Friday, 12 July 2019

ปัญหาประชาชนและแนวทางขับเคลื่อนเพื่อการแก้ไขด้วยศาสตร์พระราชา



ในฐานะนักพัฒนาชุมชน ได้รับการบอกเล่าต่อ ๆ กันมาว่า ปัญหาประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชนไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน คือ ปัญหา ๔ จ. ได้แก่ จน เจ็บ จ๋อง โจร สามารถอธิบายได้ดังนี้
จน หมายความว่า ประชาชนยังประสบปัญหาความยากจน รายได้น้อย มีภาระหนี้สิน เกิดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ
เจ็บ หมายความว่า ประชาชนยังประสบปัญหาด้านสุขภาพอนามัย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสุขภาพกายหรือสุขภาพจิต แม้นว่า เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นของธรรมดา สังขารล้วนไม่เที่ยง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ซึ่งโรงพยาบาลจะเป็นสถานที่พักแหล่งที่สองของประชาชนนับวันจะเพิ่มปริมาณมากขึ้น หรือบ้านพักคนชราก็จะเป็นที่พักพิงของผู้สูงอายุ  
จ๋อง หมายความว่า ประชาชนเกิดอาการทำอะไรไม่ถูก คิดอะไรไม่ออก ไม่ว่าจะเป็นคนจนหรือคนรวย หากมีคนในครัวเรือนไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ลูกหลานเกเร หรือถูกลูกหลานทอดทิ้งเมื่อยามแก่เฒ่า
โจร หมายความว่า ประชาชนยังประสบปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ปัญหาอาชญากรรม หรือบางคนเป็นโจรหรือลักเล็กขโมยน้อย เนื่องมาจากสันดานโจร หรือไปติดยา ติดการพนัน แม้กระทั่งไม่มีอันจะกิน เลยกลายเป็นโจร
รัฐบาลทุกยุคทุกสมัย พยายามแก้ปัญหาหลากหลายรูปแบบ มีทั้งส่งเสริม/สนับสนุนอาชีพ รวมทั้งลดแลกแจกแถม การแก้ปัญหาก็ยังไม่จบสิ้น จัดให้มีกองทุนเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน จัดทำบัตรสวัสดิการ ประกันสุขภาพ ออกกฎหมายและบังคับใช้กฎหมาย ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการเมืองการปกครอง ให้มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถึงระดับตำบลให้มีการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่น ระดับหมู่บ้าน เพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเลือกผู้นำของตนเอง โดยไม่ได้คาดคิดว่า นโยบายและสิ่งที่ได้ดำเนินการมีผลกระทบในระยะยาว และไม่ได้เตรียมความพร้อมสำหรับปัญหาที่เกิดขึ้นจากการแก้ปัญหา ๔ จ. นั่นคือ
๑. ความขัดแย้งทางความคิดจากการเลือกตั้งในหมู่บ้าน
๒. ความล่มสลายของครอบครัวจากบุคคลในครัวเรือนไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด
๓. ขาดความเชื่อถือศรัทธาไว้วางใจกันเองของคนในหมู่บ้าน/ชุมชนจากการไม่ใช้หนี้กองทุนเหมุนเวียน
นั่นคือ ในระดับหมู่บ้าน/ชุมชน เราพบว่า ปัญหาอุปสรรคมูลฐานและผลกระทบเชิงโครงสร้างทางสังคมในหมู่บ้าน/ชุมชนที่ชาวบ้านไม่ค่อยพูด เป็นปัญหาซ่อนเร้น (hidden problems) แต่เป็นปัจจัยสำคัญที่บั่นทอนความเข้มแข็งของหมู่บ้าน/ชุมชนและเป็นความทุกข์ของชาวบ้าน ความทุกข์ของชุมชน  เป็นผลกระทบจากการแก้ปัญหา ๔ จ. โดยมีหน่วยงานของรัฐที่ทำงานในระดับพื้นที่หมู่บ้าน/ชุมชนไม่ว่า จะเป็นหน่วยงานปกครอง/ตำรวจ/ทหาร พัฒนาชุมชน เกษตร ประมง ปศุสัตว์ สาธารณสุข โรงเรียน และอื่น ๆ เพื่อดำเนินการในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ใน ๓ รูปแบบ/วิธีการ ได้แก่
๑. การปกครองดูแลประชาชนและการบังคับใช้กฎหมาย
๒. การพัฒนาชุมชน การดึงประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน หรือใช้วิถีประชาชน
๓. การสงเคราะห์ เยี่ยวยา การใช้หลักจารีตประเพณี ใช้วิธีการทางสังคมจิตยา
แต่หน่วยงานบางหน่วยงานก็ยังประสบปัญหาระบบการทำงานและการขาดความสมดุลระหว่าง คน เงิน งาน บางหน่วยงานมีงานมาก แต่คนกับเงินไม่ค่อยมี บางหน่วยงานมีคน แต่เงินกับงานไม่ค่อยมี ซึ่งรัฐบาลจะต้องปฏิรูปโครงสร้างหน่วยงานภาครัฐเหล่านี้ ให้สอดคล้องกันระหว่าง คน เงิน และงาน จึงจะทำงานได้ และสิ่งสำคัญที่สุดต้องดึงประชาชนทุกระดับชั้นเข้ามามีส่วนร่วม ไม่จะเข้ามาเป็นจิตอาสา โดยเฉพาะจิตอาสา “เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ” การเข้าเป็นอาสาพัฒนาชุมชน/ภาคประชาสังคม ตั้งแต่ระดับรากหญ้า โดยรัฐบาลให้การสนับสนุนงบประมาณ และหน่วยงานของรัฐอำนวยความสะดวกในการดำเนินกิจกรรม โดยเฉพาะกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก เยาวชน การดูและผู้สูงอายุ คนชรา ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ เป็นต้น ด้วยการน้อมนำศาสตร์พระราชาที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาประชาชน ได้แก่ ยุทธศาสตร์พระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” และหลักการทรงงาน ๒๓ ข้อ



รายละเอียด ศาสตร์พระราชาและการแก้ปัญหาประชาขน


Sunday, 10 March 2019

นโยบายสาธารณะที่ขับเคลื่อนไม่ได้

นักการเมือง เป็นคนขับรถ
ประเทศไทย เป็นรถ
ประชาชน เป็นผู้โดยสาร
ข้าราชการประจำ คือ เครื่องยนต์ นั่น
Politicians as the driver.
Country like a car.
People are passengers. Government officers are mechanisms according to that car engine.
นักการเมืองพูดนโยบายเอาใจประชาชน... แต่พูดน้อยมากจะปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์ให้มันดีมีประสิทธิภาพอย่างไร..
สุดท้ายเครื่องยนต์ดับ.. รถพัง ... ผู้โดยสารตกรถ... โชเฟอร์อดขับรถ
The politicians talk their policies propitiate to the people, but a little bit talk to overhaul its engine for more running efficiency.
Finally, the engine is off, the car is crashed, then passengers couldn’t ride it, and the driver is unemployed.
#นโยบาย #พรรค #การเมือง #ประชาชน #ข้าราชการ
#policy #party #officer #politic #people

Wednesday, 27 February 2019

นโยบายสาธารณะที่ขับเคลื่อนไม่ได้

นักการเมือง เป็นคนขับรถ
ประเทศไทย เป็นรถ
ประชาชน เป็นผู้โดยสาร
ข้าราชการประจำ คือ เครื่องยนต์ นั่น
นักการเมืองพูดนโยบายเอาใจประชาชน... แต่พูดน้อยมากจะปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์ให้มันดีมีประสิทธิภาพอย่างไร..
สุดท้ายเครื่องยนต์ดับ.. รถพัง ... ผู้โดยสารตกรถ... โชเฟอร์อดขับรถ
#นโยบาย #พรรค #การเมือง #ประชาชน #ข้าราชการ

Sunday, 17 February 2019

นโยบายเศรษฐกิจฐานรากที่กระทบต่อพฤติกรรมชาวบ้าน

หมู่บ้าน/ชุมชนเตรียมล่มสลาย/ขัดแย้งทางความคิดแบ่งพรรคแบ่งพวกจากการเลือกตั้ง/เกิดความไม่เชื่อใจซึ่งกันและกัน...อีกไม่รู้กี่ครั้ง ซ้ำแล้วซ้ำเล่า... ที่จะเกิดจากนโยบายรัฐบาลบางพรรคที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจฐานราก และกำลังหาเสียง... เอาใจชาวบ้านที่ผิดวิธีและทำให้ชาวบ้านเสียนิสัยและวินัยทางการเงิน... ไม่ได้คำนึงการบริหารความเสี่ยงและผลกระทบเชิงลบของโครงการ/กิจกรรม... เพียงแค่ให้เลือกพรรคตนเอง...  เหมือนกองทุนหมู่บ้านฯ หรือกองทุนหมุนเวียนอื่นๆ
ขอร้องเถอะครับ!...
จะออกนโยบายที่เกี่ยวข้องกับหมู่บ้าน/ชุมชนประเภท ลด แลก แจก แถม ให้คำนึงถึง ๓ มาตรการรองรับด้วย ก่อนหมู่บ้าน/ชุมชนล่มสลาย ได้แก่
๑.การมีส่วนร่วมของหมู่บ้าน/ชุมชน ไม่ใช่คนไม่กี่คนได้รับประโยชน์
๒.การบังคับใช้กฏหมายและการปกครอง ที่จะบังคับไม่ให้มีการเบี้ยวหนี้ เบี้ยวโครงการ รวมทั้ง การปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารจัดการ/หน่วยงานของรัฐที่ทำงานกับชาวบ้าน
๓.สังคมจิตวิทยา เยียวยา การสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส หรือได้รับผลกระทบจากนโยบาย
#นโยบาย #กองทุน #เงินกู้ #แหล่งทุน #หมู่บ้าน #ชุมชน #ชาวบ้าน

Sunday, 20 January 2019

A-Z กลวิธีสู่ความสำเร็จ

A-Z กลวิธีสู่ความสำเร็จ มีดังนี้
Ability (ความสามารถ)
Beautiful (ความสวยงาม)
Capacity (มีสติปัญญา)
Diligence (ความขยันหมั่นเพียร)
Effort (ความพยายาม)
Facile (ความคล่องแคล่วว่องไว)
Genius (ความเป็นอัจฉริยะ)
Health (สุขภาพแข็งแรง)
Intent (ความตั้งใจ)
Just (สมเหตุสมผล)
Knowledge (ความรู้)
Learn (ศึกษาเรียนรู้)
Manage (การจัดการ)
Need (ความต้องการ)
Occasion (โอกาส)
Patient (ความอดทน)
Quality (คุณภาพ)
Realize (ทำให้เป็นจริง)
Sensible (มีไหวพริบปฏิภาณ มีเหตุผล)
Tactic (มีกลวิธี)
Update (ทำให้ทันสมัย)
Value (มีคุณค่า)
Wish (มีความปรารถนา)
X-Ray (เอ็กซ์เรย์ ตรวจสอบ)
Yourself (เป็นตัวตนของตนเอง)
Zippy (มีชีวิตชีวา)

A-Z กลวิธีสู่ความสำเร็จ ในส่วน A: Ability (ความสามารถ) ประกอบด้วย
Able (หลักแหลม)
Accost (เผชิญหน้าอย่างกล้าหาญ)
Accurate (ความถูกต้องแม่นยำ)
Adapt (รู้จักปรับตัว)
Adept (มีประสิทธิภาพ)
Adequate (เหมาะสม)
Administration (รู้จักบริหารจัดการ)
Admirable (น่าชมเชยสรรเสริญ)
Advancement (สร้างสรรค์ความก้าวหน้า)
Agility (ความคล่องแคล่วว่อง)
Ambition (ความทะเยอทะยาน)
Amicable (ความเป็นมิตร)
Analysis (รู้จักวิเคราะห์)
Assured (มีความมั่นใจ)

A-Z กลวิธีสู่ความสำเร็จ ในส่วน B: Beutiful (ความสวยงาม) ประกอบด้วย
Bait (สิ่งล่อใจ)
Bearing (ความอดทน)
Benefaction (การทำความดี)
Beneficial (มีประโยชน์)
Best (ดีที่สุด)
Bestir (ทำให้มุมานะ)
Blitthe (สนุกสนาน ร่าเริง)
Bright (สดใส หลักแหลม)

A-Z กลวิธีสู่ความสำเร็จ ในส่วน C: Capacity (สติปัญญา สมรรถภาพ) ประกอบด้วย
Capable (มีฝีมือ)
Care (เอาใจใส่)
Certitude (ความเชื่อมั่น)
Change (เปลี่ยนแปลง)
Cheerful (ปลื้มปิติยินดี)
Circumspect (รอบคอบ)
Civility (เอื้อเฟื้อ)
Clever (เฉลียวฉลาด)
Concept (แนวคิด)
Concise (รัดกุม)
Condescend (ถ่อมตัว)
Conduct (ความดี)
Confidence (ความเชื่อถือ ไว้วางใจ)

A-Z กลวิธีสู่ความสำเร็จ ในส่วน D: Diligence (ความขยัน หมั่นเพียร) ประกอบด้วย
Dead line (กำหนดเวลา)
Decided (เด็ดขาดแน่นอน)
Decision (กล้าตัดสินใจ)
Deliberate (สุขุมรอบคอบ)
Demand (ความต้องการ)
Desire (ปรารถนา)
Design (ออกแบบ)
Delight (ทำให้สุขใจ)

A-Z กลวิธีสู่ความสำเร็จ ในส่วน E: Effort (มีความพยายาม) ประกอบด้วย
Eager (มีความพยายาม อยากได้)
Earnest (จริงจัง)
Easily (ราบรื่น ง่ายดาย)
Ebullient (กระตือรื้อร้นมา)
Economy (ประหยัด)
Eficient (ประสิทธิภาพ)
Endurance (อดทน)
Erudition (คงแก่เรียน)
Estimable (น่าเคารพนับถือ)
Ethic (มีจริยธรรม)
Evolution (มีวิวัฒนาการ)
Exactitude (มีความถูกต้อง แน่นอน)
Excellent (ยอดเยี่ยม ดีเลิศ)
Excite (กระตุ้น ตื่นเต้น)
Exhaustive (ละเอียดถ้วนทั่ว)
Expert (เชี่ยวชาญ)
Explicit (ชัดเจน แน่นอน)
Exuberant (กระปรี้กระเปร่า)

A-Z กลวิธีสู่ความสำเร็จ ในส่วน F: Facile (ความคล่องแคล่ว ว่องไว) ประกอบด้วย
Facility (อำนวยความสะดวก)
Factor (ปัจจัย)
Fantasy (จินตภาพ)
Foresight (มองการณ์ไกล)
Future (อนาคต)
Foretell (คาดการณ์)
Fidelity (ซื่อสัตย์ป
Finese (กลเม็ด)
Finish (สิ้นสุด)
Fulfil (ทำให้บรรลุผล)
Full (สมบุรณ์)
Fire brand (กระฉับกระเฉงอย่างมาก)
First class (ชั้นเยี่ยมป
Fitting (เหมาะสม)
Foment (ส่งเสริม)
Formula (กฎเกณฑ์)
Forte (ความถนัด)
Fortune (โชคชะตา)
Fun (สนุกสนาน ร่างเริง)

อ้างถึง 
Dictionary ยุทธวิธีสู่ความสำเร็จ โดย คุณวิชิต เด่นสุนทร
จัดพิมพ์และจัดจำหน่ายโดย บริษัท ปิยมิตร มัลติมีเดีย จำกัด
เลขที่ 3/9 หมู่ที่ 4 ต.ปลายบาง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี 11130
โทร. 0 2996 5751 - 2
แฟกซ์ 0 2996 5752
E-mail: piyamitre@hotmail.com

Thursday, 10 January 2019

รวมคำขวัญวันเด็ก

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2563 -  พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา - เด็กไทยยุคใหม่ รู้รักสามัคคี รู้หน้าที่พลเมืองไทย

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2562 -  พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา - เด็ก เยาวชน จิตอาสา ร่วมพัฒนาชาติ

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2561 -  พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา - คิด รู้เท่าทัน สร้างสรรค์เทคโนโลยี

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2560 -  พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา - เด็กไทย ใส่ใจศึกษา พาชาติมั่นคง

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2559 - พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา - เด็กดี หมั่นเพียร เรียนรู้ สู่อนาคต

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2558 - พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา - ความรู้ คู่คุณธรรม นำสู่อนาคต

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2557 - น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร - กตัญญู รู้หน้าที่ เป็นเด็กดี มีวินัย สร้างไทยให้มั่นคง

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2556 - น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร - รักษาวินัย ใฝ่เรียนรู้ เพิ่มพูนปัญญา นำพาไทยสู่อาเซียน

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2555 - น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร - สามัคคี มีความรู้คู่ปัญญา คงรักษาความเป็นไทย ใส่ใจเทคโนโลยี

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2554 - นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ - รอบคอบ รู้คิด มีจิตสาธารณะ

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2553 - นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ - คิดสร้างสรรค์ ขยันใฝ่รู้ เชิดชูคุณธรรม

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2552 - นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ - ฉลาดคิด จิตบริสุทธิ์ จุดประกายฝัน ผูกพันรักสามัคคี

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2551 - พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ - สามัคคี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2550 - พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ - มีคุณธรรมนำใจ ใช้ชีวิตพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุข

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2549 - พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร - อยากฉลาด ต้องขยันอ่าน ขยันคิด

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2548 - พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร - เด็กรุ่นใหม่ ต้องขยันอ่าน ขยันเรียน กล้าคิด กล้าพูด

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2547 - พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร - รักชาติ รักพ่อแม่ รักเรียน รักสิ่งดีๆ อนาคตดีแน่นอน

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2546 - พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร - เรียนรู้ตลอดชีวิต คิดอย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันเทคโนโลยี

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2545 - พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร - เรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้ สู่อนาคตที่สดใส

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2544 - นายชวน หลีกภัย - มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2543 - นายชวน หลีกภัย - มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2542 - นายชวน หลีกภัย ขยัน - ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2541 - นายชวน หลีกภัย ขยัน - ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2540 - พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ - รู้คุณค่าวัฒนธรรมไทย ตั้งใจใฝ่ศึกษา ไม่พึ่งพายาเสพติด

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2539 - นายบรรหาร ศิลปอาชา - มุ่งหาความรู้ เชิดชูความเป็นไทย หลีกไกลยาเสพติด

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2538 - นายชวน หลีกภัย - สืบสานวัฒนธรรมไทย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2537 - นายชวน หลีกภัย - ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2536 - นายชวน หลีกภัย - ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2535 - นายอานันท์ ปันยารชุน - สามัคคี มีวินัย ใฝ่ศึกษา จรรยางาม

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2534 - พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ - รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่คุณธรรม นำชาติพัฒนา

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2533 - พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ - รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2532 - พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ - รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2531 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2530 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2529 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2528 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - สามัคคี นิยมไทย มีวินัย ใฝ่คุณธรรม

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2527 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - รักวัฒนธรรมไทย ใฝ่ดีมีความคิด สุจริตใจมั่น หมั่นศึกษา

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2526 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - รู้หน้าที่ ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด มีวินัยและคุณธรรม

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2525 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - ขยันศึกษา ใฝ่หาความรู้ เชิดชูชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2524 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - เด็กไทยมีวินัย ใจสัตย์ซื่อ รู้ประหยัด เคร่งครัดคุณธรรม

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2523 พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ - อดทน ขยัน ประหยัด เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2522 พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ - เด็กไทยคือหัวใจของชาติ

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2521 พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ - เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2520 นายธานินทร์ กรัยวิเชียร - รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเยาวชนไทย

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2519 หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช - เด็กที่ต้องการเห็นอนาคตของชาติรุ่งเรือง จะต้องทำตัวให้ดี มีวินัย เสียแต่บัดนี้

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2518 นายสัญญา ธรรมศักดิ์ - เด็กดีคือทายาทของชาติไทย ต้องร่วมใจร่วมพลังสร้างความสามัคคี

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2517 นายสัญญา ธรรมศักดิ์ - สามัคคีคือพลัง

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2516 จอมพล ถนอม กิตติขจร - เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2515 จอมพล ถนอม กิตติขจร - เยาวชนฝึกตนดี มีความสามารถ

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2514 จอมพล ถนอม กิตติขจร - ยามเด็กจงหมั่นเรียน เพียรกระทำดี เติบใหญ่จะได้มีความสุขความเจริญ

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2513 จอมพล ถนอม กิตติขจร - เด็กประพฤติดีและศึกษาดี ทำให้มีอนาคตแจ่มใส

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2512 จอมพล ถนอม กิตติขจร - รู้เรียน รู้เล่น รู้สามัคคี เป็นความดีที่เด็กพึงจำ

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2511 จอมพล ถนอม กิตติขจร - ความเจริญและความมั่นคงของชาติไทยในอนาคต ขึ้นอยู่กับเด็กที่มีวินัย เฉลียวฉลาดและรักชาติยิ่ง

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2510 จอมพล ถนอม กิตติขจร - อนาคตของชาติจะสุกใส หากเด็กไทยแข็งแรงดีมีความประพฤติเรียบร้อย

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2509 จอมพล ถนอม กิตติขจร - เด็กที่ดีต้องมีสัมมาคารวะ มานะ บากบั่น และสมานสามัคคี

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2508 จอมพล ถนอม กิตติขจร - เด็กจะเจริญต้องรักเรียนเพียรทำดี

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2507 งดการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2506 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ - ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่มีความขยันหมั่นเพียรมากที่สุด

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2505 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ - ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่ประหยัด

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2504 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ - ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่อยู่ในระเบียบวินัย

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2503 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ - ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความสะอาด

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2502 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ - ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความก้าวหน้า

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2499 จอมพล ป.พิบูลสงคราม - จงบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและส่วนรวม

เนื้อเพลงหน้าที่เด็ก (เด็กเอ๋ยเด็กดี)
เด็กเอ๋ยเด็กดี
ต้องมีหน้าที่สิบอย่างด้วยกัน
เด็กเอ๋ยเด็กดี
ต้องมีหน้าที่สิบอย่างด้วยกัน
หนึ่ง นับถือศาสนา
สอง รักษาธรรมเนียมมั่น
สาม เชื่อพ่อแม่ครูอาจารย์ เพลงหน้าที่เด็ก (เด็กเอ๋ยเด็กดี) – เพลงวันเด็กแห่งชาติ
สี่ วาจานั้นต้องสุภาพอ่อนหวาน
ห้า ยึดมั่นกตัญญู
หก เป็นผู้รู้รักการงาน
เจ็ด ต้องศึกษาให้เชี่ยวชาญ
ต้องมานะบากบั่น ไม่เกียจไม่คร้าน
แปด รู้จักออมประหยัด
เก้า ต้องซื่อสัตย์ตลอดกาล
น้ำใจนักกีฬากล้าหาญ
ให้เหมาะกับกาลสมัยชาติพัฒนา
สิบ ทำตนให้เป็นประโยชน์
รู้บาปบุญคุณโทษ สมบัติชาติต้องรักษา
เด็กสมัยชาติพัฒนา
จะเป็นเด็กที่พาชาติไทยเจริญ

อ้างถึง: