ข้อวิพากษ์จากโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการการประเมินทุนหมุนเวียนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี เมื่อวันที่ ๘-๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ มหานาค
#ด้านการเงิน
#ด้านการสนองประโยชน์
#ด้านการปฏิบัติการ
#ด้านการบริหารพัฒนาทุนหมุนเวียน
ก็เป็นที่น่าเสียดายมีแต่ตัวชี้วัด ยังไม่ให้ความสำคัญกับมควบคุมและการบริหารความเสี่ยงทางการเงิน/โครงการ
หากท่านผู้ใดมีโอกาสช่วยบอกเจ้าหน้าที่กรมฯที่รับผิดชอบก็จะเป็นการดี
สำหรับด้านการบริหารพัฒนาทุนหมุนเวียน
มีตัวชี้วัดที่ ๔.๒ การบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน
วิทยากร บอกว่า มีความเสี่ยง ๔๐ กว่าความเสี่ยงของการบริหารทุนหมุนเวียน อยู่ที่เราจะบริหารความเสี่ยงยังไง ? คือ หลีกเลี่ยง / ลด / แบ่ง / ยอมรับ ความเสี่ยง
แต่ไม่ทราบว่า กรมฯ มีมาตรการและวิธีการป้องกันความเสี่ยงอย่างไร? ที่ไม่ให้เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนต้องเสี่ยงตัวเองไปทวงหนี้ และลูกหนี้เสี่ยงที่ต้องหลบหนี้เจ้าหน้าที่ฯหรือเบี้ยวหนี้ และไม่อยากพบเจ้าหน้าที่ฯเหมือนลูกหนี้บางคนที่เป็นอยู่ในขณะนี้...
จะเห็นได้ว่า ตัวชี้วัดการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน ไม่ใช่มาตรการ/วิธีการควบคุมความเสี่ยงจากการเบี้ยวหนึ้และความสำเร็จจากการบริหารโครงการ
ตัวชี้วัดเปรียบเสมือนเกย์รถที่บ่งบอกความเร็วของรถ แต่ไม่ใช่เป็นตัวควบคุมความเร็วของรถ
ตัวควบคุมความเร็วของรถคือ กฎหมายจราจร เครื่องดักจับความเร็ว ตำรวจทางหลวง ค่าปรับ ยึดใบขับขี่ ห้ามขับรถ ฯลฯ เป็นต้น รวมทั้ง การมีวินัยในการใช้รถของผู้ขับรถ
ถ้าหากกรมฯยังไม่มีมาตรการป้องกันความเสี่ยง ก็ขอให้เรียนรู้จากพนักงานสินเชื่อธนาคาร บุคคลเหล่านี้ จะมีประสบการณ์มากกว่าเรา
เพราะหลักการที่ใช้และจะใช้ กับเงินทุนหมุนเวียนในขณะนี้ ก็ยังมีความเสี่ยงอยู่อีก
กรมฯอาจจะมีการจ้าง outsource ในการติดตาม/เร่งรัดหนี้สิน ..
แต่ยังคงเป็นแค่แนวคิด
ก็ยังดี แต่ใครจะมาทำงาน และหมิ่นเหม่ต่อการทำผิดกฎหมาย พรบ.การบริหารเงินทุนหมุนเวียน พ ศ.๒๕๕๘
วิธีการที่ไม่กระทบเจ้าหน้าที่ฯมากที่สุด คือ ปรับปรุงระบบการบริหารจัดการเงินทุนหมุนเวียนของกรมฯ รับผิดชอบดูแล ได้แก่ กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) หรือไปเกี่ยวข้อง ได้แก่ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (กทบ.) เสียใหม่ เพื่อเสนอปัญหาให้รัฐบาลได้ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการ รวมทั้งเงินทุนหมูนเวียนอื่น ๆ ของรัฐบาลด้วย เพื่อให้เกิดความโปร่งใสทางการคลังของเงินทุนหมุนเวียนนอกงบประมาณ และส่งเสริมความยั่งยืนทางการคลังของประเทศไทย
๑.ให้ผู้ที่เบี้ยวหนี้ ติดเครดิตบูโร และ/หรือ ฟ้องร้องดำเนินคดี
๒. บันทึกรายการหนี้สินในบัตรประจำตัวประชาชน
เมื่อบุคคลเหล่านี้ จะมาทำธุรกรรมทางการเงิน หรือติดต่อกับเจ้าหน้าที่ฯ เพื่อขึ้นทะเบียนอย่างใดอย่างหนึ่ง ขึ้นทะเบียนรถ โอนที่ดิน เข้าโรงพยาบาล ก็ต้องมาประนอมหนี้ด้วย จะฝากหรือโอนเงินกับธนาคาร ก็ต้องมาประนอมหนี้ด้วย (เมื่อพบผู้ที่เป็นหนี้ฐานะยากจน จะได้ขึ้นทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและฝึกอาชีพ เพราะเบี้ยวหนี้โดยฐานะหรือถูกหลอก หากพบผู้ที่เป็นหนี้รำ่รวย จักได้ทำการยึดทรัพย์ เพราะเบี้ยวหนี้โดยสันดาน)
๓.ผู้ที่เป็นหนี้ของรัฐไม่มีเวลาหมดอายุความ
๔.การรับภาระหนี้ให้เป็นรายคน ไม่ใช่รายกลุ่ม แม้นจะรวมกลุ่มกันทำโครงการ เพื่อหลีกเลี่ยงภาระที่จะตกกับคนใดคนหนึ่ง หรือคนหนึ่งได้ประโยชน์และอีกคนต้องชดใช้หนี้...ซึ่งเกิดขึ้นแล้ว
อย่าลืมว่า กรมฯได้ทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบเงินทุนหมุนเวียนของกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี กรมฯกลายเป็นสถาบันการเงิน ทำหน้าที่เหมือนธนาคารโดยปริยาย เพราะนิยามสถาบันการเงิน คือ
๑) เป็นตัวกลางทางด้ารการเงิน (Financial
Intermediary)
๒) เป็นวานิชธนกิจ (Investment-banking)
ฉะนั้น กรมฯ ต้องหารือกระทรวงการคลัง เพราะมีสิทธิ์ที่จะได้รับการบริการทางการเงินผ่านกระทรวงการคลัง เฉกเช่น สถาบันการเงินต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นธนาคารพาณิชย์ หรือธนาคารรัฐวิสาหกิจ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ เป็นต้น
No comments:
Post a Comment