Wednesday 7 November 2018

แนวทางแก้ปัญหาลูกหนี้ไม่ชำระหนี้สินกองทุนหมุนเวียน

พลเอก ประยุทธ์ ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้แถลงข่าวหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันอังคารที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๑ เกี่ยวกับปัญหาลูกหนี้ไม่ชำระหนี้สินกองทุนหมุนเวียนในหมู่บ้าน/ชุมชน

ในการนี้ ขอนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาลูกหนี้ไม่ชำระหนี้สินกองทุนหมุนเวียนในหมู่บ้าน/ชุมชน อาทิเช่น กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (กทบ.) กองทุนหมุนเวียนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) ฯลฯ เป็นต้น ทำให้เงินของรัฐเป็นพันล้านบาทถูกแช่แข็ง (Freeze) อยู่กับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่มีจำนวนไม่มาก เฉลี่ยหมู่บ้าน/ชุมชนละ ๕๐ - ๗๐ คน ทำให้คนส่วนใหญ่อีกเป็นร้อยเป็นพันคนขึ้นอยู่กับขนาดของหมู่บ้าน/ชุมชนเสียโอกาส และเงินไม่มีการหมุนเวียนตามกฎ Irving Fisher คือ MV=PT* อันนำไปสู่การขาดศรัทธาหรือเสียเครดิตในตัวบุคคลที่ไม่ยอมชำระหนี้

แนวทางแก้ไข 
รัฐให้การสนับสนุน ส่งเสริม และปรับปรุงโครงสร้างระบบการบริหารจัดการเงินทุนหมุนเวียนของหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลหรือไปเกี่ยวข้องเสียใหม่ เพื่อให้เกิดความโปร่งใสทางการเงินและการคลังของเงินทุนหมุนเวียนนอกระบบงบประมาณ และส่งเสริมความยั่งยืนทางการคลังขอประเทศไทย  ดังนี้
(๑) บันทึกรายการหนี้สินของลูกหนี้เงินทุนหมุนเวียนทุกรายและทุกประเภทลงในบัตรประจำตัวประชาชน และผ่านระบบธนาคาร ไม่ว่าจะฝากหรือถอนเงิน และส่งจ่ายเงินกู้ยืมด้วยตนเองหรือผู้ได้รับมอบฉันทะทุกครั้ง เพราะสามารถป้องกันการยักยอกเงินของเจ้าหน้าที่ คณะกรรมการ รวมทั้ง การทำลายหลักฐานทางการเงินและทะเบียนต่าง ๆ
(๒) ให้ผู้ที่เบี้ยวหนี้ ติดเครดิตบูโร และ/หรือ ฟ้องร้องดำเนินคดี จะได้สร้างวินัยทางการเงินให้กับผู้กู้
(๓) ผู้ที่เป็นหนี้เงินทุนหมุนเวียนของรัฐทุกประเภทไม่มีเวลาหมดอายุความ เพราะจะทำให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเดือดร้อน ต้องชดใชัเงินของผู้เบี้ยวหนี้โดยใช่เหตุ
(๔) การรับภาระหนี้ให้เป็นรายคน ไม่ใช่รายกลุ่ม แม้นจะรวมกลุ่มกันทำโครงการเพื่อหลีกเลี่ยงภาระที่จะตกกับคนใดคนหนึ่ง หรือคนหนึ่งได้ประโยชน์และอีกคนต้องชดใช้หนี้...ซึ่งเกิดขึ้นแล้ว
(๕) เมื่อผู้เป็นหนี้เงินทุนหมุนเวียนของรัฐทุกรายทุกประเภทเบี้ยวหนี้ จะมาทำธุรกรรมทางการเงิน หรือติดต่อกับเจ้าหน้าที่ฯ เพื่อขึ้นทะเบียนอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ขึ้นทะเบียนรถ โอนที่ดิน เข้าโรงพยาบาล  จะฝากหรือโอนเงินกับธนาคาร ก็ต้องทำการประนอมหนี้ด้วย 
(๖) เมื่อพบผู้ที่เป็นหนี้ตามข้อ ๕ มีฐานะยากจน จะได้ขึ้นทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและฝึกอาชีพ เพราะอาจเบี้ยวหนี้โดยฐานะหรือถูกหลอก หากพบผู้ที่เป็นหนี้ตามข้อ ๕ มีฐานะร่ำรวย จักได้ทำการยึดทรัพย์หรือเสียค่าปรับ เพราะเบี้ยวหนี้โดยสันดาน


ข้อสังเกต
การนำนโยบายรัฐบาลสู่การปฏิบัติ (Public Policy Implementation) ที่ไม่ประสบผลสำเร็จและไม่เกิดผลสัมฤทธิ์ มิหนำซ้ำยังเกิดผลกระทบเชิงลบระยะยาวต่อประชาชนอย่างควบคุมไม่ได้ หากไม่มีและไม่ได้คำนึงถึง ๓ มาตรการ (Measurements) ควบคู่กันไป

(๑) มาตรการทางกฎหมาย การปกครอง และขั้นตอนวิธีที่ถูกต้อง (Measurement of Law enforcement, Administration, and Right procedure) เมื่อเป็นเรื่องเงินกู้ก็ขาดกระบวนการบริหารจัดการการเงินที่ได้มาตรฐานเหมือนสถาบันการเงินทั่วไป แต่ปล่อยให้ชาวบ้านจัดการเองทีมีแต่ความเสี่ยงต่อการยักยอกเงิน โกง และเบี้ยวหนี้

(๒) มาตรการทางสังคม การมีส่วนร่วมของชุมชน และภาคประชาสังคม (Measurement of Community Development, People Participation and Civil Society) ซึ่งจำเป็นที่ต้องประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมด้านการบริหารจัดการ แต่เป็นการบริหารจัดการกลุ่ม/องค์กร เมื่อต้องเกี่ยวข้องกับการเงิน ต้องเชื่อมโยงการบริหารการเงินกับสถาบันการเงินของรัฐหรือธนาคารเป็นตัวกลาง (Financial Intermediary)

(๓) มาตรการทางการเยียวยา และการช่วยเหลือผู้ถูกกระทบ (Measurement of Social worker and Welfare) หรือผู้ที่ประสบปัญหาทางการเงินจริง ๆ รัฐก็ต้องสนับสนุนอาชีพ ทักษะการประกอบอาชีพ และการมีงานทำ ไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลัง ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้าย
______________
* quantity theory of money where MV = PT.
• M is the quantity of money,
• V is the speed money flows round the economy,
• P is the level of prices and
• T is the number of transactions.

อ้างถึง 

1 comment:

  1. นายกรัฐมนตรี ใช้ ม.44 มอบอำนาจ ครม.ตั้ง ผอ.กองทุนหมู่บ้านวาระ 1 ปี ยกเว้นคุณสมบัติต้องห้าม
    https://mgronline.com/politics/detail/9610000114567

    ReplyDelete