Wednesday, 25 February 2015

แผนชุมชนบ้านลีนานนท์ ปี 2557

แผนชุมชนบ้านลีนานนท์ ปี 2557
หมู่ที่ 6 ตำบลสุคิริน อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส




สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส 96190
โทรศัพท์/โทรสาร 0-7365-6114




คำนำ
แผนชุมชนฉบับนี้ ได้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงานให้กับทางหมู่บ้านได้ศึกษาในกระบวนการเรียนรู้ และปรับแผนชุมชนนำไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งหมู่บ้านได้จัดเวทีประชาคมเพื่อจัดทำแผนชุมชนฉบับนี้ โดยใช้ภูมิปัญญา ระดมสมอง ความคิดริเริ่ม และใช้ความคิดร่วมกัน จึงได้เกิดแผนชุมชนที่มีความสมบูรณ์มากขึ้น สามารถนำมาประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสมของชุมชน ซึ่งจะก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการพัฒนาชุมชนได้อย่างยั่งยืน
ทางคณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า แผนชุมชนฉบับนี้ทางหมู่บ้านจะนำไปใช้ประโยชน์ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องและชุมชนได้เป็นอย่างมาก ในการแก้ไขปัญหาของหมู่บ้านในทุก ๆ ด้าน และบรรลุวัตถุประสงค์ตามนโยบายของรัฐบาลที่จะเห็นราษฎรได้อยู่ดีกินดี เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มั่นคงต่อไป
พัฒนากรผู้ประสานตำบลสุคิริน
มิถุนายน 2557
สารบัญ
หน้า
แผนที่สังเขปของหมู่บ้าน 1
บทที่ 1 บทนำ 2
ชื่อหมู่บ้าน ความหมายของชื่อหมู่บ้าน 2
ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน 2
สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน 2
อื่น ๆ 2
บทที่ 2 ศักยภาพชุมชน 3
ทุนชุมชน 3
ข้อมูล จปฐ. 4-7
ข้อมูล กชช.2 ค 7
วิเคราะห์หมู่บ้าน 8
บทที่ 3 ยุทธศาสตร์ของหมู่บ้าน 9
วิสัยทัศน์ 9
พันธกิจ 9
ยุทธศาสตร์ 9-10
บทที่ 4 แผนงาน โครงการ กิจกรรม 11
แผนพึ่งตนเอง แผนความร่วมมือ แผนของบประมาณ 12-17
ภาคผนวก 18
รายชื่อผู้นำหมู่บ้าน 19
รายชื่อองค์กรหมู่บ้าน 19
รายชื่อกรรมการเวทีประชาคมของหมู่บ้าน 20
รายชื่อทีมพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนระดับตำบล 20
รายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรมหมู่บ้าน 21-23
ภาพกิจกรรมเวทีประชาคม 24
1
แผนที่สังเขปบ้านลีนานนท์
หมู่ที่ 6 ตำบลสุคิริน อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส


2
บทที่ 1 บทนำ
ชื่อหมู่บ้าน บ้านลีนานนท์
ความหมายของชื่อหมู่บ้าน บ้านลีนานนท์ เป็นการตั้งชื่อตามนามสกุลของ พลเอก หาญ ลีนานนท์
ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน ชาวบ้านลีนานนท์ เดิมเป็นชาวบ้านอำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีอาชีพทำเหมืองแร่วูลแฟรมที่เขาศูนย์ ได้อพยพมาตั้งครัวเรือนอยู่ที่อำเภอสุคิริน ตามนโยบาย ใต้ร่มเย็น ของ พลเอก หาญ ลีนานนท์ แม่ทัพภาคที่ 4 โดยใช้นามสกุลของ พลเอก หาญ ลีนานนท์ เป็นชื่อหมู่บ้าน ว่า บ้านลีนานนท์ หมู่ที่ 6 ตำบลสุคิริน อำเภอสุคิริน และ มี นายสวัสดิ์ เพชรจันทร์ เป็นผู้ใหญ่บ้าน
สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน
ลักษณะภูมิประเทศ เป็นที่ราบลุ่มเชิงเขาบางแห่งเป็นภูเขาสูง อยู่ติดกับลำคลองเป็นส่วนใหญ่
ลักษณะภูมิอากาศ มีอากาศแบบร้อนชื้นในฤดูร้อน อากาศหนาวในฤดูฝน และ ฝนตกชุกตลอดทั้งปีบางครั้งมีหมอกลงจัด ปกคลุมทั้งอำเภอ ในช่วงเช้าถึงช่วงสาย (09.00 น.
ฤดูกาล มี 2 ฤดู คือ ฤดูฝนกับฤดูร้อน ฤดูฝนยาวนาน 6 9 เดือน ฤดูร้อนประมาณ 3 6 เดือน
อาณาเขตหมู่บ้าน
ทิศเหนือ จรด บ้านไอร์บาลอ ต.ช้างเผือก อ.จะแนะ
ทิศใต้ จรด บ้านจุฬาภรณ์ฯ ต.สุคิริน อ.สุคิริน
ทิศตะวันออก จรด บ้านรักธรรม ต.สุคิริน อ.สุคิริน
ทิศตะวันตก จรด ต.ผดุงมาตร อ.จะแนะ
จำนวนประชากร 156 ครัวเรือน
3

บทที่ 2 ศักยภาพชุมชน

ทุนชุมชน
1. ทุนที่เป็นตัวเงิน
1.1 กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านลีนานนท์ จัดตั้งเมื่อ 9 เมษายน พ.ศ.2532 สมาชิกก่อตั้ง 122 คน ปัจจุบันสมาชิก 428 คน เงินสัจจะสะสม 2,934,620 บาท นายดวง สรงวารี ประธานกลุ่ม ผลการจัดระดับการพัฒนา ระดับ 3
1.2 กองทุนหมู่บ้าน กองทุนหมู่บ้าน ได้รับโอนเงิน 1 ล้านบาท เมื่อ 10 กันยายน 2544 สมาชิก 77 คน ชาย 57 คน หญิง 20 คน กรรมการกองทุน 9 คน ชาย 7 คนหญิง 2 คน ผลการจัดระดับการพัฒนากองทุน ระดับ AAA
2. ทุนที่ไม่เป็นตัวเงิน
แหล่งน้ำ ใช้ทำประปาภูเขา ประหยัดค่าใช้จ่าย
แม่น้ำ/ลำคลอง ใช้สำหรับทำการเกษตร พอเพียงตลอดทั้งปี
ถนน การคมนาคมระหว่างหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด สะดวก รวดเร็ว
ศาลากลางหมู่บ้าน สำหรับจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของชุมชน
ดิน อุดมสมบูรณ์
ป่าไม้ อุดมสมบูรณ์
มีดอกอ้อ ใช้ทำไม้กวาดดอกหญ้าไว้ใช้ และจำหน่าย
มีนักการเมืองท้องถิ่น เช่น สมาชิก อบต. สมาชิก อบจ. ฯลฯ
มีไม้ไผ่ ไว้ทำจักสานการฝีมือใช้ในครัวเรือน และจำหน่าย รวมทั้งจำหน่ายไม้ไผ่เพิ่มรายได้แก่ครัวเรือน

การประเมินสถานภาพของหมู่บ้านจาก
ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) และข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช.2 ค)
ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) มีตัวชี้วัดทั้งหมด 30 ตัวชี้วัด เพื่อวัดระดับมาตรฐานชีวิตของคนไทยในระดับครัวเรือน และมีการจัดเก็บทุก ๆ ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เครื่องชี้วัดความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) เป็นเครื่องมือของกระบวนการเรียนรู้ของประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน ทราบถึงสภาพความเป็นอยู่ของตนเองและชุมชนว่า บรรลุตามเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐานหรือไม่ แบ่งเป็น 5 หมวด 30 ชี้วัด คือ
หมวดที่ 1 สุขภาพดี มี 7 ตัวชี้วัด
หมวดที่ 2 มีบ้านอาศัย มี 8 ตัวชี้วัด
หมวดที่ 3 ฝักใฝ่การศึกษา มี 5 ตัวชี้วัด
หมวดที่ 4 รายได้ก้าวหน้า มี 4 ตัวชี้วัด
หมวดที่ 5 ปลูกฝังค่านิยมไทย มี 6 ตัวชี้วัด
4
การจัดเก็บข้อมูล จปฐ. บ้านลีนานนท์ มีผลดังนี้






ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช.2 ค)
ข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้านเป็นข้อมูลที่แสดงระดับการพัฒนาหมู่บ้านว่า หมู่บ้านอยู่ในระดับใด เมื่อเทียบกับหมู่บ้านส่วนใหญ่ โดยมีข้อมูลทั้งหมด 7 ด้าน 33 ตัวชี้วัด ซึ่งผลการวิเคราะห์พบว่า บ้านลีนานนท์ เป็นหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาระดับ 3 หรือหมู่บ้านก้าวหน้า ดังรายละเอียดที่ปรากฏตามตาราง

6
การวิเคราะห์หมู่บ้าน
จากการศึกษาวิเคราะห์ ตรวจสอบและประเมินสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกหมู่บ้าน โดยวิธีการวิเคราะห์ “สวอท” หรือ “SWOT Analysis” หมู่บ้านได้ทำการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในเป็นการวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนที่อยู่ภายในหมู่บ้าน โดยหมู่บ้านไม่สามารถควบคุมได้ในระยะสั้น ได้แก่ โครงสร้าง วัฒนธรรม และทรัพยากร ส่วนการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก โดยวิเคราะห์ปัจจัยตัวแปร 2 ตัวแปร คือ โอกาส และอุปสรรค ซึ่งอยู่ภายนอกหมู่บ้านที่มีความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดและมีผลกระทบเกี่ยวข้องกับหมู่บ้านโดยตรง ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมือง กฎหมาย และเทคโนโลยี เป็นต้นสรุปผลการวิเคราะห์ปัจจัยภายในและภายนอก ดังนี้


7

บทที่ 3 ยุทศาสตร์ของหมู่บ้าน


1. วิสัยทัศน์
เป็นหมู่บ้านส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งของชุมชน
2. พันธกิจ
2.1 ส่งเสริมและสนับสนุนการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เพื่อยกระดับรายได้
2.2 ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชนในหมู่บ้าน
2.3 พัฒนาคุณภาพการดำเนินงานกองทุนชุมชนในหมู่บ้าน
3. เป้าประสงค์
หมู่บ้านเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน
4. ยุทธศาสตร์ของหมู่บ้าน
4.1 ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เพื่อยกระดับรายได้
ของประชาชนในหมู่บ้าน
เป้าหมาย เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านได้รับการพัฒนาอาชีพในระบบเศรษฐกิจพอเพียง และมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 30,000 บาท/คน/ปี
กลยุทธ์
1. ส่งเสริมให้ประชาชนในหมู่บ้านดำเนินการจัดทำบัญชีรายรับ-จ่ายของครัวเรือน
2. ส่งเสริมให้ประชาชนในหมู่บ้านปลูกพืชผักสวนครัวไว้กินเอง
3. ส่งเสริมให้ประชาชนในหมู่บ้านลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
4. ส่งเสริมให้ประชาชนในหมู่บ้านปลูกพืชทุกอย่างที่กินได้ ใช้ทุกอย่างที่ทำ ทำทุกอย่างที่ใช้
5. ส่งเสริมให้ประชาชนในหมู่บ้านใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยคอก มูลสัตว์ต่าง ๆ ลดต้นทุนในการทำเกษตรกรรม
6. ส่งเสริมให้ประชาชนในหมู่บ้านเลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา เลี้ยงวัว ฯลฯ ไว้บริโภคในครัวเรือนและเป็นอาหารเสริม ที่เหลือขายเพิ่มรายได้

4.2 ยุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในหมู่บ้าน
เป้าหมาย เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านมีความสามารถในการบริหารจัดการต่างๆ ของหมู่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กลยุทธ์
1. กำหนดประชุมประจำเดือนหมู่บ้านอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
2. ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานในระดับครัวเรือนและหมู่บ้านให้มีคุณภาพ สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการวางแผนแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ
3. ใช้แผนชุมชนส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาของชุมชน
4. ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยการประชุม ฝึกอบรม สัมมนา จัดเวทีประชาคม ทัศนศึกษาดูงาน ฯลฯ
5. ส่งเสริมและเชิดชูคนดีของหมู่บ้าน
6. ใช้วันสำคัญทางศาสนาในการจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาประชาชนให้มีความเชื่อและปฏิบัติตามหลักศาสนา
7. ส่งเสริมให้มีการจัดระเบียบชุมชนและการรักษาความสงบเรียบร้อยในหมู่บ้าน
8. ใช้ทุนทางสังคมในหมู่บ้าน เช่น กลุ่ม/องค์กรต่างๆ /ประชาชน เป็นองค์กรขับเคลื่อนกลยุทธ์

4.3 ด้านการพัฒนาคุณภาพการดำเนินงานของกองทุนชุมชนในหมู่บ้านเป้าหมาย เพื่อให้กองทุนชุมชนมีความเข้มแข็ง ประชาชนในหมู่บ้านเข้าถึงแหล่งทุนในหมู่บ้านได้อย่างทั่วถึง สะดวก รวดเร็ว และประหยัดมากยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง
กลยุทธ์
1. เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของกองทุนชุมชนต่าง ๆ ในหมู่บ้านให้ประชาชนในหมู่บ้านทราบอย่างต่อเนื่อง เพื่อความโปร่งใสและตรวจสอบได้
2. บูรณาการกองทุนต่าง ๆ ในหมู่บ้านโดยการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกองทุน
3. พัฒนาระบบข้อมูลกองทุนชุมชนในหมู่บ้านให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
4. ให้มีการติดตามประเมินผลการดำเนินงานกองทุนชุมชนต่าง ๆ ในหมู่บ้าน โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
5. ส่งเสริมให้ประชาชนในหมู่บ้านเป็นสมาชิกกองทุนชุมชนอย่างน้อยครัวเรือนละ 1 กองทุน
6. พัฒนากองทุนชุมชนในหมู่บ้านให้เป็นสถาบันการเงินชุมชน
7. จัดการกองทุนต่าง ๆ ในหมู่บ้านโดยยึดหลักธรรมาภิบาล
8. ใช้แหล่งเงินทุนจากกองทุนชุมชนต่าง ๆ ในหมู่บ้านเป็นช่องทางในการพัฒนาและจัดสวัสดิการต่าง ๆ ในหมู่บ้าน
9. ส่งเสริมให้ประชาชนในหมู่บ้านมีการระดมเงินทุนและการออมให้เพิ่มขึ้นอย่างน้อยปีละ 25%
10. ส่งเสริมให้มีการจัดทำแผนหรือปฏิทินในการปฏิบัติงานของกองทุนชุมชนต่าง ๆ ในหมู่บ้าน

9
บทที่ 4
แผนงาน โครงการ กิจกรรม
แผนพึ่งตนเอง แผนขอความร่วมมือ และแผนขอรับงบประมาณ (ตามรายละเอียดแนบ)
















ภาคผนวก
16
บัญชีรายชื่อผู้นำหมู่บ้าน



รายชื่อกลุ่ม/องค์กรชุมชน
กพสม.

17
รายชื่อกรรมการเวทีประชาคม

รายชื่อทีมพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนระดับตำบล

18
บัญชีรายชื่อผู้เข้าร่วมเวทีประชาคม
บ้านลีนานนท์ หมู่ที่ 6 ตำบลสุคิริน อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส
วันที่ 17 มิถุนายน 2557
ณ ศาลาเอนกประสงค์บ้านลีนานนท์








21
การจัดเวทีประชาคม
หมู่ที่ 6 ตำบลสุคิริน อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส












No comments:

Post a Comment