Wednesday, 11 November 2015

แนวทางการดำเนินโครงการพัฒนาและขยายผล
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ปีงบประมาณ ๒๕๕๙

๑. หลักเกณฑ์การพิจารณาโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ
๑.๑ การคัดเลือกโรงเรียนให้เป็นไปตามความสมัครใจไม่กำหนดว่าโรงเรียนจะสังกัด สพฐ หรือ สช.
๑.๒ ผู้อำนวยการ/ผู้บริหารโรงเรียน มีความสมัครใจเข้าร่วมโครงการ
๑.๓ ครูเกษตรมีความพร้อมและต้องการที่จะดำเนินโครงการ
๑.๔ การสมัครเข้าร่วมโครงการต้องผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการการศึกษา
๑.๕ กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน/นายก อบต. ให้ความร่วมมือกับโรงเรียนในการดำเนินโครงการ
๑.๖ โรงเรียนต้องมีพื้นที่ทางการเกษตรอย่างน้อย ๒ ไร่ (แบ่งเป็นพื้นที่ว่างเปล่าอย่างน้อย ๑ ไร่) หรือ เป็นพื้นที่ของชาวบ้าน/ชุมชน ให้โรงเรียนใช้ประโยชน์ได้เช่นกัน

๒. งบประมาณที่ได้รับการสนับสนุน
๒.๑ โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ในปีงบประมาณ ๒๕๕๙ จะได้รับงบประมาณไม่เกินวงเงิน ๑๐๐,๐๐๐ บาทา
๒.๒ โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ปี ๒๕๕๗ - ๒๕๕๘ ต่อเนื่องปีงบประมาณ ๒๕๕๙ จะได้รับงบประมาณไม่เกิน ๔๐,๐๐๐ บาท
๒.๓ โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ปี ๒๕๕๘ (งบกระทรวงมหาดไทย) ให้นำมาเป็นโรงเรียนต่อยอดในปีงบประมาณ ๒๕๕๙

ทั้งนี้ การขอนุมัติกิจกรรม/งบประมาณ ให้ขึ้นอยู่กับความจำเป็น ให้ยึดหลักการดำเนินโครงการฯ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึงคณะทำงานโครงการฯ จะพิจารณาตามความเหมาะสม ทั้งนี้ พันธุ์ปลา และพันธุ์สัตว์ปีก ได้รับจากหน่วยงานราชการสนับสนุนต่อไป

๓. สิ่งที่โรงเรียนเห็นควรดำเนินการ/ปฏิบัติ
๓.๑ โรงเรียนต้องประกอบอาหารให้เด็กนักเรียนในอัตราการบริโภคอาหารกลางวันตามข้อกำหนดของสำนักงานโครงการส่วนพระองค์ ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- พืชผัก เท่ากับ ๑๐๐ กรัม/คน/มื้อ
- ผลไม้ เท่ากับ ๑๐๐ กรัม/คน/มื้อ
- เนื้อสัตว์ เท่ากับ ๘๐ กรัม/คน/มื้อ
- ไข่ไก่ สัปดาห์ละ ๓ ฟอง/คน
๓.๒ การประกอบอาหารให้นักเรียนต้องใช้เกลือไอโอดีน เป็นส่วนประกอบเท่านั้น ห้ามใช้เกลือเม็ด
๓.๓ โรงเรียนต้องมีการจดบันทึกรายงานภาวะโภชนาการของเด็กนักเรียน ที่เข้าร่วมโครงการอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เด็กนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ แล้ว ต้องไม่มีภาวะทุพโภชนาการ (เด็กผอม)
๓.๔ โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ จะต้องมีการดำเนินโครงการผ่านระบบสหกรณ์โรงเรียน นำผลผลิตที่ได้เข้าสหกรณ์โรงเรียน เพื่อฝึกให้นักเรียนได้ใช้ความรู้ในชั้นเรียน ทั้งการคิดเลข การเขียนหนังสือ มาบริหารสหกรณ์อย่างง่ายๆ และมีการจดบันทึกบัญชีรายรับ-รายจ่าย อย่างง่ายได้
๓.๕ ให้ผู้ปกครองนักเรียนและคณะกรรมการการศึกษาที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชนรอบโรงเรียนหมุนเวียนกันไปประกอบหรือตักอาหารกลางวันให้นักเรียน สัปดาห์ละครั้ง เพื่อจะตระหนักว่า โรงเรียนได้ดูแลเอาใจใส่ลูกหลานในเรื่องการรับประทานอาหารอย่างไร

No comments:

Post a Comment