Monday, 30 January 2017

แนวคิดและองค์ความรู้ทางรัฐประศาสนศาสตร์

องค์ความรู้ทางรัฐประศาสนศาสตร์ประกอบด้วยแนวคิดสำคัญ 7 แนวคิด คือ
1) แนวคิดทฤษฎีตั้งเดิม
2) แนวคิดหลักการบริหาร
3) แนวคิดทฤษฎีพฤติกรรมนิยม
4) แนวคิดการบริหารการพัฒนา
5) แนวคิดนโยบายสาธารณะ
6) แนวคิดทางเลือกสาธารณะ
7) แนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ แนวคิดนี้ เน้นการปรับโฉมภาครัฐ (reinventing government) ไปจากเดิม ให้มีลักษณะใกล้เคียงกับองค์การธุรกิจมากขึ้น เป็นระบบที่เน้นการแข่งขันให้บริการสาธารณะ ให้ความสำคัญกับประสิทธิผล (effectiveness) หรือผลปฏิบัติงานและความคุ้มค่า ในการทำงาน จึงมีการนำแนวคิดทางด้านการจัดการสมัยใหม่มาใช้กับการบริหารรัฐกิจด้วย แนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่สำคัญในกลุ่มนี้ ได้แก่
(1) แนวคิดการจัดการเชิงกลยุทธ์ (strategic management)
(2) แนวคิดการจัดการมุ่งผลสำเร็จ (resulted -based management)
(3) แนวคิดการจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์การ (total quality management)
(4) แนวคิดการปฏิรูปการจัดการภาครัฐ (public management reformation)

ประเทศไทย มีข้อจำกัดด้านความขาดแคลนแนวคิดหรือทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์ หมายถึง การขาดแคลนแนวคิดหรือทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่สอดคล้องกับสภาพทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและวัฒนธรรมของไทย

ทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่นำมาใช้ในประเทศไทย ส่วนใหญ่พัฒนาขึ้นในบริบทของสังคมตะวันตก ที่ยังไม่เป็นสากล และไม่มีการนำมาวิจัยซ้ำในสังคมไทย จึงนำมาประยุกต์ใช้ได้ยาก

ไม่เหมือนในยุคเริ่มแรกๆ ของการพัฒนาการบริหารในประเทศไทย ดร.ชุบ  กาญจนประการ ได้เสนอให้เพิ่มคำว่า PA เข้าไปใน POSDCoRB เป็น PA- POSDCoRB  เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทการบริหารรัฐกิจของประเทศไทย กล่าวคือ
1) ต้องมีนโยบาย (P-Policy) ที่แน่ชัด
2) มีการจัดมอบ- กระจายอำนาจ (A- Authority) ที่แน่แน่
3) มีการวางแผน (P-Planning) ที่แน่นอน...
4) มีการจัดองค์การ (O-Organization) ไม่สับสน
5) มีการจัดวางกำลังคน (S-Staffing) ที่มีประสิทธิภาพและใช้คนให้ตรงกับงาน (put the right  man  on  the  right  job)
6) มีการอำนวยการ (D–Directing ) อย่างนักวิชาการและเป็นมืออาชีพ
7) มีหลักการประสานงาน (Co-Coordinating) โดยการมีมนุษยสัมพันธ์อย่างเชี่ยวชาญ
8) มีการรายงานผล (R-Reporting) การดำเนินงานะชิงประจักษ์และตรวจสอบได้
9) มีหลักการบริหารงบประมาณ( B-Budgeting) อย่างชาญฉลาด

_______________
ทำเนียบรัฐบาล-บ่ายวันที่ 30 ม.ค.60
นายกรัฐมนตรี ประชุม คกก. บริหารราชการแผ่นดินเชิงยุทธศาสตร์

หวังเป็นอย่างยิ่งว่า คกก. สามารถนำเสนอนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินฯ ต่อรัฐบาล  ที่มีความสอดคล้องกับบริบทสังคมวัฒนธรรมไทย และมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติท่ามกลางวิถีการบริหารรัฐกิจไทยในปัจจุบัน ที่มีความไม่สอดประสานกันในทางการบริหาร เพราะมีปัญหาความขัดกันเชิงโครงสร้างทางการบริหารภาครัฐ (structural conflict in public administration) และยังรอคอยการปฏิรูปให้มีความเหมาะสมในทางปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นการบริหารรัฐกิจแบบ
1) การรวมศูนย์อำนาจที่ส่วนกลาง (centralization)
2) การมอบอำนาจให้กับภูมิภาค (deconcentralization)
3) การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น (centralization)

"ทฤษฎี (Theories)"

คำว่า "ทฤษฎี (Theories)" นักสังคมศาสตร์ มักหมายถึง ชุดหรือกลุ่มของ ข้อความกลุ่มหนึ่ง ซึ่งนักวิชาการสร้างขึ้นมา เพื่ออธิบายหรือทำนายปรากฏการณ์ทางสังคม ที่พบเห็นกลุ่มของข้อความเหล่านี้มีลักษณะสำคัญ คือ ประกอบขึ้นด้วยข้อความที่เป็นข้อทฤษฎี (propositions) ซึ่งหมายถึง ข้อความที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลระหว่างแนวคิดสำคัญ (concepts) หรือแนวคิดรวบยอด (constructs) ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ในเรื่องนั้น ข้อความเหล่านี้จึงเป็นข้อความทั่วไปไม่เจาะจง (general statements) แต่มีความหมายครอบคลุมเหตุการณ์ที่เฉพาะเจาะจงได้หลายเหตุการณ์ และถูกนำมาเชื่อมโยงให้สัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบหรือเป็นเหตุเป็นผลเชิงตรรกะ กลายเป็นทฤษฎีที่สามารถนำไปทดสอบความถูกต้องกับข้อเท็จจริง (facts) หรือทดสอบเชิงประจักษ์ได้ และสามารถใช้อธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมที่สนใจได้ระดับหนึ่ง

สำหรับทฤษฎีเชิงเนี้อหา (substantive theory) เป็นแนวคิดหรือทฤษฎีที่เน้นการบ่งบอกถึงเนี้อหาสาระสำคัญของสิ่งที่ทฤษฎีมุ่งพรรณาหรืออธิบายว่าเป็นอะไร อย่างไร เช่น ทฤษฎีหลักการบริหารของฟาโยล ซึ่งอธิบายถึงหลักการสำคัญของการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ

ส่วนทฤษฎีเชิงวิธีการ (procedural theory) เป็นแนวคิดหรือทฤษฎีที่เน้นบ่งบอกถึงกระบวนการในการคิด การวิเคราะห์ หรือวิธีการในการทำงาน เช่น ทฤษฎีระบบ (system theory)

การเรียนในศาสตร์แทบทุกเขนงวิชา ผู้เรียนจะต้องรียนรู้ถึงแนวคิดเชิงทฤษฎีที่มีอยู่ในแขนงวิชานั้นๆ ทำให้ผู้เรียนสามารถอาศัยประสบการณ์ของบุคคลอื่นหรือนักวิชาการผู้สร้างสรรทฤษฎีนั่นเอง และสามารถอาศัยแนวความคิดกว้างๆ ทั่วไปของทฤษฎีเพื่อทำความทำใจความเป็นจริงทางสังคม (social reality) ให้เป็นระบบมากขึ้น