Monday 30 January 2017

แนวคิดและองค์ความรู้ทางรัฐประศาสนศาสตร์

องค์ความรู้ทางรัฐประศาสนศาสตร์ประกอบด้วยแนวคิดสำคัญ 7 แนวคิด คือ
1) แนวคิดทฤษฎีตั้งเดิม
2) แนวคิดหลักการบริหาร
3) แนวคิดทฤษฎีพฤติกรรมนิยม
4) แนวคิดการบริหารการพัฒนา
5) แนวคิดนโยบายสาธารณะ
6) แนวคิดทางเลือกสาธารณะ
7) แนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ แนวคิดนี้ เน้นการปรับโฉมภาครัฐ (reinventing government) ไปจากเดิม ให้มีลักษณะใกล้เคียงกับองค์การธุรกิจมากขึ้น เป็นระบบที่เน้นการแข่งขันให้บริการสาธารณะ ให้ความสำคัญกับประสิทธิผล (effectiveness) หรือผลปฏิบัติงานและความคุ้มค่า ในการทำงาน จึงมีการนำแนวคิดทางด้านการจัดการสมัยใหม่มาใช้กับการบริหารรัฐกิจด้วย แนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่สำคัญในกลุ่มนี้ ได้แก่
(1) แนวคิดการจัดการเชิงกลยุทธ์ (strategic management)
(2) แนวคิดการจัดการมุ่งผลสำเร็จ (resulted -based management)
(3) แนวคิดการจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์การ (total quality management)
(4) แนวคิดการปฏิรูปการจัดการภาครัฐ (public management reformation)

ประเทศไทย มีข้อจำกัดด้านความขาดแคลนแนวคิดหรือทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์ หมายถึง การขาดแคลนแนวคิดหรือทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่สอดคล้องกับสภาพทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและวัฒนธรรมของไทย

ทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่นำมาใช้ในประเทศไทย ส่วนใหญ่พัฒนาขึ้นในบริบทของสังคมตะวันตก ที่ยังไม่เป็นสากล และไม่มีการนำมาวิจัยซ้ำในสังคมไทย จึงนำมาประยุกต์ใช้ได้ยาก

ไม่เหมือนในยุคเริ่มแรกๆ ของการพัฒนาการบริหารในประเทศไทย ดร.ชุบ  กาญจนประการ ได้เสนอให้เพิ่มคำว่า PA เข้าไปใน POSDCoRB เป็น PA- POSDCoRB  เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทการบริหารรัฐกิจของประเทศไทย กล่าวคือ
1) ต้องมีนโยบาย (P-Policy) ที่แน่ชัด
2) มีการจัดมอบ- กระจายอำนาจ (A- Authority) ที่แน่แน่
3) มีการวางแผน (P-Planning) ที่แน่นอน...
4) มีการจัดองค์การ (O-Organization) ไม่สับสน
5) มีการจัดวางกำลังคน (S-Staffing) ที่มีประสิทธิภาพและใช้คนให้ตรงกับงาน (put the right  man  on  the  right  job)
6) มีการอำนวยการ (D–Directing ) อย่างนักวิชาการและเป็นมืออาชีพ
7) มีหลักการประสานงาน (Co-Coordinating) โดยการมีมนุษยสัมพันธ์อย่างเชี่ยวชาญ
8) มีการรายงานผล (R-Reporting) การดำเนินงานะชิงประจักษ์และตรวจสอบได้
9) มีหลักการบริหารงบประมาณ( B-Budgeting) อย่างชาญฉลาด

_______________
ทำเนียบรัฐบาล-บ่ายวันที่ 30 ม.ค.60
นายกรัฐมนตรี ประชุม คกก. บริหารราชการแผ่นดินเชิงยุทธศาสตร์

หวังเป็นอย่างยิ่งว่า คกก. สามารถนำเสนอนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินฯ ต่อรัฐบาล  ที่มีความสอดคล้องกับบริบทสังคมวัฒนธรรมไทย และมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติท่ามกลางวิถีการบริหารรัฐกิจไทยในปัจจุบัน ที่มีความไม่สอดประสานกันในทางการบริหาร เพราะมีปัญหาความขัดกันเชิงโครงสร้างทางการบริหารภาครัฐ (structural conflict in public administration) และยังรอคอยการปฏิรูปให้มีความเหมาะสมในทางปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นการบริหารรัฐกิจแบบ
1) การรวมศูนย์อำนาจที่ส่วนกลาง (centralization)
2) การมอบอำนาจให้กับภูมิภาค (deconcentralization)
3) การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น (centralization)

No comments:

Post a Comment