Sunday, 25 February 2018

ทุกข์ของชาวบ้าน ทุกข์ของชุมชน

ในระดับหมู่บ้าน/ชุมชน เราพบว่า ปัญหาอุปสรรคมูลฐานและผลกระทบเชิงโครงสร้างทางสังคมในหมู่บ้าน/ชุมชนที่ชาวบ้านไม่ค่อยพูด เป็นปัญหาซ่อนเร้น (hidden problems) แต่เป็นปัจจัยสำคัญที่บั่นทอนความเข้มแข็งของหมู่บ้าน/ชุมชน แก้ด้วยการสนับสนุนและส่งเสริมการรวมกลุ่มจิตอาสาพัฒนาชุมชน/ประชาสังคม (CSO) และให้มีการจัดกิจกรรมแบบมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง และรัฐใช้กฎหมาย/ปฏิรูปช่วยแก้ไขด้วย

. ความขัดแย้งทางความคิด เกิดการแบ่งพรรคแบ่งพวก มาจากการเลือกตั้งทางการเมืองในหมู่บ้าน/ชุมชน
แนวทางแก้ไข 
รัฐให้การสนับสนุน ส่งเสริม และร่วมโครงการจิตอาสา "เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ" ให้มีกิจกรรมในระดับหมู่บ้าน/ชุมชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อประชาชนได้ร่วมสร้างสำนึกร่วมต่อแผ่นดินและการเป็นกลางทางการเมือง และให้โอกาสประชาชนรวมกลุ่มจัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจสังคม ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้เกิดอาสาพัฒนาชุมชน/ภาคประชาสังคมในหมู่บ้าน/ชุมชนที่มีจิตสาธารณะในการขับเคลื่อนกิจกรรมในพื้นที่ตนเอง

. ประชาชน/สถาบันครอบครัวล่มสลายและถูกทำลายทั้งร่างกายและจิตใจ เพราะยาเสพติด 
แนวทางแก้ไข 
รัฐให้การสนับสนุน ส่งเสริม และร่วมกับจิตอาสา จัดกิจกรรมกองทุนแม่ของแผ่นดิน โครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด (TO BE NUMBER ONE) หรือสร้างให้ประชาชนมีความตระหนักรู้ ตระหนักคิด ตระหนักทำการต่อต้านผู้ที่ยุ่งเกี่ยวยาเสพติดร่วมกัน หรือ "ใครยุ่งยา เราไม่คบ" และให้โอกาสประชาชนรวมกลุ่มจัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจสังคมเพื่อให้เกิดภาคประชาสังคมในหมู่บ้าน/ชุมชนที่มีจิตสาธารณะในการขับเคลื่อนกิจกรรมแก้ไขปัญหาและป้องกันเยาวชน ลูกหลาน ในหมู่บ้าน/ชุมชน ไปยุ่งเกี่ยวและเสพยา กลายเป็นภาระและปัญหาของหมู่บ้าน/ชุมชน

. ประชาชนขาดความไว้วางใจ (trust) และขาดความเชื่อมั่น (confidence) ต่อกัน เพราะหนี้สินกองทุนหมุนเวียนในหมู่บ้าน/ชุมชน อาทิเช่น กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (กทบ.) กองทุนหมุนเวียนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) ฯลฯ เป็นต้น
แนวทางแก้ไข 
รัฐให้การสนับสนุน ส่งเสริม และร่วมปรับปรุงโครงสร้างระบบการบริหารจัดการเงินทุนหมุนเวียนของหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลหรือไปเกี่ยวข้องเสียใหม่ อาทิเช่น กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) องทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (กทบ.) ฯลฯ เป็นต้น เพื่อให้เกิดความโปร่งใสทางการคลังของเงินทุนหมุนเวียนนอกงบประมาณ และส่งเสริมความยั่งยืนทางการคลังของประเทศไทย  ดังนี้
(๑) บันทึกรายการหนี้สินของลูกหนี้เงินทุนหมุนเวียนทุกรายและทุกประเภทลงในบัตรประจำตัวประชาชน และผ่านระบบธนาคาร ไม่ว่าจะฝากหรือถอนเงิน และส่งจ่ายเงินกู้ยืมด้วยตนเองหรือผู้ได้รับมอบฉันทะทุกครั้ง เพราะสามารถป้องกันการยักยอกเงินของเจ้าหน้าที่ คณะกรรมการ รวมทั้ง การทำลายหลักฐานทางการเงินและทะเบียนต่าง ๆ
(๒) ให้ผู้ที่เบี้ยวหนี้ ติดเครดิตบูโร จะได้สร้างวินัยทางการเงินให้กับผู้กู้
(๓) ผู้ที่เป็นหนี้เงินทุนหมุนเวียนของรัฐทุกประเภทไม่มีเวลาหมดอายุความ เพราะจะทำให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเดือดร้อน ต้องชดใชัเงินของผู้เบี้ยวหนี้โดยใช่เหตุ
(๔) การรับภาระหนี้ให้เป็นรายคน ไม่ใช่รายกลุ่ม แม้นจะรวมกลุ่มกันทำโครงการเพื่อหลีกเลี่ยงภาระที่จะตกกับคนใดคนหนึ่ง หรือคนหนึ่งได้ประโยชน์และอีกคนต้องชดใช้หนี้...ซึ่งเกิดขึ้นแล้ว
(๕) เมื่อผู้เป็นหนี้เงินทุนหมุนเวียนของรัฐทุกรายทุกประเภทเบี้ยวหนี้ จะมาทำธุรกรรมทางการเงิน หรือติดต่อกับเจ้าหน้าที่ฯ เพื่อขึ้นทะเบียนอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ขึ้นทะเบียนรถ โอนที่ดิน เข้าโรงพยาบาล  จะฝากหรือโอนเงินกับธนาคาร ก็ต้องทำการประนอมหนี้ด้วย 
(๖) เมื่อพบผู้ที่เป็นหนี้ตามข้อ ๕ มีฐานะยากจน จะได้ขึ้นทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและฝึกอาชีพ เพราะอาจเบี้ยวหนี้โดยฐานะหรือถูกหลอก หากพบผู้ที่เป็นหนี้ตามข้อ ๕ มีฐานะร่ำรวย จักได้ทำการยึดทรัพย์หรือเสียค่าปรับ เพราะเบี้ยวหนี้โดยสันดาน

สำหรับหน่วยงานของรัฐบางหน่วยงานหรือกองทุนบางกองทุนที่ทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบเงินทุนหมุนเวียนของรัฐที่ให้กลุ่มสมาชิก/สมาชิกกู้ยืมเงินนั้น กลายเป็นสถาบันการเงินโดยปริยาย เพราะทำหน้าที่เสมือนธนาคาร จากการนิยามสถาบันการเงิน คือ
เป็นตัวกลางทางด้ารการเงิน (Financial Intermediary)
เป็นวานิชธนกิจ (Investment-banking)

ฉะนั้น หน่วยงานของรัฐหรือกองทุนข้างต้น ต้องมีสิทธิ์ที่จะได้บริการทางการเงินภายใต้อำนาจกฎหมายที่กระทรวงการคลังกำกับดูแล เฉกเช่น สถาบันการเงินต่าง  ไม่ว่าจะเป็นธนาคารพาณิชย์ หรือธนาคารรัฐวิสาหกิจ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ ฯลฯ เป็นต้น

ปัญหาซ่อนเร้นของชาวบ้านในหมู่บ้าน/ชุมชน ทั้ง ๓ ประเด็นข้างต้น เกิดจากการดำเนินนโยบายสาธารณะที่ขาดการติดตามประเมินผลถึงผลกระทบเชิงลบในระยะยาวต่อหมู่บ้าน/ชุมชน ถ้าพูดภาษาการค้าการขาย คือ รัฐจำหน่ายสินค้าให้ประชาชนแล้ว แต่ไม่มีบริการหลังการขาย
------------------------------
แต่เรามักพบปัญหาทั่วไป ที่ชาวบ้านมักเสนอ ไม่ว่าจะแก้เอง ร่วมแก้ หรือแก้ให้
. โครงสร้างพื้นฐาน
. สิ่งแวดล้อม ขยะมูลฝอย
. การทำมาหากิน/เศรษฐกิจ
. ด้อยการศึกษา
. อาคารสาธารณประโยชน์เสื่อมโทรม
. สุขภาพของประชาชนไม่ดี
. ขโมย
. ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
. น้ำท่วมขัง
๑๐. น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค
๑๑. เด็กขาดสารอาหาร
๑๒. เด็กติดเกมส์
๑๓. เยาวชนติดยา
๑๔. ไม่มีที่ดินทำกิน
๑๕. ผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง
๑๖. ไม่ได้รับความยุติธรรม
๑๗. ว่างงาน
๑๘. มีรายได้น้อย ให้สนับสนุนอาชีพเสริม

ส่วนหน่วยงานราชการเอง ก็มีปัญหาเชิงโครงสร้างด้านการบริหารจัดการท้องถิ่น/ท้องที่และหน่วยงานระดับอำเภอ/ตำบล ก่อให้เกิดความซ้ำซ้อน ซ้ำเสริม ซ้ำซาก เพราะกระบวนระบบการปฏิบัติงานในระดับอำเภอ/ตำบล ยังไม่มีความสมดุลระหว่าง คน เงิน งาน
แนวทางแก้ไข 
รัฐจัดให้มีองค์คณะที่มีความรู้ปัญหาเชิงโครงสร้างด้านการบริหารจัดการท้องถิ่น/ท้องที่และหน่วยงานระดับอำเภอ/ตำบล ได้ทำการศึกษาปัญหาเชิงลึกเกี่ยวกับโครงสร้างด้านการบริหารจัดการท้องถิ่น/ท้องที่และหน่วยงานระดับอำเภอ/ตำบล ที่ก่อให้เกิดความซ้ำซ้อน ซ้ำเสริม ซ้ำซากในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่บริการประชาชนและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ เพราะกระบวนระบบการปฏิบัติงานในระดับอำเภอ/ตำบล ยังไม่มีความสมดุลระหว่าง คน เงิน งาน และขาดความสอดคล้องกับบริบทสังคมไทยในระดับหมู่บ้าน/ชุมชนอย่างจริงจัง เพื่อจักได้นำเสนอรัฐบาลดำเนินการปฏิรูปและจัดโครงสร้างการบริหารจัดการระดับอำเภอ/ตำบลที่มีประสิทธิภาพ
------------------------------
คำแนะนำเพิ่มเติมทางเฟสบุ๊คส์และขอขอบคุณมา  ที่นี่ด้วยครับ
() Nurul Ikhwan "เยี่ยมครับแบบักรี"
() สาปีนะห์ แมงสาโมง  "สมควรให้ข้าราชการ...ถอดบทเรียนการทำงานของข้าราชการกันเอง...แต่ทุกอย่างชุมชนเองก็มีส่วนในการสร้างหรือทำลายความล่มสลายขุมชนในอดีตเช่น...ขอชื่นชมแบบัครีที่ช่วยกันค้นหาสาเหตุพร้อมแนวทางแก้ไขในอนาคต"
() น้องลุกมัง (บ้านมือบา) "ไม่พูด การสื่อสารกับ จนท.รัฐ คนละอย่าง รวมไปถึงการอธิบาย และที่สำคัญการสร้างปฏิสัมพันธ์ขาดความไว้เนื้อเชื่อใจผู้พูดกับผู้ฟัง"
() Rusdee Yaseng "เพราะ ปัญหา "ระบบโครงสร้างอำนาจรัฐ"
(๕) คนองเดช สุขผล "ถูกทุกข้อครับ ทุกคนเห็น แต่ไม่มีใครลงไปแก้ไข เพราะ โครงสร้างอำนาจรัฐไม่เอื้ออำนวย ประกอบกับข้าราชการส่วนหนึ่งขาดจิตสำนึก และผู้นำชุมชนที่เห็นแก่ตัว"
เพิ่มจากเฟสบุคส์
(๖)  Rattikarn “พัฒนาตัวผู้นำให้ได้ก่อนเป็นอับดับแรก”
(๗) กล้วยหอมทอง “พัฒนาไม่ไป..เพราะได้ข้อมูลไม่จริง”
(๘) ยายครู “อีหยังกะซาง ถ้ายังเลือก ผู้ใหญ่บ้านเหล้าขาว นายก อบต.ด้วยเงินสามร้อย ห้าร้อย มันก็เดิม ๆ เพิ่มเติมคือปัญหายิ่งเพิ่มพูน ถ้าสอนต้วเองไม่ได้ บอกเจ้าของบ่อได้ อย่าคิดสิไปนำผู้อื่นเด้อ”
(๙) กล้วยหอมทอง “เกรงใจ..ไม่ยอมรับความจริง..”
(๑๐) จำเนียร พัฒนพิบูลย์ "ถูกต้องที่สุด...เพราะความเกรงใจ ชาวบ้านถึงได้ยอมสูดดมควันพิษโรงงานทุกวัน ๆ"
เพิ่มจากเฟสบุคส์
(๑๑) Chongdee Thummakhun "ถูกต้องคะหัวหน้า แต่การแก้ปัญหาให้บรรลุผลสำเร็จประชาชนในชุมชน/หมู่บ้าน จะต้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง และภาครัฐก็ต้องมีส่วนร่วมอย่างจริงใจเช่นกัน ปัญหาต่าง ๆ ก็อาจบรรเทาเบาบางได้บ้างคะ"
(๑๒) ปลัดธมล มงคลศิลป์ "วิเคราะห์ ได้ตรงประเด็นมากค่ะ"

No comments:

Post a Comment