชุมชน เกษตร ประมง ปศุสัตว์ สาธารณสุข โรงเรียน และอื่น ๆ เพื่อดำเนินการในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ใน ๓ รูปแบบ/วิธีการ ได้แก่
๑. การปกครองดูแลประชาชนและการบังคับใช้กฎหมาย
๒. การพัฒนาชุมชน การดึงประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน หรือใช้วิถีประชาชน
๓. การสงเคราะห์ เยี่ยวยา การใช้หลักจารีตประเพณี ใช้วิธีการทางสังคมจิตยา
แต่หน่วยงานบางหน่วยงานก็ยังประสบปัญหาระบบการทำงานและการขาดความสมดุลระหว่าง คน เงิน งาน บางหน่วยงานมีงานมาก แต่คนกับเงินไม่ค่อยมี บางหน่วยงานมีคน แต่เงินกับงานไม่ค่อยมี ซึ่งรัฐบาลจะต้องปฏิรูปโครงสร้างหน่วยงานภาครัฐเหล่านี้ ให้สอดคล้องกันระหว่าง คน เงิน และงาน จึงจะทำงานได้ และสิ่งสำคัญที่สุดต้องดึงประชาชนทุกระดับชั้นเข้ามามีส่วนร่วม ไม่จะเข้ามาเป็นจิตอาสา โดยเฉพาะจิตอาสา “เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ” การเข้าเป็นอาสาพัฒนาชุมชน/ภาคประชาสังคม ตั้งแต่ระดับรากหญ้า โดยรัฐบาลให้การสนับสนุนงบประมาณ และหน่วยงานของรัฐอำนวยความสะดวกในการดำเนินกิจกรรม โดยเฉพาะกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก เยาวชน การดูและผู้สูงอายุ คนชรา ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ เป็นต้น ด้วยการน้อมนำศาสตร์พระราชาที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาประชาชน ได้แก่ ยุทธศาสตร์พระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” และหลักการทรงงาน ๒๓ ข้อ
รายละเอียด ศาสตร์พระราชาและการแก้ปัญหาประชาขน
No comments:
Post a Comment