คำว่า “ปรัชญา” เป็นศัพท์ที่พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ (พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร) ทรงบัญญัติขึ้นเพื่อใช้คู่กับคำภาษาอังกฤษว่า “Philosophy” เป็นคำมาจากรากศัพท์ภาษาสันสกฤต 2 คำคือ
1. ปฺร : ประเสริฐ
2. ชฺญา : ความรู้, รู้, เข้าใจ
เมื่อรวมกันแล้ว เป็น “ปฺรชฺญา” (ปรัชญา) แปลว่า ความรู้อันประเสริฐ เป็นวิชาที่ว่าด้วยหลักแห่งความรู้และความจริง
คำว่า “ปรัชญา” ตรงกับคำภาษาบาลีว่า “ปัญญา” ซึ่งมีรากศัพท์มาจาก รากศัพท์ คือ ญา โดยมี ป.ปลา เป็นอุปสัคนำหน้า (ป+ญา = ปัญญา) ...
ป. อุปสัค บ่งชี้ความหมายว่า ทั่ว ข้างหน้า ก่อน ออก
ญา รากศัพท์มีความหมายว่า รู้
ถ้าจะแปลให้มีความหมายไพเราะและตรงประเด็นตามหลักธรรม ก็อาจแปลไปทีละความหมายของอุปสัคได้ดังต่อไปนี้...
ปัญญา คือ รู้ทั่ว หมายถึง รู้ครบถ้วนกระบวนความ มิใช่รู้เพียงบางส่วน ตามนัยตาบอดคลำช้าง ....
ปัญญา คือ รู้(ไป)ข้างหน้า หมายถึง รู้เพื่อการพัฒนาไปสู่ความเจริญก้าวหน้า มิใช่รู้เพื่อความเสื่อมถอย...
ปัญญา คือ รู้ก่อน หมายถึง รู้ก่อนที่จะต้องกระทำ ถ้าไม่รู้ก่อนไปกระทำลงไปก็อาจก่อให้เกิดความเสียหายได้....
ปัญญา คือ รู้ออก หมายถึง รู้เพื่อสลัดออกไปจากทุกข์ ออกไปจากการเวียนว่ายตายเกิด ....
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/74821
ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้นิยามความหมายของคำว่า “ปัญญา” เอาไว้ว่า “ความรู้แจ้ง, ความรอบรู้, ความสุขุม, ความฉลาด” และนิยามความหมายของคำว่า “ปรัชญา” ว่าเป็นวิชาที่ว่าด้วยหลักแห่งความรู้และความจริง หมายความว่า ปรัชญามีหน้าที่สืบเสาะหาความรู้เกี่ยวกับความจริงของสรรพสิ่ง ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม
จะเห็นได้ว่า ความหมายของคำว่า “ปรัชญา” ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ไม่ตรงกับความหมายของคำว่า “ปัญญา” เพราะการบัญญัติศัพท์คำว่า “ปรัชญา” ไม่ได้บัญญัติมาจากคำว่า “ปัญญา” แต่บัญญัติมาจากคำภาษาอังกฤษว่า “Philosophy” คำว่า “Philosophy” ในภาษาอังกฤษมาจากคำภาษาฝรั่งเศสโบราณว่า “Philosophie” ซึ่งมาจากคำภาษาลาตินว่า “Phiosophia” (ฟิลสโซฟิยา) ที่แผลงมาจากคำภาษากรีกว่า “Philosophia” (ฟิลสโซเฟีย) อีกต่อหนึ่ง
ดังนั้น คำว่า “Philosophy” จึงมาจากคำภาษากรีกว่า “Philosophia” ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำ 2 คำคือ
Philos : Love of หรือ Loving of (ความรัก)
Sophia : Wisdom หรือ Knowledge (ความรู้, ปัญญา, ความฉลาด)
เมื่อรวมกันแล้ว คำว่า “Philosophy” จึงหมายถึง “Loving of Wisdom” ความรักปัญญา, ความรักในความรู้, ความรักในการแสวงหาความรู้ หรือ การใฝ่ใจในการแสวงหาความรู้
จะอย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาตามคำแปลระหว่าง คำว่า “ปรัชญา” ที่มาจากภาษากรีก กับที่มาจากภาษาสันสกฤตจะแตกต่างกัน กล่าวคือ ที่แปลจากภาษากรีกแปลว่า ความรักในความรู้ หรือความรักปัญญา เพราะความรู้หรือปัญญา เป็นของพระเจ้าแต่ผู้เดียว มนุษย์มีสิทธิ์เพียงสามารถที่จะรัก หรือสนใจที่จะแสวงหาเท่านั้น ไม่สามารถเป็นเจ้าของได้
ส่วนที่แปลจากภาษาสันสกฤต แปลว่า ความรู้อันประเสริฐ หรือความรอบรู้ มนุษย์ทุกคนสามารถมีความรอบรู้ หรือมีความรู้อันประเสริฐได้ อันเนื่องมาจากความรู้ที่สมบูรณ์ สูงสุด สิ้นความสงสัย
![](https://www.baanjomyut.com/library_2/blobul1e.gif)
![](https://www.baanjomyut.com/library_2/blobul1e.gif)
![](https://www.baanjomyut.com/library_2/blobul1e.gif)
![](https://www.baanjomyut.com/library_2/blobul1e.gif)
![](https://www.baanjomyut.com/library_2/blobul1e.gif)
![](https://www.baanjomyut.com/library_2/blobul1e.gif)
![](https://www.baanjomyut.com/library_2/blobul1e.gif)
![](https://www.baanjomyut.com/library_2/blobul1e.gif)
![](https://www.baanjomyut.com/library_2/blobul1e.gif)
![](https://www.baanjomyut.com/library_2/blobul1e.gif)
![](https://www.baanjomyut.com/library_2/blobul1e.gif)
![](https://www.baanjomyut.com/library_2/blobul1e.gif)
![](https://www.baanjomyut.com/library_2/blobul1e.gif)
![](https://www.baanjomyut.com/library_2/blobul1e.gif)
![](https://www.baanjomyut.com/library_2/blobul1e.gif)
![](https://www.baanjomyut.com/library_2/blobul1e.gif)
![](https://www.baanjomyut.com/library_2/blobul1e.gif)
![](https://www.baanjomyut.com/library_2/blobul1e.gif)
![](https://www.baanjomyut.com/library_2/blobul1e.gif)
![](https://www.baanjomyut.com/library_2/blobul1e.gif)
![](https://www.baanjomyut.com/library_2/blobul1e.gif)
![](https://www.baanjomyut.com/library_2/blobul1e.gif)
![](https://www.baanjomyut.com/library_2/blobul1e.gif)
![](https://www.baanjomyut.com/library_2/blobul1e.gif)
![](https://www.baanjomyut.com/library_2/blobul1e.gif)
![](https://www.baanjomyut.com/library_2/blobul1e.gif)
![](https://www.baanjomyut.com/library_2/blobul1e.gif)
![](https://www.baanjomyut.com/library_2/blobul1e.gif)
![](https://www.baanjomyut.com/library_2/blobul1e.gif)
![](https://www.baanjomyut.com/library_2/blobul1e.gif)
![](https://www.baanjomyut.com/library_2/blobul1e.gif)
![](https://www.baanjomyut.com/library_2/blobul1e.gif)
![](https://www.baanjomyut.com/library_2/blobul1e.gif)
![](https://www.baanjomyut.com/library_2/blobul1e.gif)
![](https://www.baanjomyut.com/library_2/blobul1e.gif)
![](https://www.baanjomyut.com/library_2/blobul1e.gif)
![](https://www.baanjomyut.com/library_2/blobul1e.gif)
![](https://www.baanjomyut.com/library_2/blobul1e.gif)
![](https://www.baanjomyut.com/library_2/blobul1e.gif)
![](https://www.baanjomyut.com/library_2/blobul1e.gif)
![](https://www.baanjomyut.com/library_2/blobul1e.gif)
![](https://www.baanjomyut.com/library_2/blobul1e.gif)
![](https://www.baanjomyut.com/library_2/blobul1e.gif)
![](https://www.baanjomyut.com/library_2/blobul1e.gif)
![](https://www.baanjomyut.com/library_2/blobul1e.gif)
![](https://www.baanjomyut.com/library_2/blobul1e.gif)
![](https://www.baanjomyut.com/library_2/blobul1e.gif)
![](https://www.baanjomyut.com/library_2/blobul1e.gif)
![](https://www.baanjomyut.com/library_2/blobul1e.gif)
![](https://www.baanjomyut.com/library_2/blobul1e.gif)
![](https://www.baanjomyut.com/library_2/blobul1e.gif)
![](https://www.baanjomyut.com/library_2/blobul1e.gif)
![](https://www.baanjomyut.com/library_2/blobul1e.gif)
![](https://www.baanjomyut.com/library_2/blobul1e.gif)
![](https://www.baanjomyut.com/library_2/blobul1e.gif)
![](https://www.baanjomyut.com/library_2/blobul1e.gif)
![](https://www.baanjomyut.com/library_2/blobul1e.gif)
No comments:
Post a Comment