Monday 30 January 2017

"ทฤษฎี (Theories)"

คำว่า "ทฤษฎี (Theories)" นักสังคมศาสตร์ มักหมายถึง ชุดหรือกลุ่มของ ข้อความกลุ่มหนึ่ง ซึ่งนักวิชาการสร้างขึ้นมา เพื่ออธิบายหรือทำนายปรากฏการณ์ทางสังคม ที่พบเห็นกลุ่มของข้อความเหล่านี้มีลักษณะสำคัญ คือ ประกอบขึ้นด้วยข้อความที่เป็นข้อทฤษฎี (propositions) ซึ่งหมายถึง ข้อความที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลระหว่างแนวคิดสำคัญ (concepts) หรือแนวคิดรวบยอด (constructs) ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ในเรื่องนั้น ข้อความเหล่านี้จึงเป็นข้อความทั่วไปไม่เจาะจง (general statements) แต่มีความหมายครอบคลุมเหตุการณ์ที่เฉพาะเจาะจงได้หลายเหตุการณ์ และถูกนำมาเชื่อมโยงให้สัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบหรือเป็นเหตุเป็นผลเชิงตรรกะ กลายเป็นทฤษฎีที่สามารถนำไปทดสอบความถูกต้องกับข้อเท็จจริง (facts) หรือทดสอบเชิงประจักษ์ได้ และสามารถใช้อธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมที่สนใจได้ระดับหนึ่ง

สำหรับทฤษฎีเชิงเนี้อหา (substantive theory) เป็นแนวคิดหรือทฤษฎีที่เน้นการบ่งบอกถึงเนี้อหาสาระสำคัญของสิ่งที่ทฤษฎีมุ่งพรรณาหรืออธิบายว่าเป็นอะไร อย่างไร เช่น ทฤษฎีหลักการบริหารของฟาโยล ซึ่งอธิบายถึงหลักการสำคัญของการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ

ส่วนทฤษฎีเชิงวิธีการ (procedural theory) เป็นแนวคิดหรือทฤษฎีที่เน้นบ่งบอกถึงกระบวนการในการคิด การวิเคราะห์ หรือวิธีการในการทำงาน เช่น ทฤษฎีระบบ (system theory)

การเรียนในศาสตร์แทบทุกเขนงวิชา ผู้เรียนจะต้องรียนรู้ถึงแนวคิดเชิงทฤษฎีที่มีอยู่ในแขนงวิชานั้นๆ ทำให้ผู้เรียนสามารถอาศัยประสบการณ์ของบุคคลอื่นหรือนักวิชาการผู้สร้างสรรทฤษฎีนั่นเอง และสามารถอาศัยแนวความคิดกว้างๆ ทั่วไปของทฤษฎีเพื่อทำความทำใจความเป็นจริงทางสังคม (social reality) ให้เป็นระบบมากขึ้น

No comments:

Post a Comment