วันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๙
ณ ห้องจันตุลี วิทยาลัยการอาชีพสุไหงโก-ลก สาขา ๒
วิทยากร คุณนูรอัยนี จากพาณิชย์จังหวัดนราธิวาส และ คุณพรเทพ จากผลิตภัณฑ์นมแพะ ยี่งอ
๑. การตั้งชื่อสินค้าต้องแปลงและจำง่าย เช่น โว้ยโห้ย
๒. สินค้าต้องมียี่ห้อ (Brand Name) บ่งบอกถึงความเป็นตัวตน
๓. ที่อบรมนำเสนอผลิตภัณฑ์โบราณ เช่น ทุเรียนหมัก สาคูหน้าขี้มัน ขนมรังผึ้ง และอาหารสัตว์อินทรีย์ผลิตจากสาคู ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจสามารถทำเป็นธุรกิจได้
๔. ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการเป็นนักขาย มีอยู่ด้วยก้น ๗ ประการ ได้แก่ ๑) ความมุ่งมั่น ๒) ภูมิปัญญา ๓) การเรียนรู้ตลอดชีวิต ๔) ความริเริ่มสร้างสรรค์ ๕) มนุษยสัมพันธ์และทักษะการสื่อสาร ๖) ทักษะการแก้ปัญหาและตัดสินใจ ๗) การบริหารเวลา
๕. คุณลักษณะของการเป็นผู้ประกอบการ ได้แก่ ๑) ความกล้าเสี่ยง ๒) ต้องการมุ่งต่อความสำเร็จ ๓) มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ๔) รู้จักผูกผันต่อเป้าหมาย ๕) ความสามารถโน้มน้าวจิตใจผู้อื่น ๖) ยืนหยัดต่อสู้ทำงานหนัก ๗) เอาประสบการณ์ในอดีตมาเป็นบทเรียน
๖. การเป็นผู้ประกอบการต้องคำนึงถึง หลัก 4M (Man Machine Material Method), ลูกค้า, PDCA, Product life Cycle, แผนธุรกิจ (การจัดการ, การตลาด, การผลิต, การเงิน)
๗. การตลาดมี ๔ ยุค ได้แก่ ยุค ๑.๐ คือ 4P (Product, Price, Place, Promotion) เป็นยุคผลิตอะไรก็ขายได้ง่าย ยุค ๒.๐ คือ 4P+ People + Physical + Process หรือ 7P ยุค ๓.๐ คือ 7P + กลยุทธ์เพื่อสร้างการยอมรับจากสังคม (Societal Marketing Concept) และยุค ๔.๐ คือ การเชื่อมตลาดออนไลน์กับออฟไลน์ (online + offline) หรือ Noline หรือ Omni Channel
๘. ช่องทางการตลาด ได้แก่ ๑) ผู้ผลิต ถึง ผู้บริโภค ๒) ผู้ผลิต ผ่าน พ่อค้าปลีก ถึง ผู้บริโภค ๓) ผู้ผลิต ผ่าน พ่อค้าส่ง ผ่าน พ่อค้าปลีก ถึง ผู้บริโภค ๔) ผู้ผลิต ผ่าน พ่อค้าส่ง ผ่าน พ่อค้าส่งรายย่อย ผ่าน พ่อค้าปลีก ถึง ผู้บริโภค
๙. การตั้งราคาขายปลีกบวกต้นทุน ค่าแรง ค่าขนส่ง ค่าบริหารจัดการ หากขายส่ง ลดต้นทุนที่ไม่ต้องจัดการเอง หากได้ order จำนวนมาก แค่กำไร ๑๐ สตางค์ ก็รับผลิตให้ได้
๑๐. การใช้ตารางกำหนดแผนว่า จะทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร กับใคร
Community Development (CD) Principles:
1.Non-directive Approach, 2.Self-help, 3.People Participation, and 4.Collaborative Partnership
Wednesday, 27 July 2016
นักขายมืออาชีพกับตลาด ๔.๐
Thursday, 18 February 2016
ปัจจัย องค์ประกอบ และเงื่อนไข ที่เกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ
นโยบายสาธารณะมีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยองค์ประกอบและเงื่อนไขต่างๆ มากมายโดยปัจจัยและเงื่อนไขเหล่านี้มีความสัมพันธ์และส่งผลกระทบต่อกันในรูปแบบที่ซับซ้อนที่เกี่ยวข้องทั้งในด้านรูปธรรมและนามธรรม
โดยจะเห็นได้ว่า ในขั้นเริ่มต้นของกระบวนการกำหนดนโยบายนั้น ผู้ชำนาญการด้านการวิเคราะห์นโยบายอาจมีการเก็บและรวบรวมข้อมูลด้านต่างๆ และชี้ให้เห็นประเด็นปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง หลังจากนั้น จึงมีการพัฒนาตัวเลือกและแนวทางปฏิบัติเพื่อการแก้ไขปัญหา ตลอดจนการประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากแต่ละตัวเลือก ก่อนที่จะเสนอให้ผู้ตัดสินใจนโยบายรับไปพิจารณา และในขั้นสุดท้ายผู้ตัดสินใจนโยบายจะใช้ดุลพินิจของตัวเองเพื่อตัดสินใจออกมาว่า ทางเลือกใดมีความเหมาะสมและควรได้รับการกำหนดเป็นนโยบาย (Policy Formulation) เพื่อตอบสนองต่อความต้องการหรือเพื่อแก้ปัญหาสังคมที่เกิดขึ้น
นโยบายต่างๆ ที่ถูกกำหนดออกมาเพื่อชี้นำแนวทางของการปฏิบัติเกี่ยวข้องกับสิ่งที่มีลักษณะและคุณสมบัติจิตวิสัย (Subjectivity) ซึ่งมีลักษณะเป็นนามธรรม และวัตถุวิสัย (Objectivity) ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปธรรม ในด้านต่างๆ มากมาย โดยประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องและมีบทบาทอย่างมากในการกำหนดทิศทางของนโยบาย คือ การระบุความหมายของปัญหา (Problem Definition) ซึ่งการระบุความหมายของปัญหามีความสัมพันธ์กับค่านิยม (Value) และผลประโยชน์ (Interest) ที่ผูกพันอยู่กับผู้ที่มีส่วนร่วมในกรอบนโยบายทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นนักวิเคราะห์ ผู้ตัดสินใจนโยบาย และกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย
หลักการกับการปฏิบัตควบคู่กันไปเสมอ แต่เวลา ปฏิบัตื จริงขึ้นอยู่กับความพอใจของแต่ละฝ่ายด้วย จะแหก หรือจะ แวก จะตรง หรือ จะอ้อม มันเป็นอารมณ์ โดยส่วนมากของคนไทย
ฉะนั้น ผู้ที่มีส่วนร่วมในกรอบนโยบายทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นนักวิเคราะห์นโยบาย ผู้ตัดสินใจนโยบาย และกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย จะต้องมีคุณธรรมจริยธรรม เห็นประโยชน์ของมวลมหาประชาชนคนในชาติ มากกว่าประโยชน์ส่วนบุคคล กลุ่มบุคคลบางกลุ่ม พวกพ้องตนเอง และต้องเป็นผู้ที่รับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวมอย่างแท้จริง
โดยจะเห็นได้ว่า ในขั้นเริ่มต้นของกระบวนการกำหนดนโยบายนั้น ผู้ชำนาญการด้านการวิเคราะห์นโยบายอาจมีการเก็บและรวบรวมข้อมูลด้านต่างๆ และชี้ให้เห็นประเด็นปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง หลังจากนั้น จึงมีการพัฒนาตัวเลือกและแนวทางปฏิบัติเพื่อการแก้ไขปัญหา ตลอดจนการประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากแต่ละตัวเลือก ก่อนที่จะเสนอให้ผู้ตัดสินใจนโยบายรับไปพิจารณา และในขั้นสุดท้ายผู้ตัดสินใจนโยบายจะใช้ดุลพินิจของตัวเองเพื่อตัดสินใจออกมาว่า ทางเลือกใดมีความเหมาะสมและควรได้รับการกำหนดเป็นนโยบาย (Policy Formulation) เพื่อตอบสนองต่อความต้องการหรือเพื่อแก้ปัญหาสังคมที่เกิดขึ้น
นโยบายต่างๆ ที่ถูกกำหนดออกมาเพื่อชี้นำแนวทางของการปฏิบัติเกี่ยวข้องกับสิ่งที่มีลักษณะและคุณสมบัติจิตวิสัย (Subjectivity) ซึ่งมีลักษณะเป็นนามธรรม และวัตถุวิสัย (Objectivity) ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปธรรม ในด้านต่างๆ มากมาย โดยประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องและมีบทบาทอย่างมากในการกำหนดทิศทางของนโยบาย คือ การระบุความหมายของปัญหา (Problem Definition) ซึ่งการระบุความหมายของปัญหามีความสัมพันธ์กับค่านิยม (Value) และผลประโยชน์ (Interest) ที่ผูกพันอยู่กับผู้ที่มีส่วนร่วมในกรอบนโยบายทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นนักวิเคราะห์ ผู้ตัดสินใจนโยบาย และกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย
หลักการกับการปฏิบัตควบคู่กันไปเสมอ แต่เวลา ปฏิบัตื จริงขึ้นอยู่กับความพอใจของแต่ละฝ่ายด้วย จะแหก หรือจะ แวก จะตรง หรือ จะอ้อม มันเป็นอารมณ์ โดยส่วนมากของคนไทย
ฉะนั้น ผู้ที่มีส่วนร่วมในกรอบนโยบายทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นนักวิเคราะห์นโยบาย ผู้ตัดสินใจนโยบาย และกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย จะต้องมีคุณธรรมจริยธรรม เห็นประโยชน์ของมวลมหาประชาชนคนในชาติ มากกว่าประโยชน์ส่วนบุคคล กลุ่มบุคคลบางกลุ่ม พวกพ้องตนเอง และต้องเป็นผู้ที่รับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวมอย่างแท้จริง
ความหมายของ "การวิจัย"
พจนานุกรมและนักวิชาการได้ให้ความหมายของการวิจัยไว้คล้ายๆ กัน ได้แก่
การวิจัย หมายถึง การค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา
การวิจัย คือ การสังเกตอย่างมีระบบเพื่อแสวงหาและทำความเข้าใจแบบแผนของสิ่งที่สังเกตได้
การวิจัย หมายถึง การแสวงหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปรากฏการณ์ต่างๆ ด้วยระเบียบวิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์ โดยมีจุดมุ่งหมายที่ต้องการอธิบายปรากฎการณ์นั้นๆ การวิจัยจึงต้องประกอบด้วยลักษณะที่สำคัญ 3 ประการ คือ
1. เป็นการแสวงหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปรากฏการณ์ต่างๆ
2. เป็นการแสวงหาด้วยวิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์
3. เป็นการแสวงหาโดยมีจุดมุ่งหมายที่ต้องการอธิบายปรกฏการณ์นั้นๆ
การวิจัย ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า "research" ซึ่งตามพจนานุกรมของเมอร์เรียมเวบสเตอร์ (Merriam Webster Dictionary) ได้กำหนดนิยามของคำว่า "research" ในความหมายทั่วไปว่า เป็นการตรวจสอบหรือศึกษาอยางระมัดระวังและขะมักขมันในการแสวงหาข้อเท็จจริงหรือหลักการ เพื่อให้เกิดความแน่นอนในบางสิ่งบางประการ อย่างไรก็ดี คำว่า "research" มีรากศัพท์มาจากคำว่า "re" และคำว่า "search" แปลว่า การค้นหา ส่วนคำว่า "re" แปลว่า อีกครั้ง ดังนั้น คำว่า "research" จึงหมายถึง การค้นหาแลัวค้นหาอีก เพื่อให้ทราบว่าอะไร คือ ความจริงแท้ของปรากฏการณ์ และอะไร คือ สาเหตุของปรากฏการณ์ นอกจากนี้ การเพิ่มความหมายให้กับคำว่า "research" ก็ยังอาจกระทำได้โดยใช้วิธีการขยายความหมายให้กับอักษรแต่ละตัวจนครบทั้ง 8 ตัวอักษร ดังต่อไปนี้
อักษร "R" แทนคำว่า "Reality" (ความจริงแท้) ซึ่งหมายความว่า การวิจัยเป็นการมุ่งแสวงหาความจริงแทัของปรากฏการณ์ ดังนั้น ถ้าปรากฏการณ์มีหลายมิติดุจ "พรหมสี่หน้า" การวิจัยที่ครอบคลุมก็จะต้องแสวงหาความจริงแท้ของปรากฏการณ์ในทุกมิติ
อักษร "E" แทนดำว่า "Ethics" (จริยธรรม) ซึ่งหมายความถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติของนักวิจัย กล่าวได้ว่า นักวิจัยที่พึงปรารถนาต้องเป็นผู้ที่ต้องตระหนักถึงทั้งประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนของผู้อื่น และต้องเคารพทั้งต่อตนเองและผู้อื่นในการดำเนินงาน
อักษร "S" แทนคาว่า "Science" (ความเป็นวิทยาศาสตร์) ซึ่งหมายความว่า การดำเนินงานวิจัยจัดเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กล่าวได้ว่า วิทยาศาสตร์มีความเกี่ยวข้องกับการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า (ตา หู จมูก ลิ้น กาย) อย่างเป็นระบบ และในปัจจุบัน "จิต" และ "สติ" ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญในการตีความในแต่ละขั้นตอนของการวิจัยด้วย
อักษร "E" แทนคำว่า "Exchange" (การแลกเปลี่ยน) ซึ่งหมายความว่า การวิจัยในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตมีลักษณะมุ่งเน้นการทำงานเป็นทีมวิจัยที่จะมุ่งแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และข้อมูลระหว่างกันมากยิ่งขึ้น เพื่อที่จะสามารถศึกษาปรากฏการณ์ได้อยางกว้างขวางและครอบคลุมยิ่งขึ้น
อักษร"A"แทนค่ำว่า "Ability" (ความสามารถ) ซึ่งหมายความว่า การดำเนินงานวิจัยต้องอาศัยทีมงานที่มีความสามารถ มีสติปัญญา เพื่อให้งานวิจัยสามารถสำเร็จลุล่วงไปได้อย่างได้มาตรฐาน
อักษร "R" แทนคำว่า "Readiness" (ความพร้อมสรรพ) ซึ่งหมายความว่า การวิจัยที่มีคุณภาพนั้น จำเป็นต้องอาศัยความพร้อมของทั้งนักวิจัย วัสดุอุปกรณ์ งบประมาณ เวลาและสถานที่วิจัย นักวิจัยจึงควรตระหนักอยู่เสมอว่าบุคคลผู้ประสบความสำเร็จในการทำงานก็ย่อมได้แก่ บุคคลผู้มีความพรัอมเมื่อโอกาสมาถึง
อักษร "C" แทนคำว่า "Creativity" (ความคิดริเริ่ม) ซึ่งหมายความว่า การวิจัยจำเป็นต้องอาศัยความคิดริเริ่ม รวมทั้งความอยากรู้อยากเห็นของนักวิจัยและทีมงานวิจัยอย่างมาก
อักษร "H" แทนคำว่า "Hunch" (วิจารณญาณ) ซึ่งหมายความว่า การวิจัยต้องพี่งพาปัญญาที่สามารถให้เหตุผลที่ถูกต้องเหมาะสม
จากความหมายตามพจนานุกรมและความหมายที่นักวิชาการต่างๆ ข้างตันได้ให้ไว้ อาจสรุปได้ว่า การวิจัย คือ การศึกษาหาความรู้อย่างมีแบบแผนตามวิธีวิทยาศาสตร์เพื่อให้พบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปรากฏการณ์ต่างๆ
การวิจัย หมายถึง การค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา
การวิจัย คือ การสังเกตอย่างมีระบบเพื่อแสวงหาและทำความเข้าใจแบบแผนของสิ่งที่สังเกตได้
การวิจัย หมายถึง การแสวงหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปรากฏการณ์ต่างๆ ด้วยระเบียบวิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์ โดยมีจุดมุ่งหมายที่ต้องการอธิบายปรากฎการณ์นั้นๆ การวิจัยจึงต้องประกอบด้วยลักษณะที่สำคัญ 3 ประการ คือ
1. เป็นการแสวงหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปรากฏการณ์ต่างๆ
2. เป็นการแสวงหาด้วยวิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์
3. เป็นการแสวงหาโดยมีจุดมุ่งหมายที่ต้องการอธิบายปรกฏการณ์นั้นๆ
การวิจัย ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า "research" ซึ่งตามพจนานุกรมของเมอร์เรียมเวบสเตอร์ (Merriam Webster Dictionary) ได้กำหนดนิยามของคำว่า "research" ในความหมายทั่วไปว่า เป็นการตรวจสอบหรือศึกษาอยางระมัดระวังและขะมักขมันในการแสวงหาข้อเท็จจริงหรือหลักการ เพื่อให้เกิดความแน่นอนในบางสิ่งบางประการ อย่างไรก็ดี คำว่า "research" มีรากศัพท์มาจากคำว่า "re" และคำว่า "search" แปลว่า การค้นหา ส่วนคำว่า "re" แปลว่า อีกครั้ง ดังนั้น คำว่า "research" จึงหมายถึง การค้นหาแลัวค้นหาอีก เพื่อให้ทราบว่าอะไร คือ ความจริงแท้ของปรากฏการณ์ และอะไร คือ สาเหตุของปรากฏการณ์ นอกจากนี้ การเพิ่มความหมายให้กับคำว่า "research" ก็ยังอาจกระทำได้โดยใช้วิธีการขยายความหมายให้กับอักษรแต่ละตัวจนครบทั้ง 8 ตัวอักษร ดังต่อไปนี้
อักษร "R" แทนคำว่า "Reality" (ความจริงแท้) ซึ่งหมายความว่า การวิจัยเป็นการมุ่งแสวงหาความจริงแทัของปรากฏการณ์ ดังนั้น ถ้าปรากฏการณ์มีหลายมิติดุจ "พรหมสี่หน้า" การวิจัยที่ครอบคลุมก็จะต้องแสวงหาความจริงแท้ของปรากฏการณ์ในทุกมิติ
อักษร "E" แทนดำว่า "Ethics" (จริยธรรม) ซึ่งหมายความถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติของนักวิจัย กล่าวได้ว่า นักวิจัยที่พึงปรารถนาต้องเป็นผู้ที่ต้องตระหนักถึงทั้งประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนของผู้อื่น และต้องเคารพทั้งต่อตนเองและผู้อื่นในการดำเนินงาน
อักษร "S" แทนคาว่า "Science" (ความเป็นวิทยาศาสตร์) ซึ่งหมายความว่า การดำเนินงานวิจัยจัดเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กล่าวได้ว่า วิทยาศาสตร์มีความเกี่ยวข้องกับการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า (ตา หู จมูก ลิ้น กาย) อย่างเป็นระบบ และในปัจจุบัน "จิต" และ "สติ" ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญในการตีความในแต่ละขั้นตอนของการวิจัยด้วย
อักษร "E" แทนคำว่า "Exchange" (การแลกเปลี่ยน) ซึ่งหมายความว่า การวิจัยในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตมีลักษณะมุ่งเน้นการทำงานเป็นทีมวิจัยที่จะมุ่งแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และข้อมูลระหว่างกันมากยิ่งขึ้น เพื่อที่จะสามารถศึกษาปรากฏการณ์ได้อยางกว้างขวางและครอบคลุมยิ่งขึ้น
อักษร"A"แทนค่ำว่า "Ability" (ความสามารถ) ซึ่งหมายความว่า การดำเนินงานวิจัยต้องอาศัยทีมงานที่มีความสามารถ มีสติปัญญา เพื่อให้งานวิจัยสามารถสำเร็จลุล่วงไปได้อย่างได้มาตรฐาน
อักษร "R" แทนคำว่า "Readiness" (ความพร้อมสรรพ) ซึ่งหมายความว่า การวิจัยที่มีคุณภาพนั้น จำเป็นต้องอาศัยความพร้อมของทั้งนักวิจัย วัสดุอุปกรณ์ งบประมาณ เวลาและสถานที่วิจัย นักวิจัยจึงควรตระหนักอยู่เสมอว่าบุคคลผู้ประสบความสำเร็จในการทำงานก็ย่อมได้แก่ บุคคลผู้มีความพรัอมเมื่อโอกาสมาถึง
อักษร "C" แทนคำว่า "Creativity" (ความคิดริเริ่ม) ซึ่งหมายความว่า การวิจัยจำเป็นต้องอาศัยความคิดริเริ่ม รวมทั้งความอยากรู้อยากเห็นของนักวิจัยและทีมงานวิจัยอย่างมาก
อักษร "H" แทนคำว่า "Hunch" (วิจารณญาณ) ซึ่งหมายความว่า การวิจัยต้องพี่งพาปัญญาที่สามารถให้เหตุผลที่ถูกต้องเหมาะสม
จากความหมายตามพจนานุกรมและความหมายที่นักวิชาการต่างๆ ข้างตันได้ให้ไว้ อาจสรุปได้ว่า การวิจัย คือ การศึกษาหาความรู้อย่างมีแบบแผนตามวิธีวิทยาศาสตร์เพื่อให้พบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปรากฏการณ์ต่างๆ
หลักคิดในการปฏิรูปประเทศไทย
เหตุการณ์ไม่สงบในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัดได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ที่รุนแรงระหว่างปี 53-57 มีการอ้างเหตุผลประชาธิปไตย เรียกร้องทางการเมือง และระดมมวลชนกดดัน รวมทั้งการกระทำทุจริตผิดกฎหมาย คอรัปชั่น ความไม่เป็นธรรมในสังคม ทำให้เกิดความสับสนทางการเมือง ทั้งภายในและนอกประเทศ เกิดความเสียหายต่อชาติบ้านเมือง ทำความเสียหายต่อชีวิตทรัพย์สินและเศรษฐกิจ
สาเหตุทั้งหมดเกิดจากความบกพร่องในหลายด้านที่สั่งสมอยู่ในสังคมไทยมาเป็นเวลานาน โดยไม่ได้รับการดูแลแก้ไข ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และเป็นช่วงเวลาที่ประเทศไทยมีการเจริญเติบโตขยายตัว และเปลี่ยนแปลงภายใต้โลกาภิวัตน์
ถึงเวลาที่เราจะต้องมีการปฏิรูปประเทศไทย เพื่อขจัดข้อบกพร่องต่างๆ เหล่านั้นเพื่อนำพาประเทศชาติไปสู่ความเข้มแข็ง มั่นคง มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และราบรื่นโดยไม่ติดปัญหา อุปสรรคดังกล่าว
การปฏิรูปประเทศกับการปรองดองมีความเกี่ยวข้อง สัมพันธ์กันอย่างปฎิเสธไม่ได้ วันนี้อาจเกิดความสับสนกันว่าเราจะปฏิรูปประเทศ/ปรองดองได้อย่างไรขณะที่มีการบังคับใช้กฎหมาย ดำเนินการต่อผู้กระทำความผิดอย่างจริงจัง
เราต้องยอมรับว่าปัญหาพื้นฐานของเศรษฐกิจ และสังคมยังขจัดได้ไม่หมดสิ้น และเป็นที่มาของความขัดแย้งในสังคมไทย และได้ถูกนำมาใช้ปลุกระดมทางการเมือง เพื่อทำลายความชอบธรรมและความน่าเชื่อถือของรัฐบาล กลับไปกลับมา ซ้ำแล้วซ้ำเล่า วันนี้เราจำเป็นต้องขจัดปัญหาดังกล่าวซึ่งอาจต้องใช้เวลาค่อนข้างมากจึงจะเกิดผลสำเร็จ
นอกจากปัญหาพื้นฐานด้านเศรษฐกิจ สังคมแล้ว ยังมีปัญหาอื่นๆเช่น ความไม่ชอบธรรมในการใช้อำนาจรัฐ การทำลายทรัพยากรธรรมชาติ/สิ่งแวดล้อม การละเมิดสิทธิมนุษยชน การเผยแพร่ข่าวสารและข้อมูลอันเป็นเท็จ หรือถูกบิดเบือน โดยสื่อ/โซเชียล ทำให้สถานการณ์ต่างๆขยายความรุนแรงมาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้น อาจมีปัญหาอื่นๆเช่นปัญหาจราจร/ขนส่ง การอนุรักษ์ศิลปะ/วัฒนธรรมของชาติร่วมเข้ามาอีก
การปฏิรูปประเทศไทยกับการปรองดองมีความหมายที่แตกต่างกัน คำว่า ปรองดองหมายถึง กรณีที่มีความขัดแย้งเกิดขึ้น โดยให้ระงับความขัดแย้งด้วยความออมชอม ประนีประนอม ระหว่างคู่ขัดแย้งแต่คงไม่ใช่ในกรณีของการปฏิรูปประเทศไทย เพราะเรายังคงต้องมีการบังคับใช้กฎหมายกับผู้ที่ทำความผิดทั้งกฏหมายแพ่ง/อาญาอย่างจริงจัง
หลักการของการปฏิรูปประเทศไทยมีประเด็นสำคัญสามเรื่อง คือ หนึ่งเรื่องบทบาทและขอบเขตของประชาธิปไตย สอง เรื่องความไม่เป็นธรรมของเศรษฐกิจ/สังคม สาม การศึกษาเพื่อให้เกิดความถูกต้องในหลักคิด
คำว่าประชาธิปไตยที่เราเข้าใจกันของประเทศไทย คนไทย มีความสับสนกันอยู่มาก แม้กระทั่งฝ่ายเดียวกัน หรือคนละฝ่าย ทั้งในพฤติกรรมและจิตวิญญาณ
ทุกฝ่ายใช้คำว่าประชาธิปไตยเป็นปมของกระบวนการ รัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง ผ่านขั้นตอน ดำรงตำแหน่ง ยังได้รับการกล่าวหาว่าเป็นรัฐบาลที่ไม่ชอบธรรม แสดงให้เห็นว่าการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของไทยมีปัญหา
มีคำกล่าวว่า บางทีปัญหาของไทยอาจเนื่องมาจากการที่กติกาประชาธิปไตยที่พัฒนาขึ้นมาตามลำดับอาจเกินขีดความสามารถของสังคมไทยเท่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันจะพึงปฏิบัติได้ ทำให้เกิดผลตามมาคือ ความปั่นป่วนที่ทำลายความสามัคคีและความสงบสุข
ความไม่เป็นธรรมด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ การแบ่งสรรมูลค่าเพิ่ม แก่บรรดาผู้มีส่วนร่วมในการสร้างมูลค่าเพิ่ม อันเป็นหลักการสำคัญของความเป็นธรรมด้านเศรษฐกิจ และเป็นจุดอ่อนของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมของประเทศไทย เรื่องนี้เป็นความแตกต่างจากเรื่องความไม่เท่าเทียมในฐานะทางเศรษฐกิจของบุคคล แต่ละบุคคล ซึ่งขึ้นอยู่กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมค่อนข้างมาก
เรื่องความไม่เป็นธรรมในสังคม ไม่มีสิ่งใดทำได้ แก้ไขได้ นอกจากการพยายามใช้มาตรฐานเดียวในการปฏิบัติต่อกลุ่มบุคคล/บุคคล ที่มีความผิดแตกต่างกันไป จำเป็นต้องได้รับการปฏิบัติที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งต้องยอมรับกันว่า เป็นกรอบความคิดที่ขัดแย้งกับกระแสหลักในปัจจุบัน
ต้องยอมรับว่ามีความไม่เป็นธรรมทางสังคมสูงสุด คือ ความเสียเปรียบของผู้ที่ด้อยกว่า คนยากจนการศึกษาน้อย ปราศจากต้นทุนทางสังคมในการแสวงหากระบวนการยุติธรรม
บุคคลเหล่านี้ล้วนถูก ขัง จำขัง คดีอาญา อยู่ในเรือนจำ ซึ่งไม่ได้ขึ้นอยู่กับบทบัญญัติรัฐธรรมนูญปฏิญญา สิทธิมนุษยชน หลักการหรือระเบียบกระบวนการยุติธรรม ซึ่งหากเราทำให้บุคคลเหล่านี้สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยง่าย สะดวกรวดเร็ว ทั่วถึง อาจยังไม่พอ เพราะปัญหาเกิดจากกลุ่มบุคคลที่มีความเสียเปรียบที่กล่าวมา ไม่เข้าใจ
การปฏิรูปการศึกษา ถึงแม้ว่าจะมีความสนใจ/เอาใจใส่/พยายามตลอดมา แต่ยังไม่สนองตอบตอบความมุ่งหมายของสังคมอย่างตรงประเด็น และมีประสิทธิภาพ
การปฏิรูปการศึกษา คือการทำให้คนไทยเป็นผู้ที่มีการศึกษา และการมีการศึกษา หมายถึงการมีหลักคิดที่ถูกต้องในการกระทำการใดๆ หากหลักคิดไม่ถูกต้องสิ่งต่างๆ ตามมาก็จะผิดไปทั้งหมด
ปัจจุบันสาธารณชนเรายังมีหลักคิดที่ไม่ถูกต้องหลายเรื่อง จึงนำไปสู่ความปั่นป่วน และเสื่อมโทรมของสังคม / การปฏิรูปการศึกษาของเรา จึงไม่มีประสิทธิผล และจะยังคงเป็นต่อไป หากยังมิได้ให้ความสำคัญ คือ การปลูกฝังความถูกต้อง ในหลักคิด / ความแตกต่างจากคำว่า “คิดเป็น” หรือการสอนให้ “รู้จักคิด” อาจยังไม่เพียงพอ ต้องใช้คำว่า สอนให้ “รู้จักคิด, คิดเป็น และมีหลักคิดที่ถูกต้อง” / จึงจะสมบูรณ์ เพราะคิดเป็น รู้จักคิด แต่ไม่มีหลักคิดถูกต้อง อาจคิดทำความไม่ดี ความชั่ว ก็ได้
เราควรใช้หลักคิดที่ถูกต้อง ที่อยู่ในคำสอนของศาสนา ทุกศาสนา / ศาสนาพุทธมีธรรมะสอนคน ทั้งกาย – วาจา – ใจ / และมีสุภาษิตไทย ที่ใช้ในการอบรม สั่งสอน “หลักคิด” ให้สังคมไทย มาเป็นเวลานาน
ปัจจุบันหลักคิดที่กล่าวถึง อาจไม่สอดคล้องกับกระแสหลัก ในโลกยุคปัจจุบัน / แต่ก็จะเป็นการสร้างความคิด เน้นที่แตกต่าง และช่วยปลุกจิตสำนึกของคนไทย / ให้ความสนใจ ที่จะพิจารณาปัญหา และข้อเท็จจริง ที่เกี่ยวกับสังคมไทย โดยรอบด้าน
ปัญหาประเทศไทย เช่น ในเรื่องประชาธิปไตย – การศึกษา – เศรษฐกิจ – สังคม / สิ่งที่พึงกระทำ ในการแก้ปัญหา คือ การทบทวนหลักคิด ในเรื่องดังกล่าว / ว่ามีความถูกต้อง หรือไม่ อย่างไร
กล่าวโดยสรุปแล้ว การที่จะปฏิรูปประเทศไทย ให้ดำเนินการไปตามหลักคิด ที่ถูกต้องนั้น / จะนำพาประเทศชาติ – ประชาชน ไปสู่ความสงบสุข สันติสุข และมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ที่ยึดหลักสามัคคีธรรม / เรามีโอกาสมากมาย มีสิ่งดีๆ เยอะ มีสถาบันเป็นศูนย์รวมจิตใจ มีความผสมกลมกลืน ในวัฒนธรรมอันหลากหลาย / มีเศรษฐกิจพื้นฐานที่สมบูรณ์ ด้วยทรัพยากรในดิน สินในน้ำ / มีทรัพยากรมนุษย์ ที่หลากหลาย และมีความโดดเด่นในศิลปะ วัฒนธรรม ที่สั่งสมมากับประวัติศาสตร์นับพันปี
คำว่า “เสรีภาพในการชุมนุม” ต้องเป็นการชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธ ซึ่งจำกัดมิได้ตามรัฐธรรมนูญ เว้นอาศัยอำนาจบัญญัติไว้ในกฎหมายเฉพาะ ในกรณีชุมนุมสาธารณะ และเพื่อคุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่ใช้พื้นที่สาธารณะ หรือเพียงรักสาความสงบเรียบร้อย หรือระหว่างอยู่ในภาวะสงคราม, ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือประกาศใช้กฎอัยการศึก เพื่อให้การควบคุมดูแลการชุมนุมสาธารณะ จำเป็นต้องใช้กฎหมายเฉพาะ ว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะ หรือกฎหมายสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็นเครื่องมือดำเนินการ ไม่ให้ทุกอย่างลุกลามบานปลายไปสู่ “อนาธิปไตย”
16. จุดบกพร่องที่สำคัญอีกเรื่อง คือ การใช้อำนาจเงิน เพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง การซื้อสิทธิ์ขายเสียง จะต้องทำให้สาธารณชนมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน “ทัศนะทางสังคม” ว่าบุคคลที่มีเงินมาก เหลือกินเหลือใช้ ไม่สมควรเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมือง ควรไปทำประโยชน์อย่างอื่น ให้กับสาธารณะมากกว่า
17. ความไม่เป็นธรรม เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับทุกคน ทุกกลุ่ม บุคคลที่ไม่ได้รับสิ่งที่คาดหมายว่าจะได้รับ ปัญหา “ความไม่เป็นธรรม” มีความซับซ้อน เป็นปรากฏการณ์ ตามธรรมชาติ ไม่อาจขจัดให้หมดสิ้นไปได้ แต่จำเป็นต้องดูแลให้อยู่ภายในขอบเขตอันสมควร
ความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคมเกี่ยวพันกัน ความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจเป็นที่มาของความไม่เป็นธรรมทางสังคม และบางสังคมอาจนำไปสู่ความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจได้ด้วย จุดเริ่มต้นส่วนใหญ่จะเกิดจากเศรษฐกิจก่อน หากลดปัญหาลงได้ ความไม่เป็นธรรมทางสังคมก็จะลดผ่อนคลายลง
18. ความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจเกิดจากบุคคลกลุ่มบุคคลที่มีความสามารถมีศักยภาพภายในการผลิตสินค้าและบริการที่แตกต่างกัน มูลค่าที่เกิดขึ้น หากการผลิตใด สร้างมูลค่าได้มากกว่า ผู้ผลิตก็มีค่าตอบแทนสูง หากสร้างมูลค่าเพิ่มได้น้อย รายได้/ผลตอบแทนก็น้อย ผู้ที่มีปัจจัยพร้อม ทั้งปริมาณ-คุณภาพ มีโอกาสสร้างมูลค่าเพิ่มได้มากกว่า และเป็นผู้มีรายได้สูง มีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดี
19. ความเป็นเจ้าของ “ปัจจัยการผลิต” เป็นที่มาของการได้เปรียบเสียเปรียบกันในทางเศรษฐกิจ ในการแบ่งสรร “มูลค่าเพิ่ม” อันเกิดจากการผลิต ผู้ที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตเท่านั้น ที่จะมีสิทธิ์ได้รับส่วนแบ่งโดยปกติ ได้แก่ ผู้เป็นเจ้าของที่ดิน, ทุน, เทคโนโลยี และความสามารถในการประกอบการ มีไม่มากนัก จะได้รับส่วนแบ่งมาก จากของมูลค่าเพิ่ม
ผู้ใช้แรงงานมีจำนวนมาก จะได้รับส่วนแบ่ง “ที่เหลือ” ซึ่งอาจไม่มากนัก ซึ่งมักถูกมองว่า ผู้ใช้แรงงานไม่ได้รับความเป็นธรรม ประเด็นเหล่านี้ เป็นสัจธรรมทางเศรษฐกิจที่ไม่อาจปฏิเสธได้ อนึ่ง เจ้าของปัจจัยการผลิตดังกล่าว เป็นผู้รับผิดชอบความเสี่ยงด้วยตนเองทั้งสิ้น
20. การแก้ไขความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจไม่อาจแก้ไขได้โดยง่าย ดังนั้นความสำคัญอยู่ที่ “ข้อตกลงในการแบ่งสรร” ที่สมควร มีเหตุผล และข้อมูลตกลงกันในเบื้องแรก ก่อนจะทำการผลิต เพื่อป้องกันมิให้เกิดความรู้สึก “ไม่เป็นธรรม” ภายหลัง เจ้าของก็ต้องไม่เอารัดเอาเปรียบ กดขี่การใช้แรงงาน การเจรจาต่อรองเรื่องค่าจ้างแรงงานโดยสหภาพแรงงาน เป็นคนละกรณีกันกับการแบ่งสรร “มูลค่าเพิ่ม”
21. ความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจ อันเนื่องมาจากการแบ่งสรรมูลค่าเพิ่ม มักเกิดจาก “การประเมินคุณค่าของผลงาน” เช่น การประเมินคุณค่าของกรรมการและผู้บริหารกิจการ “สูงกว่าความเป็นจริง” ขณะเดียวกันกับการประเมินคุณค่าของพนักงานที่ปฏิบัติงาน “ต่ำเกินไป”
บางครั้งงานที่ง่ายที่สุดอาจประเมินคุณค่าสูงสุด งานยากที่สุดอาจถูกประเมินต่ำสุด การประเมินคุณค่ามักขึ้นอยู่กับ “ทัศนะทางสังคม” เป็นสำคัญ เช่น ทัศนะทางสังคมมักมองว่า เกษตรกร – คนเก็บขยะมีคุณค่าต่ำ จึงได้รับผลตอบแทนน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับผู้บริหารวิสาหกิจ หรือผู้มีวิชาชีพสูง
22. หัวใจเศรษฐกิจอยู่ที่การผลิต ประเทศใด กลุ่มใด บุคคลใด มีขีดความสามารถในการผลิตสูง ย่อมมีโอกาสจะสร้างฐานะทางเศรษฐกิจ ประเทศที่ผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ที่ตลาดต้องการ ทำให้มีมูลค่าสูง สามารถครองเศรษฐกิจโลกได้ บุคคลก็เช่นกัน ผู้ใดมีความสามารถผลิตสินค้าและบริการที่เหนือกว่า ก็จะมีฐานะร่ำรวย
สิ่งเหล่านี้ เป็นข้อเท็จจริง การที่จะให้มีฐานะทางเศรษฐกิจเท่าเทียม และเป็นธรรม กับคนอื่น ก็ต้องขึ้นอยู่กับการพัฒนาตนเอง หาวิธีเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต หากขาดปัจจัย ก็ต้องยกระดับความรู้ – ความสามารถของตนเองให้สูงขึ้น
รัฐก็มีหน้าที่ในการ “พัฒนาฝีมือแรงงาน” ตลอดจนการจัดการศึกษาในระดับสูง ที่เทคโนโลยีมีความก้าวหน้ารวดเร็ว
23. การแก้ไข “ความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจ” มีความต่อเนื่องไปสู่ “ความไม่เป็นธรรมทางสังคม” ซึ่งต้องดูแลด้วย “การแบ่งสรรมูลค่าเพิ่ม” ให้มีความเหมาะสมขึ้น ซึ่งอาจบรรลุความสำเร็จได้เพียงระดับหนึ่ง เพราะความไม่เป็นธรรมเป็น “ข้อเท็จจริง” เป็น “ปรากฏการณ์ธรรมชาติ” ซึ่งบุคคลมีความแตกต่างกัน ซึ่งหากจะให้ลดลงก็ต้องการเยียวยา 4 ประการ คือ
ปัญหาสำคัญในพื้นที่ชนบท ซึ่งจำเป็นต้องมีการปฏิรูป คือ ปัญหาการเสียสมดุลทางเศรษฐกิจ ราษฎร์พื้นที่ชนบทมีรายได้ไม่พอรายจ่าย ทำให้เป็นหนี้สะสม สูญเสียกรรมสิทธิ์ในที่ดินทำกิน ตลอดจนต้องอพยพย้ายถิ่นฐานไปใช้แรงงานอาชีพเกษตรกรรม เลี้ยงตนเองและครอบครัวไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกพืชชนิดเดียว เช่น การทำนา พื้นดินใช้เพาะปลูกน้อยลง น้ำน้อยลง คุณค่าดินลดลงจนต้องอาศัยปุ๋ยเคมี รายจ่ายเพิ่มขึ้น ผลผลิตไม่แน่นอน ทั้งปริมาณ, คุณภาพ และราคาจำหน่าย
นโยบาย – มาตรการของรัฐช่วยบรรเทาได้บ้าง แต่ไม่อาจแก้ไขปัญหาการเสียสมดุล ทำให้ภาระหนี้สิน ความยากจน สลัดทิ้งได้ยาก มีแต่จะรุนแรงมากขึ้น
หากเกษตรกรทิ้งอาชีพเดิมหมด เป็นอันตรายอย่างยิ่ง เราจำเป็นต้องเปลี่ยน “หลักคิด” ว่าด้วยเศรษฐกิจเกษตรกร เรื่องเกษตรแปลงใหญ่ ไม่ปลูกพืชชนิดเดียว หรือทำเกษตรอย่างเดียว ซึ่งไม่สามารถสร้างรายได้ ที่เพียงพอกับรายจ่าย ที่มากขึ้น เนื่องจาก ค่าใช้จ่ายในการครองชีพ ซึ่งมีการพัฒนาสู่ความทันสมัยมากขึ้น
ทางเลือกเดียวเรื่องนี้ คือ “การสร้างระบบเศรษฐกิจชุมชน” หรือเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่ชนบท
25. ระบบเศรษฐกิจชุมชน ก็คือ “สหกรณ์” นั่นเอง แต่เป็นสหกรณ์อเนกประสงค์ หรือ “ประชารัฐ” ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลายอย่าง ดำเนินการไปพร้อมๆ กัน ทั้งการผลิต, จำหน่าย, แปรรูปผลิตผล, การจัดหาปัจจัยการผลิต อาทิ เงินทุน, เครื่องมือเครื่องจักร, แรงงาน, แปรรูป เช่น โรงสีข้าวยุ้งฉาง สำหรับเก็บผลิตผล, เทคโนโลยี และวิชาการ สำหรับใช้ในการผลิต ตลอดจนเครื่องอุปโภคบริโภคที่จัดจำหน่ายในร้านค้า ต่อไปรายได้ระบบเศรษฐกิจดังกล่าว จะมีการพัฒนาชมรมออมทรัพย์ กลุ่มออมทรัพย์ของเครือข่ายเกษตรกรอเนกประสงค์ จัดตั้งเป็น “ธนาคารสหกรณ์” ทำหน้าที่เป็นสถาบันการเงิน ให้แก่เครือข่ายสหกรณ์
26. การปฏิรูประบบภาษีอากร เราต้องให้ความสำคัญต่อภาษีการบริโภค และการใช้ภาษีทรัพย์สินและมรดก ซึ่งจะเป็นมาตรการลดความแตกต่างในฐานะของบุคคล อันเป็นที่มาของความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม
การจัดเก็บภาษีเงินได้ จากการผลิตสินค้าและบริการ ที่ยังไม่มีความชอบธรรมเป็นธรรม จำเป็นต้องได้รับการส่งเสริมการลงทุน การผลิตสินค้าและบริการ ที่เป็นกิจกรรมหลักในทางเศรษฐกิจ เพราะการค้าและบริการที่ผลิตขึ้นมา ก็เพื่อใช้ประโยชน์ของสังคมโดยรวม
การจัดเก็บจากรายได้ มิใช่มาตรวัดความสามารถในการเสียภาษีเสมอไป ผู้มีรายได้มากหรือน้อย ที่แตกต่างกัน ย่อมมีรายจ่ายมากน้อยแตกต่างกันออกไปด้วย ทำให้ขีดความสามารถในการเสียภาษีแตกต่างกัน เราจึงอาจต้องใช้รายได้และใช้การบริโภคเป็นมาตรวัดประกอบกันด้วย ว่าอย่างใดจะเหมาะสมกว่ากัน หรือผสมกัน ผู้ที่ใช้จ่ายในการบริโภคมาก ควรมีความสามารถจ่ายภาษีมากกว่าผู้ใช้จ่ายในการบริโภคน้อยกว่า
สำหรับภาษีทรัพย์สินและมรดก เป็นมาตรการเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ลดความแตกต่างในฐานะบุคคล ที่ตรงประเด็น แต่ต้องชัดเจนในวัตถุประสงค์ และความมุ่งหมายในการจัดเก็บ
แม้สังคมจะอนุญาตให้บุคคล สามารถสะสมทรัพย์สมบัติได้ แต่ไม่สมควรจะมากเกินไป เพื่อฐานะทางเศรษฐกิจจะได้ไม่แตกต่างกันมาก อันเป็นสาเหตุการกล่าวอ้างถึงความไม่เสมอภาค
27. กรณีบทบัญญัติ ที่กำหนดไว้ว่า “บุคคลย่อมเสมอกัน” ในกฎหมาย ได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายเท่าเทียมกัน และมีสิทธิ์เข้าถึงกระบวนการโดยง่าย – สะดวกทั้งสิ้น แต่ความจริงก็คือ มีบุคคลอีกมาก แม้มีสิทธิตามกฎหมาย แต่ไม่อยู่ในฐานะใช้สิทธิเหล่านั้นได้เต็มที่ และตกอยู่ในฐานะเสียเปรียบทางคดี ไม่ว่าจะเป็น “โจทก์” หรือผู้ถูกกล่าวหา หรือจำเลย ซึ่งจำเป็นต้องมีมาตรการดูแลช่วยเหลือบุคคลเหล่านั้น เพราะเขาจะเข้าใจว่า เขาไม่ได้รับความเป็นธรรม ไม่เชื่อมั่นตั้งแต่แรก จากสาเหตุฐานะทางสังคม “เขาด้อยกว่า” การปฏิรูปเรื่องนี้ สำคัญอย่างยิ่ง เพราะมีคนจำนวนมากได้รับความเดือดร้อนในปัจจุบัน
28. พลเมือง เป็นสิ่งสำคัญในการวัดความเป็นปึกแผ่น มั่นคง ความเจริญก้าวหน้า จึงจำเป็นต้องมีคุณภาพ มีการพัฒนาที่ก้าวทันโลก อันประกอบด้วย (1) มีสุขภาพที่สมบูรณ์ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ (2) การมีความวิชาความรู้ที่แตกฉาน และมีความคิดที่ถูกต้อง และ (3) การมีจิตสำนึก เยี่ยงผู้มีการศึกษา
เราจะต้องพัฒนาคุณภาพของพลเมืองอย่างเร่งด่วน ด้วยการจัดการศึกษาทุกรูปแบบ ทุกระดับ หากการศึกษาล้าหลัง หรือล้มเหลว สังคมจะเสื่อมโทรม สุขภาพพลเมืองจะอยู่ในภาวะถดถอย
29. ความสัมพันธ์กับนานาอารยประเทศ การศึกษาเป็นส่วนสำคัญ ที่จะต้องขยายตัวอย่างรวดเร็ว ในทุกระดับของการเจริญเติบโตของระบบเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ไม่ให้สังคมเสื่อมโทรมลง ไม่ว่าจะเป็นในทัศนคติ หรือพฤติกรรมของพลเมือง
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่เกี่ยวกับศีลธรรม คุณธรรม และจริยธรรม ทัศนคติเป็นอย่างไร พฤติกรรมจะเป็นอย่างนั้น ถ้าความคิดไม่ถูกต้อง ทัศนคติก็ไม่ถูกต้อง เราต้องปลูกฝัง “หลักคิด” ให้กำกับ “ความคิด” และความคิดกำกับ “ทัศนคติ” และทัศนคติกำกับ “พฤติกรรม”
30. จุดอ่อนที่สุดในการจัดการศึกษาของเมืองไทย คือ การปลูกฝังหลักคิด คือหลักในการคิดเรื่องต่างๆ อย่างถูกต้อง ตลอดจน “จิตสำนึก” ที่ผู้ได้รับการศึกษามาแล้วจะต้องมี ทั้งนี้ การเยียวยาแก้ไขสังคมเสื่อมโทรม จะต้องทำผ่านกระบวนการศึกษาของชาติ และปลูกฝังสิ่งที่เป็นหลักประกันคุณภาพของสังคมไทยดังกล่าว
31. จิตสำนึกควรมีการปลูกฝังในสังคมไทย เช่น จิตสำนึกในความมีอิสรภาพทางความคิด เคารพกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับสากล แยกแยะความดี/ความชั่ว ความถูกต้อง/ไม่ถูกต้อง สิ่งที่ควรกระทำ/ไม่ควรกระทำ หรือควรละเว้น, จิตสำนึกในด้านจริยธรรมและยึดมั่นให้มั่นคง ถูกต้อง, จิตสำนึกเรื่องความปลอดภัย/ไม่ประมาท, จิตสำนึกในความมีใจเป็นนักกีฬา “รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย”, จิตสำนึกทางประวัติศาสตร์ ทางวิทยาศาสตร์, จิตสำนึกในด้านศีลธรรม
ปัจจุบัน ดูเหมือนเราจะขาดจิตสำนึกเหล่านี้ไปค่อนข้างมาก ขาดภูมิคุ้มกันจากสิ่งที่บ่อนทำลายสังคม การปฏิรูปประเทศไทย จำเป็นต้องหาวิธีปลูกฝังจิตสำนึกเหล่านี้ให้ได้ เพราะหากยังขาดการปกป้องอยู่ “การปฏิรูป” ในเรื่องใดๆ ก็ไม่สำเร็จ
32. นอกจากการปลูกฝังจิตสำนึกแล้ว การจัดการศึกษาในเมืองไทย ยังคงต้องเน้นการปลูกฝังหลักคิดที่ถูกต้อง ให้กับคนไทย/เยาวชนไทย เพราะหลักคิดไม่ถูกต้อง เป็นสาเหตุหนึ่งที่ขวางกั้นความก้าวหน้าของสังคมไทย ในทุกมิติ ทำให้สังคมเสื่อมโทรม
“หลักคิด” หมายถึง หลักการหรือ “ทฤษฎี” ที่บุคคลใช้ในการคิด ผู้มีการศึกษาสมควรมี “หลักคิด” ที่ถูกต้อง หลักคิดดังกล่าวจะมาจากที่ใด มาจากทุกศาสนาซึ่งมีอยู่แล้วทุกด้าน รวมทั้งสุภาษิต – คติพจน์ ก็ได้ให้ “หลักคิด” ที่มีคุณค่าไว้คิดมากมาย
หลักคิด พระพุทธเจ้า สุภาษิตไทย อาทิเช่น จงทำในสิ่งที่ดี หลีกเลี่ยงการทำความชั่ว รู้จักปกป้องสิทธิของตนเอง แต่ต้องไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น จะต้องคิดพึ่งตนเองเสมอไป และต้องพัฒนาตนเองให้เป็นที่พึ่งของตนเองได้
ความประมาทเป็นหนทางแห่งความตาย, เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร, ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายของคนดี เหล่านี้คือหลักคิดที่ถูกต้อง
การปลูกฝังหลักคิดในระบบการศึกษา อาจต้องสร้าง ทั้ง 2 ทาง คือ (1) ทางศาสนาและ (2) ทางโลก อย่างเป็นธรรมชาติ ให้กลมกลืนไปในทุกวิชา ทุกระดับการศึกษา มีคู่มือสำหรับครู ในการถ่ายทอดวิชาความรู้ และในการปลูกฝังจิตสำนึก และ “หลักคิด” ไปใช้ในกระบวนการเดียวกัน
บทสรุป
ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ นายกรัฐมนตรีได้รวบรวมจากการทำงาน ใช้หลักคิดของนายกรัฐมนตรี ของรัฐบาล และเรียบเรียงจากหนังสือของ ดร.วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร ราชบัณฑิต ซึ่งเรียบเรียง “หลักคิดในการปฏิรูปประเทศไทย” เมื่อปี 2553 ซึ่ง นรม. เห็นว่ามีความประสานสอดคล้องกัน ซึ่งอาจเป็นประโยชน์กับการทำงานของรัฐบาล, คสช. และ ป.ย.ป. ในปัจจุบัน
-------------------------
หลักคิดในการปฏิรูป ๑๐ ก.พ. ๖๐
สาเหตุทั้งหมดเกิดจากความบกพร่องในหลายด้านที่สั่งสมอยู่ในสังคมไทยมาเป็นเวลานาน โดยไม่ได้รับการดูแลแก้ไข ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และเป็นช่วงเวลาที่ประเทศไทยมีการเจริญเติบโตขยายตัว และเปลี่ยนแปลงภายใต้โลกาภิวัตน์
ถึงเวลาที่เราจะต้องมีการปฏิรูปประเทศไทย เพื่อขจัดข้อบกพร่องต่างๆ เหล่านั้นเพื่อนำพาประเทศชาติไปสู่ความเข้มแข็ง มั่นคง มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และราบรื่นโดยไม่ติดปัญหา อุปสรรคดังกล่าว
การปฏิรูปประเทศกับการปรองดองมีความเกี่ยวข้อง สัมพันธ์กันอย่างปฎิเสธไม่ได้ วันนี้อาจเกิดความสับสนกันว่าเราจะปฏิรูปประเทศ/ปรองดองได้อย่างไรขณะที่มีการบังคับใช้กฎหมาย ดำเนินการต่อผู้กระทำความผิดอย่างจริงจัง
เราต้องยอมรับว่าปัญหาพื้นฐานของเศรษฐกิจ และสังคมยังขจัดได้ไม่หมดสิ้น และเป็นที่มาของความขัดแย้งในสังคมไทย และได้ถูกนำมาใช้ปลุกระดมทางการเมือง เพื่อทำลายความชอบธรรมและความน่าเชื่อถือของรัฐบาล กลับไปกลับมา ซ้ำแล้วซ้ำเล่า วันนี้เราจำเป็นต้องขจัดปัญหาดังกล่าวซึ่งอาจต้องใช้เวลาค่อนข้างมากจึงจะเกิดผลสำเร็จ
นอกจากปัญหาพื้นฐานด้านเศรษฐกิจ สังคมแล้ว ยังมีปัญหาอื่นๆเช่น ความไม่ชอบธรรมในการใช้อำนาจรัฐ การทำลายทรัพยากรธรรมชาติ/สิ่งแวดล้อม การละเมิดสิทธิมนุษยชน การเผยแพร่ข่าวสารและข้อมูลอันเป็นเท็จ หรือถูกบิดเบือน โดยสื่อ/โซเชียล ทำให้สถานการณ์ต่างๆขยายความรุนแรงมาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้น อาจมีปัญหาอื่นๆเช่นปัญหาจราจร/ขนส่ง การอนุรักษ์ศิลปะ/วัฒนธรรมของชาติร่วมเข้ามาอีก
การปฏิรูปประเทศไทยกับการปรองดองมีความหมายที่แตกต่างกัน คำว่า ปรองดองหมายถึง กรณีที่มีความขัดแย้งเกิดขึ้น โดยให้ระงับความขัดแย้งด้วยความออมชอม ประนีประนอม ระหว่างคู่ขัดแย้งแต่คงไม่ใช่ในกรณีของการปฏิรูปประเทศไทย เพราะเรายังคงต้องมีการบังคับใช้กฎหมายกับผู้ที่ทำความผิดทั้งกฏหมายแพ่ง/อาญาอย่างจริงจัง
หลักการของการปฏิรูปประเทศไทยมีประเด็นสำคัญสามเรื่อง คือ หนึ่งเรื่องบทบาทและขอบเขตของประชาธิปไตย สอง เรื่องความไม่เป็นธรรมของเศรษฐกิจ/สังคม สาม การศึกษาเพื่อให้เกิดความถูกต้องในหลักคิด
คำว่าประชาธิปไตยที่เราเข้าใจกันของประเทศไทย คนไทย มีความสับสนกันอยู่มาก แม้กระทั่งฝ่ายเดียวกัน หรือคนละฝ่าย ทั้งในพฤติกรรมและจิตวิญญาณ
ทุกฝ่ายใช้คำว่าประชาธิปไตยเป็นปมของกระบวนการ รัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง ผ่านขั้นตอน ดำรงตำแหน่ง ยังได้รับการกล่าวหาว่าเป็นรัฐบาลที่ไม่ชอบธรรม แสดงให้เห็นว่าการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของไทยมีปัญหา
มีคำกล่าวว่า บางทีปัญหาของไทยอาจเนื่องมาจากการที่กติกาประชาธิปไตยที่พัฒนาขึ้นมาตามลำดับอาจเกินขีดความสามารถของสังคมไทยเท่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันจะพึงปฏิบัติได้ ทำให้เกิดผลตามมาคือ ความปั่นป่วนที่ทำลายความสามัคคีและความสงบสุข
ความไม่เป็นธรรมด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ การแบ่งสรรมูลค่าเพิ่ม แก่บรรดาผู้มีส่วนร่วมในการสร้างมูลค่าเพิ่ม อันเป็นหลักการสำคัญของความเป็นธรรมด้านเศรษฐกิจ และเป็นจุดอ่อนของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมของประเทศไทย เรื่องนี้เป็นความแตกต่างจากเรื่องความไม่เท่าเทียมในฐานะทางเศรษฐกิจของบุคคล แต่ละบุคคล ซึ่งขึ้นอยู่กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมค่อนข้างมาก
เรื่องความไม่เป็นธรรมในสังคม ไม่มีสิ่งใดทำได้ แก้ไขได้ นอกจากการพยายามใช้มาตรฐานเดียวในการปฏิบัติต่อกลุ่มบุคคล/บุคคล ที่มีความผิดแตกต่างกันไป จำเป็นต้องได้รับการปฏิบัติที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งต้องยอมรับกันว่า เป็นกรอบความคิดที่ขัดแย้งกับกระแสหลักในปัจจุบัน
ต้องยอมรับว่ามีความไม่เป็นธรรมทางสังคมสูงสุด คือ ความเสียเปรียบของผู้ที่ด้อยกว่า คนยากจนการศึกษาน้อย ปราศจากต้นทุนทางสังคมในการแสวงหากระบวนการยุติธรรม
บุคคลเหล่านี้ล้วนถูก ขัง จำขัง คดีอาญา อยู่ในเรือนจำ ซึ่งไม่ได้ขึ้นอยู่กับบทบัญญัติรัฐธรรมนูญปฏิญญา สิทธิมนุษยชน หลักการหรือระเบียบกระบวนการยุติธรรม ซึ่งหากเราทำให้บุคคลเหล่านี้สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยง่าย สะดวกรวดเร็ว ทั่วถึง อาจยังไม่พอ เพราะปัญหาเกิดจากกลุ่มบุคคลที่มีความเสียเปรียบที่กล่าวมา ไม่เข้าใจ
การปฏิรูปการศึกษา ถึงแม้ว่าจะมีความสนใจ/เอาใจใส่/พยายามตลอดมา แต่ยังไม่สนองตอบตอบความมุ่งหมายของสังคมอย่างตรงประเด็น และมีประสิทธิภาพ
การปฏิรูปการศึกษา คือการทำให้คนไทยเป็นผู้ที่มีการศึกษา และการมีการศึกษา หมายถึงการมีหลักคิดที่ถูกต้องในการกระทำการใดๆ หากหลักคิดไม่ถูกต้องสิ่งต่างๆ ตามมาก็จะผิดไปทั้งหมด
ปัจจุบันสาธารณชนเรายังมีหลักคิดที่ไม่ถูกต้องหลายเรื่อง จึงนำไปสู่ความปั่นป่วน และเสื่อมโทรมของสังคม / การปฏิรูปการศึกษาของเรา จึงไม่มีประสิทธิผล และจะยังคงเป็นต่อไป หากยังมิได้ให้ความสำคัญ คือ การปลูกฝังความถูกต้อง ในหลักคิด / ความแตกต่างจากคำว่า “คิดเป็น” หรือการสอนให้ “รู้จักคิด” อาจยังไม่เพียงพอ ต้องใช้คำว่า สอนให้ “รู้จักคิด, คิดเป็น และมีหลักคิดที่ถูกต้อง” / จึงจะสมบูรณ์ เพราะคิดเป็น รู้จักคิด แต่ไม่มีหลักคิดถูกต้อง อาจคิดทำความไม่ดี ความชั่ว ก็ได้
เราควรใช้หลักคิดที่ถูกต้อง ที่อยู่ในคำสอนของศาสนา ทุกศาสนา / ศาสนาพุทธมีธรรมะสอนคน ทั้งกาย – วาจา – ใจ / และมีสุภาษิตไทย ที่ใช้ในการอบรม สั่งสอน “หลักคิด” ให้สังคมไทย มาเป็นเวลานาน
ปัจจุบันหลักคิดที่กล่าวถึง อาจไม่สอดคล้องกับกระแสหลัก ในโลกยุคปัจจุบัน / แต่ก็จะเป็นการสร้างความคิด เน้นที่แตกต่าง และช่วยปลุกจิตสำนึกของคนไทย / ให้ความสนใจ ที่จะพิจารณาปัญหา และข้อเท็จจริง ที่เกี่ยวกับสังคมไทย โดยรอบด้าน
ปัญหาประเทศไทย เช่น ในเรื่องประชาธิปไตย – การศึกษา – เศรษฐกิจ – สังคม / สิ่งที่พึงกระทำ ในการแก้ปัญหา คือ การทบทวนหลักคิด ในเรื่องดังกล่าว / ว่ามีความถูกต้อง หรือไม่ อย่างไร
กล่าวโดยสรุปแล้ว การที่จะปฏิรูปประเทศไทย ให้ดำเนินการไปตามหลักคิด ที่ถูกต้องนั้น / จะนำพาประเทศชาติ – ประชาชน ไปสู่ความสงบสุข สันติสุข และมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ที่ยึดหลักสามัคคีธรรม / เรามีโอกาสมากมาย มีสิ่งดีๆ เยอะ มีสถาบันเป็นศูนย์รวมจิตใจ มีความผสมกลมกลืน ในวัฒนธรรมอันหลากหลาย / มีเศรษฐกิจพื้นฐานที่สมบูรณ์ ด้วยทรัพยากรในดิน สินในน้ำ / มีทรัพยากรมนุษย์ ที่หลากหลาย และมีความโดดเด่นในศิลปะ วัฒนธรรม ที่สั่งสมมากับประวัติศาสตร์นับพันปี
สรุปสิ่งที่เป็นความบกพร่อง ให้เข้าใจง่าย ๆ ดังนี้
1. ความสับสนในเรื่องประชาธิปไตย
2. การเยียวยา แก้ไขปัญหา อาจไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจ – สังคม
3. การปฏิรูปการจัดการศึกษาของชาติ โดยการปลูกฝังจิตสำนึก และหลักคิดที่ถูกต้อง อย่างจริงจัง / โดยใช้คำสั่งสอนของศาสนาเป็นกรอบ / ซึ่งการขาดจิตสำนึก และความไม่ถูกต้องในหลักคิด หลายประการ เป็นสาเหตุของความเสื่อมโทรมในสังคมไทย
หลักคิดในการปฏิรูปประเทศไทย สรุปเป็นข้อๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ที่ถูกต้อง เป็นจุดเริ่มต้นการทำงาน ดังนี้
1. ความสับสนในเรื่องประชาธิปไตย
2. การเยียวยา แก้ไขปัญหา อาจไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจ – สังคม
3. การปฏิรูปการจัดการศึกษาของชาติ โดยการปลูกฝังจิตสำนึก และหลักคิดที่ถูกต้อง อย่างจริงจัง / โดยใช้คำสั่งสอนของศาสนาเป็นกรอบ / ซึ่งการขาดจิตสำนึก และความไม่ถูกต้องในหลักคิด หลายประการ เป็นสาเหตุของความเสื่อมโทรมในสังคมไทย
หลักคิดในการปฏิรูปประเทศไทย สรุปเป็นข้อๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ที่ถูกต้อง เป็นจุดเริ่มต้นการทำงาน ดังนี้
1. ประเทศไทยมีโครงสร้างและพื้นฐานที่เก่าแก่ เข้มแข็ง / มีประชาชนมากเกือบ 70 ล้านคน / ซึ่งสามารถปรับตนเอง ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงภายใน – ภายนอก มาตลอดเวลา / การปฏิรูปประเทศไทย ควรเข้าใจบริบทของการปรับแต่งบางจุด ของส่วนประกอบที่ชำรุด ทรุดโทรม หรือที่ถูกนำมาใช้ / จากการใช้ประโยชน์ ที่ไม่ถูกหลัก โดยไม่พยายามแตะต้องโครงสร้าง และพื้นฐาน โดยไม่จำเป็น
2. การปฏิรูปประเทศไทย จะต้องพิจารณาดำเนินการเฉพาะเรื่อง ที่ไม่ได้เป็นหลักการพื้นฐานแห่งรัฐธรรมนูญ หรือสาระสำคัญในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ / หรือที่เป็นอำนาจ หน้าที่ ความรับผิดชอบโดยปรกติของหน่วยราชการองค์กรเอกชน / ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องควบคุม กำกับดูแลอยู่แล้ว ให้มีประสิทธิภาพ / เราต้องพยายามทำให้ทุกส่วนเหล่านั้น ทำงานอย่างเต็มความสามารถ สอดคล้องกับความเป็นจริง และสถานการณ์ยุคโลกาภิวัตน์ / ประเทศไทยก็จะหลุดพ้นความเสื่อมโทรม / ปัญหา อุปสรรค ความขัดแย้ง ทั้งในเรื่องการเมือง – ไม่ใช่การเมือง ซึ่งอาจเป็นการแย่งอำนาจรัฐ ระหว่างกลุ่มการเมือง
3. การปฏิรูปประเทศไทย จะต้องพยายามหลีกเลี่ยง / ไม่นำประเด็นที่มีความแตกต่างกัน ในความคิดเห็น ที่มีที่มาเป็นเหตุ ที่ไม่อาจยุติได้โดยง่าย / วัฒนธรรม - ประเพณี – ประวัติศาสตร์ – ความเชื่อและศรัทธา – สิ่งแวดล้อมและอื่นๆ/ ไปจนถึงผลประโยชน์ ทั้งในอดีต – ปัจจุบัน – และอนาคต / หากเราเข้าไปเกี่ยวข้อง กับประเด็นเหล่านี้ ที่มีความแตกต่างกันในความคิดเห็น / ยอมจุดชนวนให้เกิดความแตกแยกในสังคม อย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น
4. อาจมีบางสิ่ง ที่อยู่นอกเหนือจากที่กล่าวไว้ในรัฐธรรมนูญ หรือแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือกฎหมายที่มิได้กำหนดไว้ / ที่สำคัญคือ ประเด็นในหลักการ มิได้มีความเห็นที่แตกต่าง / ในทางตรงกันข้าม หากนำประเด็นเหล่านี้ / มาเสนอเพื่อพิจารณาก็อาจจะกระตุ้นความสนใจของทุกภาคส่วนในสังคม เข้ามาร่วมกันการพิจารณาไตร่ตรอง ซึ่งในที่สุดก็อาจจะบรรลุถึงความคิดเห็นในทางเดียวกันได้ การเข้าถึงแก่นของปัญหา และการบรรลุความคิดเห็นที่สอดคล้องกันของสาธารณชนทุกภาคส่วนจะเป็นจุดเริ่มต้น การปฏิรูปประเทศไทยที่ “หลักคิด” ซึ่งต้องยอมรับความจำเป็นของการปฏิรูปที่ “เหตุ” เมื่อได้ปฏิรูปตรงนี้ได้สำเร็จ สิ่งที่ตามมาก็จะดำเนินไปอย่างถูกต้องและมีประสิทธิผล นำไปสู่ความปรองดองภายในสังคมตามธรรมาภิบาล
5.สังคมไทยปัจจุบัน มีเรื่องสำคัญ 3 เรื่องหากทำได้สำเร็จประเทศไทยจะมีสันติสุข สามัคคีปรองดอง มีศักยภาพในการก้าวไปข้างหน้า ประเด็นสำคัญ 3 เรื่องคือ ขอบเขตและบทบาทประชาชน ความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจสังคม และการปฏิรูปหลักคิดในการจัดการศึกษา
6. ระมัดระวังอย่าให้ปะปนกันระหว่างประชาธิปไตยกับอนาธิปไตย ซึ่งเป็นภัยใหญ่หลวงแก่สังคมและประเทศชาติ
7. การป้องกันการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลหรือการยึดอำนาจรัฐด้วยวิธีใดๆ สามารถทำได้โดยผู้ที่ครองอำนาจรัฐด้วยกระบวนการประชาธิปไตย ได้ปฎิบัติตามกลไกรัฐธรรมนูญภายใต้ประชาธิปไตยอย่างเหมาะสม ซึ่งขึ้นอยู่กับจริยธรรมทางการเมืองของผู้ครองอำนาจ และให้มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ตามกลไกของรัฐธรรมนูญอย่างเหมาะสม ทั้งสถานการณ์และเวลา
8. สาเหตุสำคัญในการถูกยึดอำนาจ ซึ่งถูกนำเป็นเงื่อนไขก็คือ พื้นที่ประชาธิปไตยที่ถูกขยายขอบเขตไปจนเกินความเหมาะสม จนสุ่มเสี่ยงต่อการเข้ามาแทนที่ประชาธิปไตยของอนาธิปไตยแล้ว การยึดอำนาจ หรือใดๆ ก็จะเกิดขึ้น เพราะอนาธิปไตยเป็นการจลาจล ความวุ่นวาย และปั่นป่วนในบ้านเมือง ที่คุกคามโครงสร้างและสถาบันหลักของประเทศชาติ ซึ่งรวมถึงกฎหมาย และสถาบันตุลาการ หากไม่ต้องการให้การยึดอำนาจเกิดขึ้นอีก ก็จะต้องป้องกันมิให้พื้นที่ประชาธิปไตยเกินขอบเขต นำไปสู่ความปั่นป่วน ความวุ่นวาย เพราะเมื่อสถานการณ์ไปสู่ขั้นนั้น การควบคุมสถานการณ์ให้อยู่ในความสงบ ก็จำเป็นต้องใช้เจ้าหน้าที่ทหาร
9. พื้นที่ประชาธิปไตย หมายถึง ขอบเขตของสิทธิเสรีภาพของประชาชน ที่ได้รับการรับรอง คุ้มครองโดยรัฐธรรมนูญ ต้องมีความเหมาะสม สอดคล้องกับขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของบุคคลในชาติ โดยเฉพาะความรู้ความเข้าใจในการใช้สิทธิและเสรีภาพดังกล่าวอย่างถูกต้อง หากเมื่อใดรู้สึกจำกัด อึดอัด ก็จำเป็นต้องขยายบ้างตามความเหมาะสม ภายใต้กฎหมายที่มีอยู่ แต่จะต้องไม่กว้างขวางจนไร้ขอบเขต สังคมเดือดร้อน ใช้ประโยชน์พื้นที่ไม่ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เมื่อนั้น ก็ต้องมีการกระชับพื้นที่ประชาธิปไตยดังกล่าว
10. เรื่องรูปแบบของรัฐบาลและการปกครองในระบอบประชาธิปไตย สาระสำคัญคือ “ปวงชน” เป็นเจ้าของประชาธิปไตย ไม่ใช่ “ประชาชน” ซึ่งทำให้เกิดความสับสน ประชาชนที่ถูกอ้างว่าเป็นเจ้าของอำนาจ โดยแท้จริงแล้ว เป็นเพียงกลุ่มบุคคลจำนวนหนึ่ง เป็นสามัญชนซึ่งมีมากมายหลายกลุ่ม มีความคิดเห็น ผลประโยชน์ที่แตกต่างกัน และเป็นส่วนหนึ่งของ “ปวงชน” การปกครองในระบอบประชาธิปไตย คือ การปกครองหรือรัฐบาลของ “ปวงชน” โดย “ปวงชน” และเพื่อ “ปวงชน” ซึ่งแตกต่างจากการปกครองหรือรัฐบาลของประชาชน โดยประชาชน หรือเพื่อประชาชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
11. หลักการในเรื่องการคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคล และเรื่องสิทธิและเสรีภาพ ได้มีการกำหนดพื้นที่ประชาธิปไตยไว้แล้ว โดยได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ประชาธิปไตย
12. “พื้นที่ประชาธิปไตย” ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ มีสิทธิ 3 ประการ ที่อาจนำไปสู่ความสุ่มเสี่ยง คือการบานปลายไปสู่การจลาจล หากมีการปลุกระดมเผยแพร่ด้วยข้อความเป็นเท็จ เพื่อให้เกิดความเข้าใจผิด และเกลียดชัง ได้แก่ สิทธิชุมชน สิทธิในการแสดงความคิดเห็นของมวลชนและสื่อมวลชน และเสรีภาพในการชุมนุม การปฏิรูปประเทศไทยจึงจำเป็นต้องทบทวนบทบัญญัติเหล่านี้ เพื่อให้เกิดการกระชับพื้นที่ประชาธิปไตย โดยไม่ต้องทำให้ระบอบประชาธิปไตยของไทยต้องเปลี่ยนแปลง สับสน หรือวุ่นวาย
13. การเตรียมการโครงการหรือกิจกรรม อันอาจส่งผลกระทบต่อชุมชน ทั้งคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ จำเป็นต้องมีการศึกษาประเมินผลกระทบ รับฟังความคิดเห็นก่อน รวมทั้งให้องค์กรอิสระที่ประกอบด้วย ผู้แทนองค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ ผู้แทนอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม หรือทรัพยากรธรรมชาติ หรือด้านสุขภาพ มีความคิดเห็นประกอบ ก่อนการดำเนินการหารือนี้ ในการดำเนินการดังกล่าว ควรมุ่งเน้นไปถึงวัตถุประสงค์ของโครงการเป็นแกนหลักก่อน ว่าหากจำเป็น เราจะดำเนินการได้อย่างไร เพราะส่งผลต่อประชาชนโดยรวมและประเทศชาติไม่ใช่คัดค้านอย่างเดียวไม่เห็นด้วยทุกประเทศ หากไม่เห็นด้วยแล้ว จะให้รัฐบาลทำอย่างไร ทำที่ไหน ที่ผ่านมาประชาชนในพื้นที่ต้องการ นอกพื้นที่ไม่ต้องการ หรือประชาชนในพื้นที่ไม่ต้องการ แต่มีผลประโยชน์โดยรวมกับคนอีกจำนวนมาก เช่น ขยะ, พลังงาน เป็นต้น จะทำอย่างไร จึงจะแก้ปัญหาได้ก่อน แล้วนำมาสู่ ทำอย่างไร ทำที่ไหน ผลดี/ผลเสีย ผู้ได้รับผลประโยชน์/เสียผลประโยชน์มากน้อยเพียงใด เราต้องทำทุกอย่างให้สมดุล ทั้งพัฒนาสิ่งแวดล้อม, คุณภาพชีวิต ฯลฯ
14. การให้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ก็มีการบัญญัติไว้อยู่แล้ว ว่าจะต้องกระทำภายใต้บทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะ เพื่อรักษาความมั่นคงแห่งรัฐ โดยไม่น่าจะกระทบกระเทือนพื้นที่ประชาธิปไตย เพราะต้องทำเพื่อขจัดความขัดแย้ง ความสับสน และความปั่นป่วน ที่เนื่องจากการใช้เสรีภาพเกินความเหมาะสม ผ่านสื่อต่างๆ อันจะนำไปสู่ “อนาธิปไตย” ได้มากพอสมควร
15. สิทธิเสรีภาพที่ได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ สมควรจะต้องทบทวน คือ บทบัญญัติที่ว่าด้วย “เสรีภาพในการชุมนุม” ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อประชาธิปไตย ภาพรวม อย่างรุนแรง จนกระทั่ง “อนาธิปไตย” เข้ามาถึงใจกลางของประเทศ
2. การปฏิรูปประเทศไทย จะต้องพิจารณาดำเนินการเฉพาะเรื่อง ที่ไม่ได้เป็นหลักการพื้นฐานแห่งรัฐธรรมนูญ หรือสาระสำคัญในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ / หรือที่เป็นอำนาจ หน้าที่ ความรับผิดชอบโดยปรกติของหน่วยราชการองค์กรเอกชน / ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องควบคุม กำกับดูแลอยู่แล้ว ให้มีประสิทธิภาพ / เราต้องพยายามทำให้ทุกส่วนเหล่านั้น ทำงานอย่างเต็มความสามารถ สอดคล้องกับความเป็นจริง และสถานการณ์ยุคโลกาภิวัตน์ / ประเทศไทยก็จะหลุดพ้นความเสื่อมโทรม / ปัญหา อุปสรรค ความขัดแย้ง ทั้งในเรื่องการเมือง – ไม่ใช่การเมือง ซึ่งอาจเป็นการแย่งอำนาจรัฐ ระหว่างกลุ่มการเมือง
3. การปฏิรูปประเทศไทย จะต้องพยายามหลีกเลี่ยง / ไม่นำประเด็นที่มีความแตกต่างกัน ในความคิดเห็น ที่มีที่มาเป็นเหตุ ที่ไม่อาจยุติได้โดยง่าย / วัฒนธรรม - ประเพณี – ประวัติศาสตร์ – ความเชื่อและศรัทธา – สิ่งแวดล้อมและอื่นๆ/ ไปจนถึงผลประโยชน์ ทั้งในอดีต – ปัจจุบัน – และอนาคต / หากเราเข้าไปเกี่ยวข้อง กับประเด็นเหล่านี้ ที่มีความแตกต่างกันในความคิดเห็น / ยอมจุดชนวนให้เกิดความแตกแยกในสังคม อย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น
4. อาจมีบางสิ่ง ที่อยู่นอกเหนือจากที่กล่าวไว้ในรัฐธรรมนูญ หรือแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือกฎหมายที่มิได้กำหนดไว้ / ที่สำคัญคือ ประเด็นในหลักการ มิได้มีความเห็นที่แตกต่าง / ในทางตรงกันข้าม หากนำประเด็นเหล่านี้ / มาเสนอเพื่อพิจารณาก็อาจจะกระตุ้นความสนใจของทุกภาคส่วนในสังคม เข้ามาร่วมกันการพิจารณาไตร่ตรอง ซึ่งในที่สุดก็อาจจะบรรลุถึงความคิดเห็นในทางเดียวกันได้ การเข้าถึงแก่นของปัญหา และการบรรลุความคิดเห็นที่สอดคล้องกันของสาธารณชนทุกภาคส่วนจะเป็นจุดเริ่มต้น การปฏิรูปประเทศไทยที่ “หลักคิด” ซึ่งต้องยอมรับความจำเป็นของการปฏิรูปที่ “เหตุ” เมื่อได้ปฏิรูปตรงนี้ได้สำเร็จ สิ่งที่ตามมาก็จะดำเนินไปอย่างถูกต้องและมีประสิทธิผล นำไปสู่ความปรองดองภายในสังคมตามธรรมาภิบาล
5.สังคมไทยปัจจุบัน มีเรื่องสำคัญ 3 เรื่องหากทำได้สำเร็จประเทศไทยจะมีสันติสุข สามัคคีปรองดอง มีศักยภาพในการก้าวไปข้างหน้า ประเด็นสำคัญ 3 เรื่องคือ ขอบเขตและบทบาทประชาชน ความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจสังคม และการปฏิรูปหลักคิดในการจัดการศึกษา
6. ระมัดระวังอย่าให้ปะปนกันระหว่างประชาธิปไตยกับอนาธิปไตย ซึ่งเป็นภัยใหญ่หลวงแก่สังคมและประเทศชาติ
7. การป้องกันการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลหรือการยึดอำนาจรัฐด้วยวิธีใดๆ สามารถทำได้โดยผู้ที่ครองอำนาจรัฐด้วยกระบวนการประชาธิปไตย ได้ปฎิบัติตามกลไกรัฐธรรมนูญภายใต้ประชาธิปไตยอย่างเหมาะสม ซึ่งขึ้นอยู่กับจริยธรรมทางการเมืองของผู้ครองอำนาจ และให้มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ตามกลไกของรัฐธรรมนูญอย่างเหมาะสม ทั้งสถานการณ์และเวลา
8. สาเหตุสำคัญในการถูกยึดอำนาจ ซึ่งถูกนำเป็นเงื่อนไขก็คือ พื้นที่ประชาธิปไตยที่ถูกขยายขอบเขตไปจนเกินความเหมาะสม จนสุ่มเสี่ยงต่อการเข้ามาแทนที่ประชาธิปไตยของอนาธิปไตยแล้ว การยึดอำนาจ หรือใดๆ ก็จะเกิดขึ้น เพราะอนาธิปไตยเป็นการจลาจล ความวุ่นวาย และปั่นป่วนในบ้านเมือง ที่คุกคามโครงสร้างและสถาบันหลักของประเทศชาติ ซึ่งรวมถึงกฎหมาย และสถาบันตุลาการ หากไม่ต้องการให้การยึดอำนาจเกิดขึ้นอีก ก็จะต้องป้องกันมิให้พื้นที่ประชาธิปไตยเกินขอบเขต นำไปสู่ความปั่นป่วน ความวุ่นวาย เพราะเมื่อสถานการณ์ไปสู่ขั้นนั้น การควบคุมสถานการณ์ให้อยู่ในความสงบ ก็จำเป็นต้องใช้เจ้าหน้าที่ทหาร
9. พื้นที่ประชาธิปไตย หมายถึง ขอบเขตของสิทธิเสรีภาพของประชาชน ที่ได้รับการรับรอง คุ้มครองโดยรัฐธรรมนูญ ต้องมีความเหมาะสม สอดคล้องกับขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของบุคคลในชาติ โดยเฉพาะความรู้ความเข้าใจในการใช้สิทธิและเสรีภาพดังกล่าวอย่างถูกต้อง หากเมื่อใดรู้สึกจำกัด อึดอัด ก็จำเป็นต้องขยายบ้างตามความเหมาะสม ภายใต้กฎหมายที่มีอยู่ แต่จะต้องไม่กว้างขวางจนไร้ขอบเขต สังคมเดือดร้อน ใช้ประโยชน์พื้นที่ไม่ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เมื่อนั้น ก็ต้องมีการกระชับพื้นที่ประชาธิปไตยดังกล่าว
10. เรื่องรูปแบบของรัฐบาลและการปกครองในระบอบประชาธิปไตย สาระสำคัญคือ “ปวงชน” เป็นเจ้าของประชาธิปไตย ไม่ใช่ “ประชาชน” ซึ่งทำให้เกิดความสับสน ประชาชนที่ถูกอ้างว่าเป็นเจ้าของอำนาจ โดยแท้จริงแล้ว เป็นเพียงกลุ่มบุคคลจำนวนหนึ่ง เป็นสามัญชนซึ่งมีมากมายหลายกลุ่ม มีความคิดเห็น ผลประโยชน์ที่แตกต่างกัน และเป็นส่วนหนึ่งของ “ปวงชน” การปกครองในระบอบประชาธิปไตย คือ การปกครองหรือรัฐบาลของ “ปวงชน” โดย “ปวงชน” และเพื่อ “ปวงชน” ซึ่งแตกต่างจากการปกครองหรือรัฐบาลของประชาชน โดยประชาชน หรือเพื่อประชาชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
11. หลักการในเรื่องการคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคล และเรื่องสิทธิและเสรีภาพ ได้มีการกำหนดพื้นที่ประชาธิปไตยไว้แล้ว โดยได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ประชาธิปไตย
12. “พื้นที่ประชาธิปไตย” ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ มีสิทธิ 3 ประการ ที่อาจนำไปสู่ความสุ่มเสี่ยง คือการบานปลายไปสู่การจลาจล หากมีการปลุกระดมเผยแพร่ด้วยข้อความเป็นเท็จ เพื่อให้เกิดความเข้าใจผิด และเกลียดชัง ได้แก่ สิทธิชุมชน สิทธิในการแสดงความคิดเห็นของมวลชนและสื่อมวลชน และเสรีภาพในการชุมนุม การปฏิรูปประเทศไทยจึงจำเป็นต้องทบทวนบทบัญญัติเหล่านี้ เพื่อให้เกิดการกระชับพื้นที่ประชาธิปไตย โดยไม่ต้องทำให้ระบอบประชาธิปไตยของไทยต้องเปลี่ยนแปลง สับสน หรือวุ่นวาย
13. การเตรียมการโครงการหรือกิจกรรม อันอาจส่งผลกระทบต่อชุมชน ทั้งคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ จำเป็นต้องมีการศึกษาประเมินผลกระทบ รับฟังความคิดเห็นก่อน รวมทั้งให้องค์กรอิสระที่ประกอบด้วย ผู้แทนองค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ ผู้แทนอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม หรือทรัพยากรธรรมชาติ หรือด้านสุขภาพ มีความคิดเห็นประกอบ ก่อนการดำเนินการหารือนี้ ในการดำเนินการดังกล่าว ควรมุ่งเน้นไปถึงวัตถุประสงค์ของโครงการเป็นแกนหลักก่อน ว่าหากจำเป็น เราจะดำเนินการได้อย่างไร เพราะส่งผลต่อประชาชนโดยรวมและประเทศชาติไม่ใช่คัดค้านอย่างเดียวไม่เห็นด้วยทุกประเทศ หากไม่เห็นด้วยแล้ว จะให้รัฐบาลทำอย่างไร ทำที่ไหน ที่ผ่านมาประชาชนในพื้นที่ต้องการ นอกพื้นที่ไม่ต้องการ หรือประชาชนในพื้นที่ไม่ต้องการ แต่มีผลประโยชน์โดยรวมกับคนอีกจำนวนมาก เช่น ขยะ, พลังงาน เป็นต้น จะทำอย่างไร จึงจะแก้ปัญหาได้ก่อน แล้วนำมาสู่ ทำอย่างไร ทำที่ไหน ผลดี/ผลเสีย ผู้ได้รับผลประโยชน์/เสียผลประโยชน์มากน้อยเพียงใด เราต้องทำทุกอย่างให้สมดุล ทั้งพัฒนาสิ่งแวดล้อม, คุณภาพชีวิต ฯลฯ
14. การให้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ก็มีการบัญญัติไว้อยู่แล้ว ว่าจะต้องกระทำภายใต้บทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะ เพื่อรักษาความมั่นคงแห่งรัฐ โดยไม่น่าจะกระทบกระเทือนพื้นที่ประชาธิปไตย เพราะต้องทำเพื่อขจัดความขัดแย้ง ความสับสน และความปั่นป่วน ที่เนื่องจากการใช้เสรีภาพเกินความเหมาะสม ผ่านสื่อต่างๆ อันจะนำไปสู่ “อนาธิปไตย” ได้มากพอสมควร
15. สิทธิเสรีภาพที่ได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ สมควรจะต้องทบทวน คือ บทบัญญัติที่ว่าด้วย “เสรีภาพในการชุมนุม” ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อประชาธิปไตย ภาพรวม อย่างรุนแรง จนกระทั่ง “อนาธิปไตย” เข้ามาถึงใจกลางของประเทศ
คำว่า “เสรีภาพในการชุมนุม” ต้องเป็นการชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธ ซึ่งจำกัดมิได้ตามรัฐธรรมนูญ เว้นอาศัยอำนาจบัญญัติไว้ในกฎหมายเฉพาะ ในกรณีชุมนุมสาธารณะ และเพื่อคุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่ใช้พื้นที่สาธารณะ หรือเพียงรักสาความสงบเรียบร้อย หรือระหว่างอยู่ในภาวะสงคราม, ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือประกาศใช้กฎอัยการศึก เพื่อให้การควบคุมดูแลการชุมนุมสาธารณะ จำเป็นต้องใช้กฎหมายเฉพาะ ว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะ หรือกฎหมายสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็นเครื่องมือดำเนินการ ไม่ให้ทุกอย่างลุกลามบานปลายไปสู่ “อนาธิปไตย”
16. จุดบกพร่องที่สำคัญอีกเรื่อง คือ การใช้อำนาจเงิน เพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง การซื้อสิทธิ์ขายเสียง จะต้องทำให้สาธารณชนมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน “ทัศนะทางสังคม” ว่าบุคคลที่มีเงินมาก เหลือกินเหลือใช้ ไม่สมควรเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมือง ควรไปทำประโยชน์อย่างอื่น ให้กับสาธารณะมากกว่า
17. ความไม่เป็นธรรม เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับทุกคน ทุกกลุ่ม บุคคลที่ไม่ได้รับสิ่งที่คาดหมายว่าจะได้รับ ปัญหา “ความไม่เป็นธรรม” มีความซับซ้อน เป็นปรากฏการณ์ ตามธรรมชาติ ไม่อาจขจัดให้หมดสิ้นไปได้ แต่จำเป็นต้องดูแลให้อยู่ภายในขอบเขตอันสมควร
ความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคมเกี่ยวพันกัน ความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจเป็นที่มาของความไม่เป็นธรรมทางสังคม และบางสังคมอาจนำไปสู่ความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจได้ด้วย จุดเริ่มต้นส่วนใหญ่จะเกิดจากเศรษฐกิจก่อน หากลดปัญหาลงได้ ความไม่เป็นธรรมทางสังคมก็จะลดผ่อนคลายลง
18. ความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจเกิดจากบุคคลกลุ่มบุคคลที่มีความสามารถมีศักยภาพภายในการผลิตสินค้าและบริการที่แตกต่างกัน มูลค่าที่เกิดขึ้น หากการผลิตใด สร้างมูลค่าได้มากกว่า ผู้ผลิตก็มีค่าตอบแทนสูง หากสร้างมูลค่าเพิ่มได้น้อย รายได้/ผลตอบแทนก็น้อย ผู้ที่มีปัจจัยพร้อม ทั้งปริมาณ-คุณภาพ มีโอกาสสร้างมูลค่าเพิ่มได้มากกว่า และเป็นผู้มีรายได้สูง มีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดี
19. ความเป็นเจ้าของ “ปัจจัยการผลิต” เป็นที่มาของการได้เปรียบเสียเปรียบกันในทางเศรษฐกิจ ในการแบ่งสรร “มูลค่าเพิ่ม” อันเกิดจากการผลิต ผู้ที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตเท่านั้น ที่จะมีสิทธิ์ได้รับส่วนแบ่งโดยปกติ ได้แก่ ผู้เป็นเจ้าของที่ดิน, ทุน, เทคโนโลยี และความสามารถในการประกอบการ มีไม่มากนัก จะได้รับส่วนแบ่งมาก จากของมูลค่าเพิ่ม
ผู้ใช้แรงงานมีจำนวนมาก จะได้รับส่วนแบ่ง “ที่เหลือ” ซึ่งอาจไม่มากนัก ซึ่งมักถูกมองว่า ผู้ใช้แรงงานไม่ได้รับความเป็นธรรม ประเด็นเหล่านี้ เป็นสัจธรรมทางเศรษฐกิจที่ไม่อาจปฏิเสธได้ อนึ่ง เจ้าของปัจจัยการผลิตดังกล่าว เป็นผู้รับผิดชอบความเสี่ยงด้วยตนเองทั้งสิ้น
20. การแก้ไขความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจไม่อาจแก้ไขได้โดยง่าย ดังนั้นความสำคัญอยู่ที่ “ข้อตกลงในการแบ่งสรร” ที่สมควร มีเหตุผล และข้อมูลตกลงกันในเบื้องแรก ก่อนจะทำการผลิต เพื่อป้องกันมิให้เกิดความรู้สึก “ไม่เป็นธรรม” ภายหลัง เจ้าของก็ต้องไม่เอารัดเอาเปรียบ กดขี่การใช้แรงงาน การเจรจาต่อรองเรื่องค่าจ้างแรงงานโดยสหภาพแรงงาน เป็นคนละกรณีกันกับการแบ่งสรร “มูลค่าเพิ่ม”
21. ความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจ อันเนื่องมาจากการแบ่งสรรมูลค่าเพิ่ม มักเกิดจาก “การประเมินคุณค่าของผลงาน” เช่น การประเมินคุณค่าของกรรมการและผู้บริหารกิจการ “สูงกว่าความเป็นจริง” ขณะเดียวกันกับการประเมินคุณค่าของพนักงานที่ปฏิบัติงาน “ต่ำเกินไป”
บางครั้งงานที่ง่ายที่สุดอาจประเมินคุณค่าสูงสุด งานยากที่สุดอาจถูกประเมินต่ำสุด การประเมินคุณค่ามักขึ้นอยู่กับ “ทัศนะทางสังคม” เป็นสำคัญ เช่น ทัศนะทางสังคมมักมองว่า เกษตรกร – คนเก็บขยะมีคุณค่าต่ำ จึงได้รับผลตอบแทนน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับผู้บริหารวิสาหกิจ หรือผู้มีวิชาชีพสูง
22. หัวใจเศรษฐกิจอยู่ที่การผลิต ประเทศใด กลุ่มใด บุคคลใด มีขีดความสามารถในการผลิตสูง ย่อมมีโอกาสจะสร้างฐานะทางเศรษฐกิจ ประเทศที่ผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ที่ตลาดต้องการ ทำให้มีมูลค่าสูง สามารถครองเศรษฐกิจโลกได้ บุคคลก็เช่นกัน ผู้ใดมีความสามารถผลิตสินค้าและบริการที่เหนือกว่า ก็จะมีฐานะร่ำรวย
สิ่งเหล่านี้ เป็นข้อเท็จจริง การที่จะให้มีฐานะทางเศรษฐกิจเท่าเทียม และเป็นธรรม กับคนอื่น ก็ต้องขึ้นอยู่กับการพัฒนาตนเอง หาวิธีเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต หากขาดปัจจัย ก็ต้องยกระดับความรู้ – ความสามารถของตนเองให้สูงขึ้น
รัฐก็มีหน้าที่ในการ “พัฒนาฝีมือแรงงาน” ตลอดจนการจัดการศึกษาในระดับสูง ที่เทคโนโลยีมีความก้าวหน้ารวดเร็ว
23. การแก้ไข “ความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจ” มีความต่อเนื่องไปสู่ “ความไม่เป็นธรรมทางสังคม” ซึ่งต้องดูแลด้วย “การแบ่งสรรมูลค่าเพิ่ม” ให้มีความเหมาะสมขึ้น ซึ่งอาจบรรลุความสำเร็จได้เพียงระดับหนึ่ง เพราะความไม่เป็นธรรมเป็น “ข้อเท็จจริง” เป็น “ปรากฏการณ์ธรรมชาติ” ซึ่งบุคคลมีความแตกต่างกัน ซึ่งหากจะให้ลดลงก็ต้องการเยียวยา 4 ประการ คือ
(1) การจัดสวัสดิการสังคมที่สมบูรณ์แบบ
(2) การสร้างระบบเศรษฐกิจชุมชนในพื้นที่ชนบท
(3) การปฏิรูประบบภาษีอากร
(4) การอำนวยความยุติธรรมแก่ผู้ด้อยโอกาส/ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม การเยียวยาดังกล่าวควรอยู่ใน “แผนการปฏิรูปประเทศ”
24. การจัดระบบเศรษฐกิจชุมชนในพื้นที่ชนบท เป็นการปฏิรูปประเทศไทยที่ฐานราก “ชนบท” เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ “สังคมชนบท” เป็นฐานรากของสังคมไทย
ปัญหาสำคัญ คือ ความยากจน ความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม ส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่ชนบท ซึ่งเป็นที่มาของอุปสงค์ส่วนรวม เช่น ชาวนาทำนาเลี้ยงคนทั้งประเทศ รวมทั้งส่งออก ผู้บริโภคหลายคนก็อยู่ในชนบท ทำให้ระบบอุปสงค์ส่วนรวมมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจประเทศไทย
24. การจัดระบบเศรษฐกิจชุมชนในพื้นที่ชนบท เป็นการปฏิรูปประเทศไทยที่ฐานราก “ชนบท” เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ “สังคมชนบท” เป็นฐานรากของสังคมไทย
ปัญหาสำคัญ คือ ความยากจน ความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม ส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่ชนบท ซึ่งเป็นที่มาของอุปสงค์ส่วนรวม เช่น ชาวนาทำนาเลี้ยงคนทั้งประเทศ รวมทั้งส่งออก ผู้บริโภคหลายคนก็อยู่ในชนบท ทำให้ระบบอุปสงค์ส่วนรวมมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจประเทศไทย
ปัญหาสำคัญในพื้นที่ชนบท ซึ่งจำเป็นต้องมีการปฏิรูป คือ ปัญหาการเสียสมดุลทางเศรษฐกิจ ราษฎร์พื้นที่ชนบทมีรายได้ไม่พอรายจ่าย ทำให้เป็นหนี้สะสม สูญเสียกรรมสิทธิ์ในที่ดินทำกิน ตลอดจนต้องอพยพย้ายถิ่นฐานไปใช้แรงงานอาชีพเกษตรกรรม เลี้ยงตนเองและครอบครัวไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกพืชชนิดเดียว เช่น การทำนา พื้นดินใช้เพาะปลูกน้อยลง น้ำน้อยลง คุณค่าดินลดลงจนต้องอาศัยปุ๋ยเคมี รายจ่ายเพิ่มขึ้น ผลผลิตไม่แน่นอน ทั้งปริมาณ, คุณภาพ และราคาจำหน่าย
นโยบาย – มาตรการของรัฐช่วยบรรเทาได้บ้าง แต่ไม่อาจแก้ไขปัญหาการเสียสมดุล ทำให้ภาระหนี้สิน ความยากจน สลัดทิ้งได้ยาก มีแต่จะรุนแรงมากขึ้น
หากเกษตรกรทิ้งอาชีพเดิมหมด เป็นอันตรายอย่างยิ่ง เราจำเป็นต้องเปลี่ยน “หลักคิด” ว่าด้วยเศรษฐกิจเกษตรกร เรื่องเกษตรแปลงใหญ่ ไม่ปลูกพืชชนิดเดียว หรือทำเกษตรอย่างเดียว ซึ่งไม่สามารถสร้างรายได้ ที่เพียงพอกับรายจ่าย ที่มากขึ้น เนื่องจาก ค่าใช้จ่ายในการครองชีพ ซึ่งมีการพัฒนาสู่ความทันสมัยมากขึ้น
ทางเลือกเดียวเรื่องนี้ คือ “การสร้างระบบเศรษฐกิจชุมชน” หรือเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่ชนบท
25. ระบบเศรษฐกิจชุมชน ก็คือ “สหกรณ์” นั่นเอง แต่เป็นสหกรณ์อเนกประสงค์ หรือ “ประชารัฐ” ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลายอย่าง ดำเนินการไปพร้อมๆ กัน ทั้งการผลิต, จำหน่าย, แปรรูปผลิตผล, การจัดหาปัจจัยการผลิต อาทิ เงินทุน, เครื่องมือเครื่องจักร, แรงงาน, แปรรูป เช่น โรงสีข้าวยุ้งฉาง สำหรับเก็บผลิตผล, เทคโนโลยี และวิชาการ สำหรับใช้ในการผลิต ตลอดจนเครื่องอุปโภคบริโภคที่จัดจำหน่ายในร้านค้า ต่อไปรายได้ระบบเศรษฐกิจดังกล่าว จะมีการพัฒนาชมรมออมทรัพย์ กลุ่มออมทรัพย์ของเครือข่ายเกษตรกรอเนกประสงค์ จัดตั้งเป็น “ธนาคารสหกรณ์” ทำหน้าที่เป็นสถาบันการเงิน ให้แก่เครือข่ายสหกรณ์
26. การปฏิรูประบบภาษีอากร เราต้องให้ความสำคัญต่อภาษีการบริโภค และการใช้ภาษีทรัพย์สินและมรดก ซึ่งจะเป็นมาตรการลดความแตกต่างในฐานะของบุคคล อันเป็นที่มาของความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม
การจัดเก็บภาษีเงินได้ จากการผลิตสินค้าและบริการ ที่ยังไม่มีความชอบธรรมเป็นธรรม จำเป็นต้องได้รับการส่งเสริมการลงทุน การผลิตสินค้าและบริการ ที่เป็นกิจกรรมหลักในทางเศรษฐกิจ เพราะการค้าและบริการที่ผลิตขึ้นมา ก็เพื่อใช้ประโยชน์ของสังคมโดยรวม
การจัดเก็บจากรายได้ มิใช่มาตรวัดความสามารถในการเสียภาษีเสมอไป ผู้มีรายได้มากหรือน้อย ที่แตกต่างกัน ย่อมมีรายจ่ายมากน้อยแตกต่างกันออกไปด้วย ทำให้ขีดความสามารถในการเสียภาษีแตกต่างกัน เราจึงอาจต้องใช้รายได้และใช้การบริโภคเป็นมาตรวัดประกอบกันด้วย ว่าอย่างใดจะเหมาะสมกว่ากัน หรือผสมกัน ผู้ที่ใช้จ่ายในการบริโภคมาก ควรมีความสามารถจ่ายภาษีมากกว่าผู้ใช้จ่ายในการบริโภคน้อยกว่า
สำหรับภาษีทรัพย์สินและมรดก เป็นมาตรการเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ลดความแตกต่างในฐานะบุคคล ที่ตรงประเด็น แต่ต้องชัดเจนในวัตถุประสงค์ และความมุ่งหมายในการจัดเก็บ
แม้สังคมจะอนุญาตให้บุคคล สามารถสะสมทรัพย์สมบัติได้ แต่ไม่สมควรจะมากเกินไป เพื่อฐานะทางเศรษฐกิจจะได้ไม่แตกต่างกันมาก อันเป็นสาเหตุการกล่าวอ้างถึงความไม่เสมอภาค
27. กรณีบทบัญญัติ ที่กำหนดไว้ว่า “บุคคลย่อมเสมอกัน” ในกฎหมาย ได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายเท่าเทียมกัน และมีสิทธิ์เข้าถึงกระบวนการโดยง่าย – สะดวกทั้งสิ้น แต่ความจริงก็คือ มีบุคคลอีกมาก แม้มีสิทธิตามกฎหมาย แต่ไม่อยู่ในฐานะใช้สิทธิเหล่านั้นได้เต็มที่ และตกอยู่ในฐานะเสียเปรียบทางคดี ไม่ว่าจะเป็น “โจทก์” หรือผู้ถูกกล่าวหา หรือจำเลย ซึ่งจำเป็นต้องมีมาตรการดูแลช่วยเหลือบุคคลเหล่านั้น เพราะเขาจะเข้าใจว่า เขาไม่ได้รับความเป็นธรรม ไม่เชื่อมั่นตั้งแต่แรก จากสาเหตุฐานะทางสังคม “เขาด้อยกว่า” การปฏิรูปเรื่องนี้ สำคัญอย่างยิ่ง เพราะมีคนจำนวนมากได้รับความเดือดร้อนในปัจจุบัน
28. พลเมือง เป็นสิ่งสำคัญในการวัดความเป็นปึกแผ่น มั่นคง ความเจริญก้าวหน้า จึงจำเป็นต้องมีคุณภาพ มีการพัฒนาที่ก้าวทันโลก อันประกอบด้วย (1) มีสุขภาพที่สมบูรณ์ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ (2) การมีความวิชาความรู้ที่แตกฉาน และมีความคิดที่ถูกต้อง และ (3) การมีจิตสำนึก เยี่ยงผู้มีการศึกษา
เราจะต้องพัฒนาคุณภาพของพลเมืองอย่างเร่งด่วน ด้วยการจัดการศึกษาทุกรูปแบบ ทุกระดับ หากการศึกษาล้าหลัง หรือล้มเหลว สังคมจะเสื่อมโทรม สุขภาพพลเมืองจะอยู่ในภาวะถดถอย
29. ความสัมพันธ์กับนานาอารยประเทศ การศึกษาเป็นส่วนสำคัญ ที่จะต้องขยายตัวอย่างรวดเร็ว ในทุกระดับของการเจริญเติบโตของระบบเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ไม่ให้สังคมเสื่อมโทรมลง ไม่ว่าจะเป็นในทัศนคติ หรือพฤติกรรมของพลเมือง
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่เกี่ยวกับศีลธรรม คุณธรรม และจริยธรรม ทัศนคติเป็นอย่างไร พฤติกรรมจะเป็นอย่างนั้น ถ้าความคิดไม่ถูกต้อง ทัศนคติก็ไม่ถูกต้อง เราต้องปลูกฝัง “หลักคิด” ให้กำกับ “ความคิด” และความคิดกำกับ “ทัศนคติ” และทัศนคติกำกับ “พฤติกรรม”
30. จุดอ่อนที่สุดในการจัดการศึกษาของเมืองไทย คือ การปลูกฝังหลักคิด คือหลักในการคิดเรื่องต่างๆ อย่างถูกต้อง ตลอดจน “จิตสำนึก” ที่ผู้ได้รับการศึกษามาแล้วจะต้องมี ทั้งนี้ การเยียวยาแก้ไขสังคมเสื่อมโทรม จะต้องทำผ่านกระบวนการศึกษาของชาติ และปลูกฝังสิ่งที่เป็นหลักประกันคุณภาพของสังคมไทยดังกล่าว
31. จิตสำนึกควรมีการปลูกฝังในสังคมไทย เช่น จิตสำนึกในความมีอิสรภาพทางความคิด เคารพกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับสากล แยกแยะความดี/ความชั่ว ความถูกต้อง/ไม่ถูกต้อง สิ่งที่ควรกระทำ/ไม่ควรกระทำ หรือควรละเว้น, จิตสำนึกในด้านจริยธรรมและยึดมั่นให้มั่นคง ถูกต้อง, จิตสำนึกเรื่องความปลอดภัย/ไม่ประมาท, จิตสำนึกในความมีใจเป็นนักกีฬา “รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย”, จิตสำนึกทางประวัติศาสตร์ ทางวิทยาศาสตร์, จิตสำนึกในด้านศีลธรรม
ปัจจุบัน ดูเหมือนเราจะขาดจิตสำนึกเหล่านี้ไปค่อนข้างมาก ขาดภูมิคุ้มกันจากสิ่งที่บ่อนทำลายสังคม การปฏิรูปประเทศไทย จำเป็นต้องหาวิธีปลูกฝังจิตสำนึกเหล่านี้ให้ได้ เพราะหากยังขาดการปกป้องอยู่ “การปฏิรูป” ในเรื่องใดๆ ก็ไม่สำเร็จ
32. นอกจากการปลูกฝังจิตสำนึกแล้ว การจัดการศึกษาในเมืองไทย ยังคงต้องเน้นการปลูกฝังหลักคิดที่ถูกต้อง ให้กับคนไทย/เยาวชนไทย เพราะหลักคิดไม่ถูกต้อง เป็นสาเหตุหนึ่งที่ขวางกั้นความก้าวหน้าของสังคมไทย ในทุกมิติ ทำให้สังคมเสื่อมโทรม
“หลักคิด” หมายถึง หลักการหรือ “ทฤษฎี” ที่บุคคลใช้ในการคิด ผู้มีการศึกษาสมควรมี “หลักคิด” ที่ถูกต้อง หลักคิดดังกล่าวจะมาจากที่ใด มาจากทุกศาสนาซึ่งมีอยู่แล้วทุกด้าน รวมทั้งสุภาษิต – คติพจน์ ก็ได้ให้ “หลักคิด” ที่มีคุณค่าไว้คิดมากมาย
หลักคิด พระพุทธเจ้า สุภาษิตไทย อาทิเช่น จงทำในสิ่งที่ดี หลีกเลี่ยงการทำความชั่ว รู้จักปกป้องสิทธิของตนเอง แต่ต้องไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น จะต้องคิดพึ่งตนเองเสมอไป และต้องพัฒนาตนเองให้เป็นที่พึ่งของตนเองได้
ความประมาทเป็นหนทางแห่งความตาย, เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร, ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายของคนดี เหล่านี้คือหลักคิดที่ถูกต้อง
การปลูกฝังหลักคิดในระบบการศึกษา อาจต้องสร้าง ทั้ง 2 ทาง คือ (1) ทางศาสนาและ (2) ทางโลก อย่างเป็นธรรมชาติ ให้กลมกลืนไปในทุกวิชา ทุกระดับการศึกษา มีคู่มือสำหรับครู ในการถ่ายทอดวิชาความรู้ และในการปลูกฝังจิตสำนึก และ “หลักคิด” ไปใช้ในกระบวนการเดียวกัน
บทสรุป
ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ นายกรัฐมนตรีได้รวบรวมจากการทำงาน ใช้หลักคิดของนายกรัฐมนตรี ของรัฐบาล และเรียบเรียงจากหนังสือของ ดร.วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร ราชบัณฑิต ซึ่งเรียบเรียง “หลักคิดในการปฏิรูปประเทศไทย” เมื่อปี 2553 ซึ่ง นรม. เห็นว่ามีความประสานสอดคล้องกัน ซึ่งอาจเป็นประโยชน์กับการทำงานของรัฐบาล, คสช. และ ป.ย.ป. ในปัจจุบัน
-------------------------
หลักคิดในการปฏิรูป ๑๐ ก.พ. ๖๐
Wednesday, 17 February 2016
รายชื่อโรงเรียนเอกชนในเขตอำเภอสุไหงโก-ลก
๑. โรงเรียนบุญลาภนฤมิตร อำเภอสุไหงโก-ลก
๒. โรงเรียนอนุบาลรังผึ้ง อำเภอสุไหงโก-ลก
๓. โรงเรียนบ้านสุชาดา อำเภอสุไหงโก-ลก
๔. โรงเรียนอนุบาลผดุงวิทย์
อำเภอสุไหงโก-ลก
๕. โรงเรียนแสงธรรมวิทยา อำเภอสุไหงโก-ลก
๖. โรงเรียนเกษมทรัพย์ อำเภอสุไหงโก-ลก
๗. โรงเรียนดารุลฟุรกอน อำเภอสุไหงโก-ลก
๘. โรงเรียนนะห์ฎอฏุลอิสลาฮียะห์
อำเภอสุไหงโก-ลก
รายชื่อโรงเรียนรัฐในเขตอำเภอสุไหงโก-ลก
ที่
|
รหัส
|
ชื่อโรงเรียน
|
หมู่ที่
|
บ้าน/ชุมชน
|
ตำบล
|
1
|
96020076
|
บ้านซรายอ
|
6
|
ซรายอ
|
ปาเสมัส
|
2
|
96020077
|
บ้านตือระ มิตรภาพที่ 172
|
2
|
ตือระ
|
ปาเสมัส
|
3
|
96020078
|
บ้านลูโบ๊ะซามา
|
2
|
ลูโบ๊ะซามา
|
ปาเสมัส
|
4
|
96020079
|
บ้านกวาลอซีรา
|
7
|
กวาลอซีรา
|
ปาเสมัส
|
5
|
96020080
|
บ้านมือบา
|
4
|
มือบา
|
ปาเสมัส
|
6
|
96020081
|
บ้านลาแล
|
1
|
ลาแล
|
ปูโยะ
|
7
|
96020082
|
บ้านโต๊ะเวาะ
|
3
|
โต๊ะเวาะ
|
ปูโยะ
|
8
|
96020083
|
บ้านกูแบอีแก
|
4
|
กูแบอีแก
|
ปูโยะ
|
9
|
96020084
|
บ้านมูโนะ
|
1
|
มูโนะ
|
มูโนะ
|
10
|
96020085
|
บ้านปาดังยอ
|
3
|
ปาดังยอ
|
มูโนะ
|
11
|
96020086
|
บ้านลูโบะลือซง
|
2
|
ลูโบ๊ะลือซง
|
มูโนะ
|
12
|
96020087
|
บ้านปูโป๊ะ
|
4
|
ปูโป๊ะ
|
มูโนะ
|
13
|
96020088
|
บ้านสุไหงโก-ลก
|
18 ถ.เทศปฐม
|
สุไหงโก-ลก
|
|
14
|
96022005
|
สุไหงโกลก
|
1 ถ.ทรายทอง 2
|
สุไหงโก-ลก
|
Subscribe to:
Posts (Atom)