Monday, 26 February 2018

โครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด (TO BE NUMBER ONE)

ยาเสพติดปัญหาสำคัญระดับชาติที่รัฐบาลถือเป็นนโยบายที่ต้องเร่งดำเนินการแก้ไขอย่างจริงจัง เพราะปัญหายาเสพติดที่มีการแพร่ระบาดในทุกพื้นที่ของประเทศไทยได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกขณะ ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านการเมืองและความมั่นคงของประเทศ

ตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมา สภาพปัญหายาเสพติดเปลี่ยนแปลงไปจากที่เป็นอยู่ในอดีตอย่างสิ้นเชิง  จากเดิมที่เฮโรอีนเป็นปัญหาสำคัญที่ตำรวจต้องเร่งปราบปรามให้สิ้นซาก กลายเป็นยาบ้า หรือสารเมทแอมเฟตามีน ที่กำลังระบาดตั้งแต่ระดับครอบครัว โรงเรียน ชุมชน สังคม และประเทศ จากข้อมูลการสำรวจพบว่ามีเยาวชนจำนวนกว่า 6 แสนคน หลงเข้าสู่วังวนของ ยาบ้า และจากสถิตินักโทษเด็ดขาด ของกรมราชทัณฑ์ที่ถูกจำคุกอยู่ตามทัณฑสถานทั่วประเทศ สำรวจ วันที่ 31 ธันวาคม 2543 มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 137,344 คน ในจำนวนนี้เป็นนักโทษคดียาเสพติดเกินกว่าครึ่ง คือ ประมาณ 87,966 คน คิดเป็นร้อยละ 64.05 และในจำนวนนักโทษเด็ดขาด คดียาเสพติดเหล่านี้มีจำนวนมากถึง 27,499 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 31.26 ของนักโทษคดียาเสพติดที่ต้องโทษในคดีเสพหรือครอบครองและทั้งเสพและครอบครอง

ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงมีความห่วงใยต่อประชาชนชาวไทยเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน อายุระหว่าง 6-25 ปี จำนวน 21 ล้านคน ซึ่งถือเป็นกลุ่มเสี่ยงสูง จึงทรงรับเป็นองค์ประธานโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด เพื่อให้การรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดภายในประเทศดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ โดยความร่วมมือ และรวมพลังจากภาครัฐและเอกชน กระตุ้นและปลุกจิตสำนึกของปวงชนในชาติให้มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักว่าการที่จะเอาชนะปัญหายาเสพติดมิใช่หน้าที่ของบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่ง แต่ทุกคนในชาติจะร่วมแรงร่วมใจกันเป็นพลังของแผ่นดินที่จะต่อสู้และเอาชนะปัญหา ยาเสพติดให้ได้โดยเร็ว

หลักการดำเนินงานของโครงการ TO BE NUMBER ONE ดังนี้
1. ส่งเสริมการ กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออกและช่วยสร้างเสริมความภาคภูมิใจ
2. ใช้สื่อ ดนตรี กีฬา ในการเข้าถึงเยาวชน และกระตุ้นให้เยาวชนเข้ามารวมกลุ่มกัน
3. สร้างความรู้และทักษะในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ซึ่งเป็นภูมิคุ้มกันที่สำคัญสำหรับเยาวชนในชุมชนให้ปลอดภัยจากปัญหายาเสพติด
4. “เพื่อนช่วยเพื่อน
5. สร้างศูนย์รวมให้วัยรุ่นรวมกลุ่มกัน ทำกิจกรรมที่สนใจสร้างสรรค์และเกิดสุข
6. สร้างเครือข่าย TO BE NUMBER ONE ที่มีศักยภาพ จะทำให้การดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ต่อเนื่องและยั่งยืน

หลักเกณฑ์การตั้งชมรม TO BE NUMBER ONE  ให้ดำเนินการตามหลักการที่ 3 เเละ 3 ดังนี้
องค์ประกอบของชมรม TO BE NUMBER ONE ประกอบด้วย 3 ได้แก่
1. .ที่ 1 คือ กรรมการ หมายถึง กลุ่มบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างน้อย 5 คน เพื่อเป็นกรรมการชมรมประกอบด้วย
* ประธาน 1 ตำแหน่ง
* รองประธาน 1 – 2 ตำแหน่ง
* เลขานุการ 1 ตำแหน่ง
* กรรมการอย่างน้อย 2 ตำแหน่ง และจะต้องมีการประชุมปรึกษาหารือกันอย่างน้อย 2 ครั้งต่อปี โดยคณะกรรมการเป็นตัวแทน ได้มาจากการคัดเลือกหรือเลือกตั้งจากสมาชิก
ตัวอย่างการแบ่งคณะกรรมการ เช่น
* ฝ่ายจัดหาทุน
* ฝ่ายกิจกรรม
* ฝ่ายประชาสัมพันธ์
* ฝ่ายรับเรื่องราวร้องทุกข์
* ฝ่ายสอดส่องดูแลและประเมินผล
2. .ที่ 2 คือ กองทุน หมายถึง กรรมการและสมาชิกร่วมดำเนินการจัดตั้งกองทุนเพื่อนำเงินรายได้หมุนเวียนใช้จ่ายในชมรม ซึ่งเป็นแนวทางสู่ความยั่งยืนของชมรม ร่วมถึงทรัพย์สินของชมรมด้วย ซึ่งหมายถึง สิ่งใดสิ่งหนึ่งดังต่อไปนี้
2.1 เงินซึ่งได้จากการบริจาค การจัดกิจกรรมเพื่อหาทุน/ได้รับสนับสนุนจากภาครัฐหรือเอกชน
2.2 ทรัพย์สิน
ประเภทไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เช่นห้องประกอบกิจกรรมชมรมสถานที่ได้รับการอนุญาตให้ใช้ในกิจกรรมของชมรม เป็นต้น
ประเภทสามารถเคลื่อนย้ายได้ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ อุปกรณ์สำนักงาน อุปกรณ์กีฬา และดนตรี
ตัวอย่างแหล่งที่มาของกองทุน
1.งบสนับสนุนจากสถานศึกษา/สถานประกอบการ
2.งบสนับสนุนจากภาคราชการ
3.การระดมทุน เช่น
*ค่าสมัครสมาชิก/การบริจาคของสมาชิก
*จำหน่ายผลิตภัณฑ์ TO BE NUMBER ONE
*จำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่สมาชิกนำมาฝากจำหน่าย/จำหน่ายขยะรีไซเคิล
*จำหน่ายสินค้าตามเทศกาลต่าง เช่น วาเลนไทน์, ปีใหม่ ฯลฯ
*เงินรางวัลจากการประกวด
3..ที่ 3 คือ กิจกรรม หมายถึง สิ่งที่ชมรมจัดขึ้นเพื่อสมาชิกภายในชมรม หรือมอบหมายสมาชิกเข้าร่วมดำเนินการกับหน่วยงาน/องค์กรภายนอก ทั้งนี้ ให้นับรวมกิจกรรมทั้งภายในและภายนอกไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง/ปี โดยกิจกรรมเป็นการสนับสนุนให้สมาชิกใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์เกิดความภาคภูมิใจ และมองเป็นคุณค่าของตนเองอันเป็นหนทางห่างไกลยาเสพติด รวมทั้งให้โอกาส และสนับสนุนการคืนคนดีสู่สังคมของสมาชิกใครติดยายกมือขึ้นโดยการดำเนินงานภายใต้ 3 ยุทธศาสตร์หลัก คือ
.ที่ 1 คือ การรณรงค์ปลุกจิตสำนึกและสร้างกระแสนิยมที่เอื้อต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
.ที่ 2 คือ การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจให้แก่เยาวชน
.ที่ 3 คือ การสร้างและพัฒนาเครือข่ายเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด 



เพื่อให้บรรลุเป้าหมายวัยรุ่นและเยาวชนมีกระแสนิยมการเป็นหนึ่งโดยไม่พึ่งยาเสพติด ตลอดจนวัยรุ่นและเยาวชนมีภูมิคุ้มกันทางจิตใจ สามารถดำรงความเข้มแข็งในการต่อต้านยาเสพติด เพื่อป้องกัน ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดคำขวัญโครงการ TO BE NUMBER ONE คือเป็นหนึ่งโดยไม่พึ่งยาเสพติดความหมาย คือ การเป็นหนึ่ง ทุกคนเป็นได้ เพราะทุกคนต่างมีดี อยู่ในตัวเอง หากค้นพบสิ่งที่ตัวเองชื่นชอบ สนใจ และมีความถนัด สามารถฝึกฝนและทำจนเป็นผลสำเร็จได้ ทำแล้วมีความสุข มีความเชื่อมั่น และมีความภาคภูมิใจ

ข้อวิพากษ์การดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี

ข้อวิพากษ์จากโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการการประเมินทุนหมุนเวียนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี เมื่อวันที่ - กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ โรงแรมปรินซ์พาเลซ มหานาค
กรมฯได้มีการเสนอ KPI Template : รายละเอียดตัวชี้วัด เพื่อประเมินกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี
#ด้านการเงิน
#ด้านการสนองประโยชน์
#ด้านการปฏิบัติการ
#ด้านการบริหารพัฒนาทุนหมุนเวียน

ก็เป็นที่น่าเสียดายมีแต่ตัวชี้วัด ยังไม่ให้ความสำคัญกับมควบคุมและการบริหารความเสี่ยงทางการเงิน/โครงการ

หากท่านผู้ใดมีโอกาสช่วยบอกเจ้าหน้าที่กรมฯที่รับผิดชอบก็จะเป็นการดี

สำหรับด้านการบริหารพัฒนาทุนหมุนเวียน
มีตัวชี้วัดที่ . การบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน
วิทยากร บอกว่า มีความเสี่ยง ๔๐ กว่าความเสี่ยงของการบริหารทุนหมุนเวียน อยู่ที่เราจะบริหารความเสี่ยงยังไง ?   คือ หลีกเลี่ยง / ลด / แบ่ง / ยอมรับ ความเสี่ยง

แต่ไม่ทราบว่า กรมฯ มีมาตรการและวิธีการป้องกันความเสี่ยงอย่างไร? ที่ไม่ให้เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนต้องเสี่ยงตัวเองไปทวงหนี้ และลูกหนี้เสี่ยงที่ต้องหลบหนี้เจ้าหน้าที่ฯหรือเบี้ยวหนี้ และไม่อยากพบเจ้าหน้าที่ฯเหมือนลูกหนี้บางคนที่เป็นอยู่ในขณะนี้...

จะเห็นได้ว่า ตัวชี้วัดการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน ไม่ใช่มาตรการ/วิธีการควบคุมความเสี่ยงจากการเบี้ยวหนึ้และความสำเร็จจากการบริหารโครงการ
ตัวชี้วัดเปรียบเสมือนเกย์รถที่บ่งบอกความเร็วของรถ แต่ไม่ใช่เป็นตัวควบคุมความเร็วของรถ
ตัวควบคุมความเร็วของรถคือ กฎหมายจราจร เครื่องดักจับความเร็ว ตำรวจทางหลวง ค่าปรับ ยึดใบขับขี่ ห้ามขับรถ ฯลฯ เป็นต้น รวมทั้ง การมีวินัยในการใช้รถของผู้ขับรถ
ถ้าหากกรมฯยังไม่มีมาตรการป้องกันความเสี่ยง ก็ขอให้เรียนรู้จากพนักงานสินเชื่อธนาคาร บุคคลเหล่านี้ จะมีประสบการณ์มากกว่าเรา
เพราะหลักการที่ใช้และจะใช้ กับเงินทุนหมุนเวียนในขณะนี้ ก็ยังมีความเสี่ยงอยู่อีก
กรมฯอาจจะมีการจ้าง outsource ในการติดตาม/เร่งรัดหนี้สิน .. แต่ยังคงเป็นแค่แนวคิด
ก็ยังดี แต่ใครจะมาทำงาน และหมิ่นเหม่ต่อการทำผิดกฎหมาย พรบ.การบริหารเงินทุนหมุนเวียน .๒๕๕๘

วิธีการที่ไม่กระทบเจ้าหน้าที่ฯมากที่สุด คือ ปรับปรุงระบบการบริหารจัดการเงินทุนหมุนเวียนของกรมฯ รับผิดชอบดูแล ได้แก่ กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) หรือไปเกี่ยวข้อง ได้แก่ องทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (กทบ.) เสียใหม่ เพื่อเสนอปัญหาให้รัฐบาลได้ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการ รวมทั้งเงินทุนหมูนเวียนอื่น ๆ ของรัฐบาลด้วย เพื่อให้เกิดความโปร่งใสทางการคลังของเงินทุนหมุนเวียนนอกงบประมาณ และส่งเสริมความยั่งยืนทางการคลังของประเทศไทย  
.ให้ผู้ที่เบี้ยวหนี้ ติดเครดิตบูโร และ/หรือ ฟ้องร้องดำเนินคดี
. บันทึกรายการหนี้สินในบัตรประจำตัวประชาชน
เมื่อบุคคลเหล่านี้ จะมาทำธุรกรรมทางการเงิน หรือติดต่อกับเจ้าหน้าที่ฯ เพื่อขึ้นทะเบียนอย่างใดอย่างหนึ่ง ขึ้นทะเบียนรถ โอนที่ดิน เข้าโรงพยาบาล ก็ต้องมาประนอมหนี้ด้วย จะฝากหรือโอนเงินกับธนาคาร ก็ต้องมาประนอมหนี้ด้วย (เมื่อพบผู้ที่เป็นหนี้ฐานะยากจน จะได้ขึ้นทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและฝึกอาชีพ เพราะเบี้ยวหนี้โดยฐานะหรือถูกหลอก หากพบผู้ที่เป็นหนี้รำ่รวย จักได้ทำการยึดทรัพย์ เพราะเบี้ยวหนี้โดยสันดาน)
.ผู้ที่เป็นหนี้ของรัฐไม่มีเวลาหมดอายุความ
.การรับภาระหนี้ให้เป็นรายคน ไม่ใช่รายกลุ่ม แม้นจะรวมกลุ่มกันทำโครงการ เพื่อหลีกเลี่ยงภาระที่จะตกกับคนใดคนหนึ่ง หรือคนหนึ่งได้ประโยชน์และอีกคนต้องชดใช้หนี้...ซึ่งเกิดขึ้นแล้ว

อย่าลืมว่า กรมฯได้ทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบเงินทุนหมุนเวียนของกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี กรมฯกลายเป็นสถาบันการเงิน ทำหน้าที่เหมือนธนาคารโดยปริยาย เพราะนิยามสถาบันการเงิน คือ
) เป็นตัวกลางทางด้ารการเงิน (Financial Intermediary)
) เป็นวานิชธนกิจ (Investment-banking)

ฉะนั้น กรมฯ ต้องหารือกระทรวงการคลัง เพราะมีสิทธิ์ที่จะได้รับการบริการทางการเงินผ่านกระทรวงการคลัง เฉกเช่น สถาบันการเงินต่าง ไม่ว่าจะเป็นธนาคารพาณิชย์ หรือธนาคารรัฐวิสาหกิจ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ เป็นต้น

การพิจารณาโครงการด้านอาชีพของประชาชน

ข้อควรคำนึงในการพิจารณาการเสนอโครงการด้านอาชีพของประชาชน
. การรวมตัวเป็นกลุ่ม/องค์กร ( )
-
ก๑ = กลุ่ม
-
ก๒ = กรรมการ
-
ก๓ = กติกา
-
ก๔ = กิจกรรม
-
ก๕ = กองทุน
. ความสามารถด้านบริหารจัดการ
-
ทุน (4M: Man, Money, Material, Machine)
เงิน
แรงงาน/ความคิด (ไม่ใช่เงิน)
-
ความรู้
การจัดการเงินทุน/บัญชี/ทะเบียน/วัตถุดิบ/การผลิต/การตลาด/การวิเคราะห์ลูกค้า (Bandwagon effect คือ พฤติกรรมการซื้อสินค้าตามกระแสนิยม-Snob effect คือ พฤติกรรมการซื้อสินค้าสวนกระแสนิยม-Veblen effect คือ พฤติกรรมการซื้อสินค้าที่มีราคาแพง
-ตลาด (Marketing Mix; 4P: Product, Price, Place, Promotion)
แข็งขันสมบูรณ์
แข็งขันไม่สมบูรณ์
—-
ผู้ขายน้อยราย
—-
กึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด
—-
ผูกขาด
-
รายได้
ใช้สอย (อุปโภคบริโภค)
ออม เพื่อการลงทุนต่อไป
-------------------------------------
คำแนะนำเพิ่มเติมทางเฟสบุ๊คส์
และขอขอบคุณมา ที่นี่ด้วยครับ
() ท่านทินกร ยีหวังกอง "ควรมีซีฟัต สิดดี๊ก อะมาน๊ะ ตัฟลีฆ ฟะฎอน๊ะ นอกเหนือจาก เฉพาะในหมู่บ้านมุสลิม ด้วย  ส่วนธรรมภิบาล ประการก็จำเป็นต้องมี....ครับ"
() น้องลุกมัง (บ้านมือบา) "ผมมองในเรื่องการวิเคราะห์ปัญหาโดยใช้ฐานมูลของคน/ชุมชนเพื่อเล็งเห็นอนาคตร่วมกันร่วมไปถึงผลได้ผลเสียของกิจกรรม"
() น้องมานพ สันติปรีชา "หลักการดี แนะนำดี ที่ปรึกษาดี ระบบดี ทุกโครงการสำเร็จแน่นอนครับ ท่านแบบักรีเลขาฯ...."